Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) - Coggle Diagram
ไส้ติ่งอักเสบ
(Appendicitis)
สาเหตุ
การสะสมของอุจจาระ ในไส้ติ่ง
ไส้ติ่งมีการขดงอ
ผนังลำไส้บวม
การอุตตันลำไส้จากการเกาะยึดติดของลำไส้
อาการแสดง
มีอาการปวดจากบริเวณลิ้นปี่หรือรอบๆ
อาการปวดเฉพาะที่ด้านล่างท้องน้อยด้านขวา
ถ้ามีเยื่อบุช้องท้องอักเสบจะมีอาการเจ็บและเกร็งกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง
ผู้ป่วยจะนอนนิ่งและอยู่ในท่างอเข่าเพื่อลดแรงตึงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
การรักษา
โดยการผ่าตัด Appendectomy ภายใน 24-48 ชั่วโมง
ในรายที่บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ แนะนำให้การรักษาด้วยการ ผ่าตัดโดยด่วน
ในรายที่เป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ไม่แตกทะลุไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
ในรายที่การตรวจร่างกายบ่งชี้ว่ามี peritonitis ซึ่งเกิดจากการแตกของไส้ติ่งอักเสบ
ในเด็กมักมีลักษณะ generalized peritonitis
ผู้ใหญ่จะเป็น pelvic peritonitis
ก่อนไปทำการผ่าตัดควรใช้วิธีรักษาแบบประคับประคองให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการให้ยาสลบและการผ่าตัด
ให้ intravenous fluid ที่เหมาะสมให้เพียงพอ
ให้ยาลดไข้หรือเช็ดตัวให้อุณหภูมิร่างกายลดลงถ้ามีไข้สูง
ถ้าท้องอืดมากควรใส่ nasogastric tube ต่อ suction
ในรายที่ลักษณะทางคลินิกไม่สามารถแยกได้ว่าไส้ติ่งแตกทะลุชัดเจน นิยมให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัด
การพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
ร่างกาย
อาบน้ำและสระผม
ถ้าผู้ป่วยทาเล็บให้ล้างเล็บออก
งดแต่งหน้า ทาปาก
ทำความสะอาดปาก ฟัน
ถอดเครื่องประดับก่อนไปห้องผ่าตัด
งดอาหารและน้ำทางปากทุกชนิด อย่างน้อย 6-8ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารว่าง
ป้องกันการอาเจียนหลังระงับความรู้สึก
จิตใจ
สร้างสัมพันธภาพ
พูดด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่เป็นมิตร
รับฟังและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด
อธิบายและแนะนำข้อมูล
การฝึกการหายใจลึก
การป้องกันการไอที่จะกระทบกระเทือนแผล
การพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
การนอนศีรษะสูงเล็กน้อย
หลังผ่าตัด
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงหลังผ่าตัดใน24 ชั่วโมงแรก
งดอาหารและน้ำหลังผ่าตัดวันแรก
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจ
เข้า-ออกลึกๆ และไออย่างถูกวิธี
ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ห้ามแกะ เกา แผล
รับประทานยาตามแผนการรักษา
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โปรตีนสูง
รักษาสุขนิสัยในการขับถ่าย
พักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามยกของหนัก
มาพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจพิเศษ
ในรายที่ลักษณะทางคลินิกบ่งชัดเจนว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน การตรวจพิเศษเพิ่มเติมก็ไม่มีความจำเป็น แต่ในรายที่ลักษณะทางคลินิกไม่ชัดเจนนั้น การตรวจพิเศษอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยแยกโรค
การถ่ายภาพรังสีของช่องท้อง อาจพบเงาของ fecalith หรือ localized ileus ที่ RLQ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonography) ของช่องท้อง หรือ barium enema ไม่มีความจำเป็นในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่อาจช่วยในการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาในการวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกาย
การกดเจ็บเฉพาะที่ (local tenderness)
จะมี maximal tenderness ที่ RLQ และอาจมี guarding และ rebound tenderness ด้วย
ในผู้ป่วยไส้ติ่งแตกทะลุ tenderness และ guarding มักตรวจพบบริเวณกว้างขึ้นหรือพบทั่วบริเวณท้องน้อยส่วนล่าง
การตรวจอื่นๆ อาจให้ผลบวกในการตรวจ เช่น
Rovsing sign Obturator sign Psoas sign
อาการ
อาการปวดท้อง
ตอนแรกมักจะปวดรอบๆ สะดือ หรือบอก ไม่ได้แน่ชัดว่าปวดที่บริเวณใด
ระยะต่อมาอาการปวดจะชัดเจนที่ท้องน้อยด้านขวา (right lower quadrant-RLQ)
อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วยคือ
ท้องเสีย พบอาการในผู้ป่วยบางราย มักจะเกิดหลังจากไส้ติ่งแตกทะลุ
เบื่ออาหาร
ไข้ มักจะเกิดหลังจากเริ่มอาการปวดท้องแล้วระยะหนึ่ง
คลื่นไส้ อาเจียน อาการนี้พบได้ในผู้ป่วยเกือบทุกราย
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
complete blood count มักพบว่า เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติและมี shift to the left
การตรวจปัสสาวะ ไม่ค่อยมีประโยชน์มากนักในการวินิจฉัยแยกโรค แต่ช่วยแยกโรคอื่น เช่น มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะอาจต้องนึกถึงนิ่วในท่อไต
พยาธิสรีรวิทยา
ความดันภายในช่องไส้ติ่งเพิ่มขึ้นและเกิดการยืดตัวของหลอดเลือดที่ผนังไส้ติ่ง
เกิดการขัดขวางการไหลเวียนเลือดที่มาเลี้ยงไส้ติ่งและทำให้เลือดดำไหลกลับไม่ดีนำไปสู่เลือดคั่ง
มีการอุดตันช่องภายในไส้ติ่งและระบายออกไม่ได้
มีบางส่วนของเยื่อบุผิวของช่องไส้ติ่งตาย
ทำให้มีแบคทีเรียภายในช่องไส้ติ่งเข้าผนังจึงเกิดการอักเสบ