Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) - Coggle Diagram
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion)
พยาธิสภาพ
ปริมาณน้ำ / ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดจะถูกควบคุมด้วย 2 กลไกสำคัญคือจากความดันในหลอดเลือดของเยื่อหุ้มปอดทั้ง 2 ชั้นซึ่งจะส่งผลให้มีน้ำ / ของเหลวซึมผ่านผนังหลอดเลือดเข้าสู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอด, และจากการดูดซึมน้ำ / ของเหลวของระบบน้ำเหลืองกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำของเยื่อหุ้มปอดและเข้าสู่ร่างกายตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ต้องอยู่ในสมดุลปริมาณน้ำ / ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ถ้ามีการเสียสมดุลของปัจจัยทั้ง 2 นี้ด้วยสาเหตุอะไรก็ตามเช่นมีน้ำ / ของเหลวซึมผ่านหลอดเลือดเยื่อหุ้มปอดมากขึ้นหรือระบบน้ำเหลืองไม่สามารถดูดซึมน้ำ / ของเหลวกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำ / ร่างกายได้ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะมีน้ำ / ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอด
โดยทั่วไปการจะมีน้ำ / ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดที่จะตรวจพบได้จากการถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์เทคนิคเฉพาะคือถ่ายภาพในท่านอนตะแคงด้านที่สงสัยมีความผิดปกติ (Lateral deCubitus) ปริมาณน้ำ / ของเหลวต้องมีปริมาณตั้งแต่ 50 มิลลิลิตรขึ้นไปทั้งนี้การถ่ายภาพเอกซเรย์เทคนิคปกติ (ถ่ายในท่ายืน) จะสามารถตรวจได้ว่ามีน้ำ / ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดมักจะต้องมีปริมาณน้ำอย่างน้อยประมาณ 200-300 มิลลิลิตรขึ้นไปซึ่งเป็นปริมาณที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการผิดปกติด้วยเช่นเหนื่อยง่ายขึ้นเมื่อต้องออกแรงเป็นต้น
อาการ
หอบ หายใจถี่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หรือหายใจเข้าลึก ๆ ลำบาก เนื่องจากของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดไปกดทับปอด ทำให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ไอแห้งและมีไข้ เนื่องจากปอดติดเชื้อ
สะอึกอย่างต่อเนื่อง
เจ็บหน้าอก
สาเหตุ
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดของเหลวแบบใส
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่ส่งผลให้เกิดความดันต้านกลับในหลอดเลือดดำ มักทำให้เกิดอาการบวมจากของเหลวบริเวณขาและอาจมีภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
โรคตับแข็ง โรคที่เนื้อเยื่อตับปกติค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยพังผืดแผลเป็น (Scar Tissue) จากการอักเสบ โดยพังผืดนี้จะไปขัดขวางการทำงานของตับในการกรองของเสียหรือขับสารพิษ รวมถึงการผลิตสารอาหาร ฮอร์โมน และโปรตีนในเลือด ซึ่งระดับโปรตีนในเลือดที่ต่ำนั้นจะส่งผลให้มีของเหลวซึมออกมานอกหลอดเลือดและอาจทำให้เกิดภาวะ Pleural Effusion ตามมา
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดจากอวัยวะต่าง ๆ (ส่วนใหญ่มักมาจากบริเวณขา) ไหลมาอุดกั้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดเข้าสู่ปอด (Pulmonary Artery) ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก ไอ หายใจถี่ บางครั้งมีภาวะ Pleural Effusion และอาจรุนแรงถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งนอกจากภาวะนี้จะก่อให้เกิดของเหลวแบบใสแล้ว ยังก่อให้เกิดของเหลวแบบขุ่นได้เช่นกัน
หลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด หลังการเปิดช่องอกเพื่อผ่าตัดกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือหลอดเลือดแดงภายในหัวใจ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบทางเดินหายใจหรือไตล้มเหลว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีภาวะ Pleural Effusion เป็นต้น
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดของเหลวแบบขุ่น
โรคปอดบวมหรือโรคมะเร็ง อาจส่งผลให้ปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ จนเกิดของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอดตามมา
ไตวาย เกิดจากหน่วยไตได้รับความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถกรองเลือดและขับน้ำปัสสาวะได้ตามปกติ ซึ่งอาจเป็นภาวะไตวายเฉียบพลันจากการบาดเจ็บ ได้รับสารพิษ หรือภาวะไตวายเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไตวายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยมีอาการเจ็บหน้าอก มีภาวะ Pleural Effusion กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือไตถูกทำลายอย่างถาวรได้
อาการอักเสบ อาจเป็นการอักเสบที่ปอดตั้งแต่แรกหรือการอักเสบจากอวัยวะอื่นแล้วส่งผลให้ปอดอักเสบ จนเกิดของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดตามมา เช่น การอักเสบจากโรคข้ออักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นต้น
สาเหตุอื่น ๆ โรคหรือภาวะที่นอกเหนือจากข้างต้นอาจก่อให้เกิด Pleural Effusion ได้เช่นกัน แต่พบไม่มากนัก เช่น วัณโรค โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เลือดคั่งในทรวงอก ภาวะน้ำเหลืองคั่งในช่องปอด (Chylothorax) รวมถึงผู้ที่ต้องสูดดมแร่ใยหินเป็นประจำ
การวินิจฉัย
การสอบถามประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย ผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเคยเป็นโรคตับแข็ง ร่วมกับมีอาการบ่งชี้ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอแห้ง หรือตรวจร่างกายแล้วพบความผิดปกติที่ระบบหายใจ อาจคาดการณ์ได้ว่ามีภาวะ Pleural Effusion
การเอกซเรย์ เป็นวิธีวินิจฉัยที่ให้ผลการตรวจชัดเจน เนื่องจากจะช่วยให้เห็นลักษณะปอด รวมถึงของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอดได้
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography: CT Scan) อาจนำมาใช้ตรวจเพื่อหาสาเหตุของภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เป็นไปได้เพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงแสดงภาพอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งจะแสดงภาพส่วนของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue) ทารกที่อยู่ในครรภ์ ภาวะเส้นเลือดอุดตัน การอัลตราซาวด์อกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีวินิจฉัยภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
การวิเคราะห์ของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Fluid Analysis) สามารถทำได้หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอดหรือสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในปอดเพื่อระบายของเหลวออกมา แล้วนำของเหลวดังกล่าวไปตรวจสอบ
การรักษา
ท่อเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อระบายของเหลวออกภายนอกร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาซ้ำ หากพบว่ามีปริมาณของเหลวเพิ่มขึ้นอีก
Pleurodesis คือวิธีการรักษาโดยใช้สารบางชนิดเชื่อมเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอกให้ติดกัน ซึ่งจะทำหลังจากระบายของเหลวออกนอกร่างกายเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดช่องว่างและป้องกันการสะสมของของเหลวภายในปอด ส่วนใหญ่วิธีนี้มักนำมาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะ Pleural Effusion ร่วมด้วย
การผ่าตัด วิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแพทย์จะสอดท่อเข้าไปในช่องอกเพื่อบังคับทิศทางให้ของเหลวไหลจากบริเวณปอดออกสู่ช่องท้อง ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายระบายของเหลวได้ง่ายกว่า หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจตัดเยื่อหุ้มปอดบางส่วนทิ้ง วิธีนี้เรียกว่า Pleurectomy