Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้งานและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ - Coggle Diagram
การใช้งานและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ Windows 10
รู้จักระบบปฏิบัติการ Windows 10
1.1 The Start Menu Microsoft ได้นำปุ่ม Start Menu กลับสู่ตำแหน่งเดิม พร้อม
เพิ่มลูกเล่นให้สามารถแสดงแถบ Modern UI ที่เป็นของ Windows 8 มารวมไว้ด้วยกัน
1.2 Windows Metro apps ระบบปฏิบัติการ Widows 10 ได้พัฒนา Metro apps
เหล่านี้เหมือนในระบบปฏิบัติการ Windows 8 ที่ทุกคนคุ้นเคย โดยให้สามารถแสดงผลแบบหน้าต่างได้
1.3 Continuum เป็นอีกหนึ่งในฟีเจอร์ใหม่ตอบสนองต่อแนวคิดของ Windows 10
ที่ต้องการพัฒนาให้เป็นระบบปฏิบัติการเดียว ซึ่งสามารถทำงานได้กับทุกอุปกรณ์ทุกขนาดหน้าจอ
1.4 Cortana เป็นผู้ช่วยดิจิตอลอัจฉริยะของทาง Microsoft ที่ก่อนหน้านี้มีให้บริการ
บน Windows Phone 8.1 ได้ถูกพัฒนาให้มาอยู่ใน Windows 10 พร้อมให้บริการบนเครื่องพีซีด้วย
1.5 Xbox App สามารถเข้าถึงโซเชียลของ Xbox Live ได้ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใน
การเล่นเกมส์ ดูวีดิทัศน์(Video) ส่งข้อความ และอื่น ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ใช้สามารถนำเอาเกมส์
1.6 Multitasking และ Virtual Desktop แอพปลิเคชันจะทำงานในหน้าต่าง
Desktop เพื่อไม่ให้ต้องสลับไปมาระหว่างใช้โปรแกรมต่าง ๆ หลายโปรแกรม เพราะโปรแกรม
1.7 Settings สำหรับใน Windows 8 ได้ถูกแยกส่วนของ Setting ออกเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ ส่วนของ Desktop และส่วนของ Metro Interfaces แต่ใน Windows 10 ได้จับมารวมกัน
1.8 Boot to Desktop เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่การใช้งาน Windows 10 จะนำผู้ใช้ไปยัง
หน้าต่าง Desktop ที่ทุกคนคุ้นเคยทันทีโดยไม่มีหน้า Start Page อีกต่อไป
ความต้องการระบบปฏิบัติการ Windows 10
2.1 Windows 10 Home
เป็นระบบปฎิบัติการ Windows 10 สำหรับการใช้งานในบ้านทั่วไป หรือจะพูดอีกอย่างว่าเป็น Windows 10 สำหรับผู้ใช้งานส่วนบุคคลก็ได้ สำหรับ Windows 10 Home นั้นจะมี
ฟีเจอร์และความสามารถต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.2 Windows 10 Pro
เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แท็บเล็ต และอุปกรณ์จำพวก2-in-1 เช่นเดียวกัน โดยจะนำความสามารถทั้งหมดมาจากรุ่น Home และทำการเพิ่มความสามารถที่
เกี่ยวข้องกับทางด้านธุรกิจเข้าไปเพิ่มเติม (แต่จะเน้นสำหรับธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น)
2.3 Windows 10 Enterprise
สำหรับองค์กรระดับใหญ่ ๆ (หน่วยธุรกิจขนาดกลางขึ้นไปรวมถึงองค์กรของรัฐ็นต้น) นั้นทางไมโครซอฟท์ก็ยังไม่ทอดทิ้ง เพราะมี Windows 10 รุ่น Enterprise จัดเอาไว้ให้
เลือกใช้อยู่ โดย Windows 10 Enterprise จะเป็นเวอร์ชันที่อัพเกรดความสามารถและฟีเจอร์ต่าง ๆ
2.4 Windows 10 Education
เป็นระบบปฎิบัติการ Windows 10 ที่ได้รับการอัพเกรดมาจาก Windows 10Enterprise อีกทีหนึ่ง แต่สำหรับในรุ่น Education นั้นจะถูกปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานในโรงเรียน
และสถานศึกษามากกว่าเพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการใช้งานทางด้านการเรียนรู้เป็นหลักไม่ว่าจะเป็น
บุคลากร ผู้ดูแลระบบ อาจารย์นักเรียน และนักศึกษา ทั้งนี้ Windows 10 Education นั้น จะถูกใช้งาน
สำหรับในโรงเรียนเท่านั้น ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
2.5 Windows 10 Mobile
สำหรับ Windows 10 Mobile นั้นจะเป็นระบบปฎิบัติการสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก(หน้าจอเล็ก) อย่างเช่น สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่มีหน้าจอขนาดเล็ก เป็นต้น สำหรับ Windows 10
Mobile จะมีความสามารถเรียกได้ว่าจะเทียบเท่ากับ Windows 10 Home ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันแบบ Universal Windows Apps หรืออื่น ๆ แต่ Windows 10 Mobile จะมีการ
ปรับปรุงและเพิ่มฟีเจอร์ในส่วนต่าง ๆ
2.6 Windows 10 Mobile Enterprise
ถูกออกแบบมาเพื่อนำเสนอประสบการณ์การใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานทางด้านธุรกิจและการใช้งานในระดับองค์กรโดยเฉพาะ ด้วยความที่เป็นโมบายล์
การทำงานบน Desktop
3.1 แสดง Desktop Icons บนเดสก์ท็อป Windows 10
ไมโครซอฟท์ได้ซ่อนการตั้งค่าไอคอนเดสก์ท็อปบน Windows 10 เอาไว้ลึกมาก โดยเฉพาะในการติดตั้งโปรแกรมครั้งแรก ซึ่งมีไอคอนสำคัญที่ผู้ใช้ Windows ต้องใช้งานบ่อย ๆ มีอยู่
5 ไอคอน คือ Computer, User’s Files, Network, Recycle Bin และ Control Pane
3.2 ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Desktop บน Windows 10
พื้นที่การใช้งานหน้าจอ Desktop บน Windows 10 จะมีส่วนประกอบหลัก หลังจากทำการแสดง Desktop Icons (ไอคอนเดสก์ทอป) บนเดสก์ทอป Windows 10 เรียบร้อยแล้ว
การตั้งค่าแอพพื้นฐานใน Windows 10
ใน Windows 10 นั้น มีการกำหนดค่าแอพพื้นฐาน (Default) สำหรับแต่ละหมวดหมู่
ของการกระทำในระบบ จะมีขั้นตอนการตั้งค่าที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย อาจจะด้วยเรื่องความผิดพลาดของ
โปรแกรมหรือความตั้งใจของไมโครซอฟท์ก็ตาม แต่ตัวอย่างหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปคือ การตั้งค่า
แอพพื้นฐานสำหรับเว็บบราวเซอร์ของเครื่องผู้ใช้จะไม่สามารถไปตั้งค่าในแอพพลิเคชั่นนั้น ๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีความเชื่อกันว่า การมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “Personal Computer” นั้น เป็นความสามารถหรือความชำนาญขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือการทำงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ
1.2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
โดยปกติการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ
5 ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) บุคลากร (Peopleware) ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) และกระบวนการทำงาน (Procedure) (
1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและสามารถจับต้องสัมผัสได้
เป็นส่วนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด
1.2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่
ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการ
และควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงาน
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่
สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร งานการทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
1.2.3 ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ใช้
นำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา
หรือประวัติการทำงาน เป็นต้น ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่าง ๆ
1.2.4 บุคลากร (People ware) หมายถึง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมถึง
ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้น ๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมาก เพราะการ
1) กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป (User/End User) ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ใช้งาน
ระดับต่ำสุด ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากนักก็ใช้งานได้ โดยทำการศึกษาการใช้งานจากคู่มือการปฏิบัติงาน หรือคู่มือการใช้งานโปรแกรมที่นำมาใช้
2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สามารถจำแนกได้ดังนี้
(1) ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Technician) คนกลุ่มนี้
จะต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ก็ตาม
(2) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
(3) นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
(4) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
(5) กลุ่มผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)
1.2.5 กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) หมายถึง ขั้นตอนที่
ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
1) จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
2) สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
4) รับเงิน
3) เลือกรายการ และใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
5) รับใบบันทึกรายการ และบัตรเอทีเอ็ม
วงจรการประมวลผลข้อมูลและการทำงานของคอมพิวเตอร
2.1 วงจรการประมวลผลข้อมูล
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล ที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูล
โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การนำข้อมูลเข้า (Input Data) การประมวลผล (Processing) และการนำเสนอข้อมูล (Output Data) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ต้องทำงานต่อเนื่องกัน สามารถเรียก
ขั้นตอนวิธีนี้ว่า "วงจรการประมวลผล (Data Processing Cycle)"
1) การนำข้อมูลเข้า (Input Data) ขั้นนี้จัดเป็นขั้นตอนการจัดเตรียมข้อมูลหลัง
รวบรวมมาแล้ว ให้อยู่ในลักษณะเหมาะสมและสะดวก ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร
2) การประมวลผล (Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลที่ถูกส่งมาทาง
อุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปทำการประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอ
3) การนำเสนอข้อมูล (Output Data) เป็นขั้นตอนที่ได้หลังจากผ่านการ
ประมวลผลข้อมูลแล้ว โดยจะมีการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้อื่นทราบ
2.2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
1) รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล
หรืออินพุต (Input Unit) เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ไมโครโฟน และจอทัชสกรีน เป็นต้น
2) ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับ
ข้อมูลแปลงให้อยู่ในรูปอื่น ๆ ตามที่ต้องการ
3) แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผล
ออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ ลำโพง เป็นต้น
4) เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการ
ประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดรฟ
การปรับแต่ง Windows 10
เปลี่ยนภาพพื้นหลัง (Background)
1.1 คลิกขวาบนหน้าเดสก์ท็อป แล้วคลิกเลือกปุ่มคำสั่ง Personalize
1.2 ตรงแท็บ Background สามารถเลือกภาพพื้นหลังแบบอื่น ๆ หรือจะกดคลิกปุ่ม
คำสั่ง Browse เพื่อเลือกภาพอื่น ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำเป็นภาพพื้นหลังได้เช่นเดียวกัน
1.3 เลือก Chose a fit (เลือกการแสดงภาพ) เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับหน้าจอ
ได้แก่ Fill และ Span (ขยายภาพจนเต็มหน้าจอ) Stretch (ขยายภาพจนเต็มหน้าจอด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม) Fit (ขยายภาพแนวตั้งพอดีกึ่งกลางจอ) Center (แสดงภาพกึ่งกลางตามขนาดจรงของภาพ)
และในตัวอย่างเป็นการเลือกแบบ Tile (นำภาพขนาดเล็กมาเรียงต่อกัน)
การปรับแต่ง Windows ด้วย Theme
2.1 คลิกขวาบนหน้าเดสก์ท็อป แล้วคลิกเลือกปุ่มคำสั่ง Personalize
2.2 เลือก Theme > คลิกเลือกรูปแบบธีมที่ต้องการ ในตัวอย่างนี้เลือกเป็น Flowers
2.3 ผลลัพธ์ธีม Flowers
3 การปรับขนาดไอคอน
3.1 ที่หน้าจอ Desktop ให้คลิกขวาบนพื้นที่ว่าง
3.2 คลิกเลือกปุ่มคำสั่ง View จากนั้นให้เลือกขนาด Large icons, Medium icons
หรือ Small icons
3.3 ก็จะได้ขนาดไอคอนใหญ่หรือเล็กตามต้องการ หรืออีกวิธีก็คือให้กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้
แล้วทำการเลื่อน Scrollbar ที่เม้าส์ขึ้นลงก็ได้เช่นกัน
การเปลี่ยนภาพ Lock Screen (หน้าจอล็อค)
4.1 คลิกขวาบริเวณพื้นที่ว่างบน Desktop แล้วทำการเลือก Personalize
4.2 จะปรากฎหน้า Settings ให้ทำการเลือกหัวข้อ Lock Screen
4.3 ที่หัวข้อ Background ผู้ใช้จะสามารถเลือกรูปแบบของภาพ Lock Screen ได้
ทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ Windows Spotlight , Picture และ Slideshow
4.4 จากนั้นทำการเลือกรูปภาพที่ต้องการเป็นอันเสร็จสิ้นการเปลี่ยนรูป Lock Screen
การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร
การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1.1 ด้าน Hardware (ฮาร์ดแวร์) หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน และภายนอกเครื่อง
คอมพิวเตอร์ให้พิจารณาการดูแลรักษา
1.1.1 สถานที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร
1) ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร
และไม่ควรวางมุมอับ หรือชิดกำแพง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ลดความร้อนภายในเครื่อง
2) ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้บนโต๊ะ จะดีกว่าวางใต้โต๊ะหรือวางกับพื้น
เพราะพื้นจะมีฝุ่นมากกว่า หรือระหว่างการใช้งาน ขาผู้ใช้อาจไปกระแทกกับเครื่อง ทำให้เกิดความ
3) ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากแหล่งสนามแม่เหล็ก เพื่อป้องกัน
การเสียหายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1.1.2 ความสะอาดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรดูแลเช็ดทำความสะอาด ขจัด
ฝุ่นละออง เส้นผม ใยแมงมุง ที่เกาะอยู่ตามเครื่อง หรือรูระบายความร้อนออกของฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีทางระบายความร้อนกระจายออกได้ดี
1.1.3 ตรวจสอบสิ่งผิดปกติของอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ได้กลิ่น
ไหม้ ตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บวม มีน้ำยาไหลออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือพัดลมระบายความร้อน ยังหมุนดีอยู่หรือไม่ ถ้าหยุดหมุน ควรทำการเปลี่ยนทันท
1.1.4 ข้อแนะนำอื่น ๆ ได้แก่
1) ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือถอดสายใด ๆ ที่เชื่อมต่อกับ
เครื่องในขณะที่กำลังเปิดใช้งานอยู่
2) ไม่ควรนำน้ำ เครื่องดื่ม หรือของเหลวอื่น ๆ มาตั้งใกล้เครื่อง เพราะสิ่ง
เหล่านี้อาจทำให้เครื่องได้รับความเสียหายได้
3) ไม่ควรเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทันทีหลังจากปิดเครื่อง ให้รอสัก 1 นาที
จึงเปิดเครื่องใหม่ เพราะกระแสไฟอาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายได้
1.2 ด้าน Software (ซอฟต์แวร์) เป็นส่วนของระบบปฏิบัติการภายในคอมพิวเตอร์ นั่น
คือ โปรแกรม และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างถูก
วิธีสำหรับซอฟต์แวร์ มีดังนี้
1.2.1 การติดตั้งโปรแกรม
1) ควรติดตั้งโปรแกรมเฉพาะที่ใช้งาน เพราะถ้าลงโปรแกรมมาก ๆ จะทำ
ให้เครื่องอืด หรือเครื่องค้างไปเลย โปรแกรมไหนไม่ได้ใช้งาน ให้ Uninstall (ถอนโปรแกรม) ออก
1.2.2 การเก็บข้อมูล
1) ควรเก็บสำรองข้อมูล เอกสาร ไฟล์งานต่าง ๆ แนะนำให้เก็บไว้ไดร์วอื่น
ๆ ที่ไม่ใช่ไดร์ฟซี (Drive C) หรือไดร์ว Cloud
2) ควรดูแลให้Drive C (ไดร์ฟซี) มีพื้นที่เหลือพอสำหรับวินโดว์ทำงานได้
ราบรื่น โดยเฉพาะโปรแกรมจำพวกเกมส์ จะกินพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์เยอะ จนทำให้วินโดว์ทำงานไม่ได้สะดวก
1.2.3 สังเกตโปรแกรมแปลกปลอม
1) หากพบโปรแกรมแปลก ๆ ที่ไม่เคยเห็นในเครื่องแต่แรก ให้ Uninstall ออก
2) ควรอ่าน หรือดูให้ดี ก่อนทำการคลิกตอบรับใด ๆไม่ควรคลิก Next, Yes,
OK แบบไม่ได้อ่าน หรืออ่านไม่เข้าใจ แปลไม่ออก ให้กด Cancel ดีกว่า เพราะจะได้โปรแกรมที่ติดมาโดยที่
เราไม่รู้ตัวโดยเฉพาะเข้าเว็บยอดฮิต อาจติดไวรัส สปายแวร์ หรือโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาในเครื่อง
คอมพิวเตอร
1.2.4 ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส และสปายแวร์ ผู้ใช้ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกัน
ไวรัส/สปายแวร์ และอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสอยู่เสมอ เช่น Bitdefender Antivirus, Norton
1.2.5 การดูแลและบำรุงรักษาระบบขั้นพื้นฐาน ควรทำอย่างสมํ่าเสมอ จะทำให้
การใช้งานโปรแกรมไม่อืด ไม่ช้า ดังนี
1) ลบขยะบนฮาร์ดดิสก์ (Disk Cleanup) สม่ำเสมอ
2) ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์ (Check Disk) สม่ำเสมอ
3) จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็วในการอ่านข้อมูล (Disk Defragmenter)
สม่ำเสมอ
1.3 ด้านผู้ใช้งาน (Peopleware) หรือ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
1.3.1 ควรอ่านก่อนคลิกอะไร จะได้รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง หรือให้ถามจากผู้รู้ก็ยังดี
1.3.2 ไม่ควรเคาะแป้นพิมพ์แรง ๆ กระแทกเมาส์แรง ๆ หรือดับเบิ้ลคลิกเมาส์ถี่ ๆ
เพราะไม่ได้ช่วยทำให้เครื่องทำงานเร็วขึ้น แต่จะทำให้ช้ามากขึ้นถึงขั้นเครื่องค้างได
1.3.3 ไม่ควรไม่รู้แล้วมั่ว โดยเฉพาะเรื่องการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริม ก่อนใช้งานควร
อ่านคู่มือก่อน เช่น ช่องเสียบใส่ไม่เข้า ก็พยายามฝืนดันเข้าไป หรือการดาวน์โหลดโปรแกรมจาก
เว็บไซต์ ต้องระวังให้มาก
1.3.4 ควรจัดโฟลเดอร์และเอกสารที่ใช้งานให้เป็นระเบียบ จะช่วยประหยัดเวลา
และทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะเวลาในการหาไฟล์เอกสารต่าง ๆ ก็สะดวกมากขึ้น เครื่องก็ทำงานเบาลง
การดูแลและบำรุงรักษาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2.1 Disk clean-up (ทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์)
Disk Cleanup คือ หนึ่งในโปรแกรม สำหรับใช้บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ใน
การทำความสะอาด Hard disk โดยลบไฟล์ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น ไฟล์ Temporary รวมไปถึง
ไฟล์อินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ที่เก็บไว้ใน Cache ของ Browser เพื่อให้ Hard disk ของเครื่องคอมพิวเตอร์มี
เนื้อที่เหลือในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ทำงานได้เร็วมากขึ้น
2.2 ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์ด้วยคำสั่ง Check
เป็นการตรวจสภาพของฮาร์ดดิสก์ในการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ว่า
ฮาร์ดดิสก์ของเราทำงานดีหรือมีสภาพดีหรือไม่ ในการใช้คำสั่ง chkdsk เป็นคำสั่งที่ติดมากับเครื่อง
คอมพิวเตอร์สำหรับ Windows โดยเราสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ Windows XP , Windows 7 , Windows
8.1 และ Windows 10 สำหรับการใช้คำสั่ง chkdsk สามารถทำได้ทั้งในระบบ NTFS , FAT32 และ FAT16 สำหรับคำสั่ง chkdsk หรือ Check disk เป็นการตรวจหาจุด Error ในการทำงานและเป็นการ
ซ่อมแซมจุดนั้นไปในตัว แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมไฟล์ที่มีปัญหาในการเปิดไฟล์ไม่ได
2.3 Defragment and Optimize Drive
Defragment คือ การจัดเรียงข้อมูลต่าง ๆ ที่บันทึกลงไปในฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ
เนื่องจากเมื่อมีการบันทึกโปรแกรมด้วยคำสั่ง Save หรือ Delete ข้อมูลใหม่ ๆ ลงไป ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจายในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งนั่นจะทำให้การทำงานของเครื่องช้าลงเนื่องจากการอ่าน
ข้อมูลต้องกระโดดข้ามไปมาในแต่ละส่วนของดิสก์ที่แยกกระจายกันนั้น
2.4 Windows defender
Windows defender เป็นซอฟต์แวร์ป้องกันสปายแวร์หรือมัลแวร์
ที่มีอยู่ใน Windows 10 และทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้ Antivirus ตัวนี้จะช่วยป้องกันภัยคุกคาม
ไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์คอมพิวเตอร์ที่แฝงมาด้วยไวรัส มัลแวร์ได้ดี และไฮไลต์ของตัวนี้คือ มัน
รายงานได้ด้วยว่าจะกระทบต่อระบบของไฟล์ System ของ Microsoft Windows ด้วยหรือเปล่า
2.5 Restore windows
Restore windows เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเรียกคืนสภาพวินโดว์ ในขณะที่ยังมี
สภาพการใช้งานที่ปกติกลับคืนมา จากที่เครื่องมีปัญหาและไม่สามารถใช้งานวินโดว์ได้ตามปกติเช่นก่อนที่จะลงโปรแกรมล่าสุด ก่อนที่จะอัพเดทวินโดล่าสุด หรือไปยังจุดที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีราบลื่นที่
ได้บันทึกเป็นจุด Restore เอาไว้ ประโยชน์ของมันก็คือ เมื่อวันใดที่คอมพิวเตอร์ของมีปัญหา
การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ของ Windows 10
1.1 วิธีที่ 1 เปิดด้วยไอคอน This PC เป็นการเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ที่ง่ายที่สุด ซึ่ง
จะแสดงรายการอุปกรณ์ที่มีภายในเครื่อง และแสดงไดรว์ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ
1.2 วิธีที่ 2 เปิดด้วย File Explorer จะแสดงรายการไฟล์และโฟลเดอร์ที่ได้ใช้งาน
บ่อย ๆ ในกลุ่มคำสั่ง Quick access ที่เป็นค่าเริ่มต้น จากนั้นคลิกเลือกทำงานกับไดรว์หรือโฟลเดอร์ต่าง ๆ
การแสดงไฟล์และโฟลเดอร
2.1 Details pane (แสดงรายละเอียดของไฟล์)
1) คลิกเปิดไอคอน This PC > คลิกปุ่มแท็บ View
2) คลิกเลือกไฟล์
3) คลิกปุ่ม Details pane จะปรากฎรายละเอียดไฟล์เอกสาร
2.2 Preview pane (แสดงตัวอย่างเอกสาร)
1) คลิกเปิดไอคอน This PC > คลิกปุ่มแท็บ View
2) คลิกเลือกไฟล์
3) คลิกปุ่ม Preview pane จะปรากฎตัวอย่างเอกสาร
2.3 จัดแบ่งตาม Group by (กลุ่มไฟล์)
หากในแต่ละโฟลเดอร์มีไฟล์จำนวนมากจัดเก็บอยู่ สามารถสั่งให้จัดกลุ่มไฟล์เป็น
หมวดหมู่ได้ โดยคลิกเลือกจากปุ่ม Group by แล้วเลือกการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ เช่น Size (ขนาด) และ
New Folder (สร้างโฟลเดอร์ใหม่)
โฟลเดอร์เป็นแหล่งที่ใช้สำหรับเก็บไฟล์หรือข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละโฟลเดอร์จะ
สามารถเก็บไฟล์และข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด เพื่อจัดเก็บไฟล์ข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาภายหลัง ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจวิธีสร้างโฟลเดอร์ใหม่ โดยการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนย่อย ๆ
เรียกว่า Folder (โฟลเดอร์) เพื่อแยกออกเป็นห้องย่อย ๆ เพื่อแยกไฟล์ข้อมูล แยกโปรแกรม
Copy File and Folder (คัดลอกไฟล์และโฟลเดอร์)
ไฟล์และโฟลเดอร์ที่มีอยู่สามารถ Copy (คัดลอก) ชุดสําเนาเอกสารได้ ผู้ใช้จะคัดลอก
ไฟล์จากอุปกรณ์ต่าง ๆ มาลงเครื่องคอมพิวเตอร์คัดลอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปลงไดรว์อุปกรณ์
หรือจะก็คัดลอกภายในโฟลเดอร์เดียวกันและต่างโฟลเดอร์ได้ลักษณะ ๆ เหมือนกัน โดยกําหนดต้น
ทางและปลายทางที่ต่างกันเท่านั้น ซึ่งต้องใช้2 คําสั่ง ร่วมกันเสมอ คือ Copy และ Paste (วาง)
Delete (การลบไฟล์และโฟลเดอร์)
ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ผู้ใช้ไม่ต้องการใช้งานแล้ว สามารถลบทิ้งออกจากเครื่องได้ โดยใช้
คําสั่ง Delete (ลบ) แต่การลบในระบบ Windows นั้น โปรแกรมจะลบไฟล์จากที่เก็บไปไว้ที่โฟลเดอร์
ื่อ Recycle Bin (รีไซเคิลบิน) ก่อน เพื่อป้องกันการใช้คําสั่งผิด ซึ่งสามารถเปิด Recycle Bin แล้ว
นําเอาไฟล์ที่ลบกลับคืนมา (Restore) ได้ หรือจะตามไปลบทิ้งแบบถาวรก็ได้เช่นกัน
Zip (บีบอัดไฟล์)
การบีบอัดไฟล์ หรือที่เรียกว่าการซิปไฟล์ เป็นการรวบรวมไฟล์และลดขนาดของไฟล์ให้
เล็กลง เพื่อนำไฟล์นั้นไปใช้งานต่อ เช่น แนบไฟล์ไปกับอีกอีเมล หรือบันทึกลงแผ่นดีวีดีแฟลชไดรว์