Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีและหลักการจัดการเรียนรู้, นางสาวืิพย์เสน่ห์ จันทบุรี 6246702017…
ทฤษฎีและหลักการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )
ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
ความสำคัญของการเรียนรู้
ช่วยให้ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในการ จัดสภาพการณ์ และเลือกวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลตามความเหมาะสมของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้บรรลุผลตามเป้ าหมายที่ต้องการ
ความหมายของการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
สิ่งเร้า (Stimulus)
เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน
การตอบสนอง (Response)
เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
แรงขับ (Drive)
เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
การเสริมแรง (Reinforcement)
เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
กระบวนการของการเรียนรู้
ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ ( Perception )
สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด( Conception )
อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย
พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ ( Learning )
มีสิ่งเร้า( Stimulus ) มาเร้าอินทรีย์ ( Organism )
เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง ( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ
การจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
ผู้เรียน
ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้สอนควรคำนึงถึงองค์ประกอบเหล่านี้เป็นสำคัญ
กิจกรรมการเรียนการสอน
จะต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ มีกิจกรรมที่เสริม เช่น การเล่นเกม ร้องเพลง เพื่อทำให้เด็กไม่เกิดการตึงเครียดมากเกินไป
ผู้สอน
จะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความพร้อมในเนื้อหาที่จะสอน และจะต้องใช้จิตวิทยามาใช้ในการสอน เช่นการใช้แรงจูงใจ ตัวเสริมแรง หรือสิ่งเร้า เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ความสําคัญของการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักการเรียน ตั้งใจเรียน และเกิดการเรียนรู้ขึ้น การเรียนของผู้เรียนจะไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ ความสําเร็จในชีวิต หรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการเรียนรู้ที่ดีของผู้สอน หรือผู้สอนด้วยเช่นกัน หากผู้สอนรู้จักเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดีและเหมาะสมแล้ว ย่อมจะมีผลดีต่อการเรียน ของผู้เรียน
ความหมายของการจัดการเรียนรู้
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน การจัดสถานการณ์สภาพการณ์หรือกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์อันก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามและพัฒนาการทั้งทางกายและทางสมอง อารมณ์และสังคม
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s connectionism)
กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse)
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขของวัตสัน
ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ใด ๆ สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติอย่างเหมาะสม
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical conditioning)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเสนอโดย พาฟลอฟ (Pavlov) นักจิตวิทยาและสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ซึ่งได้ทำการทดลองใช้ผงเนื้อบดเป็นสิ่งเร้าตามธรรมชาติหรือสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (unconditioned stimulus) กับสุนัข
พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขหรือความต้องการทางธรรมชาติ
กฎแห่งการลดภาวะ (Law of Extinction)
กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of Spontaneous Recovery)
กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่น ๆ (Law of Generalization)
) กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (Operant Conditioning)
ทำการทดลองวางเงื่อนไขกับหนูโดยสร้างกล่องสำหรับทำการทดลองขึ้น
การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่คงที่หรือตายตัว
การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงจะลดลงและหายไปในที่สุด
การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการกระทำพฤติกรรมที่ต้องการได้จะสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous conditioning)
กัทธรี (Guthrie) นักจิตวิทยาชาวอเมริกาได้ทำการทดลองวางเงื่อนไขโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปริศนา
กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity)
กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Law of Recency)
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning)
การจูงใจ (Motivation)
ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการสร้างทฤษฏีทางจิตวิทยาอย่างมีระบบซึ่งเป็นแบบ S-R คือ การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
กฎแห่งการจัดลำดับกลุ่มนิสัย (Law of Habit Hierarchy)
สมมติฐานของการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย (Goal Gradient Hypothesis)
) กฎแห่งการยับยั้งปฏิกิริยา (Law of Reactive Inhibition)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)
เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจซึ่งได้ขยายขอบเขตของการเรียนรู้จากด้านพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ไปสู่กระบวนการทางความคิด
ทฤษฎีเกสตัลต์ (Gestalt Theory)
แนวความคิดหลักของทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นส่วนรวม (Wholeness)
บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าสิ่งเร้าที่เป็นส่วนย่อย
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ
การหยั่งเห็น (insight)
การรับรู้ (perception)
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเกิดขึ้นภายสมองของมนุษย์
ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
เคิร์ต เลวิน (Kurt Lewin) นักจิตวิทยาเชื้อสายเยอรมัน-อเมริกันเป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีสนาม ซึ่งเป็นทฤษฎีที่แยกตัวจากกลุ่มทฤษฎีเกสตัลต์ในระยะหลัง คำว่า “สนาม” (field) มาจากแนวคิดเรื่อง สนามของพลัง (field of force)
พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สำหรับสิ่งที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็นบวก (+) ส่วนสิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังงานเป็นลบ (-)
การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำไปสู่จุดหมาย
ที่ตนต้องการ
ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
ทอลแมน (Tolman) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ริเริ่มทฤษฏีนี้ เขากล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้นำทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายการเรียนรู้
การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผู้เรียนมีความคาดหวังรางวัล (reward expectancy)
การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยจะไม่กระทำซ้ำ ๆ ในทิศทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการหรือจุดหมายของตน
ระหว่างการเรียนรู้ ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการซึ่งผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ด้วยเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องชี้นำทางตามไปด้วย
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที แต่อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมหรือจำเป็นจึงจะแสดงออก
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิสเป็นผู้เสนอแนวคิดของทฤษฎีนี้ โดยได้อธิบายพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กว่ามีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับขั้นเป็นไปตามวัยต่างๆ
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลจะเป็นไปตามวัยและเป็นลำดับ
ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Pre-operational Period)
ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensori-motor Period)
การใช้ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่
กระบวนการทางสติปัญญาในการเรียนรู้ มี 2 ลักษณะ
การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)
การปรับและจัดระบบ (accommodation)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์
บรูนเนอร์ (Bruner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ที่ได้ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาต่อจากเพียเจต์ เขาเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง
พัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3
ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และสิ่งที่เป็นนามธรรม (Symbolic Stage)
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage
การเรียนรู้ที่ดีที่สุด
การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition)
การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำคัญในการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Theory of Meaningful Verbal Learning)
ออซูเบล (Ausubel) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้เสนอแนวทางการจัดการเรียน การสอนสำหรับผู้สอนไว้ว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ผู้เรียนรู้อยู่แล้ว ผู้สอนต้องค้นหาว่าผู้เรียนรู้อะไรมาบ้าง แล้วสอนพวกเขาให้สอดคล้องกับ สิ่งนั้น
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
ทฤษฏีการเรียนรู้ของมาสโลว์
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติอย่างเป็นลำดับขั้นจากความต้องการขั้นพื้นฐานไปสู่ความต้องการขั้นสูง
มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเอง และพัฒนาตนเองจนกระทั่งเกิด ประสบการณ์ที่เรียกว่า จุดสูงสุด (peak experience)
ทฤษฏีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neill)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช (Illich)
ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)
กานเย (Gagne’) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่มีแนวคิดแบบผสมผสานทฤษฎีและหลักการที่หลากหลายระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม
การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association
การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning)
การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining
การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning)
การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง (stimulus-response learning)
การเรียนรู้กฎ (rule learning
การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning)
การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving
นางสาวืิพย์เสน่ห์ จันทบุรี 6246702017 กลุ่ม 01