Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการสำคัญนำส่งโรงพยาบาล CC : ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย…
อาการสำคัญนำส่งโรงพยาบาล CC : ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย ก่อนมาโรงพยาบาล 1 สัปดาห์
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน PI : 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติได้รับอุบัติเหตุไม้ตกใส่ศีรษะและหลัง มีอาการปวดท้องด้านซ้ายที่บริเวณใต้ชายโครง ปวดตื้อๆหลังจากรับประทานอาหารเสร็จจะปวดมาก เป็นมา 1 สัปดาห์ ก่อนมาโรงพยาบาล
-
อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)
หมายถึง อาการไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังกินอาหารโดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันเช่นจุกเสียดแน่นท้องท้องอืดท้องเฟ้อมีลมในท้องเรอบ่อยแสบท้องเรอเปรี้ยวคลื่นไส้หรืออาเจียนเล็กน้อยเป็นต้นอาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือจะไม่มีอาการปวดท้องในส่วนใต้สะดือและไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วยอาการนี้พบได้เกือบทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่บางรายเป็นครั้งคราวบางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังอาจมีสาเหตุได้หลากหลายตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงโรคที่รุนแรงหรือร้ายแรงและความผิดปกติ (พยาธิสภาพ) อาจอยู่ทั้งในและนอกกระเพาะลำไส้
สาเหตุ
สาเหตุเนื่องจากอาการ“ อาหารไม่ย่อย” เป็นอาการแสดงของโรคมิได้หมายถึงโรคจำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งจึงอาจมีสาเหตุไต้ต่างๆ
- สาสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด (ประมาณร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย) ก็คืออาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผล (non-ulcer dyspepsia) ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจนสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากหรืออาจสัมพันธ์กับฮอร์โมนความเครียดทางจิตใจหรืออาหาร (เช่นอาหารมันอาหารรสจัดอาหารสุกๆดิบๆอาหารย่อยยาก) หรืออาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์เป็นต้น
-
- เกิดจากยา (เช่นแอสไพรินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์สตีรอยด์ยาเม็ดโพแทสเซียมคลอไรด์เตตราไซคลีนอีริโทรไมซินเฟอร์รัสซัลเฟตทีโอฟิลลิ่นเป็นต้น) รวมทั้งแอลกอฮอล์ (เช่นเหล้าเบียร์ไวน์) ชากาแฟและเครื่องดื่มกาเฟอีน
- โรคของตับถุงน้ำดีและตับอ่อนเช่นตับอักเสบ ตับแข็ง นิ่วน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
- โรคแผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ
- มะเร็งเช่นมะเร็งหลอดอาหารมะเร็งกระเพาะอาหารมะเร็งตับอ่อนมะเร็งตับเป็นต้นซึ่งมักพบในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
- กระเพาะอาหารขับเคลื่อนตัวช้าทำให้มีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารอยู่นานเช่นผู้ป่วยเบาหวานที่ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมมีแผลหรือเนื้องอกในกระเพาะอาหารเป็นต้น
- อื่น ๆ เช่นโรคหัวใจขาดเลือด โรคกังวลทั่วไป โรคซึมเศร้า โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
อาการ
มีอาการปวดหรือไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ลักษณะจุกเสียดท้องอืดท้องเฟ้อมีลมในท้องเรอบ่อยแสบท้องเรอเปรี้ยวคลื่นไส้หรืออาเจียนเล็กน้อยอาการอาจมีเพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างร่วมกันโดยเกิดขึ้นระหว่างกินข้าวหรือหลังกินข้าวบางรายอาจมีประวัติกินยาดื่มแอลกอฮอล์ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีนหรือมีความเครียดวิตกกังวลนอนไม่หลับในรายที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการเรอเปรี้ยวหรือแสบลิ้นปี่ขึ้นมาถึงลำคอเป็นมากเวลานอนราบหรือก้มตัวในผู้ป่วยแผลเพ็ปติกมักมีอาการแสบท้องเวลาหิวหรือหิวก่อนเวลาหรือปวดท้องตอนดึกและทุเลาเมื่อกินยาลดกรดดื่มนมหรือกินอาหารมักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยในรายที่เป็นโรคตับถุงน้ำดีตับอ่อนมะเร็งในช่องท้องในระยะแรกมีอาการแบบอาหารไม่ย่อยหรือแผลเพ็ปติก แต่ระยะต่อมามักมีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหารน้ำหนักลดดีซ่านหรือถ่ายดำในรายที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดจะมีอาการจุกแน่นยอดอกและปวดร้าวขึ้นไปที่คอขากรรไกรหัวไหล่พบในคนอายุ 40-50 ปีขึ้นไปอาจมีประวัติสูบบุหรี่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานหรือภาวะไขมันในเลือดสูง
สิ่งตรวจพบ
ควรทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเพียงอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผลถ้าเป็นโรคตับหรือถุงน้ำดีอาจมีอาการตาเหลืองตัวเหลืองฝ่ามือแดงจุดแดงรูปแมงมุมถ้าเป็นมะเร็งอาจคลำได้ตับโตหรือมีก้อนในท้องหรือมีภาวะซีดผู้ที่เป็นอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผลมักจะตรวจไม่พบอะไรนอกจากอาจมีอาการท้องอืดเคาะท้องเกิดเสียงโปร่งของลมในท้อง
การรักษา
- ถ้ามีอาการแสบท้องเวลาหิวหรือตอนดึกหรือจุกเสียดแน่นท้องหลังอาหารเรอเปรี้ยวหรือมีประวัติกินยาแอสไพรินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์หรือดื่มแอลกอฮอล์ให้ยาต้านกรด ร่วมกับยาลดการสร้างกรดเช่นรานิทิดีน ถ้ารู้สึกทุเลาหลังกินยาได้ 2-3 ครั้งควรกินต่อจนครบ 2 สัปดาห์ถ้ารู้สึกหายดีควรให้กินยานานประมาณ 8 สัปดาห์เพื่อครอบคลุมโรคแผลเพ็ปติกที่อาจเป็นสาเหตุของอาหารไม่ย่อยได้ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจพิเศษเพิ่มเติมถ้ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้•กินยาต้านกรดและยาลดการสร้างกรด 2-3 ครั้งแล้วยังไม่รู้สึกทุเลาแม้แต่น้อยหรือทุเลาแล้วแต่กินยาจนครบ 2 สัปดาห์แล้วรู้สึกไม่หายดีหรือกำเริบหลังจากหยุดกินยาจนครบ 8 สัปดาห์แล้วมีอาการเบื่ออาหารกลืนลำบากน้ำหนักลดซีดตาเหลืองตับโตม้ามโตคลำได้ก้อนในท้องอาเจียนรุนแรงอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำสงสัยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือนิ้วบน้ำดี พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปการวินิจฉัยอาจต้องทำการตรวจเลือดตรวจปัสสาวะเอกซเรย์อัลตราซาวนด์ตรวจคลื่นหัวใจเอกซเรย์กระเพาะลำไส้โดยการกลืนแป้งแบเรียม (barium meal / upper GI study) ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ (endo Scopy) เป็นต้นแล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
- ถ้ามีลมในท้องหรือเรอให้ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือยาต้านกรดที่มีไซเมทิโคนผสมในเด็กเล็กให้กินไซเมทิโคน 1 หยด (0.3-0.6 มล.) ผสมน้ำ 2-4 ออนซ์ หรือใช้ทิงเจอร์มหาหิงค์ทาหน้าท้องถ้าไม่ได้ผลหรือคลื่นไส้อาเจียนให้เมโทโคลพราไมด์ หรือดอมเพอริโดน ก่อนอาหาร 3 มือถ้ามีความเครียดวิตกกังวลหรือนอนไม่หลับให้ไดอะซีแพม ถ้าดีขึ้นให้กินยาประมาณ 2-4 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
คำแนะนำ
- ก่อนจะวินิจฉัยอาการจุกแน่นตรงลิ้นปี่ว่าเป็นเพียงอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผลหรือแผลเพ็ปติกหรือโรคกระเพาะอาหารควรซักถามอาการและตรวจดูอาการอย่างละเอียดเพราะมีโรคหลายอย่างที่อาจมีอาการคล้ายกับโรคทั้ง 2 ชนิดนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอายุปีขึ้นไปอาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมะเร็งตับหรือมะเร็งในช่องท้องอื่น ๆ นิ่วน้ำดี โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคกรดไหลย้อน
- ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย
งดบุหรี่งดดื่มแอลกอฮอล์ชากาแฟหรือนเครื่องดื่มกาเฟอีนช็อกโกแลตน้ำอัดลมและหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ยาสตีรอยด์ ยาแอนติสปาสโมดิก ที่โอฟิลลีน เป็นต้น
กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้ออย่ากินอาหารรสเผ็ดจัดเปรี้ยวจัดอาหารมันของดองหรืออาหารสุกๆดิบๆหรือย่อยยากควรกินอาหารเย็นก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป
-
-
-
ถ้าเครียดควรออกกำลังกายเป็นประจำหรือ
หาวิธีผ่อนคลายความเครียดเช่นสวดมนต์ไหว้พระทำสมาธิภาวนาตามหลักศาสนาที่นับถือหรือดูภาพยนตร์ฟังเพลงเล่นดนตรีปลูกต้นไม้ทำงานอดิเรกหาความบันเทิงใจ
-
-
-