Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติที่สัมพันธ์กับการใช้สารเสพติด (Substance Disorders), นางสาว…
ความผิดปกติที่สัมพันธ์กับการใช้สารเสพติด (Substance Disorders)
สารเสพติด
หมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยไม่สามารถหยุดเสพได้ จะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจ
ผู้ติดสารเสพติด
หมายถึง ภาวะที่เกิดจากการได้รับสารเสพติด ทั้งที่เป็นสารธรรมชาติ สารสังเคราะห์ หรือยาบางชนิด แล้วทำให้เกิดความอยากได้สารหรือยานั้นซ้ำๆ ทั้งอาจเป็นครั้งคราว หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน
ลักษณะ
มีความต้องการแรงกล้า ต้องหายาชนิดนั้นๆมาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด
เพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
มีความปราถนาอยากเสพยาชนิดนั้นๆอย่างรุนแรง
ภาวะเป็นพิษ (Intoxication)
เกิดพิษของสารเสพติด จะมีอาการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ผิดปกติหลังจากเสพสารเสพติด
การขาดหรือถอนพิษยา (Withdrawal)
เป็นกลุ่มอาการเฉพาะที่เกิดขึ้นหลังจากการหยุดเสพหรือลดจำนวนสารเสพติด
กระบวนการพยาบาลจิตเวชในการดูแลผู้ติดสารเสพติด
การรวบรวมข้อมูลและการประเมิน (assessment)
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ (health perception-health management
pattern)
ผู้ติดสารเสพติดอาจมีการรับรู้ลดลง
ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ปฏิเสธการรักษา
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร (nutritional-metabolic pattern)
อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน มีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ร่างกายซูบผอม อ่อนเพลีย
แบบแผนการขับถ่าย (elimination pattern)
มีการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับสุขอนามัยประจำวันไม่เหมาะสม
แบบแผนการทากิจกรรมและการออกกาลังกาย (activity-exercise pattern)
ขาดความสนใจในการทากิจกรรม
แบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับ
(sleep-rest pattern)
ผู้ป่วยมีอาการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากการรบกวนของอาการทางจิต
แบบแผนการรู้คิดและการรับรู้ (cognitive perceptual pattern)
มีความคิดสับสนหวาดระแวง เกิดอาการแปลภาพผิด มีอาการประสาทหลอน
แบบแผนการรับรู้ตนเอง อัตมโนทัศน์และสภาพอารมณ์ (self perception-self concept pattern)
มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย มีอาการคลุ้มคลังควบคุมตนเองไม่ได้
รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ไม่มีความสาคัญ เกิดความละอายใจ
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (sexuality reproductive pattern)
สัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่ดี ผู้ป่วยมักแยกตัวอยู่คนเดียว
แบบแผนการจัดการความเครียดและความทนต่อความเครียด
(copingstresstolerance pattern)
มักใช้สารเสพติดในการแก้ปัญหา
ทำได้โดยวิธีสังเกตและการสัมภาษณ์เกี่ยวกับชนิดและปริมาณในการใช้สาร ระยะเวลาในการ
ใช้สาร อาการเกิดจากการใช้สาร
2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ด้านร่างกาย
เสี่ยงต่อการได้รับสารน้าสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจาก (ระดับการรับรู้สติบกพร่อง)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางกายเนื่องจาก (อยู่ในภาวะถอนพิษยา)
ด้านจิตใจ
บกพร่องในความสามารถรับรู้ตามความเป็นจริง เนื่องจาก (มีอาการประสาทหลอน)
มีความวิตกกังวล เนื่องจาก (ภาวะเศรษฐกิจ,เป็นห่วงครอบครัว)
ด้านสังคม
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเนื่องจาก (หลงผิด หวาดระแวง)
ด้านพฤติกรรม
มีโอกาสกลับไปใช้ยาเสพติดเนื่องจาก (ไม่รับ ประทานยา,ไม่ปฏิบัติตัวตามแผนการรักษา)
ขาดทักษะในการใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เนื่องจาก (ใช้สารเสพติด)
การวางแผนและกิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ
ฟังผู้ป่วยพูดด้วยความตั้งใจ ให้ความเข้าใจในความคิด การแสดงออกทางอารมณ์ และพฤติกรรมของผู้ติดสารเสพติด
เพื่อสร้างความรู้สึกไว้วางใจ ให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก กระตุ้นให้ผู้ป่วยระบายสาเหตุของการติดยาเสพติด
ขั้นบำบัดด้วยยา หรือระยะถอนพิษยา
พยาบาลต้องดูแลให้ยาตามแผนการรักษา ให้คำแนะนำที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องโรค ยาและผลข้างเคียงของยา
เช่น ดูแลให้สารอาหารและน้ำอย่าง
เพียงพอ ดื่มน้าให้มากขึ้น รักษาความสะอาดช่องปาก ออกกาลังกาย
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy) และจิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก มีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลรักษาและ หาสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาใช้สารเสพติด โดยไม่โต้แย้ง
สิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (Milieu Therapy)
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยทั้งต่อผู้เสพและผู้อื่น ในรายที่หงุดหงิด ก้าวร้าวมาก จำเป็นต้องแยกให้อยู่ในสถานที่สงบ มีแสงสว่าง
เพียงพอ เพื่อลดสิ่งกระตุ้นอาการทางจิต
จัดกลุ่มกิจกรรมบาบัด
เพื่อกระตุ้นความคิด ให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
ตนเองได้โดยมีการเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
เช่น กลุ่มอ่านหนังสือกลุ่มเขียนจดหมาย กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพและความทรงจำกลุ่มวาดภาพ
การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจและสังคม
เพื่อหยุดการใช้สารเสพติดและป้องกันการกลับไปใช้สารเสพติดซ้า
ประกอบด้วย กิจกรรมบำบัด จิตบำบัด สอนทักษะการดำเนินชีวิต
การพยาบาลตามรูปแบบ FAST MODEL
Family ครอบครัวมีส่วนร่วม
Alternative จัดกิจกรรมทางเลือก
Self help ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
Therapeutic comminity ชุมชนบำบัด
มีการติดตามดูแลผู้ป่วยหลังการรักษาเป็นเวลา 1 ปี มีการพบปะพูดคุยหรือทางโทรศัพท์
การประเมินผลการพยาบาล
กำหนดเกณฑ์การประเมินผลอย่างครอบคลุมเหมาะสมกับปัญหาและกิจกรรมการพยาบาล
ประเภทของสารเสพติด
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
กดประสาท
ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ทินเนอร์
ผู้เสพติดจะมีร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
กระตุ้นประสาท
ได้แก่ แอมเฟตามีน ยาไอซ์ โคเคน คาเฟอีน
กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลาง ทำให้ผู้เสพติดมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ มีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น
หลอนประสาท
ได้แก่ ยาอี เคตามีน แอลเอสดี แฟนไซคลิดีน
ทำให้การรับรู้เสียไป หากใช้ปริมาณมากจะมีฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการหายใจ มีอาการฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาด ควบคุมตนเองไม่ได้
ผสมผสาน
ได้แก่ กัญชา
ใช้จำนวนน้อยๆจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ถ้าใช้จำนวนมากจะมีฤทธิ์กดประสาท หากมากยิ่งขึ้นจะเกิดการหลอนประสาท
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการติดสารเสพติด
Neurotransmitter
สารบางกลุ่มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มหรือยับยั้ง) การหลั่งของสารเคมีบางกลุ่ม
พันธุกรรม
ลักษณะของบุคลิกภาพ
ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดยา
ภาวะพึ่งพิงสูง
ต่อต้านสังคม
การควบคุมอารมณ์บกพร่อง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
สัมพันธภาพในครอบครัว โรงเรียน
การเลี้ยงดู ค่านิยมทางสังคมในการใช้สารเสพติด
การชักชวนของกลุ่มเพื่อน
โรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด
Substance Use Disorders
เป็นลักษณะการใช้สารเสพติดก่อให้เกิดปัญหา ได้แก่ Substance abuse
Substance abuse
ใช้สารที่มีปัญหา ก่อให้เกิดความเสียหาย แสดงออกมาดังข้อต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ ในระยะเวลา 12 เดือน
ใช้สารนั้นจำนวนมาก หรือเป็นระยะเวลานาน
ต้องการอย่างต่อเนื่อง หรือไม่เคยสำเร็จในการที่จะลด หรือควบคุมการใช้สารนั้นๆ
ใช้เวลาไปกับกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้สารนั้นมา
มีความอยาก ปรารถนา มีแรงกระตุ้นที่จะใช้สารนั้นๆ
มีการใช้สารนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่งผลต่อภาระหน้าที่
1 more item...
Substance Induced Disorders
Substance Intoxication
กลุ่มอาการจำเพาะจากสารซึ่งกลับเป็นปกติได้ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมและจิตใจอย่างผิดปกติ เช่น ทะเลาะวิวาท อารมณืเปลี่ยนแปลงง่าย การตัดสินใจบกพร่อง เสียการเข้าสังคมและการงาน
Substance Withdrawal
กลุ่มอาการจำเพาะจากการขาด หรือลดการใช้สารชนิดนั้นๆ ก่อให้เกิดการทุกข์ทรมาน หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน และด้านอื่นๆที่สำคัญบกพร่อง
แอลกอฮอล์ สุรา หรือ เหล้า
ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ทุกระบบของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท มีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาท
ได้รับขนาดสูงจะมีฤทธิ์คล้ายยาสลบ ได้แก่ ไม่รู้สึกตัว และกดการหายใจ
ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว เคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ตื่นตัว พูดมากขึ้น เนื่องจากช่วงแรกมีการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทในการออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง
กลไกการออกฤทธิ์
Alcohol ในกระแสเลือดสูง จะมีการหลั่ง dopamine และ serotonin ทำให้สนุกสนาน ครึกครื้น (reward effect)
Alcoholic Intoxication
ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ เนื่องจากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินค่าปกติ พบได้ในผู้ดื่มครั้งแรกๆ หรือดิ่มเป็นประจำ
หากได้รับในปริมมาณมาก ผู้ดื่มจะซึมและอาจไม่รู้สึกตัว/โคม่า เป็นผลจากการยับยั้งการทำงานของสมองและไขสันหลัง
Alcohol withdrawal
6-8 ชม หลังหยุดแอลกอฮอล์
หงุดหงิด กระสับกระส่าย มือสั่น เหงือแตก ใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน นอนไม่หลับ
7-48 ชม หลังหยุดแอลกอฮอล์
Grand mal seizure
48-72 ชม หลังหยุดแอลกอฮอล์
Delirium tremens ประสาทหลอน นอนไม่หลับ disorientation
กัญชา
Cannabis intoxication
มีอาการ impaired motor coordination อารมณ์ครื้นเครง วิตกกังวล รู้สึกเวลาช้าลง
การตัดสินใจบกพร่อง และแยกตัว
Cannabis withdrawal
มีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว กังวล กระวนกระวาย หลับยาก เบื่ออาหาร ซึมเศร้า
หรือมีอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง สัน่ เหงื่อออก ไข้ ปวดศีรษะ
สารที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท
Hallucinogen intoxication
illusion, hallucination ใจเต้นเร็ว ใจสั่น ม่านตาขยาย เหงื่อออก ตาพร่ามัว tremor และ
incoordination
สารระเหย
Inhalant intoxication
มีอาการเวียนหัว ตาพร่า ตากระตุก (nystagmus) พูดไม่ชัด ไม่มีแรง เชื่องช้า สั่น กล้ามเน้อ
อ่อนแรง incoordination อาจพฤติกรรมก้าวร้าว
Opioids
Opioid intoxication
อารมณ์ครื้นเครง หงุดหงิด สมาธิและความจำลดลง กดการทำงานของระบบประสาทและการหายใจ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้าและม่านตาหด
ไม่ทำให้เกิดอาการชัก (ยกเว้นได้รับ meperidine และ propoxyphene เกินขนาด)
Opioid withdrawal
มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หาวบ่อยๆ น้าตาไหล ขนลุก เหงื่อออก
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดกระดูกมาก
ยาสูบ
Tobacco withdrawal
หงุดหงิด กระวนกระวาย โกรธง่าย วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
ยาบ้า (Amphetamines)
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ระยะแรกจะทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด เมื่อหมดฤทธิ์จะรู้สึกอ่อนเพลีย ประสาทล้า การตัดสินใจช้า ผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม
Amphetamines intoxication
ได้รับยาเกินขนาดมาก จะทำให้ม่านตาขยาย ความดันสูง ชีพจรเต้นเร็ว shock arrhythmias มีอาการทางสมอง restlessness hyperactivity พูดมาก นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ ชัก หมดสติ มีเหงื่อ ปัสสาวะบ่อย มีไข้ กล้ามเนื้อกระตุก หายใจเร็ว ประสาทหลอน พฤติกรรมก้าวร้าว หวาดระแวง
Amphetamines withdrawal
มีอาการอ่อนเพลีย anxiety ฝันร้าย มี disorientation (ไม่ทราบวัน เวลา สถานที่) กระสับกระส่าย เรียกร้องความสนใจ บังคับให้คนอื่นทำตามคำสั่ง ก้าวร้าว ทำร้ายคนอื่น ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ปวดศีรษะ เหงื่อออก ร้อนๆหนาวๆ ขาเป็นตะคริว ปวดท้อง มักเกิดประมาณ 48-72 ชม หลังหยุดยา
ฝิ่น
Intoxication
จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น ครื้นเครง หงุดหงิด ง่วงซึม รูม่านตาหดตัว พูดอ้อแอ้ ง่วงซึม ความสนใจ ความจำเสีย
withdrawal
เกิดขึ้นหลังจากหยุดเสพ 6-8 ชม อาการจะมากที่สุดในวันที่ 2-3 และเกิดต่อเนื่อง 8-10 วัน มีอาการไม่อยู่นิ่ง หวาดกลัว นอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว ความดันสูง เหงื่อออก ขนลุก น้ำตาไหล รูม่านตาขยาย
นางสาว มินทิรา มังคลาด 611210089 นางสาว เมทินี เรือนสิงห์ 611210090