Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินมารดาหลังคลอด เตียง 17 Case Study นศพต.สุกัญญา ฝักชัยภูมิ…
การประเมินมารดาหลังคลอด
เตียง 17
Case Study
นศพต.สุกัญญา ฝักชัยภูมิ เลขที่ 53
พยาธิสภาพ
ด้านร่างกาย
ระบบสืบพันธุ์
มดลูก
มดลูกจะมีลักษณะกลมแข็งอยู่ที่ระดับสะดือหรือสูงกว่าเล็กน้อย
น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และจะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งมีน้ำหนักประมาณ 60 กรัม
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของมดลูกเพื่อคืนสู่สภาพเดิม เรียกว่า มดลูกเข้าอู่ (involution)
มดลูกจะเข้าสู่อุ้งเชิงกรานประมาณวันละ 0.5 - 1 นิ้ว ประมาณ 10 - 14 วัน จะคลำมดลูกทางหน้าท้องไม่ได้
วันที่ 7 หลังคลอด ระดับยอดมดลูกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ
วันที่ 10 หลังคลอด ระดับยอดมดลูก อยู่ที่ระดับหัวหน่าว
14 วันหลังคลอด คลำมดลูกไม่พบที่หน้าท้อง
น้ำคาวปลา
น้ำคาวปลาแดง หรือ Lochia rubra มีลักษณะสีแดงช้ำๆ คล้ำๆ เพราะประกอบด้วยเลือดเมือก และเศษรก โดยออกมาตั้งแต่วันแรก
น้ำคาวปลาสีเหลืองใส หรือ Lochia serosa ที่ออกต่อจากน้ำคาวปลาแดงไปจนถึงประมาณวันที่ 10 หลังคลอด โดยจะเริ่มจางและมีการเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลหรือชมพูแล้วค่อยๆ กลายเป็นสีเหลืองใส
น้ำคาวปลาขาว หรือ Lochia alba ออกต่อจากน้ำคาวปลาเหลืองใสไปอีกจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด จะมีสีเหลืองขุ่นจนออกไปทางขาว และปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อยๆ ลดลงจนแห้งสนิท
Foul lochia เหม็น มีกลิ่น สีเขียว = ติดเชื้อ
ปากมดลูก
ระยะแรกหลังคลอดปากมดลูกจะมีลักษณะนุ่มบาง เรียกว่า Externalos
Parous cervix เป็นริ้วรอยที่คงอยู่ตลอดไป เป็นการบ่งชี้ว่าเคยคลอดบุตรมาแล้ว
หลังคลอด 1 วัน ปากมดลูกจะกลับยาวลงมาเหมือนระยะก่อนคลอด โดยมดลูกจะหดตัวช้าๆ ภายหลังคลอด 1 สัปดาห์ ปากมดลูกจะหดตัวตีบลงเหลือขนาด 1-2 เซนติเมตร เกิดมีช่องทางปากมดลูก (cervical canal) ขึ้นใหม่ สัปดาห์ที่ 2-3 เกิดอิสมัส (Isthmus) ซึ่งอยู่ระหว่างปากมดลูกถึงปากมดลูกด้านใน (Internal os.) ขึ้น แต่ปากมดลูกจะไม่คืนสภาพเดิมเมื่อยังไม่ผ่าน
การคลอด จะมีลักษณะเป็นรูปรี
ช่องคลอด
ระยะหลังคลอดการเปลี่ยนแปลงของช่องคลอดจะเกิดขึ้นช้าๆ และค่อยๆลดขนาดลง แต่ไม่สามารถคืนสู่สภาพเดิม เนื่องจากมีการหย่อนของผนังช่องคลอด
ระยะแรกจะพบช่องคลอดยังยืดขยาย นุ่ม ผนังช่องคลอดเรียบ
สัปดาห์ที่ 3 จะปรากฏรอยย่น (Rugae) ในช่องคลอดให้เห็น ระยะนี้เนื้อเยื่อบุช่องคลอดยังไม่ฟื้นตัวมีลักษณะแบนราบอยู่ จนเข้าสัปดาห์ที่ 6-10 จึงจะสมบูรณ์เหมือนเดิม
การบริหารด้วยวิธีขมิบก้นบ่อยๆ (Kegel's excercise) จะช่วยให้กล้ามเนื้อช่องคลอดและกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานแข้งแรงเป้นปกติได้เร้วขึ้น
เยื่อพรหมจารีย์
ลักษณะฉีกขาดกระรุ่งกระริ่งกลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ที่เรียกว่า Carunculae myrtiforms ถือเป็นลักษณะเฉพาะบอกว่าสตรีนั้นเคยคลอดลูกมาแล้ว
เต้านมและน้ำนม
Prolactin สร้างน้ำนม Oxytocin หลั่งมากน้ำนมไหล ไปยับยั้งการทำงาน Progesterone และ Estrogen กด Hypothalamus ไม่ให้หลั่ง FSH/LH ทำให้ประจำเดือนไม่มา ยิ่งดูดน้ำนมยิ่งไหล ยิ่งสร้างกลไก Let down reflex สร้างน้ำนม หลั่ง Prolactin
ต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนลดลงเพื่อปรับสมดุลร่างกาย
ทางเดินอาหาร
มารดาอาจมีอาการท้องผูกได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง
ผิวหนังและอุณหภูมิ
Linea nigar จะหายไปใน 6 สัปดาห์หลังคลอด Striae garvidarum จะมีสีจางลง อุณหภูมิหลังคลอด อาจสูงได้แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส
ด้านจิตใจ
Taking hold phase ระยะนี้อยู่ในช่วง 4-10 วันหลังคลอด ช่วยเหลือตัวเองได้ กระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบ ดูแลตนเองและทารก แต่ไม่มั่นใจในความสามารถของตนในการเลี้ยงบุตร ถ้าความต้องการเหล่านี้ไม่ได้การตอบสนอง จะรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า
หมดความอดทนในการที่จะเป็นมารดา
Letting go phase เป็นช่วงที่ต่อเนื่องจาก Taking hold phase สามีและภรรยาต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน
Taking in phase เป็นระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอด ในช่วงนี้จึงสนใจแต่ตนเอง มีความต้องการพึ่งพา (Dependency needs) เนื่องจากร่างกายยังอ่อนเพลียกจากการคลอด จึงต้องการความช่วยเหลือ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
์Neutrophil 82.1 % มีค่าสูงกว่าปกติ
Lymphocyte 14.7 % มีค่าต่ำกว่าปกติ
WBC 15.00 10^3/uL มีค่าสูงกว่าปกติ
Monocyte 2.7 % มีค่าต่ำกว่าปกติ
Eosinophil 0.3 % มีค่าต่ำกว่าปกติ
13 B
Background ภูมิหลัง
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล
21 พฤษจิกายน 2563 อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล :
มีอาการเจ็บครรภ์คลอด เวลา 04.00 น. และเจ็บแรงขึ้น 07.00 น. จึงมาโรงพยาบาล
แรกรับ PV ปากมดลูกเปิด 4 cm. Effacment 75% Station -1 MI ตรวจครรภ์ FH 3/4 > umbilicus , Vx , HE , OL , FHS 148 ครั้ง/นาที
ประวัติการคลอดปัจจุบัน
คลอด Normal labor ทารกเพศชาย เวลา 11.16 น. น้ำหนัก 3270 กรัม ส่วนสูง 50.5 เซนติเมตร Apgar score 9 คะแนน หักคะแนนสีผิว ตัดฝีเย็บแบบ Rt.mediolateral episiotomy ระดับการฉีกขาด ระดับ 2
หลังคลอดได้รับ Syntocinon และ Methergin
รกคลอดเวลา 11.22 น. นำหนัก 520 กรัม มี Blood loss 200 ml.
วันที่รับไว้ในความดูแล
23 พฤษจิกายน 2563 มภร.15/2 อุณหภูมิร่างกาย = 36.0 องศาเซลเซียส
ความดันโลหิต = 116/76 mmHg ชีพจร 86 ครั้ง/นาที การหายใจ 18 ครั้ง/นาที
ประวัติการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน
G2P1011 GA38+3 wks. by date
ประวัติการฝากครรภ์
ฝากครรภ์ครั้งแรก ที่ ร.พ. บางนา GA 10 wks.
ฝากครรภ์ที่ ร.พ. ตำรวจ GA 30+5 wks. by date จำนวน 5 ครั้ง
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 52 kg. ส่วนสูง 161 cm. BMI = 20.06 kg/m^2
น้ำหนักก่อนคลอด 62.3 kg. BMI = 24.03 kg/m^2
ประวัติการเจ็บป่วย
G1 มกราคม พ.ศ.2563 Pregnancy 2 months
Spontaneous abortion no D&C
ปฏิเสธการเจ็บป่วยของตนเองและคนในครอบครัว
ไม่แพ้ยา อาหาร สารเคมี ไม่มีประวัติการผ่าตัด
มารดาหลังคลอด เตียง 17 มภร.15/2 อายุ 23 ปี ศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับชั้น ม.6 อาชีพ รับจ้าง รายได้ 15,000 บาท
ไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ดื่มสุรา ไม่สุบบุหรี่
Belly and fundus หน้าท้องและยอดมดลูก
มดลูกจะเข้าสู่อุ้งเชิงกรานประมาณวันละ 0.5-1 นิ้ว
วันที่ 7 หลังคลอด ระดับยอดมดลุกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ
วันที่ 10 หลังคลอด มดลูกจะอยู่ที่ระดับหัวเหน่า
2 สัปดาห์หลังคลอด จะคลำไม่พบมดลูกที่หน้าท้อง
6 สัปดาห์หลังคลอด มดลุกจะเข้าอู่
วัดระดับยอดมดลูกมารดา วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ระดับยอดมดลูก = 3 นิ้ว
Breast and lactation เต้านมและการหลั่งน้ำนม
หัวนมปกติ ไม่บอด ไม่บุ๋ม
เต้านมคัดตึงเล็กน้อย คลำพบก้อนแข็ง
ลานนมแข็งเล็กน้อย
น้ำนมไหลดี Flow score = 2 คะแนน
Bladder กระเพาะปัสสาวะ
ประเมินการปัสสาวะหลังคลอด
ปัสสาวะภายใน 4-6 ชั่วโมงหลังคลอด
มารดาปัสสาวะ 3 ชั่วโมงหลังคลอด ลักษณะสีเหลือง ปนเลือด ไม่มีอาการแสบขัด
Body temperature and blood pressure อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิต
Vital sign stable
21 พฤศจิกายน 2563 14.00 น.
ฺอุณหภูมิร่างกาย = 37.1 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต = 129/91 mmHg ชีพจร 94 ครั้ง/นาที การหายใจ 18 ครั้ง/นาที
22 พฤศจิกายน 2563 10.00 น.
ฺอุณหภูมิร่างกาย = 36.3 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต = 110/70 mmHg ชีพจร 84 ครั้ง/นาที การหายใจ 18 ครั้ง/นาที
23 พฤศจิกายน 2563 10.00 น.
ฺอุณหภูมิร่างกาย = 36.0 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต = 116/76 mmHg ชีพจร 86 ครั้ง/นาที การหายใจ 18 ครั้ง/นาที
Bleeding and lochia เลือดและน้ำคาวปลา
Day 1 : สีแดงจาง ไม่มีกลิ่นเหม็น
Day 2 : สีแดงจาง ไม่มีกลิ่นเหม็น
Day 0 : สีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็น
Bottom ฝีเย็บและทวารหนัก
REEDA
E: Ecchymosis
แผลไม่ช้ำ ไม่มีจ้ำเลือด
D: Discharge
ไม่มี Discharge ซึม
E: Edema
แผลไม่บวม
A: Approximation
ขอบแผลชิดติดกันดี
R: Resness
แผลไม่แดง
ตัดฝีเย็บแบบ Rt.mediolateral episiotomy ฉีกขาดระดับ 2
Bowel movement การทำงานของลำไส้
Day 1 : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ
Day 2 : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ
Day 0 : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ
Blues ภาวะด้านจิตใจ
มารดาไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มีการพูดคุยโต้ตอบ ยิ้มแย้มแจ่มใส
สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และให้ Breast feeding ลูก สม่ำเสมอ
Body Condition การประเมินภาวะร่างกาย
มารดาไม่มีภาวะซีด สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สีหน้าสดชื่น
Bonding สัมพันธภาพ
ขณะอยู่ที่ โรงพยาบาล จะนำบุตรมานอนข้างๆ ตลอดเวลา
สามีจะมาเยี่ยมเมื่อถึงเวลาเยี่ยมญาติ และดูแลอุ้มลูกเวลาที่มารดาไปเข้าห้องน้ำ
Belief ความเชื่อที่มีผลกับการปฏิบัติตัวหลังคลอด
มารดาไม่มีความเชื่อเรื่องการอยู่ไฟ
มารดาจะเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมารดา เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นจะนำไปให้มารดาเลี้ยงที่ต่างจังหวัด แต่จะปั๊มนมเก็บและส่งไปให้ลูกกินจนครบ 6 เดือน
Baby ทารก
ทารกผิวแดงดี ไม่ซีด ไม่มีผื่น ร้องดี
Apgar score = 9 10 10
คำแนะนำมารดาหลังกลับบ้าน
การพักผ่อน
ควรพักผ่อนมากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง หรือเมื่อเวลาทารกหลับ
การทำงาน
ใน 2 สัปดาห์แรก สามารถทำงานบ้านเบาๆ ได้ ไม่ควรยกของหนัก หรือทำงานที่ต้องออกแรง เพราะจะทำให้เพิ่มแรงดันในช่องท้อง ส่งผลให้มดลูกหย่อนในภายหลัง และหลังคลอด 6 สัปดาห์ไปแล้ว จึงจะสามารถเริ่มกลับมาทำงานหนักได้่
อาหาร
ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่า และปริมาณสูงกว่าในระยะตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมให้ร่างแข็งแรง และผลิตน้ำนมได้เพียงพอ เน้นอาหารประเภทโปรตีน ถั่ว ไข่ งดอาหารหมักดอง อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การรักษาความสะอาด
อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรแช่ในอ่างหรือแม่น้ำลำคลอง เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
เต้านมและหัวนม ควรล้างให้สะอาดขณะอาบน้ำ ไม่ควรฟอกสบู่ที่หัวนมเพราะจะทำให้หัวนมแห้งและแตกได้ เช็ดหัวนมทุกครั้งหลังให้นมเพราะอาจมีคราบน้ำนมแห้งติด ทำให้หัวนมแตกได้เช่นกัน และควรสวมเสื้อยกทรงพยุงเต้านมไว้
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ทำความสะอาดด้วยสบู่และล้างให้สะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำ หลังปัสสาวะ หรือ อุจจาระ และซับให้แห้งจากด้านหน้าไปด้านหลัง ป้องกันเชื้อโรคจากรูทวารหนักมาสู่ช่องคลอด และ ใส่ผ้าอนามัยที่สะอาด เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง หรือเมื่อชุ่ม
การร่วมเพศ
เนื่องจากมีแผลในโพรงมดลูก น้ำคาวปลา แผลฝีเย็บยังไม่ติดดี อาจทำให้ติดเชื้อ จึงควรงดการร่วมเพศจนกว่าจะได้ตรวจหลังคลอดเมื่อครบ 6 สัปดาห์
การมีประจำเดือน
มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ประจำเดือนครั้งแรกหลังคลอดจะมาประมาณ 7-9 สัปดาห์
มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง อาจจะไม่มาตลอดระยะที่ให้นมบุตร
การวางแผนครอบครัว
การคุมกำเนิดหลังคลอด
ยากิน ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว สามารถรับประทานได้ในช่วงให้นมบุตร โดยไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมและยังช่วยเพิ่มน้ำนม
ยาฝัง คุมกำเนิดได้ 3 ปี ไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมมารดา
ยาฉีด คุมกำเนิดได้ 3 เดือน ไม่มีปัญหาเรื่องการลืมกินยา คุมกำเนิดได้นานกว่ายาคุมชนิดกิน
การทำหมันหลังคลอด ชนิดหมันเปียก ทำภายใน 1-3 วันหลังคลอด เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย
ถุงยางอนามัย
การบริหารร่างกายหลังคลอด
นอนคว่ำใช้หมอนรองบริเวณท้องน้อย 2 ใบ วางแขนข้างลำตัวหันหน้าไปทางด้านใดด้านหนึง ช่วยให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก
มดลูกกลับสู่สภาพเดิมเร็วขึ้น และลดอากรปวดมดลูก
นอนหงายราบไม่หนุนหมอน ชันขาขึ้นให้เข่าชิดกัน เท้าห่างกันพอควร ยกสะโพกขึ้นและเกร็งกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อรอบๆช่องคลอดไว้สักครู่ แล้วค่อยๆวางสะโพกลง ช่วยลดอาการบวมและความไม่สุขสบายบริเวณฝีเย็บ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ประโยชน์ต่อทารก
มีสารอาหารทุกอย่างครบถ้วน
รับภูมิต้านทานโรค ลดการเกิดโรคภูมิแพ้
น้ำนมแม่สะอาด มีอุณหภูมิเหมาะสมกับลูก
ย่อยง่าย ไม่ทำให้ลุกท้องผูก
เกิดความรัก ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก
ประโยชน์ต่อแม่
สะดวกไม่ต้องเสียเวลาเตรียม
ป้องกันความเสี่ยงการเกิดมะเร้งเต้านมและรังไข่
ทำให้แม่มีรุปร่างกลับสู่สภาพเดิมเร็ว
ประหยัด
ช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี
ทำให้เว้นระยะเวลาการตั้งครรภ์ได้นานขึ้น
อาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์
น้ำคาวปลาสีแดงไม่จางลง ออกจำนวนมาก
พบว่ามีเศษรกและเลือดปนออกมา มีกลิ่นเหม็นเน่า
เต้านมอักเสบ บวม แดง แข็งเป็นก้อน กดเจ็บ
มีเลือดสดๆ ออกทางช่องคลอดมาก
น่องบวมแดง กดเจ็บ
ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว
ถ่ายปัสสาวะบ่อย แสบขัดเวลาปัสสาวะ
มีไข้
หลังคลอด 2 สัปดาห์แล้วยังคลำได้ก้อนทางหน้าท้อง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
มีแผลในโพรงมดลูก
ฺBlood loss ที่ LR = 200 ml.
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่ตกเลือด
เกณฑ์การประเมินผล
Vital sign อยู่ในเกณฑ์ปกติ
มี Blood loss ใน 24 ชั่วโมงแรก ไม่เกิน 500 ml.
ไม่มีอาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลียน้อยลง
มีการหดรัดตัวของมดลูกดี
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้มารดาได้รับความสุขสบาย นอนหลับพักผ่อนบนเตียง ลดการใช้พลังงาน
สังเกตปริมาณ ลักษณะ กลิ่น สี ของน้ำคาวปลา
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก โดยการคลึงมดลูกให้กลมแข็ง
และวัดระดับยอดมดลูก
ประเมินลักษณะแผลฝีเย็บ ตามหลัก REEDA
ประเมิน vital sign อาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หน้ามืด
ใจสั่น ตัวเย็นของมารดาหลังคลอด
ประเมินปริมาณและลักษณะเลือดของ Bleeding per vagina
ทุก 2-4 ชั่วโมง ในระยะ 24 ชั่วโมงแรก ต้องไม่เกิน 500 ml.
อธิบายให้มารดาทราบว่าไม่ควรทำงานหนัก ยกของหนัก ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เพราะจะทำให้มดลูกหย่อนและเกิดการตกเลือดได้
Record Vital sign และ Intake Output
ประเมินผล
มดลูกหดรัดตัวดี
แผลไม่บวม ไม่มีเลือดซึม
Vital sign อยู่ในเกณฑ์ปกติ
มีน้ำคาวปลาประมาณ 40 ml.
ไม่มีอาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลียน้อยลง
เสียงต่อการติดเชื้อหลังคลอด
วัตถุประสงค์
ไม่มีการติดเชื้อหลังคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ โดยเช็ดจากหน้าไปหลัง
ไม่เช็ดย้อน ป้องกันการนำเชื้อจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมงหรือเมื่อชุ่ม เพื่อลดการหมักหมม และแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย ที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ
ประเมินลักษณะแผลฝีเย็บ และน้ำคาวปลา ถ้าพบอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น แผลฝีเย็บบวมแดง มีหนอง น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นเน่า ต้องรีบรายงานแพทย์
ประเมิน vital signs ทุก 4 ชั่วโมง
แนะนำการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อ นม ไข่ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
แนะนำการฝึกขมิบช่องคลอด ให้ทำวันละ 300-400 ครั้ง เพราะจะช่วยกระตุ้นให้มีการไหลเวียนเลือดบริเวณฝีเย็บดีขึ้น ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
แผลฝีเย็บแห้งดี ไม่มีบวมแดงหรือเป็นหนอง ไม่ช้ำ
ไม่มี discharge ซึม แผลชิดติดกันดี
น้ำคาวปลาไม่มีกลิ่นเหม็น
vital sign อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ประเมินผล
แผลฝีเย็บแห้งดี ไม่บวมแดง ขอบแผลไม่แยก
น้ำคาวปลาไม่มีกลิ่นเหม็น
Vital signs ปกติ
BT = 36.3 องศาเซลเซียส
PR = 84 ครั้ง/นาที
BP 110/70 mmHg
RR 18 ครั้ง/นาที
Pain score 1 คะแนน
Oxygen satuation 99 %
ข้อมูลสนับสนุน
มารดามีแผลในโพรงมดลูก
มารดามีแผลฝีเย็บ ฉีกขาดระดับ 2
ค่า WBC 15.00 10^3 uL มีค่าสูงกว่าปกติ
มารดาหลังคลอด 24 ชั่วโมง
มีภาวะเต้านมคัดตึง
ข้อมูลสนับสนุน
เต้านมคัด (Breast engorgement)ทั้ง 2 ข้าง น้ำนมมาก
วัตถุประสงค์
อาการเต้านมคัดตึงลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
ต้านมไม่บวมแดง ร้อน
อาการเต้านมคัดตึงลดลง
น้ำนมไหลสะดวก
การประเมินผล
ดมีอาการเต้านมคัดตึงลดลง
ะสามารถบีบน้ำนมได้ด้วยตัวเอง และมีน้ำนมออกมามาก
เต้านม ไม่บวม แดง หรืออักเสบ อาการปวดลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ยาแก้ปวด Paracetamal (500 mg) 2 เม็ดทางปาก
เวลาปวด ห่างกันทุก 4-6 ชั่วโมง
ดูแลใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัดประคบเต้านม 3- 5 นาที พร้อมกับนวดเต้านม
อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เต้านมคัดตึง คือ การให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม
ดูแลบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือ จนกระทั่งลานนมนิ่ม ลูกสามารถคาบลานนมได้ติด
สอนและฝึกมารดาหลังคลอดนวดเต้านมและบีบน้ำนมออกจนเกลี้ยงเต้าด้วยตนเอง
ฝึกมารดาหลังคลอดประคบเต้านมและบีบน้ำนมด้วยตนเอง
แนะนำมารดาให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น อย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมงให้เวลาลูกดูดอย่างน้อย 15-20 นาที
ให้กำลังใจโดยให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเต้านมคัดตึง เช่น ฝึกให้ช่วยประคบและบีบน้ำนมออกจากเต้านมมารดาหลังคลอด
ดูแลหลังลูกดูดนมเสร็จแล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบเต้านม เพื่อบรรเทาอาการปวด
ติดตามและฝึกมารดาหลังคลอดให้ทำด้วยตนเองจะทำให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบผลสำเร็จ