Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ - Coggle…
กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์
การพยาบาลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Depressive disorder)
การประเมิน (Assessment)
1) อาการของโรคซึมเศร้า เช่น ความรู้สึกเสียใจ บางครั้งผู้ป่วยอาจร้องไห้ไม่มี สาเหตุ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่สนใจทำกิจกรรม รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ไม่มีสมาธิ การนอนหลับแปรปรวน เบื่ออาหาร น้าหนักลด หรือรับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นต้น
2) ความใส่ใจกับอาการทางกายของตนเอง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยซึมเศร้าจะบ่นถึง อาการทางกายของตนเอง เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ ท้องผูก เป็นต้น
4) พิจารณาจากระดับของอารมณ์ซึมเศร้า (Depression)
3) ประวัติการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วย และความคิดฆ่าตัวตายใน ปัจจุบันของผู้ป่วย
ปัญหาทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
Risk for suicide/Risk for self-directed violence: Risk factors: hopelessness/suicidal ideation/verbal cues (talk about death) (เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย/ เสี่ยงต่อการทาร้ายตนเองเนื่องจากรู้สึกหมดหวัง/มีความคิดพยายามฆ่าตัวตาย/มีสัญญาณเตือนของ การฆ่าตัวตาย
ข้อมูลสนับสนุน: พูดถึงตนเองทางด้านลบ/พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย/มี ความคิดฆ่าตัวตาย
Chronic low self-esteem related to repeated unmet expectations (ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่าเนื่องจากผิดหวังซ้าๆ)
ข้อมูลสนับสนุน: พูดถึงตนเองในด้านลบ/แสดงถึงความรู้สึกไร้ค่าซ้าๆ
Impaired social interaction related to feelings of worthlessness (ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า)
ข้อมูลสนับสนุน: หลีกเลี่ยงการติดต่อกับบุคคลอื่น
Ineffective health maintenance related to lack of ability to make good judgments regarding ways to obtain help (การดูแลสุขภาพตนเองบกพร่อง เนื่องจากขาดความสามารถในการขอความช่วยเหลือ)
ข้อมูลสนับสนุน: ไม่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน/บกพร่อง
Disturbance sleep pattern related to depression (แบบแผนการนอนแปรปรวนเนื่องจากอารมณ์เศร้า)
ข้อมูลสนับสนุน: ขอบตาคล้ำ/ผู้ป่วยบอกนอนไม่หลับ
Imbalanced nutrition: less than body requirements related to lack of interest in food (ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากเบื่ออาหาร)
ข้อมูลสนับสนุน: น้าหนักตัวลด/เยื่อบุตาหรือเยื่อบุในปากซีด/อ่อนเพลีย
วัตถุประสงค์การพยาบาล (Goal)
ผู้ป่วยไม่เกิดพฤติกรรมรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง
ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น
ผู้ป่วยดูแลสุขภาพตนเองและกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น
ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
ผู้ป่วยได้รับอาหารและน้ำเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing intervention)
1) การพยาบาลทางด้านร่างกาย
ความสะอาดและการแต่งกาย พยาบาลต้องกระตุ้นหรือช่วยเหลือ
ผู้ป่วยให้ทำความสะอาดร่างกายตนเองตามความจำเป็น
การนอน ผู้ป่วยซึมเศร้ามีอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) พยาบาลต้องคอยประเมินและให้คำแนะนา จัดให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ให้ยานอนหลับตามแผนการรักษา
การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยไม่ค่อยสนใจรับประทานอาหาร เนื่องจากไม่มีความอยากอาหาร หรือคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่าพอที่จะรับประทานอาหาร พยาบาลต้อง ประเมินให้ได้ว่าผู้ป่วยไม่รับประทานอาหารจากสาเหตุใด
ไม่มีความอยากรับประทานอาหาร ควรจัดอาหารให้ดูน่า รับประทาน แต่ละมื้อไม่ควรให้มากนัก แต่ให้รับประทานครบ 3 มื้อ และให้เข้ากลุ่มรับประทานอาหารกับผู้ป่วยอื่น
คิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า พยาบาลต้องจัดให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่ม
กิจกรรมที่ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
บันทึกพฤติกรรม ปริมาณอาหารและน้าที่ผู้ป่วยได้รับและชั่งน้าหนักผู้ป่วยทุกสัปดาห์
2.การพยาบาลทางด้านจิตสังคม
ผู้ป่วยซึมเศร้าอาจทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตาย (Suicide) พยาบาลต้องคอยประเมินว่าผู้ป่วยมีความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือไม่ โดยอาจถามผู้ป่วยตรงๆ ว่าเขาคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือไม่และถ้าคิดเขาวางแผนไว้ว่าจะทำอย่างไร เพื่อระวังการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยจะใช้ทำร้ายตนเอง
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกภายในใจ โดยที่พยาบาลรับฟังด้วยความเข้าใจและเห็นใจ พยาบาลอาจจัดสถานที่ให้เงียบสงบเป็นส่วนตัวเหมาะสมที่ผู้ป่วยจะพูดเรื่องส่วนตัวได้
ผู้ป่วยมองตนเองในด้านลบ ทำให้มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ (Low self-esteem) พยาบาลต้องยอมรับผู้ป่วย ให้เวลากับผู้ป่วย บอกถึงข้อดีให้ผู้ป่วยทราบ ฝึกให้ผู้ป่วยมองสิ่งต่างๆ ทางด้านบวก ให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดที่ไม่ยากเกินไปซึ่งผู้ป่วยสามารถทำได้สำเร็จ ให้แรงเสริมทางบวกตามความเป็นจริงเพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจ
ผู้ป่วยแยกตัวอยู่คนเดียว พยาบาลควรสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับผู้ป่วยในระยะแรกใช้เวลาสั้นๆ แต่ไปพบทักทายกับผู้ป่วยบ่อยๆ จะเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าของผู้ป่วยและเกิดความรู้สึกไว้วางใจ
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
พิจารณาจากความสำเร็จของการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่และพิจารณาการดำเนินการตามกระบวนการพยาบาลจนกว่าการดูแลผู้ป่วยจะสิ้นสุด
การพยาบาลผู้ป่วยอาการคลุ้มคลั่ง (Mania)
การประเมิน (Assessment)
ทางด้านอารมณ์ ผู้ป่วยมีอารมณ์ครึกครื้น สนุกสนานเกินความเป็นจริงหรืออารมณ์หงุดหงิดง่าย
ทางด้านความคิดและการรับรู้ ผู้ป่วยมีความคิดเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว คิดว่าตนเองมีอานาจ มีอาการประสาทหลอน
ทางด้านพฤติกรรม ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว และมีการพูดจามากน้อยแค่ไหน
4) พิจารณาจากระดับของอารมณ์คลุ้มคลั่ง (Mania)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
Risk for injury: Risk factors: hyperactive (เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บเนื่องจากมีการเคลื่อนไหวเร็ว)
ข้อมูลสนับสนุน: ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวเร็ว ไม่สามารถพักได้แม้เป็นช่วงสั้นๆ
Risk for self or other-directed violence: Risk factors: lack of impulse control (เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้)
ข้อมูลสนับสนุน: มีคาพูดคุกคามผู้อื่น/มีพฤติกรรมวุ่นวาย
Impaired social interaction related to hyperagitated state(ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีพฤติกรรมวุ่นวาย)
ข้อมูลสนับสนุน: มีคาพูดคุกคามผู้อื่น/ไม่มีสมาธิที่จะนั่งอยู่ได้นานๆ
Ineffective health maintenance related to manic state/inability to concentrate (การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากมีอาการแมเนียรุนแรง/ไม่มีสมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน)
ข้อมูลสนับสนุน: ร่างกายไม่สะอาด/สวมใส่เสื้อผ้าไม่เหมาะสม
Sleep deprivation related to hyperagitated state (นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีพฤติกรรมวุ่นวาย)
ข้อมูลสนับสนุน: ขอบตาคล้า/ผู้ป่วยบอกนอนไม่หลับ
Imbalanced nutrition: less than body requirements related to lack of time and motivation to eat (ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารได้เป็นเวลานานและไม่มีแรงจูงใจในการรับประทานอาหาร)
ข้อมูลสนับสนุน: น้ำหนักตัวลด/เยื่อบุตาหรือเยื่อบุในปากซีด/อ่อนเพลีย
วัตถุประสงค์การพยาบาล (Goal)
ผู้ป่วยไม่เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุ
ผู้ป่วยไม่เกิดพฤติกรรมรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น
3.ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยดูแลสุขภาพตนเองและกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น
ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
ผู้ป่วยได้รับอาหารและน้าเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing intervention)
การพยาบาลทางด้านร่างกาย
แนะนาเรื่องการดูแลความสะอาดร่างกายและช่วยเหลือตามความจำเป็น
จัดให้ผู้ป่วยได้พักเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการใช้พลังงานมากเกินไป
อาหารและน้ำผู้ป่วย mania ไม่สามารถรับประทานอาหารได้นาน พยาบาลต้องช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารและกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้าเป็นระยะๆเพื่อป้องกันการขาดน้ำ (Dehydration)
การขับถ่าย พยาบาลควรสังเกตและสอบถามเกี่ยวกับการขับถ่ายของผู้ป่วยเพราะอาจมีอาการข้างเคียงหรืออาการพิษที่เกิดจากการได้รับยา lithium เช่น การถ่าย บ่อยครั้ง
สังเกตอาการข้างเคียงและอาการพิษที่เกิดจากการได้รับยา lithium เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสาเหตุของการตรวจเลือดบ่อยๆ เพื่อดูระดับของ lithium serum เป็นการป้องกันอาการพิษของยาที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ป่วยที่มีความคิดว่าตนเองเก่งหรือเหนือกว่าผู้อื่น (Grandeur) บางครั้งจะมีคาพูดข่มคนอื่นๆ ต้องระวังการมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้ป่วยอื่น
การพยาบาลทางด้านจิตสังคม
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความ ไว้วางใจและให้โอกาสผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจออกมา
ผู้ป่วย mania ขณะที่มีอารมณ์ครึกครื้นรื่นเริง (Euphoria) ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเป็นหงุดหงิดและโกรธได้ง่ายทำให้มีพฤติกรรมรุนแรงทำร้ายคนอื่นได้ พยาบาลต้องประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยเพื่อจะได้จำกัดพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยการผูกยึด (Restraint) หรือให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก (Seclusion) ตามความจาเป็นเพื่อป้องกันพฤติกรรมรุนแรง
ผู้ป่วยอาจจะแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ใช้คำพูดไม่เหมาะสม ควรใช้การจำกัดพฤติกรรม (Limit setting) และให้แรงเสริมเมื่อผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
ผู้ป่วย mania จะถูกกระตุ้นได้ง่ายต้องระวังเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ควรให้มีเสียงดังมากเกินไป หรือจำกัดจานวนคนที่เข้าไปพบผู้ป่วย
จัดให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด ในระยะที่มีอาการรุนแรงควรเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวในกลุ่ม ใช้เวลาสั้นๆ ง่ายๆ เพราะผู้ป่วยไม่ค่อยมีสมาธิในการที่จะนั่งทำกิจกรรมได้นาน เช่น การระบายสี การปั้น เมื่ออาการ mania ลดลง จึงจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้ป่วยทำร่วมกับผู้ป่วยอื่นได้
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
พิจารณาจากความสาเร็จของการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลว่าบรรลุ เป้าหมายหรือไม่ และพิจารณาการดำเนินการตามกระบวนการพยาบาลจนกว่าการดูแลผู้ป่วยจะ สิ้นสุด