Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะการสอน - Coggle Diagram
ทักษะการสอน
.
ทักษะการสอนหมายถึง ความสามารถ ความชํานาญ และความคล่องแคล่ว ใน การจัดการเรียนการสอน ให้เกิดประสิทธิภาพ บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สําหรับนักศึกษาครู นับว่ามีความสําคัญมาก ที่ต้องตระหนักถึงการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการ สอน โดยใช้ทักษะการสอน
-
-
-
-
-
.
ทักษะการใช้กระดานดํา
-
-
เป็นทักษะที่จําเป็นสําหรับการเรียนการสอนในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้สอนจําเป็นต้องใช้กระดานดําประกอบการเรียนการสอน เพื่อช่วยในการเรียนรู้ของ ผู้เรียน สามารถใช้ได้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งหากใช้กระดานดําอย่างถูกต้อง เหมาะสม จะช่วยให้การ เรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.
ทักษะการใช้คำถาม
การใช้คําถามเป็นเทคนิคสําคัญในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นทักษะที่สําคัญสําหรับ ครูที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอด ความคิด สามารถนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ทักษะการใช้คําถามจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยกระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด ทําความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย โดยบทบาทผู้เรียน จะเรียนรู้จากคิดเพื่อสร้างข้อ คําถามและคําตอบด้วยตนเอง
.
ทักษะการเร้าความสนใจ
ทักษะการเร้าความสนใจจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง ถ้าผู้สอนมีความ สามารถในการเร้าความสนใจได้ถูกต้องเหมาะสม การเร้าความสนใจควรคํานึงถึงบุคลิกภาพ ลีลา ท่าทางการสอนของผู้สอน ความตั้งใจในการสอนของผู้สอน การเตรียมความพร้อมของผู้สอน จะช่วย ให้การเรียนการสอนเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุด
.
ทักษะการเสริมกําลังใจ
เป็นความสามารถในการใช้วิธีการที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความกล้า แสดงออก โดยอาจเป็นการให้รางวัลหรือคําชมเชยหลังจากที่บุคคลประพฤติปฏิบัติหรือมีพฤติกรรม ตามที่ผู้สอนต้องการ
.
ทักษะการสรุปบทเรียน
เป็นกระบวนการที่ดําเนินการเมื่อการเรียนรู้ตอนใดตอนหนึ่งหรือ ทั้งหมดสิ้นสุดลง ที่สรุปเรื่องราว ความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ได้ตรวจสอบ ตนเองว่าเกิดการเรียนรู้ครบถ้วน ถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่เพียงใด