Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Psychodynamic case formulation - Coggle Diagram
Psychodynamic case formulation
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เกิดความเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น และสามารถนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
การมีปมขัดแย้ง (Conflict)
ปมขัดแย้งในอดีต (Previous conflict)
เกิดช่วงวัยต้นๆ เช่น ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก เป็นต้น
ปมขัดแย้งปัจจุบัน (Current conflict)
เป็นความรู้สึกขัดแย้งที่เป็นผลมาจากปมขัดแย้งในอดีตที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงส่งผลต่อปัจจุบัน ซึ่งอาจนำไปสู่ความเครียด หรือการเจ็บป่วยได้ เช่น ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน เพราะคิดว่าเจ้านายลำเอียง ในกรณีนี้อาจมีผลมาจากในวัยเด็กคิดว่าพ่อแม่รักพี่/น้องมากกว่าตน เป็นต้น
กลไกป้องกันทางจิต (Defense mechanism)
กระบวนการที่เกิดขึ้น เมื่อมีความคับข้องใจ มีวามขัดแย้ง หรือภาวะวิกฤตต่างๆ เพื่อป้องกันจิตใจ และลดภาวะที่ไม่พึงปรารถนา
• การเก็บกด (Repression) ซึ่งกลไกนี้เป็นไปโดยจิตไร้สำนึก จะไม่รู้สึกตัว
• การถดถอยไปสู่พัฒนาการระยะต้น เพื่อเลี่ยงปัญหา (Regression)
• การโทษผู้อื่น (Projection)
• การบิดเบือนความจริงให้เหมาะกับความรู้สึกในจิตใจของตน (Distortion)
• การปฏิเสธ หรือการไม่ยอมรับความเป็นจริง (Denial)
แบบแผนการเผชิญปัญหา (Coping pattern)
เป็นการไตร่ตรอง หาวิธีเผชิญกับภาวะวิกฤตทางอารมณ์ เพื่อให้เกิดความสบายใจ
การเผชิญปัญหาที่มุ่งเน้นแก้สาเหตุ เช่น การวางแผนแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอน เป็นต้น
การเผชิญปัญหาที่มุ่งเน้นแก้อารมณ์ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา สังสรรค์กับเพื่อน เป็นต้น
แหล่งประโยชน์ส่วนตัว (Personal resources)
แหล่งสนับสนุนทางสังคมที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือในการแก้ปัญหา เช่น การมีครอบครัวคอยดูแล และให้กำลังใจ เป็นต้น
ปัจจัยโน้มนำ (Predisposing factors)
ปัจจัยส่งเสริม หรือเอื้อต่อการเกิดโรค ซึ่งเป็นจุดอ่อนในตัวของผู้ป่วย หากมีปัจจัยอื่นมาเพิ่มเติม จะทำให้ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อจิตใจมากขึ้น เช่น พันธุกรรม การเจ็บป่วยทางกายเรื้อรัง การได้รับอุบัติเหตุทางสมอง เป็นต้น
ปัจจัยกระตุ้น (Precipatating factors)
เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางจิต (Nervous break down)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
Psychoanalytic theory
Biopsychosocial theory