Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช, นางสาว กัญญศร…
นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
Van Helmont
ในปี ค.ศ. 1648 แวน เฮลมองท์ (Van Helmont) นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียม ได้ทำการทดลองปลูกต้นหลิวในกระถาง โดยการควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ปริมาณดิน ปริมาณน้ำ อุณหภูมิ แสงสว่าง เป็นต้น เวลาผ่านไป 5 ปี ต้นหลิวมีการเจริญเติบโตมากขึ้น เมื่อนำต้นหลิวไปชั่งน้ำหนักพบว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก แต่น้ำหนักของดินในกระถางลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการทดลองดังกล่าวแวน เฮลมองท์ได้ให้ข้อสรุปได้ว่า น้ำหนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นได้มาจากน้ำเพียงอย่างเดียว ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากในยุคนั้น
การทดลองของแวน เฮลมองท์
ได้ข้อสรุปว่าน้ำหนักของพืชที่เพิ่มขึ้นได้มาจากน้ำเท่านั้น
Joseph Priestley
ในปี พ.ศ. 2315 ( ค.ศ. 1772 ) โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้พิมพ์ผลงานที่ทำการทดลองโดยจ่อเทียนไขไว้ในครอบแก้ว ปรากฎว่าสักครู่เทียนไขก็ดับ และเมื่อใส่หนูเข้าไปในครอบแก้วครู่ต่อมาหนูก็ตาย เมื่อนำหนูที่มีชีวิตไปไว้ในครอบแก้วเดิมที่เทียนไขดับปรากฏว่าหนูตายเกือบทันที และเมื่อจุดเทียนไขแล้วนำไปใส่ในครอบแก้วเดิมที่หนูตายอยู่แล้ว ปรากฏว่าเทียนไขดับเกือบทันที อากาศที่หนูหายใจออกมาและอากาศที่ทำให้เทียนไขดับ ในสมัยนั้นเรียกว่า "อากาศเสีย" สิ่งที่สงสัยในยุคนั้นก็คือ คนและสัตว์อื่นๆ เป็นจำนวนมากกำลังหายใจอยู่ตลอดเวลา และยังมีการเผาไหม้สิ่งต่างๆ ถ้าเป็นเช่นนั้นไปเรื่อยๆ ในที่สุดอากาศที่ใช้ในการหายใจหรือช่วยในการลุกไหม้มิถูกทำลายให้หมดไปหรือ เขาได้ทดลองนำหนูใส่ไว้ในครอบแก้วเดียวกันกับพืชสีเขียว ปรากฎว่าทั้งพึชและหนูสามารถมีชีวิตอยู่ได้
Jan Ingen-Housz
ในปี ค.ศ. 1799 แจน อินเก็น-ฮูซ (Jan Ingen-Housz) นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ ได้ทำการทดลองคล้ายกับโจเซฟ พริสต์ลีย์ โดยใส่พืชไว้ในครอบแก้ว แต่แยกเป็นส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ลำต้น ใบ เป็นต้น แล้วทิ้งไว้ในที่มืดชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจุดเทียนไขไว้ในครอบแก้วแต่ละอัน พบว่าเทียนไขในครอบแก้วทุกอันไม่ติดไฟ และเมื่อทำการทดลองอีกครั้งโดยนำครอบแก้วทุกอันไปไว้ในบริเวณที่มีแสงสว่างระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจุดเทียนไขในครอบแก้วแต่ละอัน พบว่าในครอบแก้วที่มีส่วนของพืชซึ่งมีสีเขียวสามารถจุดเทียนไขให้ติดไฟได้ จากการทดลองดังกล่าวแจน อินเก็น-ฮูซได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ส่วนของพืชที่มีสีเขียวสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้ โดยพืชต้องอาศัยแสงเป็นปัจจัยในกระบวนการดังกล่าวด้วยส่วนของพืชที่มีสีเขียวสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้ เมื่อส่วนของพืชนั้นได้รับแสง
Nicolas Theodore de Soussure
ในปี ค.ศ. 1804 นิโคลาส ธีโอดอร์ เดอ โซซูร์ (Nicolas Theodore de Soussure) ได้ทำการรวบรวมและศึกษาผลงานของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตหลายๆ ท่าน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางด้านเคมีสมัยใหม่ ทำให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชดังต่อไปนี้
แร่ธาตุในดินมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
น้ำไม่ใช่เพียงละลายแร่ธาตุในดินให้แก่พืชเท่านั้น แต่น้ำยังมีบทบาทสำคัญโดยตรงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
พืชจะคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนในเวลากลางวัน และจะคายเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืน แสดงว่าพืชหายใจตลอดเวลา แต่พืชมีการสังเคราะห์แสงเฉพาะเวลากลางวันหรือเมื่อได้รับแสง
Van Niel
ในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แวน นีล (Van Niel) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้พบว่าแบคทีเรียบางชนิด สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้โดยไม่ใช้น้ำ แต่ใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แทนผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงแทนที่จะได้ออกซิเจนกลับได้ซัลเฟอร์(S)
Robin Hill
ในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) โรบิน ฮิลล์ (Robin Hill) ทำการทดลองผ่านแสงเข้าไปในของผสมซึ่งมีเกลือเฟอริกและคลอโรพลาสต์ที่สกัดออกมาจากผักโขม ปรากฏว่าเกลือเฟอริกเปลี่ยนเป็นเกลือเฟอรัสและมีออกซิเจนเกิดขึ้น
Daniel Arnon
ทดลองเพื่อพิสูจน์ว่า สารเคมีที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอนจากการแตกตัวของน้ำ คือ NADP+ และ การผลิตน้ำตาล และ แก๊สออกซิเจน ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน ผลการทดลองพบว่า คลอโรพลาสต์สามารถผลิตน้ำตาลได้ โดยที่มีสารตั้งต้นเป็น NADPH , ATP และ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสามารถเกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มีแสงก็ได้
Whihelm Engelman
ทดลองการสังเคราะห์ด้วยแสงของสาหร่าย Spyrogyra เพื่อพิสูจน์ว่า คลอโรพลาสต์เป็นส่วนของเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสง และผลิตแก๊สออกซิเจนออกมา และพิสูจน์ว่าแสงสีต่างๆ มีผลต่อปริมาณออกซิเจนที่ผลิตได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ผลการทดลองพบว่า สาหร่ายที่ได้รับแสงตลอดทั้งแผ่นสไลด์ จะมีแบคทีเรียมาเกาะที่ผิวของสาหร่ายตลอดทั้งสายแต่ถ้าได้รับแสงเป็นบางจุด พบว่ามีแบคทีเรียเกาะที่ผิวของสาหร่ายมากในบริเวณที่ได้รับแสงและการส่องแสงสีแดง เทียบกับแสงสีเขียว พบว่า แบคทีเรียเกาะที่ผิวของสาหร่ายมากในบริเวณที่ได้รับแสงแดง ส่วนบริเวณที่ได้รับแสงสีเขียวไม่มีแบคทีเรียเลย
Jean Senebier
ฌอง ซีนีบิเยร์ค้นพบวาแก๊สที่เกิดจากการลุกไหม้และแก๊สที่เกิดจากการหายใจของสัตว์ คือ CO2 (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ส่วนแก๊สที่ช่วยในการลุกไหม้และแก๊สที่ใช้ในการหายใจของสัตว์คือ O2(แก๊สออกซิเจน)แสดงวาเมื่อพืชได้รับแสง พืชจะนําแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมา
Julius von Sachs
ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ.1862)จูเลียส ซาซ ได้ทําการทดลองใช้โคมไฟฉายแสงให้กับพืชสีเขียวหลายชนิด และพบว่าพืชสามารถสังเคราะห์แป้งขึ้นมาในใบได้ และเมื่อปิดไฟเป็นเวลานาน ๆ แป้งก็จะสลายหายไปเมื่อตรวจสอบด้วยสารละลายไอโอดีน จากการทดลองนี้แสดงว่าสารอินทรีย์ที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมาก็คือ แป้ง
นางสาว กัญญศร วงศ์ใหญ่ ม.4/8 เลขที่ 5 นายภูผา ถาวเรืองฤทธิ์ ชั้น ม.4/8 เลขที่ 18
แสง
คลอโรพลาสต์+ น้ำ + เกลือเฟอริก -------------------------> เกลือเฟอรัส + ออกซิเจน