Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาจิตสังคม - Coggle Diagram
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาจิตสังคม
พฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร(Hostility) มีลักษณะคล้ายกับความโกรธมีพฤติกรรมการทำลาย(Destructive)
บุคคลมีทัศนคติที่ถูกสะสมมาเรื่อย ๆ มีความคงทนเปลี่ยนไปได้ยากและเป็นปฏิกิริยาการ ตอบสนองที่รุนแรง ซับซ้อนโดยมีแต่ความเกลียดชัง อิจฉา ริษยา และมีความต้องการที่มักจับจ้องจะทำลายความไม่เป็นมิตรมักจะพุ่งตรงต่อบุคคลหรือกลุ่มคน
สาเหตุและกลไกทางจิต
ความไม่เป็นมิตรมักถูกปลูกฝังตั้งแต่วัยทารกเมื่อมีสิ่งคุกคามทางจิตใจบุคคลไม่สามารถ แสดงออกถึงความคับข้องใจได้สิ่งแวดล้อมหรือบุคคลอื่นมีอิทธิพลที่ส่งผลให้บุคคลเรียนรู้ที่จะเก็บซ่อนความคิด ความรู้สึก ข่มความขมขื่น หรือเก็บกดสิ่งที่ตนเองต้องการเอาไว้และเกิดความคับข้องใจของตนเอง มักจะส่งผลให้บุคคลนั้นรับรู้การมีคุณค่าในตนเองต่ำ เกิดการสะสมความคับข้องใจ ในตนเองมากข้ึน ความไม่เป็นมิตรจะถูกเก็บซ่อนไว้และแอบแฝงและติดตัวเป็นลักษณะนิสัยของบุคคลน้ัน
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินปัญหาทางการพยาบาล สามารถประเมินได้จากท้ังด้านร่างกายและสติปัญญาแต่การแสดงออกหรือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีลักษณะคล้ายความโกรธ ซึ่งเป็นผลจากการถูกคุกคามทางจิตใจจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายใน สามารถประเมินไดดังนี้
1.1 การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง
ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่ข้ึน กล้ามเน้ือเกร็ง ผิวแดง คลื่นไส้
อาเจียน ปากแห้ง คอแหง้ เหงื่ออกตามร่างกาย เป็นต้น
1.2 ด้านคำพูด เช่นการพูดกระทบกระเทือนส่อเสียดดูถูกข่มขู่
และอาจรุนแรงถึงการดุด่า พูดจาชวนทะเลาะ
1.3 ด้านพฤติกรรมเช่น ท่าทีเฉยเมยต่อต้านเงียบเชื่องช้า ไม่ยอมสบตา เดินหนีหรือกำหมัดแน่น อาจแสดงพฤติกรรมแอบแฝงเช่นทำตัวอ่อนหวาน เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาลจะมุ่งเน้นที่ การประเมินด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา สิ่งที่ต้องพิจารณาคือปัจจัยต้นเหตุที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
กิจกรรมทางการพยาบาล
เป้าหมายทางการพยาบาลผู้ที่มีความไม่เป็นมิตรคือการป้องกันอันตรายที่จะเกิดข้ึนกับบุคคลอื่นและการช่วยเหลือบุคคลนั้นให้เผชิญกับความไม่เป็นมิตรในเชิงสร้างสรรค์รวมทั้งให้การช่วยทำให้ความรู้สึกความไม่เป็นมิตรลดลงอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง
พฤติกรรมรุนแรงหมายถึง. การใช้คำพูดพฤติกรรมคุกคามที่มีผลทำให้คนอื่นตกใจกลัว(Threaten) มีพฤติกรรมที่พยายามจะใช้กำลังและอาวุธทำร้ายคนอื่น (Attempt) และมีการใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายคนอื่น(Actual)
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประเมินสภาพผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โดยประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรม ดังนี้
-ประเมินอาการและการแสดงที่เป็นสัญญาณของพฤติกรรม เช่น การแสดงออกทางสีหน้า บึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร การเคลื่อนไหวกระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้
ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลันและการศึกษาประวัติจากญาติเกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตมีหรือไม่อย่างไร
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตรสงบและให้เกียรติเพื่อให้เกิด
ความรู้สึกไวว้างใจสิ่งที่พยาบาล ควรตระหนักเกี่ยวกับท่าทางใน
ระหว่างให้การพยาบาลผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เพราะ
ทางทางของพยาบาลอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มมากข้ึน
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ได้แก่จัด สิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยรวมทั้งลดสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมโดยลดเสียงดังลดแสงสว่าง ลดการที่มีคนพลุกพล่าน เพื่อลดสิ่งคุกคามความรู้สึกผู้ป่วย ตรวจค้นผู้ป่วยไม่ให้มีสิ่งของที่อาจใช้เป็นอาวุธได้
4.พยาบาลควรให้คำแนะนำเก่ียวกับการจัดการกับอารมณ์ความโกรธออกไปในทางท่ีเหมาะสม
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression) หมายถึง เป็นการแสดงออกทางคำพูดและการกระทำที่ แสดงถึงความโกรธแค้นความไม่เป็นมิตรพร้อมที่จะทำร้ายตนเองและผู้อื่นเนื่องมาจากความไม่ สามารถในการควบคุมความโกรธได้
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงประเมินได้ดังนี้
1.1 ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลน้ัน
1.2 การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลน้ัน เช่น โรคจิตเภท การติดสารเสพติด เป็นต้น
1.3 พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลน้ัน เช่น มีความก้าวร้าวมากน้อยในระดับใด สังเกตได้
จาก เช่น พูดจาถากถางผู้อื่น พูดคุกคามผู้อื่น พูดมาก พูดเสียงดังตะโกน เสียงดัง มีคำพูดแสดงถึงความกลัว เป็นต้น
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
พฤติกรรมก้าวร้าวทางคาพูด:
ใช้คำพูดตำหนิติเตียนวิพากษ์วิจารณ์พูดในแง่ร้ายเสียงดัง
ขู่ตะคอกเอะอะอาละวาดวางอำนาจวาจาหยาบคาย
พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกทางร่างกาย:
มีสีหน้าบึ้งตึงแววตาไม่เป็นมิตรท่าทางไม่
พอใจกระวนกระวายอยู่ไม่นิ่งไม่สนใจ
เรื่องการกินการนอนการขับ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ไดแ้ก่
2.1 พฤติกรรมก้าววร้าวทำลายสิ่งของ ได้แก่
ทุบทำลายสิ่งของเครื่องใช้ ทุบกระจก
จุดไฟเผา ปิดประตูเสียงดัง
2.2 พฤติกรรมก้าวร้าวทาร้ายคนอื่น หาเรื่องวิวาททำร้าย
และละเมิดสิทธิผู้อื่นโดยการกัดการตีการผลักและ
การใช้อาวุธทำร้ายคนอื่นให้ได้รับบาดเจ็บ
2.3พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายตนเอง เช่นการหยิกข่วนตนเอง
การใช้มีดกรีดข้อมือตนเอง การดึงผมจุดไฟเผาตนเอง
การฆ่าตัวตายเป็นตน
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ(Biologicalfactors)ประกอบด้วยดังนี้
1.1 ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอ เช่นserotonin,dopamineและ norepinephrine เพิ่มหรือลดลง
การได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะ และ การมีเน้ืองอกที่สมอง เป็นต้น
1.2 การเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย เช่นระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เยื่อหุ้มสมองเสื่อม เป็นต้น
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
2.2 ทฤษฏีทางด้านจิตวิทยา(PsychologicalTheory)
กล่าวว่าพฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากการไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (basic needs) ส่งผลให้เกิดภาวคุกคามต่อการมีชีวิตอยู่ของบุคคลน้ัน อาจจะเป็นสาเหตุให้บุคคล ตอบสนองไปในวิธีการก้าวร้าว
2.1 ทฤษฏีจิตวิเคราะห์(PsychoanalyticTheory) กล่าวว่าความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกของความโกรธเข้าสู่ตนเองจะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีอารมณ์เศร้าได้
2.3 ทฤษฏีทางด้านสังคมวิทยา(SocioculturalTheory)
จากการศึกษาเด็กที่มีประวัติถูกทำร้ายร่างกาย (Physical abuse)
ประวัติการถูกล่วงเกินทางเพศ (Sexual abuse) การถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก และการที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่รุนแรง จากการศึกษา พบว่าเด็กจะมีพัฒนาการพฤติกรรมรุนแรงเกิดข้ึนได้
2.4 การถือแบบอย่าง(Modelling)มีการศึกษาพบว่าเด็กจะลอกเลียนแบบการแสดง ความโกรธจากพ่อแม่หรือบุคคลสำคัญในชีวิตของเขา นอกจาก น้ีจากรายงาน การศึกษาต่างๆพบว่าเด็กที่ดูสื่อ เช่น วิดีโอ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เนต
บทบาทพยาบาลในการจัดการพฤติกรรม
กลยุทธ์เพื่อการป้องกัน (preventive strategy) แนวทางที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
1.1 การตระหนักรู้ในตนเองของพยาบาล
(self-awareness)
1) หายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ เพื่อให้สมอง
ได้รับก๊าซออกซิเจน
2) อยู่ในท่าที่สบายและลงน้ำหนักเท้า
อย่างสมดุล
3) การพูดกับตนเอง (self-talk):
1.2 การฝึกให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมกล้าแสดงออก
(assertive training) การที่ผู้ป่วยมีความคับข้องใจขณะที่ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและขาดทักษะในการสื่อสารหรือไม่มีทักษะในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้
1.3 การให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการสื่อสาร
ในขณะที่มีอารมณ์โกรธจะช่วยป้องกันการ
เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้
กลยุทธ์ในระยะคาดว่าจะเกิดพฤติกรรม anticipatory strategy) ได้แก่ การใช้เทคนิค
2.1 การใช้เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร เช่น การเรียกชื่อและบอกให้ผู้ป่วยนั่งลงการใช้คำพูดด้วยท่าทีสงบใช้น้ำเสียงโทนต่ำไม่ใช้เสียงแข่งกับผู้ป่วยพูดช้าลงการใช้คำพูดนุ่มนวลชัดเจนประโยคสั้นกระชับไม่ด่วนแปลความ แต่เน้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก
2.2 การปรับสิ่งแวดล้อมพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยส่วนมากเกิดจากการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดในหอผู้ป่วยที่ไม่มีประสิทธิภาพ ให้ผู้ป่วยมีพื้นที่ส่วนตัวการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้รับบริการการให้ผู้รับบริการได้ดูโทรทัศน์ในรายการที่เหมาะสมจะช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้
2.3 การปรับพฤติกรรมการ จำกัด พฤติกรรม (Limit setting) เป็นการปรับพฤติกรรมที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพการ จำกัด พฤติกรรมไม่ใช่การทำโทษการ จำกัด พฤติกรรมให้มีประสิทธิภาพ
2.4 การรักษาด้วยยา
กลยุทธ์ในระยะเกิดพฤติกรรม
3.1 การใช้ทีมในการจัดการ (team response management) การใช้ทีมในการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวจำเป็นต้องมีหัวหน้าทีมซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นพยาบาลหัวหน้าทีมต้องตัดสินใจโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของ
สมรรถนะของพยาบาลจิตเวชในการปฏิบัติการพยาบาล
ด้านคุณธรรมจริยธรรม : อาทิ การให้บริการทางการพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกผู้รับบริการ ตามชนชั้นวรรณะ การครองตนให้ถูกต้องตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งหมายถึงการยอมรับในความคิดและ ความแตกต่างของบุคคลที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตไมตัดสินพฤติกรรมนั้นๆของผู้ป่วยว่า ถูก/ผิด
ด้านความรู้ : มีความรู้ความเข้าใจในขอบเขต มโนทัศน์สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช (Mental Health and Psychiatric Nursing) คือ เข้าใจในกรอบแนวคิดด้านจิตเวชศาสตร์ความสำคัญ หลักการความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชแนวทางการประเมินสภาพจิต คัดกรองความเสี่ยงต่าง ๆ จากแบบสอบถาม
ด้านทักษะทางปัญญา : สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการพยาบาลจิตเวช และองค์ความรู้จากสหสาขาวิชาชีพในการแก้ปัญหาผู้อยู่ในความดูแล แล้วสามารถประยุกต์ เชื่อมโยงสู่กระบวนการพยาบาล มีความคิดด้วยเหตุและผลของการพยาบาลอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการและขั้นตอนที่มีเหตุผลตลอดจนมีไหวพริบปฏิภาณทางปัญญา สามารถยืดหยุ่นทางความคิดได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการสื่อสาร :
มีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่นมีทักษะการประสานงานและสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในทีมรักษาพยาบาล มีทักษะการสื่อสาร หรือที่เรียกว่า ศิลปะการ สื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างองค์กร, สหวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด ทีมแพทย์ต่างสาขา เป็นต้น
ด้านการประเมินผลและการใช้ระบบสารสนเทศการสืบค้นข้อมูลเป็นประโยชน์ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการสร้างสื่อการสอนสุขศึกษา หรือนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพจิตต่างๆมีความสามารถในการใช้ระบบสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ เครื่องกระจาย เสียง ไมค์ ลำโพง เครื่องเล่นแผ่นเสียง ในการบริหารจัดการ update ข้อมูล ความรู้เรื่องโรคแนวทางการรักษาให้ทันสมัย
ด้านการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช : หมายถึง มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตเวชอย่าง เป็นองค์รวม ครอบคลุม 4 มิติของการพยาบาลได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค (สอนสุขศึกษา) การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มวัย
ด้านบุคลิกภาพ : คงจะกล่าวถึงลักษณะส่วน บุคคล เช่น ควบคุมอารมณ์ได้ดีเมื่อเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินทาง จิตเวช อาทิ ผู้ป่วยก้าวร้าวด่าทอ ผู้ป่วยจะเข้ามาทำร้ายด้วย ความโกรธ พยาบาลจิตเวชต้องควบคุมอารมณกลัวของตนให้ได้