Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure : CHF) - Coggle Diagram
ภาวะหัวใจล้มเหลว
(Congestive heart failure : CHF)
พยาธิสรีรภาพ
หัวใจห้องล่างซ้ายวาย (Left-sided heart failure)
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลงทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลงจะทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง ส่งผลให้เลือดเหลือค้างในหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น ความดันเลือดในหัวใจห้องล่างซ้ายจึงสูงขึ้น ดังนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจึงบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างซ้ายได้น้อยลง ทำให้เลือดเหลือค้างที่หัวใจห้องบนซ้าย ปริมาตรเลือดและความดันเลือดในหัวใจห้องบนซ้ายจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ เลือดจากปอดที่ฟอกแล้วก็จะไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายได้น้อยลงเป็นผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้น ทำให้ของเหลวออกจากหลอดเลือดฝอยที่ปอดเข้าสู่ถุงลม ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด
หัวใจห้องล่างขวาวาย(Right-sided heart failure)
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมักเกิดจากแรงดันในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้นและกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาวาย เมื่อหัวใจห้องล่างขวาบีบตัวลดลงทำให้ปริมาตรเลือดค้างในหัวใจห้องล่างขวามากขึ้น ส่งผลให้ความดันในหัวใจห้องล่างขวาเพิ่มขึ้น จึงทำให้หัวใจห้องบนขวาบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างขวาได้น้อยลง ทำให้เลือดเหลือค้างที่หัวใจห้องบนขวา ปริมาตรเลือดและความดันเลือดในหัวใจห้องบนขวาจึงสูงขึ้น จึงผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดดำทั่วร่างกาย เนื่องจากมีภาวะน้ำคั่ง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม ตับและม้ามโต ลำไส้บวมจนมีอาการจุกแน่นไต้ชายโครง มีอาการเบื่ออาหาร ท้องมาน หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง และปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน (Noctuna)
อาการและอาการแสดง
หัวใจห้องล่างซ้ายวาย
หายใจลำบาก
Orthopnea อาการเหนื่อย หายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ
ซีดเขียวคล้ำ
ไอมีฟองชมพู (Frothy sputum)
ชีพจรเบา
ปัสสาวะออกน้อย
หัวใจห้องล่างขวาวาย
ตับโต ม้ามโต ลำใส้บวม มีอาการจุกเสียดบริเวณใต้ชายโครงหรือลิ้นปี่
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง (Jugular vein engorge; JVP)
แขนขาบวม (Pitting edema)
สาเหตุ
ภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
ภาวะติดเชื้อ
โรคเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial Disease)
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
ภาวะความดันในปอดสูง (Pulmonary Hypertension)
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
โรคลิ้นหัวใจพิการ (Valvular Heart Disease)
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)
โรครกล้ามเนื้อหัวใจพิการไม่ทราบสาเหตุ (Cardiomyopathy)
ภาวะโลหิตจาง
ภาวะที่มีความผิดปกติของการขับเกลือและน้ำ (Edematous Disorder)
ภาวะแทรกซ้อน
หัวใจห้องล่างซ้ายวาย
หัวใจโต (Cardiomegaly)
เลือดและน้ำคั่งในปอด (Acute pleural)
หัวใจห้องล่างขวาวาย
ตับโต (Hepatomegaly)
ม้ามโต (Splenomegaly)
การรักษา
ลดการทำงานของหัวใจ (Decreased work lode of the heart ) โดยการจำกัดกิจกรรม (Limit activity)
ควบคุมภาวะน้ำและเกลือในร่างกาย จำกัดเกลือและน้ำในอาหาร
ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ
ให้ออกซิเจความเข้มข้นสูงทางจมูก (Cannular) หรือหน้ากาก (Facemask)
ให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดปริมาตรของน้ำในร่างกาย ลดอาการบวม เช่น Thiazide , Furosemide , Spironolactone
ให้ยากลุ่ม ACEI เช่น Benazepril, Captopril, Enalapril เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด มีผลลดทั้ง Preload และ Afterload โดยทำให้หลอดเลือขยายตัว ลดความดันโลหิต และ ป้องกันการถูกทำลายของหัวใจเพิ่มขึ้น
ให้ยาเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ ได้แก่ Dopamine, Amrinone, Dobutamine
ให้ยาขยายหลอดเลือด กลุ่ม Nitroglycerin
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
อาการสำคัญ ได้แก่ หอบเนื่อย นอนราบไม่ได้ (Orthopnea) เจ็บแน่นหน้าอก บวม
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต/ปัจจุบัน ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว กล้ามเนื้อหัวใจตาย
ปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ดื่อมสุรา
การตรวจร่างกาย
สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น หายใจหอบเหนื่อย (Dyspnea) ริมฝีปากเขียว บาม
การตรวจชีพจร ลักษณะชีพจรเต้นเร็ว (Tachycardia) แต้นแรงสลับเบ จังหวะไม่สม่ำเสมอ
การฟังเสียง
เสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ฟังพบ S3 Gallop และ Murmur
ฟังปอดพบเสียง Secretion
การคลำ
คลำพบ Heaving และ Thrill
พบตำแหน่ง PMI เปลี่ยนแปลงไป จากหัวใจที่โตขึ้น
การเคาะ พบตับโต ในกรณีหัวใจข้างขวาวาย
หลอดเลือดที่คอโป่งพอง วัดหลอดเลือดดำที่คอ ถ้าสูงกว่า 4 cm. จาก Sternal angle แสดงวามีหัวใจห้องล่างขวาวาย
อาการบวมที่ส่วนที่ต่ำของร่างกาย เช่น หน้าแข้ง ข้อเท้า แบะก้นกบ บวมแบ่งออกเป็น 4 grade (1+,2+,3+,4+)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Blood for electrolyte ผู้ป่วยหัวใจวายล้มเหลวจะมีอิเลคโตรไลต์ในเลือไม่สมดุล
BUN, Cr และ CrCl เพื่อดูการทำงานของไต
Urine analysis พบโปรตีนรั่วและความถ่วงจำเพาะสูงขึ้น
HB และ Hct ดูภาวะโลหิตจางที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย
ตรวจเอนไซม์ตับและบิลิรูบินดูการทำงานของตับ
ABG ดูภาวะขาดออกซิเจนและภาวะกรด-ด่างในเลือด
การตรวจพิเศษ
CXR เพื่อดูรูปร่างและขนาดของหัวใจและน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
EKG ดูความหนาของหัวใจล่างเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในภาวะหัวใจวาย จะพบ QRS complex กว้าง
Echocardiogram ประเมินการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของห้องหัวใจ ความดัยหัวใจ ขนาดหัวใจ