Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy), นางสาวสุภิญญา คำพันธ์ 61122230090 -…
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
ความหมาย
หมายถึง การบำบัดทางจิตชนิดหนึ่งที่มุ่งเน้นการควบคุมพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สังเกตได้ โดยใช้หลักการเรียนรู้และผลการทดลองทางจิตวิทยามาใช้กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา การแก้ไขพฤติกรรมเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตได้ โดยไม่คำนึงถึงสาเหตุของพฤติกรรมในอดีต
หลักการของพฤติกรรมบำบัด
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
แนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (Classical conditioning) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น (วางเงื่อนไขไว้)
การเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning) โดยสกินเนอร์ (B.F. Skinner) เชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลถูกควบคุมผลที่ได้รับ นั่นคือ ถ้ามีการได้รับการเสริมแรงจะทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น ๆ อีก
การเรียนรู้ทางสังคม (Social learning) เป็นการเรียนรู้จากการสังเกตหรือจากการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) โดยอัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura) ได้อธิบายว่า การรับรู้จากสิ่งแวดล้อมได้จากการสังเกตและนำมาสู่ระบบการคิดวิเคราะห์ตน โดยผู้เรียนจดจำการกระทำของตัวแบบได้และผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ได้จากการสังเกตจากตัวแบบ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะและการฝึกฝน
ขั้นตอนในการทำพฤติกรรมบำบัด
เก็บข้อมูลและทำ Functional analysis โดยวัดความถี่ของพฤติกรรมที่ต้องการจะเปลี่ยน พฤติกรรมที่เป็นปัญหา ศึกษาสถานการณ์ที่เกิดพฤติกรรมนั้นและศึกษาผลที่ตามมา
ตั้งวัตถุประสงค์ร่วมกับผู้ป่วยว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมใด
2.1 จุดประสงค์นั้นตรงกับความต้องการของผู้ป่วย
2.2 ผู้ป่วยเต็มใจรักษา
2.3 จุดประสงค์นั้นสามารถดำเนินการให้บรรลุได้โดยมีเกณฑ์ในประเมินตรงกำหนดในรูปพฤติกรรมที่ชัดเจน
2.4 ร่วมกับผู้ป่วยในการเลือกกลวิธีในการรักษาว่าแบบใดเหมาะสมที่สุด
2.5 ดำเนินตามที่วางแผน
2.6 การประเมินผลและยุติการรักษา
เทคนิคและวิธีการของพฤติกรรมบำบัด
Self Monitoring การควบคุมและรายงานผลตนเอง เป็นการประเมินตนเองตรวจสอบพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
Reimforcement เป็น Operant Conditioning คือการเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมโดยการให้แรงเสริมทางบวกหรือลดแรงเสริมลบทันทีที่เกิดพฤติกรรมที่พึงพอใจ
Punishment เป็นการลดความถี่ของพฤติกรรมโดยการให้สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรือลดสิ่งเร้าที่
พึงพอใจ
Shaping teachique คือ การแต่งพฤติกรรมจากพฤติกรรมง่าย ๆ ไปสู่พฤติกรรมซับซ้อนโดย 2 ขบวนการ คือ
4.1 Sucessive approximation เป็นการใช้เทคนิคการเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรมเป็นขั้นตอนจากพฤติกรรมแรกไปสู่พฤติกรรมสุดท้าย
4.2 Chaining เป็นการนำพฤติกรรมย่อยๆต่างๆ มาเรียงลำดับจากพฤติกรรมแรกจนถึงพฤติกรรมสุดท้ายและฝึกจากพฤติกรรมสุดท้ายขึ้นมา
Counter conditioning เป็นการนำหลักการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) มาใช้ในการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
Modeling technique ถือเทคนิคการลดความกลัวหรือความวิตกกังวล โดยการให้ดูตัวแบบ อาจใช้หลัก Relaxation เข้าช่วย
Assertive Training เป็นการฝึกให้ผู้ป่วยกล้าแสดงออกถึงความรู้สึกที่ควรจะแสดงออกในสังคมโดยไม่วิตกกังวล โดย Wolpe ได้จัดให้ผู้ป่วยกับผู้รักษาผลัดกันเล่นบทบาทให้ผู้ป่วยช่วยดูจุดบกพร่องจากการแสดงบทบาทนั้นจนผู้ป่วยเห็นว่าควรจะแก้ไขพฤติกรรมของตนตรงไหม
การนำพฤติกรรมบำบัดไปใช้ในการรักษาต่อไปนี้
Conduct behavior
ผู้ป่วย depend on Alcohol, drug abuse
เด็กปัญญาอ่อน (Mental retardation)
Obesity
Phobia
Psychogenic pain
Schizophrenia paronoid Sociopathy
นางสาวสุภิญญา คำพันธ์ 61122230090