Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ และมะเร็งปากมดลูก, นางสาวกัญธิมา กลมกล่อม…
เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ และมะเร็งปากมดลูก
เนื้องอกมดลูก (Myoma tumor)
หมายถึง
เนื้องอกธรรมดา(benign tumor) ประกอบด้วยกล้าเนื้อมดลูกเป็นส่วนใหญ่และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นองค์ประกอบอยู่บ้างลักษณะของเนื้องอก กลมแข็ง อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน เป็นเนื้องอกที่พบบ่อยในอุ้งเชิงกรานของสตรีโดยเฉพาะช่วงอายุ 40-50 ปี
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1.Subnucous myoma เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในโพรงมดลูกอยู่ใต้เยื่อบุมดลูก พบร้อยละ 5
2.intramural Interstitial myoma เป็นก้อนเนื้องอกที่อยู่ชั้นนอกของ myometium ทำให้มีลักษณะเป็นก้อน อาจเล็กมากแต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะต้องมี pseudocapsute ล้อมรอบ
3.Subserous myoma (Sub peritoneum) พบเนื้องอกชนิดนี้อยู่ภายใต้ชิ้น serosaของผนังมดลูกชั้นนอก (perimetium) พบร้อยละ 20 หากก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่อาจคลำได้ชัดเจนทางหน้าท้องและกดเบียดอวัยวะ
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัดสันนิษฐานว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเป็นตัวเร่งการเติบโตของเนื้องอก
อาการและอาการแสดง
2 .คลำพบก้อนในท้องน้อย (palpable mass)โดยเฉพาะเนื้องอกชนิด subserous myoma
3 .อาการที่เป็นผลจากเนื้องอกที่โตขึ้นไปกดเบียดอวัยวะใกล้เคียง (pressure symptoms) เช่นลำไส้ใหญ่ทำให้มีอาการท้องผูกเรื้อรัง
4.อาการปวดท้องน้อยหรือที่ตำแหน่งของก้อนเนื้องอกพบร้อยละ 30 ของผู้ป่วย
รอบระดูมาผิดปกติมีจำนวนมาก(hypermenorrhea)และนานกว่าปกติเป็นผลจากการที่เนื้องอกมดลูกโตขึ้นไปเบียดกับโพรงมดลูก
การรักษา
1 .กรณีที่พบก้อนเนื้อขนาด 0.5 - 2 cm ไม่ได้มีอาการอะไรรักษาโดยการเฝ้าสังเกตอาการและนัดตรวจติดตามอัลตร้าซาวด์ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี
การรักษาด้วยการใช้ยาปัจจุบันมียากลุ่มที่เรียกว่า GRh analogue
2 .การรักษาโดยการผ่าตัดอาจจะเป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะก้อนเนื้องอกออก (myomectomy)และตัดมดลูกออกทั้งหมด (hysterectomy)
เนื้องอกรังไข่
หมายถึง
เนื้องอกของรังไข่ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติเนื่องจากการเสียสมดุลระหว่างการแบ่งตัวใหม่และการตายของเซลล์เนื้องอกชนิดนี้เป็นสาเหตุของก้อนในอุ้งเชิงกรานที่พบบ่อย เราจากเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงสำหรับสตรีวัยหมดระดูพบว่ามีโอกาสที่เนื้องอกรังไข่จะกลายเป็นมะเร็งได้มากกว่าร้อยละ 50
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใดๆอาการที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงในอุ้งเชิงกรานเช่นปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ท้องโต เกิดจากเนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือมีน้ำในช่องท้องเพิ่มขึ้นและอาการปวดท้องเฉียบพลันหรือเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้แก่เลือดออกกะปริดกะปรอยไม่สม่ำเสมอ สีน้ำตาลคล้ำคล้ายเลือดเก่าเป็นต้น
การวินิจฉัย
ประวัติ อาการ อาการแสดงการตรวจภายในและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษต่างๆ
การรักษา
การรักษาด้วยยาฮอร์โมน
การรักษาด้วยการผ่าตัด ได้แก่ Ovarian cystectomy, unilateral salpingo ophorectomy, total abdominal hysterctomy with bilateral salphingo
มะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยง
เพศหญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยการมีคู่นอนหลายคนการคลอดบุตรจำนวนหลายคนการสูบบุหรี่การมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ การสูบบุหรี่และพันธุกรรมเป็นเนื้องอกชนิดร้ายในมดลูกสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า hpv ภาษาไทยเรียกว่าไวรัสหูดไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัสส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์
ระยะของมะเร็งปากมดลูกแบ่งเป็น 2 ระยะ
1.ระยะก่อนมะเร็งและมะเร็งก่อนลุกลาม (preinvasive cervical carcinoma) การแบ่งตาม Hystologic pathology และ WHO แบ่งเป็น 3 เกรด
-Moderate dysplasia (CIN ll) มีความผิดปกติเฉพาะ lower 2/3 ของ squarnous cell
-Severe dusplasia (CIN III ) มะเร็งก่อนลุกลาม carcinoma in situ (CIS) มีความผิดปกติเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมดของ squamous cell แต่ไม่ทะลุ
-Mild dysplasia (CIN l ) มีความผิดปรกติเฉพาะ lower 1/3 ของ squarnous cell
การรักษา
-กลุ่ม CIN I และ CIN II รักษาโดยการจี้ด้วยไฟฟ้า (electrocautery) การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น
-กลุ่ม CIN III และ CIS รักษาโดยการตัดปากมดลูกด้วยไฟฟ้า (LEEP/LLETZ) เป็นต้น
2.มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม (invasive cervical carcinoma) ชนิดของมะเร็งปากมดลูก มี 3 ชนิด
1.squamous cell carcinoma พบร้อยละ 90-95 เกิดจากเซลล์บุผิวปากมดลูกด้านนอก
2.adenocarcinoma เกิดจากเซลล์บุผิวปกมดลูกชั้นใน / เซลล์บุต่อมปากมดลูก(endocervix) เป็นพวกต่อม (gland) พบประมานร้อยละ 5 ซ่อนอยู่ใน endocevical canal ทำให้วินิจฉัยได้ช้า
3.adenosquamous cell carcinoma มีเซลล์ชนิดที่ 1 และ 2 รวมกัน
อาการ
-ตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80-90
-ในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แต่ ขาบวม ปวดหลัง ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น
ระยะมะเร็งตามหลัก FIGO
ระยะ 0 คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีการรักษา คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที ได้ผลเกือบ 100%
ระยะที่1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษาคือ ผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูกเลาะต่อมน้ำเหลือในเชิงกรานซึ่งได้ผลดีถึง 80%
ระยะที่2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกโดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา การฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด (คีโม) ได้ผลราว60%
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา ใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด ได้ผลประมาณ 20-30%
ระยะที่4 คือการให้คีโม และการรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก
นางสาวกัญธิมา กลมกล่อม เลขที่ 5