Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case study PP เตียง 16 จัดทำโดย นศพต.อุสาวดี สุขสวัสดิ์ เลขที่ 60 -…
Case study PP
เตียง 16
จัดทำโดย
นศพต.อุสาวดี สุขสวัสดิ์ เลขที่ 60
ข้อมูลส่วนตัว
หญิงไทยหลังคลอดอายุ 20 ปี G2P1001
คลอด Normal Labor 41+2 wks. by date
คลอดทารกเพศชาย วันที่ 16/11/63 เวลา 04.13 น. น้ำหนักแรกคลอด 3,760 กรัม
รับใหม่ PP วันที่ 16/11/63
รับไว้ในความดูแล วันที่ 16/11/63
อาชีพ : แม่บ้าน
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน : N/A
ไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมที่บ้าน : ห้องเช่าพักชั้น 1
ANC ทั้งหมด 12 ครั้ง ที่ รพ.นพรัตน์ 4 ครั้ง และที่ รพ.ตร. 8 ครั้ง
มี Labor pain เวลา 22.00 น. ของวันที่ 15/11/63 ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีมูกเลือดจึงมาโรงพยาบาลที่ ER
ตรวจสอบพบว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง
PV พบปากมดลูกเปิด 4 cm. Effacement 75%, station -1, MI
จึงส่ง admit LR
Term Pregnancy
Active phase ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 45 นาที
Fully Dilate 03.45 น.
คลอดเวลา 04.13 น.
Blood loss ที่ LR 150 ml
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC วันที่ 16/11/63
Hemoglobin 11.9 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Hematocrit 35.6 % ต่ำกว่าปกติ
RBC 5.82 10^6/uL สูงกว่าปกติ
MCV 61.2 fL ต่ำกว่าปกติ
MCH 20.5 pg ต่ำกว่าปกติ
RDW 17.1 % สูงกว่าปกติ
WBC 15 10^3/uL สูงกว่าปกติ
neutrophil 75.8 % สูงกว่าปกติ
Lymphocyte 16.4 % ต่ำกว่าปกติ
Platelet Count 146 10^3/uL ต่ำกว่าปกติ
การแปลผล
Hb,Hct,,MCV,MCH ต่ำกว่าปกติ เกิดจากการเสียเลือดขณะคลอด อาจมีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
RBC สูงกว่าปกติ เม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากเกินไป อาจเกิดการเกาะกลุ่มกันของเม็ดเลือดแดง
RDW สูงกว่าปกติ ขนาดของเซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาดแตกต่างกัน อาจเกิดภาวะโลหิตจางได้
WBC,Neutrophil สูงกว่าปกติ เกิดขึ้นได้ในหญิงหลังคลอดเนื่องจากมีการผลิต Hormorn มาก
Lymphocyte ต่ำกว่าปกติ เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส
Platelet Count ต่ำกว่าปกติ อาจเกิดภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เกิดการตกเลือดหลังคลอดได้
13 B
1.Background
G2P1001 GA 40+2 wks. ทารกเพศชาย หนัก 3,760 กรัม
บุตรคนแรกอายุ 4 ปี เพศหญิง คลอด NL น้ำหนัก 3,160 กรัม
ปฏิเสธประวัติการเจ็บป่วย แต่ยายมีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน
ไม่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ อยู่บ้านเช่า ชั้น 1
2.Body Condition
Day 0 : ไม่มีภาวะซีด พยาบาลช่วยเหลือกิจกรรมบนเตียงบางส่วน
Day 1 : ไม่มีภาวะซีด สีหน้าแจ่มใส ช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น สามารถให้ Breast feeding ได้
3.Body temp & BP
16/11/63
BT : 37.3 องศาเซลเซียส
BP : 100/62 mmHg
PR : 84 ครั้ง/นาที
RR 18 ครั้ง/นาที
PS = 1 (ปวดมดลูก)
17/11/63
BT : 36 องศาเซลเซียส
BP : 112/67 mmHg
PR : 84 ครั้ง/นาที
RR 18 ครั้ง/นาที
PS = 1 (ปวดมดลูก)
4.Breast & Lactation
หัวนมปกติทั้งสองข้าง ยื่นออกมาประมาณ 1 cm. ลานนมสมดุลกับหัวนม นุ่ม
เต้านมนิ่ม ไม่คัดตึง น้ำนมไหลทั้ง 2 ข้าง Flow score = 2 คะแนน เป็นน้ำนมชนิด Colostrum สามารถนำลูกเข้าเต้าได้ทั้งสองเต้า
5.Belly & Fundus
หน้าท้องมี Linea nigra และมี striae gravidarum สีเงิน
วัดระดับยอดมดลูก
2 hrs. หลังคลอดวัดได้ 5 นิ้วเหนือกระดูกหัวหน่าว
Day 0 วัดได้ 4 นิ้ว เหนือกระดูกหัวหน่าว
Day 1 : วัดได้ 3.5 นิ้ว เหนือกระดูกหัวหน่าว
มดลูกหดรัดตัวดี คลึงแล้วมดลูกกลมแข็ง
6.Bladder
สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ปกติวันละ 4-5 ครั้ง
ไม่พบปัญหา full bladder
7.Bleeding & Lochia
Day 0 : Bleeding per vagina 270 ml in 24 hrs. น้ำคาวปลาสีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็น
Day 1 : Bleeding per vagina 50 ml น้ำคาวปลามีสีแดงจางลง ไม่มีกลิ่นเหม็น
8.Bottom
แผลฝีเย็บ : ตัดฝีเย็บแบบ Rt.Mediolateral Episiotomy 2 degree tear
REEDA : แผลไม่แดง ไม่บวม ไม่ช้ำ ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มี discharge ซึม และแผลชิดติดกันดีไม่แยก
ทวารหนักไม่มีการฉีดขาด
9.Bowel movement
Day 0 : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ มีผายลม ไม่มีอาการท้องอืด
Day 1 : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ มีผายลม ท้องอืดเล็กน้อย
10. Blue
อ่อนเพลีย นอนมาก ไม่ค่อยสนใจคนรอบข้าง
สนใจลูกมากขึ้น สนใจการให้ Breast feeding เป็นห่วงลูก มองตา พูดคุยกับลูกมากขึ้น
11.Baby
ทารกผิวแดงอมชมพู ไม่ซีด ไม่เหลือง ร้องเสียงดัง ตาไม่แฉะ หายใจปกติดีไม่มี retraction
สะดือสดไม่แฉะ ไม่มีกลิ่นเหม็น อัณฑะลงถุงทั้งสองข้าง ปลายเปิดรูปัสสาวะปกติ มีรูทวารหนักปกติ มี Reflex ของทารกแรกเกิด เช่น Reflex การดูดนม การตอบสนองต่องสิ่งเร้าต่างๆ
12.Bonding
มารดาสนใจในการให้นมลูก ให้ดูดบ่อยและดูดถูกวิธี เป็นห่วงลูก คอยดูแลไม่ห่าง ให้ลูกมานอนข้างๆตัว หรือนอนบนอกเสมอ
สามีและลูกสาวคนโตมาเยี่ยมทุกวัน
13.Belief
มารดาตั้งใจจะเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ให้นมบุตรจนถึง 6 เดือน และจะไม่อยู่ไฟหลังคลอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ( Day 0 )
ข้อมูลสนับสนุน
มารดามีประวัติการตั้งครรภ์มาแล้ว 1 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2
ระยะ Active phase เร็วกว่าปกติ มี fully dilate ภายใน 1 ชม. 45 นาที
เสียเลือดระหว่างคลอด 150 ml
น้ำหนักทารก 3,760 กรัม
ค่า Hct หลังคลอดต่ำกว่าปกติ 35.6%
ค่า Platelet count ต่ำกว่าปกติ 146 10^3/uL
มีแผลฝีเย็บ RML 2 degree tear
มีแผลที่โพรงมดลูก
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมินผล
1.สัญญาณชีพปกติ
BT : 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
PR : 60-100 ครั้ง/นาที
RR 16-22 ครั้ง/นาที
BP : 90-130/60-80 mmHg
2.มดลูกคลำได้ก้อนกลมแข็ง หดรัดตัวดี
3.มีเลือดออกทางช่องคลอด ไม่เกิน 500 cc / 24 hrs.
4.แผลฝีเย็บไม่มีเลือดออก ไม่มี hematoma
5.ไม่มีอาการแสดงของภาวะ hypovolemic shock เช่น ระดับความรู้สึกตัวลดลง กระสับกระส่าย ใจสั่น ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว เหงื่อออกมาก หน้ามืด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการผิดปกติของมารดา
2.ดูแลให้มารดาไม่มีภาวะ full bladder โดยกระตุ้นให้ขับถ่ายปัสสาวะทุก 2-4 ชม. เพื่อป้องกันการขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
3.สังเกตและตรวจวัดการหดรัดตัวของมดลูก โดยคลึงมดลูกให้กลมแข็ง วัดระดับยอดมดลูกต้องอยู่ระดับต่ำกว่าสะดือเล็น้อยและต้องลดลงทุกวันวันละ 0.5-1 นิ้ว
4.ตรวจปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอด และบันทึกปริมาณเลือดที่ออกทุก 2-4 ชั่วโมง ในระยะ 24 ชั่วโมงแรก
5.ประเมินแผลฝีเย็บตามหลัก REEDA และดูว่ามีเลือดออกจากแผลหรือไม่ หรือมี hematoma หรือไม่
6.อธิบายให้มารดาหลังคลอดและญาติทราบถึงอาการผิดปกติที่ควรจะแจ้งให้พยาบาลทราบทันที เช่น มีเลือดไหลออกทางช่องคลอดปริมาณมาก วิงเวียนศีรษะ หน้ามือคล้ายจะเป็นลม ใจสั่น ตัวเย็น เหงื่อออกมาก
การประเมินผลทางการพยาบาล
1.สัญญาณชีพปกติ
BT 36.9 องศาเซลเซียส
PR 84 ครั้ง/นาที
RR 18 ครั้ง/นาที
BP 120/80 mmHg
2.มดลูกหดรัดตัวดี คลำได้ก้อนกลมแข็ง วัดระดับยอดมดลูกได้ 4 นิ้ว อยู่เหนือกระดูกหัวหน่าว
3.มีเลือดออกทางช่องคลอด 270 ml /24 hrs.
4.แผลฝีเย็บไม่มีเลือดซึม ไม่มี hematoma
5.มารดารู้สึกตัวดี ไม่กระสับกระส่าย ช่วยเหลือตนได้ปกติ
2.เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังคลอด ( Day 1-2)
ข้อมูลสนับสนุน
1.มารดาหลังคลอดมีแผลฝีเย็บ 2.มารดาหลังคลอดมีแผลในโพรงมดลูก
3.ผล Lymphocyte ต่ำกว่าปกติ 16.4 %
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะติดเชื้อหลังคลอด
เกณฑ์การประเมินผล
1.สัญญาณชีพปกติ โดยเฉพาะ BT : 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
2.แผลฝีเย็บสะอาด ไม่มีอาการปวด บวม แดง แผลไม่แยก ไม่มีหนอง
3.น้ำคาวปลามีสีแดงจางลงและปริมาณปกติ
4.ระดับยอดมดลูกลดลงอย่างน้อยวันละ 0.5-1 นิ้ว
5.ถ่ายปัสสาวะปกติดี ไม่มีอาการแสบขัด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีก่อนและหลังให้การพยาบาลมารดาทุกครั้ง และให้การพยาบาลโดยเทคนิคปราศจากเชื้อ
2.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อประเมินการติดเชื้อ
3.แนะนำให้มารดาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และทุกครั้งที่มีการถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ เช็ดจาดหน้าไปหลัง ไม่เช็ดวนไปมา และซับจนแห้ง
4.แนะนำให้มารดาเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนทันทีเมื่อชุ่ม
5.ติดตามและประเมินแผลฝีเย็บทุกวันตามหลัก REEDA
6.สังเกตและบันทึกลักษณธ สี ปริมาณของน้ำคาวปลา ถ้าผิดปกติให้รายงานแพทย์ทันที
7.วัดระดับยอดมดลูกทุกวัน ว่าลดลงหรือไม่
ประเมินผลทางการพยาบาล
1.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
BT : 36.0 องศาเซลเซียส
PR : 84 ครั้ง/นาที
RR : 18 ครั้ง/นาที
BP : 112/67 mmHg
2.แผลฝีเย็บไม่มีอาการปวด บวม แดง แผลชิดติดกันดี ไม่มีหนองซึม
3.น้ำคาวปลามีสีแดงจางลงปริมาณ 50 ml
4.ถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ ไม่มีอาการแสบขัด
การเปลี่ยนแปลงพยาธิสรีระของหญิงหลังคลอด
มดลูก
มดลูกจะกลับสู่สภาพปกติ ใช้ 2 ขบวนการ
1.การย่อยสลายตัวเอง (Autolysis)
2.การขาดเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก
-หลังคลอดทันที :มดลูกจะมีก้อนแข็งอยู่ต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย
-1 ชม.ต่อมา : มดลูกจะลอยตัวสูงขึ้นอยู่ระดับสะดือเอียงขวา
-มากกว่า 24 ชม. : มดลูกจะค่อยๆลดขนาดลงวันละ 0.5-1 นิ้ว
-7วันหลังคลอด : มดลูกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ
-10วันหลังคลอด : มดลูกอยู่หัวเหน่า
-2สัปดาห์หลังคลอด: คลำไม่พบมดลูกทางหน้าท้อง
-6สัปดาห์หลังคลอด : มดลูกเข้าอู่กลับมามีน้ำหนัก 50 g. เท่ากับก่อนตั้งครรภ์
After pain
ปวดมดลูกจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
เกิดเมื่อให้ลูกดูดนม Oxytocin หลั่งกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก โดยจะเกิดไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด
น้ำคาวปลา
( Lochia)
1-3 วันแรก : Lochia rubra สีแแดงเข้ม
4-9 วัน : Lochia serosa สีชมพูจางๆ
10 วันขึ้นไป : Lochia alba สีเหลืองจางๆหรือสีขาว
ปากมดลูก
หลังคลอด : อ่อนนุ่ม มีรอยช้ำและมีรอยฉีกขาดเล็กๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
2-3 วัน : ยืดขยายได้ง่ายสอดนิ้วเข้าไปได้ 2 นิ้ว
1 สัปดาห์ : เริ่มกลับสู่สภาพเดิมเกือบสมบูรณ์
6 สัปดาห์ : เป็นรูปยาวรี ไม่กลมเหมือนก่อนตั้งครรภ์
ช่องคลอดและฝีเย็บ (Perineum)
เยื่อบุช่องคลอดอ่อนนุ่มมาก กว้างกว่าก่อนคลอด
Labia Majora และ Labia Minora เหี่ยวและอ่อนนุ่มมากขึ้น
ผนังหน้าท้อง
-หลังคลอดแรกๆผนังหน้าท้องจะอ่อนนุ่มและปวกเปียกไม่สามารถพยุงอวัยวะภายในช่องท้องได้เต็มที่
-กลับคืนสู่สภาพปกติใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือนขึ้นกับลักษณะรูปร่างของแต่ละคนและการบริหารร่างกาย
การมีประจำเดือน
ให้นมบุตร กลับมา 9 เดือน - 1 ปี
ไม่ให้นมบุตร กลับมา 7-9 สัปดาห์
เต้านม
ทารกดูดนมกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำให้มีการหลั่ง Oxytocin มีผลให้ผลิตน้ำนมออกมา เรียกกลไลนี้ว่า "Let down reflex"
คำแนะนำหลังกลับบ้าน
การพักผ่อนและการทำงาน
ใน 2 สัปดาห์แรก พักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง และสามารถหลับกลางวันได้ขณะทารกหลับประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง
ไม่ควรทำงานที่ใช้แรงเยอะ ยกของหนัก หรือขึ้นบันไดบ่อยๆเพราะจะทำให้มดลูกหย่อน และเข้าอู่ช้า
การรักษาความสะอาด
อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายได้ตามปกติอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือใส่ผ้าอนามัยแบบสอด
ไม่ควรแช่น้ำในอ่าง หรือว่ายน้ำ
ควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ทุกครั้งที่มีการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ โดยเช็ดจากด้านหน้าไปหลัง ซับให้แห้ง
เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมงหรือเปลี่ยนทันทีที่ชุ่ม
มดลูก
ควรคลึงมดลูกให้กลมแข็งบ่อยๆ และมดลูกควรลดขนาดลงวันละ 0.5 - 1 นิ้ว เมื่อครบ 2 สัปดาห์ ถ้ายังคลำพบมดลูดบริเวณที่หน้าท้องอยู่ แสดงว่ามดลูกยังไม่เข้าอู่ ให้รีบมาพบแพทย์
แผลฝีเย็บ
ควรทำความสะอาดทุกครั้งที่มีการชับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระด้วยสบู่และน้ำสะอาด ซับแผลให้แห้ง โดยซับจากด้านหน้าไปข้างหลังทางเดียว ห้ามย้อนกลับ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
น้ำคาวปลา
1-3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะเป็นสีแดงเข้ม ค่อนข้างมาก
วันที่ 4-9 หลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีจางลง สีชมพูจางๆและมีปริมาณน้อยลง
วันที่ 10 เป็นต้นไป จะมีสีเหลืองหรือสีขาวๆ
น้ำคาวปลาที่ผิดปกติ จะมีสีเขียว กลิ่นเหม็นมาก หรือกลับมาสีแดงสด มีกลิ่น ปริมาณมาก ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
กิจวัตรประจำวัน
ในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด สามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมากได้ เช่น ทำอาหาร กวาดบ้าน เป็นต้น
การรับประทานอาหาร
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ เพื่อช่วยซ่อมแซมร่างกายให้ฟื้นสภาพปกติเร็วขึ้นและช่วยให้สร้างน้ำนมได้เพียงพอต่อทารก ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เพราะทารกจะได้รับแคลเซียมผ่านนมแม่ทำให้ทารกโตเร็วและมีฟัน กระดูกแข็งแรง นอกจากนี้การรับประทานผักผลไม้ ช่วยเพิ่มวิตามินต่างๆในร่างกาย และยังป้องกันภาวะท้องผูกได้อีกด้วย
ในมารดาที่ให้นมบุตรควรรัประทานอาหารให้ครบถ้วน และดื่มน้ำวันละ 2.5-3 ลิตร/วัน
อาหารที่ช่วยเสริมสร้างน้ำนม ได้แก่ น้ำขิง หัวปลี แกงเลียง ใบแมงลัก มะละกอ เป็นต้น
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารประเภทหมักดอง รสจัด ชา กาแฟ ยาดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากสารเหล่านี้ถูกขับผ่านทางน้ำนมได้เมื่อทารกดูดนมเข้าไปทำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบได้เพราะลำไส้ของทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์
ประจำเดือน
ในรายที่มารดาให้นมบุตร จะกลับมามี ประจำเดือน 9 เดือน - 1 ปี
ในรายที่มารดาไม่ให้นมบุตร จะกลับมาปี
ประจำเดือนภายใน 7-9 สัปดาห์
การบริหารร่างกาย
แนะนำให้มารดาทำ Kegel exercise หรือการขมิบช่องคลอด เนื่องจากการขมิบช่องคลอดจะทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น และสามารถออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงเยอะ เช่น การทำงานบ้านทั่วๆไป
เน้นย้ำ ห้าม ยกของหนัก ขึ้นลงบันไดบ่อยๆเพราะอาจทำให้มดลูกเข้าอู่ช้าได้
การให้นมและการดูแลเต้านม
กระตุ้นให้ทารกดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง โโยต้องดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ดูดเกลี้ยงเต้า เพื่อให้ทารกได้ทั้งนมส่ววนหน้าที่อุดมไปด้วยวิตามันและภูมิคุ้มกัน และนมส่วนหลังที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เพื่อให้ทารกมีร่างกายที่แข็งแรงและโตเร็ว
และมารดาควรให้นมบุตรอย่างน้อย 6 เดือน แล้วค่อยให้อาหารเสริมแก่ทารกได้
กรณี มารดาคัดตึงเต้านม สามารถใช้ผ้าชุบน้ำร้อนมาประคบเต้านม และนวดนมบ่อยๆ
หากมีอาการปวด บวม ร้อน มีหนองไหลซึมออกมา คัดตึง ร่วมกับมีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์
การมีเพศสัมพันธ์
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด เนื่องจากในระยะหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาและปากมดลูกยังปิดไม่สนิท รวมถึงอวัยวะอื่นๆภายในยังไม่กลับสู่สภาวะปกติดีนัก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
การคุมกำเนิด
มารดาหลังคลอดที่มีการให้นมบุตร ควรคุมกำเนิดโดยวิธีการคุมกำเนิดแบบไม่มีฮอร์โมนหรือคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเดี่ยว เนื่องจากการคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนรวม จะมีฮอร์โมน estrogen ซึ่งเป็นตัวส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลง
การคุมกำเนิดแบบไม่มีฮอร์โมน
1.ถุงยางอนามัย : เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สามารถหาซื้อได้ง่ายและสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
2.การทำหมันหญิง : เป็นการคุมกำเนิดถาวร ควรทำหลังจากคลอดบุตร 2-3 วันเพราะมดลูกยังลอยตัวอยู๋เหนือหวเหน่า ทำให้ทำได้ง่าย
การคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน
1.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมน progesterone เพียงอย่างเดียว สามารถหาซื้อได้ง่าย การกินยาชนิดนี้ควรกินให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าลืมกินมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่าย
2.ยาฉีดคุมกำเนิดชนิด 3 เดือน สามารถฉีดยาได้ที่สถานพยาบาลทั่วไป
3.ยาฝังคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง จะมีทั้งชนิดที่คุมกำเนิดได้ 3 ปีและ 5 ปี
ส่วนการคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมน estrogen และ progesterone เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนคุมกำเนิด ควรเริ่มใช้หลังคลอดบุตรไปแล้ว 6 เดือน