Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia: AML) …
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia: AML)
เป็นกลุ่มของโรคที่มีหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน (heterogeneous group) ทางด้าน morphology,
immunophenotype, cytogenetics ตลอดจนด้าน molecular เกิดเนื่องจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดในไขกระดูกทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโต (differentiate) ไปเป็นเซลล์ตัวแก่ได้
การรักษา
การเปลี่ยนถ่ายพลาสมาเพื่อลดจำนวนเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็ว (Leukapheresis)
ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมาก หรือมีอาการของเม็ดเลือดขาวอุดตันตามหลอดเลือด (Hyperleukocytosis) เช่น หอบเหนื่อย ซึม สับสน
การให้ยาเคมีบำบัดทางน้ำไขสันหลัง (Intrathecal Chemotherapy)
เฉพาะในรายที่มีภาวะการลุกลามเข้าสมองหรือน้ำไขสันหลัง หรือเพื่อป้องกันการกระจายของมะเร็งเข้าระบบสมองและน้ำไขสันหลัง
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์ผู้อื่น (Allogeneic Stem Cell Transplantation)
เป็นการรักษาที่สามารถทำให้โรคหายขาดได้ การรักษาแบบนี้ต้องทำในระยะที่โรคสงบหลังได้รับยาเคมีบำบัดแล้ว
ยาเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติออกมาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องได้รับเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดระหว่างรักษา รวมไปถึงยาปฏิชีวนะหากมีอาการติดเชื้อ
การฉายแสง (Radiation)
จะพิจารณาให้ในผู้ป่วยบางรายที่มีมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันที่มีความเสี่ยงในการลุกลามเข้าสมอง เช่น ALL
กรณีศึกษา
รักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัด สูตร re-induction CME
อาการ
น้ำหนักลดผิดปกติ
คลำได้ก้อน
ไข้ไม่ทราบสาเหตุ
ต่อมน้ำเหลืองโต
มีจุดเลือดออกผิดปกติ
ท้องแน่นโตจากตับม้ามโต
ซีด
เลือดออกตามไรฟันหรือมีเหงือกบวมอักเสบผิดปกติ
อ่อนเพลีย
อาการหอบเหนื่อยจากการที่เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติจนไปอุดตันเส้นเลือดในปอด (Hyperleukocytosis)
กรณีศึกษา
อ่อนเพลีย
มีจุดจ้ำเลือดบริเวณแขนข้างขวา
ซีด
น้ำหนักตัวลดลง
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง
สารเคมี โดยเฉพาะการสัมผัสเบนซินและวัสดุที่ได้จากเบนซิน (benzene derivatives)
การได้รับยาเคมีบำบัดชนิด alkylating agents
พันธุกรรม
มีโรคทางระบบโลหิตวิทยามาก่อน
MDS
Aplastic anemia
Multiple myeloma
กรณีศึกษา
มีโรคประจำตัวเป็นโรค HIV
ผลข้างเคียงของการให้ยาเคมีบำบัด
ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
ผมร่วง
คลื่นไส้ อาเจียน
แผลในปาก (oral mucositis)
ผลต่อหัวใจ
ยากลุ่ม Anthracyclines มักพบวา่ มีพิษต่อหัวใจ อาการอาจพบตั้งแต่หัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) หรือรุนแรงถึงภาวะหัวใจล้มเหลว
ผลต่อระบบโลหิตวิทยา
เม็ดเลือดแดง จะมีการลดลงอย่างช้าๆ
เกร็ดเลือด จะเริ่มลดลงประมาณวัน ที่ 5 ของการได้รับยาเคมีบำบัด
เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophils มักจะลดลงอย่างรวดเร็วประมาณ 7 วัน หลังได้รับยาเคมีบำบัด
ผลต่อระบบประสาท
การได้รับ high dose Ara-C ( HIDAC) สามารถส่งผลกระทบสมองส่วน cerebellum ซึ่ง
เป็นสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เมื่อผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด
ในสูตรนี้ควรประเมินอาการเหล่านี้เช่น อาการสั่น เดินเซ การสูญเสียการสั่งการ ตากระตุก ปิดตาไม่สนิท
กรณีศึกษา
ผมร่วง
แผลในปาก
เกล็ดเลือดต่ำ
การวินิจฉัยโรค
เจาะตรวจไขกระดูก
เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ตรวจย้อมการติดสีจำเพาะเพื่อจำแนกชนิดของมะเร็ง ตรวจโครโมโซมเพื่อประเมินระยะความเสี่ยงของโรค
ตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด รวมไปถึงค่าทางชีวเคมีเพื่อประเมินการทำงานของตับ ไต เกลือแร่ และกรดยูริก
ตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันบางชนิดที่มักมีความเสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย เช่น AML-M3
เจาะตรวจน้ำไขสันหลังในกรณีที่สงสัยภาวะลุกลามเข้าระบบประสาท
กรณีศีกษา
เจาะตรวจไขกระดูก