Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรงเรียนฝึกหัดครูและโรงเรียนฝึกหัดครูขั้นสูง - Coggle Diagram
โรงเรียนฝึกหัดครูและโรงเรียนฝึกหัดครูขั้นสูง
โรงเรียนฝึกหัดครู
ในปี พ.ศ. 2435 ได้ประกาศตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการ) มีพระยาภาสกรวงศ์ (เจ้าพระยาภาสกรวงศ์) เป็นเสนาบดีคนแรก และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ในปีเดียวกัน ได้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ มี นายเอช กรีนรอด เป็นอาจารย์ใหญ่ มีนักเรียนที่สําเร็จได้รับประกาศนียบัตรเป็นครูรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2437 คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาโอวาทวรกิจ (นายเหม ผลพันธิน) และ นายสด ผลพันชิน ในปี พ.ศ. 2445 ได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปตั้งที่วัดเทพศิรินทราวาส ชื่อว่า โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์
ในปี พ.ศ.2498 ได้ตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา 2 แห่ง คือ วิทยาลัย วิชาการศึกษาปทุมวัน พระนคร และวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ชลบุรี
ในปี พ.ศ. 2499 ได้ยุบเลิกหลักสูตรการฝึกหัดครูระดับ ป.ป., ป. ว., ป.ม. และเปิดหลักสูตร ป. กค. แทนทั่วประเทศ
จะเห็นได้ว่าการผลิตครูระดับตํานั้นกินเวลาทั้งสิ้น 66 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 - 2499 ในปีเดียวกัน องค์การยูเนสโก
ได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่อง การจัดโครงการฝึกหัดครูชนบท โดยให้โรงเรียนฝึกหัดครูอุบลราชธานีทดลองเป็นแห่งแรก ต่อมางานฝึกหัดครูชนบทได้ขยายไปจัดทําในสถานฝึกหัดครูอื่น ๆ ทั้งหมด
ในปี พ.ศ. 2435 ได้ประกาศตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการ) มีพระยาภาสกรวงศ์ (เจ้าพระยาภาสกรวงศ์) เป็นเสนาบดีคนแรก และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ในปีเดียวกัน ได้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ มี นายเอช กรีนรอด เป็นอาจารย์ใหญ่ มีนักเรียนที่สําเร็จได้รับประกาศนียบัตรเป็นครูรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2437 คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาโอวาทวรกิจ (นายเหม ผลพันธิน) และ นายสด ผลพันชิน ในปี พ.ศ. 2445 ได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปตั้งที่วัดเทพศิรินทราวาส ชื่อว่า โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์
ในปี พ.ศ. 2456 ได้ตั้งโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูเป็นครั้งแรกที่โรงเรียน เบนจมราชาลัย
ในปี พ.ศ.2471 กระทรวงธรรมการได้โอนการฝึกหัดครูมัธยม ไปขึ้นกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดแผนกฝึกหัดครูมัธยมในคณะอักษรศาสตร์ และ คณะวิทยาศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2480 การฝึกหัดครูหญิงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่โรงเรียนสวนสุนันทา วิทยาลัย และนอกจากนี้มีโรงเรียนราษฎร์อีก 3 แห่ง
ที่ได้จัดการฝึกหัดครูประถม คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ และโรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์ แต่ได้ยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2487
ในปี พ.ศ. 2490 เปิดแผนกฝึกหัดครูการเรือนและฝึกหัดครูอนุบาล ที่โรงเรียนการเรือนพระนคร และเปิดแผนกฝึกหัดครูมัธยมที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท และเปิดฝึกหัดครูมัธยมการช่าง
ที่โรงเรียนเพาะช่างนปี พ.ศ.2491 ได้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมอาชีวะทั้งชายและหญิงขึ้น ที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย พญาไท และได้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถม อาชีวศึกษาทั้งชายและหญิงขึ้นในปีเดียวกัน
กรมการฝึกหัดครู ได้วางโครงการ 16 ปี เพื่อจะผลิตครูให้พอกับความ ต้องการของประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรี โดยจะเริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2501 คณะรัฐมนตรีได้รับหลักการแต่ติดขัดว่างบประมาณของแผ่นดินไม่สามารถจะจัดสรรให้ ตามโครงการนี้ได้ อย่างไรก็ดี กรมฯ ได้พยายามเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการฝึกหัดครู ให้เป็นการเรียนแบบระบบหน่วยกิตเป็นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนั้นได้มีการ ปรับปรุงคุณภาพของครูอาจารย์ ส่งเสริมครูอาจารย์ให้มีคุณวุฒิสูงขึ้นด้วยการส่งไป ฝึกอบรม ดูงาน และศึกษาต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในปี พ.ศ.2425 ตั้งโรงเรียนทําแผนที่ มี นายแมคคาร์ธี ซึ่งเป็นช่าง ทําแผนที่กรมพระกลาโหม เป็นครูสอน และได้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสําหรับ
พระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทบุรีนฤนาถ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กรมหลวงปราจีนกิตติบดี และ กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช
ในปี พ.ศ. 2428 ได้ตั้งโรงเรียนสําหรับราษฎรทั่วไปเป็นแห่งแรก ที่วัดมหรรณพาราม
ในปี พ.ศ.2450 ตั้งกรมศึกษาธิการ มีกรมหมื่นคํารงราชานุภาพ เป็นผู้บังคับบัญชา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ตั้งโรงสอน หรือ "โรงสกูล"
เพื่อสอนมหาดเล็กทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน และโปรดให้ หลวงสารประเสริฐ (พระยาศรีสุนทรโวหาร - น้อย อาจารยางกูร) ปลัดกรม พระอาลักษณ์ เป็นครูสอนหนังสือไทย ในปี พ.ศ. 2413
ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด
ให้ทั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในที่เดิม ซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยแห่งแรก ในประเทศไทย มีหลวงสารประเสริฐ เป็นอาจารย์ใหญ่ มีขุนนางและพนักงาน ในกรมพระอาลักษณ์เป็นครูสอน
นอกจากนั้น พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสําหรับ พระบรมวงศานุวงศ์
มี นายฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน ชาวอังกฤษ เป็นครูใหญ่ และในปี พ.ศ. 2419 ครูใหญ่ได้ลากลับประเทศอังกฤษ
ในปี พ.ศ. 2422 ได้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษชิ้นใหม่ที่พระราชวังเดิม สวนนันทอุทยาน มี นายเอส จี แมคฟาแลนด์ เป็นครูใหญ่
ในปี พ.ศ. 2424 ได้ทั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2425 ได้ย้ายมาที่พระตําหนักสวนกุหลาบ มีหลวงโอวาทวรกิจ เป็นครูใหญ่
โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง
กรมการฝึกหัดครู ได้ปรับปรุงหลักสูตรการฝึกหัดครูในปี พ.ศ. 2517 - 2518 เพื่อใช้เป็นหลักในการสอนฝึกหัดครูระดับต่าง ๆ คือระดับ ป.กศ. และระดับปริญญาตรี สําหรับหลักสูตรระดับ ป.กศ.สูง และระดับปริญญาตรีนั้นรวมเป็นหลักสูตรการฝึกหัดครู ของสภาการฝึกหัดครู พุทธศักราช 2519 หลักสูตรนี้มีเป้าหมายที่จะผลิตครูที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และหัศนคติ เพื่อให้เข้าใจในหน้าที่ของตนเข้าใจสภาพแวดล้อมและสังคมสามารถนําความรู้ความสามารถและความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของครูมาพัฒนาการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมได้เป็นอย่างดี
ฉะนั้นในการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกหัดครูโดยเฉพาะในระดับปริญญานอกจากคํานึงถึงความสอดคล้องกันระหว่างการพัฒนาการฝึกหัดครู การพัฒนาการ ศึกษาทั่วไป และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว ยังพิจารณาถึงความสอดคล้องกันระหว่างการพัฒนาการฝึกหัดครูการพัฒนาการ ศึกษาทั่วไป และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว ยังพิจารณาถึงบทบาทครู ในฐานะของผู้นําท้องถิ่น เพื่อให้นักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครูพร้อมที่จะเป็นผู้นําในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับสภาพของสังคม วัฒนธรรม และชนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของชาติ
ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู และได้ประกาศใช้ ในราชกิจจานุเบกษา ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัย มีวัตถุประสงค์ ให้การศึกษาวิชาการและผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทําการวิจัย ส่งเสริมวิชาชีพ โดยวิทยาลัยครูยังคงสังกัดอยู่ในกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถือกำเนิดขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในกระแสสังคมที่เริ่มคลี่คลายจากการตื่นตระหนกภัยสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม หลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้ก่อกำเนิดขึ้น เพื่อมุ่งเน้นความสมานฉันท์และผลักดันความร่วมมือทางด้านต่าง ๆ รวมทั้ง การผลักดันทางด้านการศึกษา เพื่อให้โลกใบนี้เจริญก้าวหน้าและมีสติปัญญามากขึ้น “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง” ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2492 ณ ถนนประสานมิตร กรุงเทพมหานคร เพื่อผลักดันการศึกษาทางด้านวิชาชีพครู ในช่วงเวลาที่วิชาชีพครูขาดแคลน และไม่สมดุลกับการขยายตัวของสังคม และศาสตร์ทางด้านการศึกษายังใหม่ต่อสังคมในขณะนั้น เป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถือกำเนิดขึ้นจากการผลักดันของ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการอยู่ในขณะนั้น และท่านก็ได้มีบทบาททางด้านการศึกษาทั้งที่โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง วิทยาลัยวิชาการ และสังคมไทย
ในปี พ.ศ. 2508 กรมการฝึกหัดครูเปิดฝึกอบรมครูสอนเด็กตาบอดเป็นรุ่นแรก ณ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา ตามความต้องการของโครงการทดลองให้เด็กตาบอดเรียน
รวมกับเด็กตาดี เพื่อดูว่าเด็กตาบอดจะสามารถเรียนร่วมกับเด็กตาดีอย่างมีประสิทธิผล ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาขึ้นไป
ในปี พ.ศ. 2511 กรมการฝึกหัดครูได้เปิดสอนนอกเวลา ทั้งนี้เพราะมี นักศึกษาสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษาฝึกหัดครูทั่วประเทศจํานวนมาก
ได้เปิดสอน นอกเวลาครั้งแรกที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยครูสวนสุนันทา โดย เปิดสอนหลักสูตร ป. กศ. ชั้นสูงก่อน
ในปี พ.ศ. 2517 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า
"มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”
เมื่อโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ระหว่างพุทธศักราช 2492– 2496 ท่านเป็นผู้นำและผู้วางรากฐานระเบียบแบบแผนของการฝึกหัดครู เป็นผู้บุกเบิกงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบแผนของปูชนียบุคคลในวิชาชีพครูอย่างสูงยิ่ง