Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพและการพยาบาลมารดาหลังคลอด เตียง 15, นศพต.ลักษมิกร…
การประเมินภาวะสุขภาพและการพยาบาลมารดาหลังคลอด เตียง 15
📌ประเมินภาวะสุขภาพตามหลัก13 B📌
1.Background
อาการสำคัญ
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บครรภ์ 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
มารดาหลังคลอดอายุ 30 ปีเตียง 15 หอผู้ป่วย มภร.15/2 G2P1 GA 39 wks 3 day by date นับถือศาสนาคริสต์ ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 อาชีพแม่บ้าน ไม่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ อาศัยอยู่บ้านเช่า พักชั้น 1 โรงพยาบาลใกล้บ้านคือโรงพยาบาลลาดพร้าว
ประจำเดือนครั้งสุดท้ายวันที่ 14 ก.พ.2563 x3 day
รับไว้ในโรงพยาบาลวันที่ 16/11/63 เวลา 01.00 น.
Dx.G2P1 GA 39+3 wks by date ไม่ทำหมัน มีอาการเจ็บครรภ์คลอด 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล โดยเจ็บครรภ์ทุก 10 นาที นานครั้งละ 1 นาที มีมูกเลือด ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ ไม่มีอาการปัสสาวะแสบขัด ไม่มีอาการตาพร่ามัว ไม่มีปวดศีรษะ ไม่มีอาการมือเท้าบวม มีลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
บิดาและมารดาของทารกไม่มีประวัติสูบบุหรี่ บิดาดื่มเหล้าบางครั้ง
ประวัติการผ่าตัด : ไม่มีประวัติการผ่าตัด
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการตั้งครรภ์
คลอด พ.ศ.2562 เพศหญิงครบกำหนด (term) คลอด Normal labor น้ำหนักแรกเกิด 3,090 กรัม ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันอายุ 3 ปี
ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ 8 Wks 4 day by date u/s ครั้งแรก GA 26+6 weeks by date ANC ทั้งหมด 9 ครั้ง โดย ANC รพ.ตำรวจ 7 ครั้ง ศูนย์แม่หยุด 2 ครั้ง
ก่อนการตั้งครรภ์ไม่มีการควบคุมกำเนิด หลังจากการตังครรภ์จะควบคุมกำเนิดแบบฝังยาคุม
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
บิดาและมารดาของหญิงตั้งครรภ์ไม่มีโรคประจำตัว
มีพี่น้อง 4 คน เป็นบุตรคนที่ 2 คนที่ 1 และ 3 เป็นผู้หญิง
คนที่ 4 เป็นผู้ชาย
อาการปัจจุบัน ผู้ป่วยไม่มีภาวะซีด ไม่มีอาการเวียนศีรษะ แผลฝีเย็บไม่บวมแดง มดลูกหดรัดตัวดี มี bleeding per vagina 20 ml.ไม่มี bladder full สามารถเข้าห้องน้ำปัสสาวะได้ปกติ
ประวัติการคลอด
ทารกเพศชายคลอดเวลา 02.26 น.น้ำหนักแรกเกิด 3580 กรัม ตัดฝีเย็บแบบ Right Mediolateral Episiotomy
No problem at birth
ความยาว 51 cm.Apgar 9,10,10 หักนาทีที่ 1 คะแนนสีผิว Blood loss 200 ml.รกคลอดเวลา 2.30 น.น้ำหนัก 900 กรัม
2.Belief
✔️มารดาสามารถรับประทานอาหารและยาได้เอง ไม่มีอาการแพ้
✔️กลางคืนสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ โดยตื่นเป็นช่วงเวลามากลางดึกเพื่อให้นมบุตรแต่สามารถนอนกลางวันได้
✔️สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ด้วยตนเองและสามารถให้นมบุตรได้
✔️จากการสอบถามพบว่า มารดาจะเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง โดยเลี้ยงด้วยน้ำนมแม่
มารดาหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
3.Body temperature and Blood pressure
16/11/63 เวลา 10.00 น.
T = 36.4 องศาเซลเซียส
BP=102/78 mmHg
RR=18 ครั้ง/นาที
P=98 ครั้ง/นาที
PS= 6 คะแนนที่แผลฝีเย็บ
Oxygen sat= 98%
สรุป Day 0 : ผู้ป่วยตื่นดี ไม่มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ PS 6 คะแนน น้ำคาวปลาแดงเข้ม 2 ผืนชุ่ม น้ำนมเริ่มไหลดี ไม่มีอาการปวดหัว ตาพร่ามัว หรือจุกแน่นลิ้นปี่
17/11/63 เวลา 10.00 น.
T = 36.8 องศาเซลเซียส
BP=114/73 mmHg
RR=18 ครั้ง/นาที
P=88 ครั้ง/นาที
Oxygen sat= 98%
PS=2 คะแนน
สรุป Day 1 : ผู้ป่วยตื่นดี ไม่มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ PS 2 คะแนน น้ำคาวปลาแดงเข้ม 10 ผืนไม่ชุ่ม น้ำนมไหลไม่ค่อยดี ไม่มีอาการปวดหัว ตาพร่ามัว หรือจุกแน่นลิ้นปี่ ปัสสาวะปกติ ทานได้ปกติ แต่ยังไม่ถ่าย
18/11/63 เวลา 10.00 น.
รับประทานอาหารธรรมดา
T = 36.2 องศาเซลเซียส
BP=108/72 mmHg
RR=18 ครั้ง/นาที
P=88 ครั้ง/นาที
Oxygen sat= 98%
PS=2 คะแนน
สรุป Day 2 : ผู้ป่วยตื่นดี ไม่มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ PS 2 คะแนน น้ำคาวปลาแดงเข้ม 2 ผืนไม่ชุ่ม น้ำนมไหลไม่ค่อยดี ไม่มีอาการปวดหัว ตาพร่ามัว หรือจุกแน่นลิ้นปี่ ปัสสาวะปกติ ทานได้ปกติ แต่ยังไม่ถ่าย มีแพลนสามารถกลับบ้านได้ แต่เนื่องจากบุตรมีค่า MB =15 mg% จึงต้องทำการส่องไฟก่อน
4.Breast and lactation
หัวนมไม่บอด น้ำนมเริ่มไหลออกมา น้ำนมเป็นชนิด colostrum สามารถนำลูกเข้าเต้าได้ เป็นระยะเวลา 20 นาที ประเมิน LATCH score 9 คะแนน หักคะแนนการกลืนนม
L=Latch การอมหัวนม 2 คะแนน คือ ลิ้นใต้ลานริมฝีปากทั้ง 2 ข้างบานออก,A = Audible เสียงกลืนนม 2 คะแนน คือ ได้ยินเสียงกลืนเป็นช่วงๆ ,T = Type of nipple ลักษณะหัวนมมารดา 2 คะแนน คือ หัวนมมารดายื่นออกมาดี,C=Comfort ความสบายในการให้นม 2 คะแนน คือ เต้านมนุ่ม ยืดหยุ่นดี,H = Hold การอุ้ม 2 คะแนน คือ ท่าอุ้มถูกต้อง
5.Belly and fundus
หน้าท้องมี linea nigra และ striae gravidarum มีสีเงิน คลำ High fundus ได้แต่ไม่ชัด วัดระดับยอดมดลูกได้ 3.5 นิ้ว
6.Bladder
ไม่พบปัญหา Bladder full สามารถปัสสาวะได้เอง
7.Bleeding and Lochia
Day 0 : Normal Bleeding per vagina ประมาณ 30 ml. น้ำคาวปลาสีแดงเข้ม ไม่มีกลิ่นเหม็น
Day 1 :มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย เนื่องจากเลี้ยงดูบุตรในเวลากลางคืน ร่าเริงแจ่มใส พักผ่อนนอนหลับได้ดี
8.Bottom ฝีเย็บ,ทวารหนัก
ไม่มีริดสีดวงทวารหนัก
แผลฝีเย็บ 2 degree tear แบบ RML ประเมิน REEDA = 0 คะแนน ไม่มีอาการบวมแดง ไม่ช้ำ ไม่มีเลือดซึม
9.Bowel movement
Day 0 : ยังไม่มีการขับถ่ายอุจจาระ ไม่มีอาการท้องอืด Day 1 : ยังไม่มีการขับถ่ายอุจจาระ ไม่มีอาการท้องอืด
10.Blue
Day 0 : ไม่มีอาการซึม ไม่มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีอาการซึมเศร้า ใบหน้าสดชื่น Day 1 : ไม่มีอาการซึม มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อยเนื่องจากพักผ่อนน้อย ไม่มีอาการซึมเศร้า ยิ้มแย้มแจ่มใส
11.Baby
ทารกเพศชายคลอดเวลา 02.26 น.น้ำหนักแรกเกิด 3580 กรัม ความยาว 51 ซม.Apgar 9,10,10 หักนาทีที่ 1 คะแนนสีผิว No problem at birth ทารกผิวสีแดงดี ไม่มีอาการซีดและเหลือง ร้องเสียงดังดี สะดือสดแห้งไม่เปียกแฉะ ไม่มี Discharge ซึม การหายใจปกติ ไม่มี retraction ทวารหนักปกติ อัณฑะปกติ
12.Body condition
Day 0 : มารดาหลังคลอดไม่มีภาวะซีด พยาบาลช่วยเหลือกิจกรรมบนเตียงบางส่วน เคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ สามารถรับประทานอาหารได้เอง
Day 1 : สีหน้าแจ่มใส มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย เคลื่อนไหวและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ สามารถให้นมบุตรได้
13.Bonding
มารดาสนใจในการให้นมบุตร เป็นห่วงบุตร ไม่ปล่อยให้ทารกอยู่บนเตียงคนเดียว นำบุตรมานอนข้างๆสม่ำเสมอ บิดามาเยี่ยมทุกวัน อุ้มทารกทุกครั้งที่มาเพื่อให้มารดาได้พักผ่อน
🏆ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล🏆
1.เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจากมารดาหลังคลอดมีแผลที่โพรงมดลูกและแผลฝีเย็บ(Day1-2)
ข้อมูลสนับสนุน
WBC 12.61 10^3/uL ค่าปกติ 4.24-10.18
สูงกว่าปกติ
Neutrophil 73.7% ค่าปกติ 48.1-71.2
สูงกว่าปกติ
Lymphocyte 19.2% ค่าปกติ 21.1-42.7 ต่ำกว่าปกติ
มารดามีแผลในโพรงมดลูก
มารดาหลังคลอดมีแผลฝีเย็บ
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อหลังจากคลอดบุตร
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ การประเมินแผลตาม REEDA = 0 แผลไม่มีปวดบวม แดง ร้อน หรือมีการอักเสบติดเชื้อ
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อุณหภูมิปกติ อยู่ระหว่าง 36.4-37.5 องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของหัวใจ 60-100 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 12-24 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 90-130/60-90 mmHg
ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บมาก
ขับถ่ายปัสสาวะได้ปกติ ไม่มีอาการแสบขัด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการความผิดปกติของการติดเชื้อ โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายและคะแนนความเจ็บปวด
2.ประเมินลักษณะแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ถ้าพบอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น แผลฝีเย็บมีเลือดซึม มีกลิ่นเหม็น มีอาการบวมแดง มีหนอง ควรรีบรายงานแพทย์เพื่อทำการรักษา
3.แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังจากการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่เช็ดย้อนกลับไปมา เพื่อกำจัดสิ่งคัดหลั่งออกจากทางช่องคลอด คราบปัสสาวะและอุจจาระ โดยไม่นำเชื้อโรคจากทางทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด เพราะอาจจะทำให้แผลฝีเย็บติดเชื้อได้
4.แนะนำการเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่น้ำคาวปลาชุ่มหรือทุก 4 ชั่วโมง เพราะถ้าปล่อยให้น้ำคาวปลาอับชื้นและก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
5.แนะนำการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม และผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีมากๆ เพราะอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินซี จะช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
6.แนะนำการฝึกขมิบช่องคลอดหรือ Kegel exercise ให้ทำวันละ 300-400 ครั้ง เพราะการขมิบช่องคลอดเป็นการกระตุ้นให้มีการไหลเวียนของเลือดบริเวณแผลฝีเย็บและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
การประเมินผล
สัญญาณชีพปกติ ดังนี้ วันที่ 16/11/63
อุณหภูมิ 36.4 องศาเซลเซียส
ฺBP 102/78 mmHg
P=98 ครั้ง/นาที
PS=2 คะแนน
RR = 18 ครั้ง/นาที
แผลฝีเย็บแบบ RML 2 degree tear ไม่มีอาการบวมแดง ไม่ช้ำ ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มี Discharge ซึม แผลติดชิดสนิทกันดี แผลไม่มีการฉีกขาดถึงทวารหนัก
ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น มีไข้ หน้ามืด ใจสั่น หรือมีอาการอ่อนเพลีย
สีของน้ำคาวปลา Day 1 มีสีแดงจางๆ ไม่มีกลิ่น
2.ส่งเสริมให้มารดาขับถ่ายเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาท้องอืดหรือท้องผูก
(Day 1-2)
ข้อมูลสนับสนุน
หลังคลอดมารดายังไม่ขับถ่ายอุจจาระมาเป็นระยะเวลา 2 วัน
คลำพบลมในช่องท้อง
วัตถุประสงค์
มารดาหลังคลอดสามารถขับถ่ายได้
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยไม่มีอาการท้องอืด
2.ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายอุจจาระได้ตามปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีกากใยสูงและมีประโยชน์ มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อ นม ไข่ ผักใบเขียวต่างๆ รวมทั้งผลไม้ เช่น มะละกอ ไม่ควรรับประทานอาหารหรือผลไม้รสจัด
2.กระตุ้นให้มารดาหลังคลอดมีการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
3.กระตุ้นให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 3,000 ml.โดยเน้นการรับประทานน้ำอุ่น
4.ประเมินการขับถ่ายอุจจาระของมารดาหลังคลอด
5.แนะนำให้มารดาผ่อนคลายไม่เครียด ลดความวิตกกังวล เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุล
6.กระตุ้นการนวดเต้า เพื่อให้เต้านมไม่คัดและกระตุ้นการไหลของน้ำนม
การประเมินผลทางการพยาบาล
มารดาหลังคลอดยังไม่ขับถ่ายอุจจาระ แต่ทราบวิธีการดูแลตนเองในการแก้ไขปัญหา
3.ส่งเสริมการเลี้ยงดูทารกด้วยน้ำนมแม่ (Day 1-2)
ข้อมูลสนับสนุน
1.ทารกสามารถดูดนมแม่ได้
2.มารดาเริ่มมีน้ำนมไหลดีมากขึ้น
3.มารดาให้ข้อมูลว่า จะเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมแม่จนกว่าน้ำนมจะหมด โดยตั้งใจจะเลี้ยงถึงอายุ 1 ปีครึ่ง
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
เกณฑ์การประเมิน
1.ทารกดูดนมได้ถูกวิธี LATCH score = 9 คะแนน หักคะแนนการไหลของน้ำนม
2.มารดามีความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถบอกประโยชน์ของนมแม่ได้
3.ทารกเข้าเต้าได้ถูกวิธีสามารถรับนมแม่ได้ทุก 2-3 ชั่วโมง ครั้งละ 20-30 นาที
4.ทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากแรกเกิด
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.แนะนำและให้ความรู้กับมารดาเกี่ยวกับประโยชน์และคุณค่าของนมแม่
2.สอนวิธีปฏิบัติตัวของมารดาขณะให้นมบุตรได้อย่างถูกวิธี
3.ตรวจประเมินความผิดปกติของเต้านม เช่น ลักษณะของหัวนม ไม่มีหัวนมบอด แตก แบน บุ๋ม
4.ประเมิน LATCH score เพื่อดูคะแนนการเข้าเต้า ซึ่งค่าปกติควรมากกว่า 8 คะแนน
5.น้ำหนักตัวของทารกเพิ่มขึ้นจากการได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอจากมารดา
การประเมินผลทางการพยาบาล
1.ทารกกินนมแม่ทุก 3 ชั่วโมงโดยกินครั้งละ 30 นาที
2.น้ำนมของมารดาไหลได้มากขึ้น
3.มารดาสามารถให้ทารกเข้าเต้าได้อย่างถูกวิธี
4.มารดามีความตั้งใจที่จะให้นมบุตรจนกว่าน้ำนมจะหมด
5.ทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Complete blood count
Hemoglobin (Hb) 13.3 g/dL ค่าปกติ 12.3-15.5
Hematocrit(Hct) 40.7% ค่าปกติ 36.8-46.6
RBC 4.41 10^6/uL ค่าปกติ 3.96-5.29
MCV 92.1 fL ค่าปกติ 79.9-97.6
MCH 30.1 pg ค่าปกติ 25.9-32.4
MCHC 32.7 g/dL ค่าปกติ 31.5-34.5
RDW 13.3% ค่าปกติ 11.9-16.5
WBC 12.61 10^3/uL ค่าปกติ 4.24-10.18
NRBC 0 /100WBC ค่าปกติ N:0
Corrected WBC 12.61 10^3/uL
Neutrophil 73.7% ค่าปกติ 48.1-71.2
Lymphocyte 19.2% ค่าปกติ 21.1-42.7
Monocyte 6.1% ค่าปกติ 3.3-10.2
Eosinophil 0.8 % ค่าปกติ 0.4-7.2
Basophil 0.2% ค่าปกติ 0.1-1.2
Platelet Count 250 10^3/uL ค่าปกติ 152-387
MPV 10.0 fL ค่าปกติ 7.5-11.9
วันที่ 16/11/63
ค่า wbc สูงกว่าปกติ ค่า Neutrophil สูงกว่าปกติ Lymphocyte ต่ำกว่าปกติ อาจมีการอักเสบติดเชื้อในร่างกาย เนื่องจากมารดามีแผลบริเวณแผลฝีเย็บ จึงส่งผลให้ค่า wbc สูง
คำแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน 🏘
อาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์และตรวจรักษาก่อนถึงวันนัด
อาการผิดปกติของเด็กที่ควรมาพบแพทย์ทันที
1.เด็กมีอาการตัวเหลือง ถ้าเห็นตัวเหลืองมากขึ้นทุกวันคล้ายขมิ้น อาจทดสอบโดยการใช้นิ้วกดบริเวณผิวหนังแล้วทดลองปล่อยดู จะเห็นความเหลืองชัดเจน
2.ทารกซึมไม่ดูดนม ร้องงอแง
3.อาเจียนหรืออาเจียนพุ่งทุกครั้งที่กินนม
4.เขียว ขณะกินนมหรือขณะร้อง การหายใจหอบ รอบปากเขียวคล้ำ
5.สะดือมีหนอง มีกลิ่นเหม็น
6.ถ่ายอุจจาระเหลวปนน้ำ มีเลือดหรือมีมูกปน
7.ท้องอืด ควรจับนั่งเรอ หรืออุ้มพาดบ่า ถ้ามีอาการท้องอืดมากร่วมกับไม่ถ่ายอุจจาระ ควรนำมาพบแพทย์
8.ตาแฉะ บวมแดง เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก ถ้าไม่ดีขึ้นควรรีบนำมาพบแพทย์
9.หูมีน้ำไหลออกมา มีอาการบวมแดง และมีไข้
10.มีตุ่มหนองบริเวณผิวหนัง หรือมีจุดเลือดออก
11.ปากทารกเป็นฝ้า หลังใช้น้ำต้มสุกเช็ด หากเป็นมากเช็ดไม่ออกหรือหลังเช็ดมีเลือดออก อาจเกิดจากเชื้อราควรรีบนำมาพบแพทย์
อาการผิดปกติที่มารดาควรมาพบแพทย์
มีไข้สูง
ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว
มีเลือดสดๆออกจากช่องคลอดปริมาณมาก
น้ำคาวปลามีสีแดงไม่จางลง มีจำนวนมากและมีกลิ่นเหม็นเน่า หากครบ 10-14 วันควรกลับมาเป็นสีปกติ หากพบมีสีแดงหรือสีเขียว ควรรีบมาพบแพทย์
เต้านมอักเสบ มีอาการบวม แดง แข็งเป็นก้อน กดเจ็บ
น่องบวมแดง มีอาการกดเจ็บ
หลัง 2 สัปดาห์คลำบริเวณหน้าท้องพบก้อน
ขับถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกะปริดกะปรอยและแสบขัด
การออกกำลังกายและการทำงาน
1.ไม่ควรยกของหนัก เดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ในระยะหลัง คลอด 6 สัปดาห์แรก
2.แนะนำการทำงาน ไม่ควรทำงานที่ต้องออกแรงมาก ควรทำงานบ้านเบาๆ เช่น ปรุงอาหาร ล้างจาน เก็บเสื้อผ้า และการดูแลบุตร หลีกเลี่ยงการใช้กำลังทางหน้าท้อง
3.การบริหารร่างกายหลังคลอด จะช่วยให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกติและมีความแข็งแรงมากขึ้น ควรออกกำลังกายหลังคลอดประมาณ 2-4 สัปดาห์
4.งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด
ท่าอุ้มให้นมทารก
ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle hold)
ท่าให้นมมีลักษณะที่เหมาะสมสำหรับมารดาหลังคลอดที่คลอดธรรมชาติ เนื่องจากมารดาผ่าตัดคลอดอาจจะไปกดทับแผลบริเวณหน้าท้อว
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold)
ท่าให้นมลูก แบบอุ้มลูกฟุตบอล ทำได้โดยอุ้มลูกน้อยให้อยู่ในท่ากึ่งนอนตะแคงกึ่งนอนหงาย ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่ โดยใช้มือคุณแม่ประคองที่ต้นคอลูกไว้ แล้วกอดลูกให้กระชับทางด้านสีข้างของคุณแม่ ลูกน้อยจะดูดนมข้างเดียวกับมือที่คุณแม่จับลูกไว้
ใช้ได้ดีสำหรับคุณแม่ผ่าคลอดเพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับแผลบริเวณแผลผ่าตัด รวมถึงปัญหาลูกตัวเล็กหรือมีปัญหาในการเข้าเต้านม คุณแมมีขนาดหน้าอกใหญ่หรือหัวนมแบน และในรายที่คุณแม่มีลูกแฝดต้องการให้นมบุตรพร้อมกัน
ท่าเอนตัว (laid-back hold)
ท่าที่ป้องกันการสำลักน้ำนมได้ดี เหมาะและสบายสำหรับคุณแม่และทารก
ท่านอน (Side lying position)
เหมาะสำหรับมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต้องการที่จะพักผ่อนหรือนั่งลำบาก นั่งไม่สบาย และเหมาะสำหรับการให้นมทารกในเวลากลางคืน
ท่าตั้งตรง (Upright or standing baby)
ท่าอุ้มให้นมนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาปากแหว่งหรือมีแนวโน้มที่จะหายใจไม่ออก หรือมีกรดไหลย้อนจะช่วยให้ลูกน้อยดูดนมได้ง่ายขึ้น
การดูแลเต้านม
1.การดูแลเต้านม เต้านมหลังคลอดของมารดาจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และหนักมากขึ้นกว่าเดิม ควรสวมใส่ชุดชั้นในที่กระชับเพื่อช่วยในการกระชับเต้านม มารดาควรให้ลูกดูดกระตุ้นน้ำนมให้ไหลเร็วขึ้น
2.ภายใน 2-3 วันแรกจะมีน้ำนมที่เป็นหัวน้ำนม เรียกว่า colostrum ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคสำหรับบุตร น้ำนมแท้ จะออกประมาณวันที่ 3 หลังคลอด สีของน้ำนมจะไม่เหมือนนมวัวที่มีสีขาว แต่มีลักษณะสีขาวอมเหลือง
3.เต้านมจะเริ่มเจ็บและตึงคัดในวันที่ 2-3 หลังคลอด สามารถบรรเทาอาการปวดได้โดยการประคบน้ำเย็นทั้งสองข้าง เมื่อจะให้นมบุตรควรประคบอุ่นและนวดเต้าเบาๆทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้น้ำนมไหลสะดวก โดยบรรเทาอาการปวดโดยให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นและปั๊มนมออก
การดูแลบุตร
1.ควรเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวจนบุตรอายุ 6 เดือน โดยไม่ต้องให้น้ำและสามารถให้อาหารเสริมเพราะระบบการย่อยและการดูดซึมสารอาหารของลูกจะเริ่มพัฒนาจนสามารถรับอาหารอื่นๆนอกจากน้ำนมได้
2.นำบุตรมาตรวจสุขภาพและดูแลให้ได้รับวัคซีนตามนัดทุกครั้ง โดยดูวันในสมุดสุขภาพมารดา และของทารกในเล่มชมพู โดยคุณแม่สามารถนำบุตรไปรับบริการที่สถานบริการใกล้บ้านได้ เมื่ออายุ 2 เดือน
3.หากมีปัญหาในการเลี้ยงบุตร สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง
การตรวจหลังคลอด
แพทย์นัดตรวจติดตามอาการอีกครั้ง 6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร เพื่อตรวจดูอวัยวะภายในและร่างกายเข้าสู่สภาวะปกติแล้วหรือไม่ ซึ่งจะตรวจเช็คภายใน ดังนั้นจึงควรสวมใส่กระโปรงเพื่อสะดวกในการตรวจ
แนะนำการรับประทานยา
Paracetamol 500 mg
ยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้ รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการปวด
Nataral
รับประทานวันละ 1 เม็ดหลังอาหาร
วิตามินและแร่ธาตุเสริมสำหรับหญิงหลังคลอดบุตร
พยาธิสรีรภาพของหญิงตั้งครรภ์
หลังคลอดที่เปลี่ยนแปลงไป
📌
มดลูก
มดลูกจะมีการเข้าอู่ (Involution of uterus) กลับเข้าสู่อุ้งเชิงกราน มี 2 กระบวนการ คือ
1.มดลูกขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemia)
2.การย่อยตัวเอง (Autolysis or self digestion)
<3 ระดับยอดมดลูกจะลดลงวันละ 0.5-1 นิ้ว
ภายหลังคลอด 24 ชั่วโมงไปแล้วระดับของมดลูกจะลอยสูงขึ้นมาอยู่เหนือสะดือเล็กน้อยและอาจเอียงไปทางขวา
อาการปวดมดลูก (Afterpain)กมีสาเหตุจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์เกิดในหญิงครรภ์หลังส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูกกเนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกยังมีความตึงตัวสูง
ยกเว้นว่าจะมีการยืดขยายของมดลูกมาก
ปากมดลูก
หลังคลอดบริเวณจากปากช่องคลอดจนกระทั่งถึงมดลูกส่วนล่างยังคงบวม เป็นเวลาหลายวันส่วนของปากมดลูกที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอด จะอ่อนนุ่มมีรอยช้้าและมีรอยฉีกขาดเล็กๆซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายประมาณ 18 ชั่วโมงหลังคลอดปากมดลูกจะสั้นลงแข็งขึ้นและกลับคืนสู่รูปเดิมประมาณ 2 – 3 วันหลังคลอด
น้ำคาวปลา (Lochia)
น้ำคาวปลาคือสิ่งที่ขับออกมาจากแผลภายในโพรงมดลูกตรงบริเวณที่รกเคยเกาะอยู่มีลักษณะเป็นน้ำเลือดปน
น้ำเหลือง
1.Lochia rubra น้ำคาวปลาที่ออกมาในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอดเนื่องจากในระยะนี้แผลภายในโพรง
มดลูกยังใหม่อยู่การซ่อมแซมยังเกิดขึ้นน้อย
2.Lochia serosa มีประมาณวันที่ 4 – 9 ลักษณะน้้าคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูสีน้ำตาลหรือค่อนข้างเหลืองมีมูกปนท้าให้ลักษณะที่ออกมาเป็นเลือดจางๆยืดได
3.Lochia alba มีประมาณวันที่ 10 หลังคลอดน้ำคาวปลาจะค่อยๆน้อยลงเป็นสีเหลืองจางๆหรือสีขาว
ฝีเย็บ (Perineum)
มารดาหลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บฝีเย็บจะมี
ลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด ฝีเย็บและได้รับการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บจะหายเป็นปกติภายใน 5 – 7 วัน
ช่องคลอด (Vagina)
เยื่อพรหมจารี (Hymen) จะมีการฉีกขาดอย่างถาวรเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ช่องคลอดจะอ่อนนุ่มมาก รอยย่นภายในช่องคลอดจะลดน้อยลง แก้ไขให้กระชับโดยวิธีการฝึกขมิบช่องคลอด (Kegel's exercise)
หลัก 4 ด
ดูดเร็ว
ลูกได้ดูดนมแม่หลังคลอดทันทีจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมมาเร็วขึ้น ถ้าให้ลูกดูดนมแม่ช้า น้ำนมก็จะมาช้าด้วย
ดูดบ่อย
ให้ลูกดูดนมแม่บ่อยตามที่ลูกต้องการ คือหิวเมื่อไหร่ก็ให้ดูดทันที เพราะทารกมักหิวนมทุก 2-3 ชั่วโมงมีข้อยกเว้นระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น ที่จะต้องให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมมา หลังจากนี้ก็ให้ลูกดูดตามต้องการ
ดูดถูกวิธี
ท่าดูดนมที่ถูกต้องของลูกก็คือ ปลายจมูกชิดเต้า ปากอมจนมิดลานหัวนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางชิดเต้านมลูกดูดแรงและเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ได้ยินเสียงกลืนนมเป็นจังหวะถ้าลูกไม่ค่อยดูด หรือดูดช้าลง ให้บีบเต้านมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมเข้าปากลูก
ดูดเกลี้ยงเต้า
การให้นมแม่แต่ละครั้งต้องนานพอ คือให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า เพราะน้ำนมในส่วนหลังจะมี ไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อสมองและร่างกาย ช่วยให้ลูกอิ่มนานไม่หิวบ่อย
ด้านจิตใจ
ระยะที่ 1 Taking in phase มารดาอ่อนเพลีย
ต้องการความช่วยเหลือ
ระยะที่ 2 Taking hold phase ช่วยเหลือตนเองได้ไปเข้าห้องน้ำได้ เริ่มถามหาบุตร สามารถให้นมบุตรได้
ระยะที่ 3 Letting go phase สามีและภรรยาพึ่งพากันและกันพร้อมที่จะเลี้ยงดูบุตร
เต้านม
หัวน้ำนม (colostrum)
จะเริ่มผลิตใน 2-3 วันแรกหลัง คลอดมีสีเหลืองข้น ซึ่งเกิดจากสารเบตาแคโรทีน มีหน้าที่คุ้มกันเชื้อโรค กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้มีฤทธิ์ระบายขี้เทาที่มีสารบิลิรูบิน (bilirubin)
น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน (transitional milk)
7-10 วันหลังคลอดไปจนถึง 2 สัปดาห์ ปริมาณของน้ำตาล
แลคโทสไขมันวิตามินที่ละลายในน้ำ และพลังงานรวมจะเพิ่มขึ้น
น้ำนมแม่ (true milk หรือ mature milk)
จะเริ่มประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้ว
ต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนของรก (Placental hormone)
จะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ตรวจหา HCS ไม่ได้ และปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด HCG จะลดลง
Estrogen,Progesterone,HCG,HPL ลดลงหลังคลอด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Pituitary hormone)
FHS และ LH จะต่ำมากในวันที่ 10-12 หลังคลอด
Prolactin ในกระแสเลือดในระดับปกติ ถ้าดูดนมมารดา
1-3 ครั้งต่อวัน และสูงนานถึง 1 ปีถ้ามีการดูดนมสม่ำเสมอมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน แต่ถ้าไม่ดูดนมเลยลดต่ำภายใน 2 สัปดาห์
🌈การคุมกำเนิด (Contraception)
หมายถึง การป้องกันการตั้งครรภ์
1.การคุมกำเนิดถาวร ได้แก่ การทำหมัน
การทำหมันเหมาะสำหรับครอบครัวที่มีบุตรเพียงพอแล้ว การคุมกำเนิดวิธีนี้มีผลดี คือ เจ็บครั้งเดียว สะดวก ปลอดภัย ไม่มีผลต่อสุขภาพหรือสมรรถภาพทางเพศตามความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง
การทำหมันหญิง คือ การผูกและตัดท่อนำไข่ทั้งสองข้างสามารถทำได้ตั้งแต่หลังคลอดใหม่ ๆ เรียกว่า การทำหมันเปียก และถ้าทำหมันในช่วงที่พ้นระยะหลังคลอดไปแล้ว เรียกว่า การทำหมันแห้ง
หมันเปียก เป็นการทำหมันภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร โดยมักนิยมทำในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอดบุตร เนื่องจากมดลูกยังมีขนาดโตเหนืออุ้งเชิงกรานในระดับใกล้ๆ สะดือ ทำให้สามารถลงแผลเล็กๆ ใต้สะดือ เข้าไปหาท่อนำไข่ทั้งสองข้างได้ง่าย ส่วนคนที่ผ่าตัดคลอด (cesarean section) แพทย์จะทำหมันไปพร้อมกันเลย
หมันแห้ง เป็นการทำหมันในช่วงที่ไม่ใช่ 6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร มดลูกจะมีขนาดปกติอยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกราน จึงหาท่อนำไข่ได้ยากกว่าหลังคลอดบุตร
ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Laparotomy) เป็นการลงแผลผ่าตัดบริเวณเหนือหัวหน่าว เพื่อเข้าไปตัดท่อนำไข่ทั้งสองข้าง
ผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopy) จะสามารถลงแผลเล็กๆ ที่ตำแหน่งสะดือ เพื่อสอดกล้องเข้าไปทำหมัน โดยอาจใช้วงแหวนพลาสติก (ring) ไปรัดท่อนำไข่ หรือใช้ไฟฟ้าจี้
ส่องกล้องผ่านโพรงมดลูก (Hysteroscopy) โดย essure ถือเป็นการทำหมันถาวรอย่างแท้จริงที่ไม่สามารถทำการแก้หมันได้ ตัว essure ผลิตจากนิกเกิลมีลักษณะคล้ายขดลวด มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร จะใส่เข้าไปตรงตำแหน่ง uterotubal junction เมื่อใส่แล้วจะมีส่วนของ essure 3-8 coil โผล่อยู่ในโพรงมดลูก หลังจากใส่แล้วจะยังไม่เป็นหมันทันที ต้องรอให้มีเนื้อเยื่อเจริญมาคลุม essure และทำให้ท่อนำไข่ส่วนต้นตันในที่สุด โดยมักใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงแนะนำให้ทำการตรวจฉีดสีดูท่อนำไข่ (hysterosalpingography) 3 เดือนหลังใส่ essure แล้ว โดยระหว่างนั้นให้คุมกำเนิดวิธีอื่นไปก่อน
การทำหมันชาย คือ การผูกและตัดท่อนำเชื้อทั้งสองข้างในถุงอัณฑะ สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล
2.การคุมกำเนิดชั่วคราว ได้แก่ ถุงยางอนามัยชาย, ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, ยาฝังคุมกำเนิด, ห่วงคุมกำเนิด, แผ่นแปะคุมกำเนิด, วงแหวนคุมกำเนิด และการคุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติ เป็นต้น
ยากินคุมกำเนิด
ยากินคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์หรือยากินคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน
สามารถใช้ได้ในช่วงไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดโดยวิธีนี้ไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดเป็นประจำ เพราะมีผลข้างเคียงเช่น รบกวนรอบระดูตามปกติทำให้มาไม่สม่ำเสมอและออกกระปริกระปรอยได้ถ้าใช้เป็นประจำ มีโอกาสลืมกินยาได้บ่อย คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
แบบที่มีฮอร์โมนเดี่ยว
แบบที่มีฮอร์โมนรวม
เป็นแบบที่ใช้กันมากที่สุด
ยากินคุมกำเนิดอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว เพราะต้องกินยาทุกวันจึงมีโอกาสที่จะลืมกินได้ สำหรับผู้ที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมอาจไม่เหมาะเพราะจะทำให้น้ำนมออกน้อยลง
การฉีดยาคุมกำเนิด
สามารถฉีดได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอดใหม่ ๆ ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนมแพทย์จะนัดฉีดทุก 3 เดือน ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดดี เหมาะสำหรับการคุมกำเนิดระยะยาว ไม่ต้องกินยาทุกวัน ราคาถูก แต่อาจมี
ผลข้างเคียง เช่น เลือดประจำเดือนกระปริกระปรอยในระยะแรกแต่หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีประจำเดือน น้ำหนักขึ้นและเมื่อหยุดฉีดยา อาจจะต้องรอประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะมีประจำเดือนและมีภาวะตกไข่ตามปกติ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลาสั้น ๆ
การใส่ห่วงคุมกำเนิด
ห่วงจะไปขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก แพทย์จะใส่ห่วงคุมกำเนิดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วเหลือสายห่วงออกมาจากปากมดลูกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดังนั้นจะต้องตรวจสายห่วงเป็นระยะ อายุการใช้งานของห่วงคุมกำเนิด คือ 3-5 ปีแล้วแต่ชนิดของห่วงคุมกำเนิด
ข้อเสียคือ ต้องคอยตรวจเช็คสายห่วงอย่างสม่ำเสมอ
ข้อดีคือไม่ต้องกินยาทุกวัน ไม่ต้องถูกฉีดยาทุก 3 เดือน ไม่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนผิดปกติกระปริกระปรอย ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ไม่คลื่นไส้อาเจียน ไม่ทำให้เกิดสิว ฝ้ามากขึ้น
การฝังยาคุมกำเนิด
สามารถทำได้ตั้งแต่ระยะคลอดใหม่ ๆ ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม แพทย์จะฝังหลอดยาเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร แบบจำนวน 1หลอด, 2 หลอด หรือ 6 หลอด (แล้วแต่ชนิดของยา) เข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนด้านใน ยาฝังคุมกำเนิดจะมีฤทธิ์คุมกำเนิด 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา ข้อดีคือสามารถคุมกำเนิดได้นาน ไม่ต้องกินยาทุกวัน ไม่ถูกฉีดยาบ่อย ๆ และ ไม่ต้องเช็คสายห่วง ไม่มีโอกาสหลุดเหมือนห่วงคุมกำเนิดแต่ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ประจำเดือนกระปริกระปรอย น้ำหนักขึ้น
การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด
การใช้แผ่นแปะที่มีฮอร์โมนคุมกำเนิดอยู่ในแผ่นขนาดประมาณ 4x4 เซนติเมตร แปะที่บริเวณสะโพก ท้องน้อย ต้นแขน หรือแผ่นหลังส่วนบน (แต่ไม่ควรแปะบริเวณเต้านม) โดยจะเปลี่ยนแผ่นทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ อีก 1 สัปดาห์ไม่ต้องแปะแผ่นยา จะเป็นช่วงที่มีประจำเดือน ข้อดีคือประสิทธิภาพการคุมกำเนิดค่อนข้างดี ไม่ต้องกินยาทุกวัน ไม่เจ็บตัวที่ต้องถูกฉีดยา ฝังยาหรือใส่ห่วงคุมกำเนิด ผลข้างเคียงคือ บริเวณที่แปะอาจมีอาการคัน รู้สึกไม่สบายตัว กังวลว่าจะลอกหลุด คัดตึงเต้านม
การใช้ถุงยางอนามัย
การใส่ถุงยางอนามัยนอกจากคุมกำเนิดแล้วยังสามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย โอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดอาจจะสูงเพราะวิธีการใช้ไม่ถูกต้อง คุณภาพของถุงยางไม่ดีทำให้ขาดหรือรั่วได้
การนับวัน
เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอบประจำเดือนสม่ำเสมอ โดยช่วงที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ คือ ก่อน 7 หลัง 7 หมายถึง ช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ คือในช่วงก่อนมีประจำเดือน 7 วัน และหลังจากมีประจำเดือน 7 วัน การคุมกำเนิดวิธีนี้มีโอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากการนับวันผิดพลาด และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ
นศพต.ลักษมิกร เงินแจ้ง เลขที่ 57 ชั้นปีที่ 3