Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงร่างกายของผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายใน
กรรมพันธุ์
สุขภาพอนามัย คนที่แข็งแรง ย่อมมีสุขภาพดี
การมองโลก ประสบการณ์ชีวิต ถ้ามองโลกในแง่ดี ก็จะทำให้มีกำลังใจในการดูแลสุขภาพ
ความเชื่อ
ปัจจัยภายนอก
การศึกษา
เศรษฐกิจ ผู้ที่มีรายได้ดี หรือมีเงินเดือน บำนาญ ย่อมสามารถเลือกอาหารที่มีคุณภาพได้มากกว่า
สิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุที่อยู่สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ และมีเสียงดัง ย่อมมีปัญหาสุขภาพมากกว่า
การเกษียณงาน
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ
ระบบผิวหนัง (Integumentary System
ผิวหนังบางลง ความเหนียวของผิวหนังเพิ่มมากขึ้น เซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง เซลล์ที่เหลือเจริญช้า ทำให้การหายของแผลช้าลง คอลลาเจนใหญ่และแข็งตัวมากขึ้น ทำให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังไม่ดี น้ำและไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวและมีรอยย่นมากขึ้น
ต่อมเหลื่อมีจำนวนและขนาดลดลง การระบายความร้อนโดยวิธีการระเหยจึงไม่ดี การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจึงลดลง
ต่อมไขมันทำงานลดลง ทำให้ผิวหนังแห้งคันและแตกง่าย
เมลานิน ซึ่งผลิตจากเซลล์สร้างสีของผมลดลง ทำให้ผมและขนทั่วไปสีจางลงกลายเป็นสีขาว
ปัญหาการได้ยินลดลง (Presbycusis
สาเหตุจากการเสื่อมของ organ of Corti และ basilar membrane ร่วมกับเส้นประสาทคู่ที่ 8 เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวมากขึ้น ทำให้มีความบกพร่องการได้ยินระดับเสียงสูงมากกว่าระดับเสียงต่ำ
การสื่อสารกับผู้สูงอายุจึงไม่ควรตะโกน แต่ควรพูดด้วยเสียงทุ้ม พูดถ้อยคำง่ายๆ ช้าๆ ชัดเจน ควรพูดต่อหน้าไม่ห่างเกินและไม่ใกล้เกิน 3 ฟุต เพื่อให้ผู้สูงอายุอ่านริมฝีปากได้ และไม่แสดงอาการหงุดหงิดหรือรำคาญเวลาพูด
การมองเห็น
ลูกตามีขนาดเล็กลงและลึกเพราะไขมันของลูกตาลดลง หนังตามีความยืดหยุ่นลดลง ทําให้หนังตาตก รูม่านตาเล็กลง ปฏิกิริยา ตอบสนองของม่านตาต่อแสงลดลง
การปรับตัวสําหรับการมองเห็น ในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ดี โดยเฉพาะในสถานที่มืดหรือในเวลากลางคืน ต้องอาศัยแสงสว่างช่วย
โดยทั่วไปผู้สูงอายุสามารถแยกสีแดง สีส้ม และสีเหลือง ได้ดีกว่าสีน้ําเงิน สีม่วง และเขียว ดังนั้น การเลือกใช้สีที่เห็นชัดเจนตกแต่งบ้านจะช่วยให้ลดอันตราย
เนื่องจากอุบัติเหตุภายในบ้าน
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal system)
หลังอายุ 40 ปี อัตราการเสื่อมของกระดูกมากกว่าอัตราการสร้างเซลล์กระดูกลดลง แคลเซียมมีการสลายออกจากกระดูกมากขึ้น
ในเพศหญิงสาเหตุที่สําคัญคือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนนี้ออกฤทธิ์กระตุ้นการทํางานของ osteoblasts ลดลงหลังหมดประจําเดือนทําให้
แคลเซียมสลายออกจากกระดูก กระดูกผูสูงอายุจึงเปราะและหักง่ายแม้ไม่ได้รับอุบัติเหตุ
ความยาวของกระดูกลดลง เพราะหมอนรองกระดูกสูญเสียน้ําและบางลง กระดูกหลังผุมากขึ้น ทําให้หลังค่อม (kphosis) หรือหลังเอียง (scoliosis) มากขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
(Cardiovascular System)
ผนังหลอด เลือดฝอยหนาขึ้น ทําให้การแลกเปลี่ยนอาหารและของเสียลดลง มีการเชื่อม กันตามขวางของเส้นใยคอลลาเจน ทําให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะความดัน โลหิตต่ําเมื่อเปลี่ยนท่าทางได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงท่าทางต่าง ๆ ในผู้สูงอายุจึงควรกระทําอย่างช้าๆ
ระบบภูมิคุ้มกันทํางานลดลง ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
เซลล์จํานวนมากอยู่ในระยะ immature เพราะขาดฮอร์โมนจากต่อมฮอร์โมน อัตราส่วนของ
helper T cells ต่อ suppressor T cells เพิ่มขึ้น กลไกการตอบสนองของ T-lymphocytes ต่อเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ จึงลดลง
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory System)
ผู้สูงอายุจะมีความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงและกําลังการหดตัว ของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจเข้าหายใจออกลดลง
จํานวนถุงลมปอดลด ผนังถุงลมแตกง่าย เกิดถุงลมโป่งพองได้ง่าย
รีเฟล็กซ์และ ประสิทธิภาพการไอลดลง จึงเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย
การทํางานของฝาปิดกล่องเสียงลดลง ทําให้เกิดการสําลักและเกิดโรคปอดบวม ได้ง่ายขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร (Digestive System)
ฟันสึกกร่อน ฟันเปราะ บิ่นง่าย ฟันผุ หลุดล่วงง่าย ต่อม
น้ําลายเสื่อมหน้าที่ทําให้การย่อยแป้งและน้ําตาลในปากลดลง ปากและลิ้นแห้งมีการติดเชื้อในปากมากขึ้น การรับรสของลิ้นเสียไปทําให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร
การดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมลดลง เนื่องจากการผลิตน้ําย่อยกรดเกลือลดลง ผู้สูงอายุจึงเกิดโรคกระดูกผุ และโรคโลหิตจางได้ง่าย
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารช้าลง เนื่องจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการทํางานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารลดลง อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารยาวนานขึ้น ทําให้รู้สึกหิวลดลง
ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์(Genitourinary System)
ไต ขับของเสียออกจากร่างกายได้ลดลง เนื่องจากขนาดและจํานวนของหน่วยไตลดลง
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยง ต่อภาวะขาดน้ํา ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากกระเพาะปัสสาสะมีความจุลดลงและ เซลล์กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลง
ผู้ชายอาจมีปัสสาวะขัด ลําปัสสาวะไม่พุ่ง เนื่องจากต่อมลูกหมากโต ผู้หญิงก็มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นครั้งคราวเพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไตวาย
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ต่อมธัยรอยด์มีเนื้อเยื่อพังผืดมาสะสมมากขึ้น การทํางานจึงลดลงทําให้ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะ hypothyroidism ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทําให้มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ําหนักลดลงได้
ต่อมเพศทํางานลดลง จึงเป็นผลทําให้ไม่มีประจําเดือน ขนบริเวณรักแร้และหัวเหน่าลดลง
ปัญหา สาเหตุ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุ
อุบัติเหตุ แผลบริเวณผิวหนัง
ตรวจผิวหนังอยู่เสมอ จัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบ แสงสว่างเพียงพอ
ภาวะเบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร โลหิตจาง
เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสูงครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานอาหารครั้งละ น้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง รับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น
กระดูกเปราะและหักงาย ปวดข้อ
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงท่านั่งยอง ๆ ลดน้ําหนัก
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง สมองขาดเลือด
ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา งดอาหารที่มีไขมันสูง วัดความดันโลหิตเสมอ พักผ่อนเพียงพอ
การติดเชื้อในทางเดินหายใจและการสำลัก ถุงลมโป่งพอง หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย
รับประทานอาหารช้า ๆ หลีกเลี่ยงการพูดขณะรับประทานอาหาร ดื่มน้ํามาก ๆ มีการไอที่ถูกวิธี
เบาหวาน
ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารแป้งและน้ําตาลลดลง ลดความอ้วน สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ถ่ายปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ํามาก
ท้องผูก
ดื่มน้ํามากขึ้น รับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น ห้ามกลั้นอุจจาระ หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ่ายปัสสาวะลําบาก และถ่ายบ่อย
บริหารกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดโดยการขมิบก้นบ่อย ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ สังเกตอาการถ่ายปัสสาวะลําบากถ้ามีอาการมากขึ้น รีบปรึกษาแพทย์ ตรวจต่อมลูกหมากทุกปี
ต้อกระจก
ตรวจตาปีละ 1 ครั้ง ถนอมสายตา ไม่ใช้สายตามากเกินไป แสงสว่างเพียงพอ สังเกตอาการตามัว ถ้ามีอาการมากขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์
การนอนไม่หลับ
จัดสถานที่ให้เงียบสงบ ไม่มีสิ่งรบกวนขณะนอนหลับ งดดื่มชา กาแฟ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ําก่อนนอน
หูตึง
ตรวจหูปีละ 1 ครั้ง สังเกตอาการหูตึง ถ้าพบความผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
ผิวแห้งแตกง่ายเหี่ยวย่น
หลีกเลี่ยงการอาบน้ําบ่อย ๆ ทา ผิวหนังด้วยโลชั่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด
ความไม่สมดุลของน้ําในร่างกาย
ดื่มน้ําอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อนเพื่อป้องกัน การสูญเสียน้ําออกจากร่างกาย
หนาวเย็น
ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ในวันที่มีอากาศหนาวเย็น
การติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์เจ็บขณะร่วมเพศ
ดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ใช้สารหล่อลื่นขณะร่วมเพศ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ
การรับรู้ มักยึดมั่นกับความคิดและเหตุผลของตนเอง การรับรู้ต่อสิ่งใหม่เป็นไปได้ยาก และประสิทธิภาพของอวัยวะรับรู้ รู้สึก สื่อสาร ร เสื่อมสภาพลงมักใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็ นเครื่องประกอบการตัดสินการรับรู้ของตน ทำให้ขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย
การแสดงทางอารมณ์ จากสถานภาพ บทบาททางสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง ท้อแท้ น้อยใจง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องประสบกับความสูญเสีย
การสร้างวิถีดำเนินชีวิตของตนเอง การยอมรับสภาพความตายมีการใช้ชีวิตตามที่ตนเองปรารถนา
ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม เลือกเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความสนใจของตนเอง มักเลือกสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย ไม่ชอบสิ่งแปลกใหม่ ความมุ่งหวังในชีวิตลดลงหรือไม่มีเลย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมของผู้สูงอายุ
ภาระหน้าที่และบทบาททางสังคม จะลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุถูกมองข้ามไปจากสังคม
คนส่วนใหญ่มักมองว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพไม่แข็งแรง และมีความสามารถลดน้อยลงจึงไม่ให้ความสำคัญ
สูญเสียบทบาทจากการเคยเป็นผู้นำครอบครัวแต่ต้องกลายเป็นเพียงผู้อาศัยในสมาชิกของครอบครัวเท่านั้น
การมีเวลาว่างมากขึ้นทำให้สามารถกระทำกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหยอนใจได้มากขึ้น เช่น การเดินทางท่องเที่ยว การปลูกต้นไม้ เข้ากลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นต้น แต่จะมีข้อจำกัดในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เนื่องจากบทบาททางสังคมลดลง