Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเปลี่ยนแปลง ของผู้สูงอายุ, นางสาวนันทิกานต์ สินพิทักษ์ เลขที่…
กระบวนการเปลี่ยนแปลง
ของผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ร่างกายผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายใน
กรรมพันธุ์
สุขภาพอนามัย
การมองโลก ประสบการณ์ชีวิต
ความเชื่อ คนที่มีความเชื่อว่าความสูงอายุคือความภาคภูมิใจเป็น
ที่เคารพย่อมดูแลตนเองและแสวงหาความรู้เพื่อทําให้มีสุขภาพดี
ปัจจัยภายนอก
การศึกษา
เศรษฐกิจ เช่น ผู้ที่มีรายได้ก็จะสามารถ
เลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์
สิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม
ที่มีเสียงดังก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
การเกษียณงาน
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ
ระบบผิวหนัง (Integumentary System)
ผิวหนังบางลง ความเหนียวของผิวหนังเพิ่มมากขึ้นเซลล์ผิวหนังมีจํานวนลดลง
เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลงอัตราการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เดิมลดลง
ส่งผลให้ผู้สูงอายุจึงเกิดแผลกดทับได้ง่ายและทนต่อความเย็นได้น้อยลง
ต่อมเหงื่อมีจํานวนและขนาดลดลง ดังนั้น การระบายความร้อนโดยวิธีการระเหยจึงไม่ดี ทําให้การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเลวลง
ต่อมไขมันทํางาน ลดลงทําให้ผิวหนังแห้งคันและแตกง่าย
ผมและขนมีจํานวนลดลง อัตราการเจริญของผมและขนลดลง
ตามอายุ เมลานิน ซึ่งผลิตจากเซลล์สร้างสีของผมลดลง
ปัญหาการได้ยินลดลง หูตึง (Presbycusis) เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวมากขึ้น ทําให้มีความบกพร่องการได้ยินระดับเสียงสูงมากกว่าระดับเสียงต่ํา
การมองเห็น ลูกตามีขนาดเล็กลงและลึกเพราะไขมันของลูกตาลดลง
หนังตามีความยืดหยุ่นลดลง ทําให้การปรับตัวสําหรับการมองเห็น
ในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ดี โดยเฉพาะในสถานที่มืดหรือในเวลากลางคืน
เซลล์สมองและเซลล์ประสาทมีจํานวนลดลง ขนาดของสมองลดลง
ประสิทธิภาพของการทํางานของสมองและประสาทอัตโนมัติลดลง
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal system)
หลังอายุ 40ปี อัตราการเสื่อมของกระดูกมากกว่าอัตราการสร้าง
เซลล์กระดูกลดลงแคลเซียมมีการสลายออกจากกระดูกมากขึ้น
ในเพศหญิงสาเหตุที่สําคัญคือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนนี้ออกฤทธิ์กระตุ้นการทํางานของ osteoblasts ลดลงหลังหมดประจําเดือนทําใหแคลเซียมสลายออกจากกระดูก
แคลเซียมที่สลายออกจากกระดูกมักจะไปเกาะบริเวณกระดูกอ่อนในอวัยวะต่าง ๆ ที่บริเวณกระดูกอ่อนชายโครง
จึงเป็นเหตุให้ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยลง การหายใจลําบากขึ้น ต้องอาศัยการทํางานของกระบังลมมากขึ้น
ความยาวของกระดูกลดลงเพราะหมอนรองกระดูกสูญเสียน้ําและบางลง
กระดูกหลังผุมากขึ้นทําให้หลังค่อม (kphosis) หรือหลังเอียง (scoliosis)มากขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System)
หลอดเลือดของผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมมากขึ้น ผนังหลอดเลือดฝอยหนาขึ้นทําให้การแลกเปลี่ยนอาหารและของเสียลดลง ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงท่าทางต่าง ๆ ในผู้สูงอายุจึงควรกระทําอย่างช้า ๆ เกิดรอยฟกช้ําได้ง่าย
ระบบภูมิคุ้มกันทํางานลดลง ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
จํานวนของ T-lymphocytes ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เซลล์จํานวนมาก
อยู่ในระยะ immature เพราะขาดฮอร์โมนจากต่อมฮอร์โมน
ระบบทางเดินหายใจ
(Respiratory System)
ผู้สูงอายุจะมีความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงและกําลัง
การหดตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจเข้าหายใจออกลดลง
จํานวนถุงลมปอดลด ผนังถุงลมแตกง่าย เกิดถุงลมโป่งพองได้ง่าย
การทํางานของเซลล์ขน (cilia) ตลอดทางเดินหายใจลดลง รีเฟล็กซ์และ
ประสิทธิภาพการไอลดลง จึงเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย
ระบบทางเดินอาหาร
(Digestive System)
ฟันสึกกร่อน เคลือบฟันบางลง ฟันเปราะ บิ่นง่าย ฟันผุ หลุดร่วงง่าย
ต่อมน้ําลายเสื่อมหน้าที่ทําให้การย่อยแป้งและน้ําตาลในปากลดลง
ปากและลิ้นแห้งมีการติดเชื้อในปากมากขึ้น
การรับรสของลิ้นเสียไปทําให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร
เซลล์บริเวณหลอดอาหารมีการเปลี่ยนแปลงมีการยื่นโป่งพอง
ของหลอดอาหารทําให้การเคลื่อนไหวของหลอดอาหารลดลง
หลอดอาหารมีขนาดกว้างขึ้นกล้ามเนื้อหูรูด
บริเวณปลายหลอดอาหารหย่อนตัวลงและ
บางครั้งมีการสูดสําลักเข้าสู่หลอดลมทําให้เกิดโรคปอดบวมได้
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารช้าลงเนื่องจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อและ
การทํางานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารลดลงอาหารอยู่ในกระเพาะอาหารยาวนานขึ้น
ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ (Genitourinary System)
ไต ขับของเสียออกจากร่างกายได้ลดลง
เนื่องจากขนาดและจํานวนของหน่วยไตลดลง
เสี่งต่อภาวะขาดน้ำเนื่องจากมีการปัสสาวะบ่อย
กระเพาะปัสสาสะมีความจุลดลงและเซลล์กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลง
ความสามารถในการหดตัว ส่งผลให้มีปัสสาวะ
ค้างหลังการถ่ายปัสสาวะทําให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ผู้ชายอาจมีปัสสาวะขัด ลําปัสสาวะไม่พุ่ง เนื่องจากต่อมลูกหมากโต ผู้หญิงก็
มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นครั้งคราวเพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น
โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไตวาย
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ต่อมธัยรอยด์มีเนื้อเยื่อพังผืดมาสะสมมากขึ้นการทํางานจึงลดลงทําให้ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะ
hypothyroidism ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทําให้มีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหารและน้ําหนักลดลงได้
ตับอ่อนหลั่งอินสุลินลดลงและช้า ระดับน้ําตาลขณะอดอาหารคงที่ ภายในร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินน้อยกว่าปกติ เป็นผลทําให้ระดับความทนต่อน้ําตาล (glucose tolerance) ลดลง
ต่อมเพศทํางานลดลง จึงเป็นผลทําให้ไม่มีประจําเดือน ขนบริเวณรักแร้และหัวเหน่าลดลง
ปัญหา สาเหตุและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุ
อุบัติเหตุ แผลบริเวณผิวหนัง
หลีกเลี่ยงการประคบร้อนหรือเย็นจัดเกินไป ตรวจผิวหนังอยู่เสมอ
จัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบ แสงสว่างเพียงพอ
ภาวะเบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร โลหิตจาง
เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสูงครบทั้ง 5 หมู่ รับประทาน
อาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง รับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น
กระดูกเปราะและหักง่าย ปวดข้อ
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกลังกายในสถานที่ที่มี
แสงแดดอ่อน ๆอย่างสม่ําเสมอ บริหารข้อมากขึ้น งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย
ความดันโลหิตสูง สมองขาดเลือด
ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ
งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา ลดความอ้วน งดอาหารที่มีไขมันสูง
การติดเชื้อในทางเดินหายใจและการสําลัก
ถุงลมโป่งพอง หายใจลําบากเหนื่อยง่าย
รับประทานอาหารช้า ๆ หลีกเลี่ยงการพูดขณะรับประทานอาหาร
บริหารการหายใจมากขึ้น ดื่มน้ํามาก ๆ มีการไอที่ถูกวิธี
เบาหวาน
ออกกําลังกายสม่ําเสมอ ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารแป้งและน้ําตาล
ลดลง ลดความอ้วน สังเกตอาการผิดปกติ เช่นถ่ายปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ํามาก
ท้องผูก
ดื่มน้ํามากขึ้น รับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น ออกกําลังกายสม่ําเสมอ
ออกกําลังกาย สม่ําเสมอ ห้ามกลั้นอุจจาระ หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ถ่ายปัสสาวะลําบาก และถ่ายบ่อย
บริหารกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดโดย
การขมิบก้นบ่อย ๆ ดื่มน้ําอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในตอนกลางวัน
ต้อกระจก
ตรวจตาปีละ 1 ครั้ง ถนอมสายตา ไม่ใช้สายตามากเกินไป
แสงสว่างเพียงพอสังเกตอาการตามัว
การนอนไม่หลับ
จัดสถานที่ให้เงียบสงบ ไม่มีสิ่งรบกวนขณะนอนหลับ ดื่มนมอุ่น ๆ ก่อนนอน
หูตึง
ตรวจหูปีละ 1 ครั้ง สังเกตอาการหูตึง ถ้าพบความผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์แนะนําการใช้ช่วยฟัง
ผิวแห้งแตกง่ายเหี่ยวย่น
หลีกเลี่ยงการอาบน้ําบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ ถ้าจําเป็นให้ใช้สบู่อ่อน ๆ
ทาผิวหนังด้วยโลชั่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด
ความไม่สมดุลของน้ําในร่างกาย
แนะนําให้ดื่มน้ําอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน
เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ําออกจากร่างกาย
หนาวเย็น
ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ในวันที่มีอากาศหนาวเย็น
การติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์
เจ็บขณะร่วมเพศ
แนะนําการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์
ใช้สารหล่อลื่นขณะร่วมเพศ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคม
การรับรู้ ซึ่งผู้สูงอายุมักยึดติดกับความคิดและเหตุผลของตนเอง
เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ยากเพราะไม่มีความมั่นใจในการปรับตัว
การแสดงออกทางอารมณ์ อาจจะมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระแวง วิตกกังวล โกรธง่าย เอาแต่ใจตนเอง มักจะคิดซ้ำซาก ลังเล หวาดระแวง หมกมุ่นเรื่องของตนเอง ทั้งเรื่องในอดีตและอนาคต
สนใจสิ่งแวดล้อมน้อยลง ผู้สูงอายุมักสนใจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเองมากกว่าเรื่องของผู้อื่น
ภาระหน้าที่และบทบาททางสังคมลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุห่างจากสังคม อีกทั้งคนส่วนใหญ่
มักมองว่าผู้สูงอายุมีสมรรถภาพและความสามารถลดน้อยลง จึงไม่ให้ความสำคัญหรือใส่ใจมากนัก
เปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้นำครอบครัว กลายเป็นเพียงผู้อาศัยหรือเป็นสมาชิกของครอบครัวเท่านั้น
ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองหรือกิจวัตรประจำวันเป็นไปได้ยากลำบาก จะส่งผลกระทบต่อจิตใจ เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง หดหู่กับสภาพตัวเอง อีกทั้งยัง ทำให้ผู้สูงอายุไม่กล้ามีสังคมหรือมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
นางสาวนันทิกานต์ สินพิทักษ์
เลขที่ 36 รุ่น 37 62111301038