Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกู้ชีพทารกแรกเกิด Neonatal resuscitation 2015 - Coggle Diagram
การกู้ชีพทารกแรกเกิด Neonatal resuscitation 2015
การประเมิน
การตอบสนอง
ของทารก
1.การหายใจ : ถ้าทารกหายใจเฮือก
หรือไม่หายใจ ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก
2.HR<100 bpm หรือไม่
วิธีประมิน : ฟังบริเวณทรวงอกด้านซ้ายด้วย Stethoscope
นับอัตราการเต้นของหัวใจใน 6 วินาทีและคูณ 10
เคาะอัตราการเต้นของหัวใจด้วยนิ้วมือ, ใช้เครือง
pulse oximeter หรีือ ECG (ถ้ามี)
อาการทางคลินิกที่พบ
ในช่วงทารกหลังเกิด
1.หายใจไม่สม่ำเสมอ หรือหายใจเร็ว หรือไม่มีแรงหายใจ หรือหยุดหายใจ
2.หัวใจเต้นช้า หรือเร็ว
3.ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
4.ความอิ่มตัวออกซิเจนต่ำ
5.ความดันเลือดต่ำ
คำถามสำคัญก่อนทารกเกิด
1.อายุครรภ์เท่าใด
2.น้ำคร่ำใสหรือไม่
3.มีทารกกี่คน (เดี่ยวหรือแฝด)
4.มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมหรือไม่
ปัจจัยเสี่ยงในระยะปริกำเนิด
ปัจจัยก่อนคลอด ---> อายุครรภ์ก่อนหรือเกินกำหนด,
มารดาเป็นเบาหวาน, มีความดันเลือดสูง, มีเลือดออก,
มารดาติดเชื้อ ,น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์, ครรภ์แฝด
2.ปัจจัยขณะคลอด---> ใช้เครื่องมือช่วยคลอด,คลอดท่าก้น,
คลอดก่อนกำหนด,สายสะดือย้อยหรือพันคอ, คลอดติดไหล่,
เลือดออกมาก, ถ่ายขี้เทาในน้ำคร่ำ, การติดเชื้อที่รกและถุงน้ำคร่ำ
การประเมินทารกแรกเกิด โดยใช้ 3 คำถาม
1.อายุครรภ์ครบกำหนดหรือไม่
2.ความตึงตัวของกล้ามเนื้อดีหรือไม่
3.หายใจหรือร้องดัง หรือไม่
ขั้นตอนเบื้องต้น
ในการดูแลทารกแรกเกิด
ทารกเกิดครบกำหนด ร้องดี หายใจดี (Vigorous)--->Keep warm บนอกมารดาหรือวางใต้เตียงให้ความอบอุ่น, จัดท่านอนเปิดทางเดินหายใจ, ดูดสารคัดหลั่งถ้าจำเป็น, เช็ดตัวให้แห้ง, กระตุ้น
1.การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จัดท่านอนหงาย แหงนคอเล็กน้อยในท่า SNIFFING
2.การดูดสารคัดหลั่ง (ถ้าจำเป็น) ดูดอย่างนุ่มนวลด้วยลูกยาง ดูดในปากก่อนจมูก (M ก่อน N) หากดูดรุนแรงอาจก่ออันตรายต่อเนื้อเยื่อ และทำให้หัวใจเต้นช้า หรือหยุดหายใจ
3.เช็ดตัวให้แห้งและกระตุ้น นำผ้าเปียกออก และจัดท่าศีรษะใหม่
4.การกระตุ้นให้หายใจ ถ้าทารกไม่หายใจให้ลูบเบาๆที่หลัง ลำตัว แขนขา หรือดีดฝ่าเท้าเบาๆ 2-3 วินาที หากยังคงไม่หายใจ ให้เริ่มช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก
การช่วยหายใจ
ด้วยแรงดันบวก
ข้อบ่งชี้ในการ PPV )
1.ทารกหยุดหายใจ หรือหายใจเฮือก
2.HR<100 bpm
3.ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนไม่ได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าให้ Free Flow Oxygen หรือให้ต่อเนื่อง CPAP แล้ว
(ความอิ่มตัวออกซิเจนของทารกเป็น 60% หลังเกิด และค่อยๆเพิ่มขึ้นถึง 90% (อาจใช้เวลา 10 นาที หรือนานกว่า)
การให้ออกซิเจนขณะช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก
ทารก GA มากกว่าหรือเท่ากับ 35 Wks ช่วยหายใจด้วยออกซิเจนเข้มข้น 21% flow 10 LPM
ทารก GA <35 Wks ช่วยหายใจด้วยออกซิเจนเข้มข้น
21-30% flow 10 LPM
อัตราการช่วยหายใจ 40-60 ครั้ง/นาที โดยนับเป็นจังหวะ
"บีบสองสาม,บีบสองสาม" โดยปล่อยมือเมื่อพูดสอง สาม
ติด pulse oximeter ที่มือขวา
สัญญาณบ่งชี้ว่าการช่วยหายใจมีประสิทธิภาพ คือ อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสีผิวดีขึ้น, ทารกหายใจได้เอง, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อดีขึ้น
การกดหน้าอก
เมื่อไหร่จึงเริ่มกดหน้าอก
1.เมื่อHRยังคง < 60 ครั้ง/นาที หลังจากการช่วยหายใจ
ด้วยแรงดันบวกอย่าง มีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 30 วินาที
2.ควรได้รับการใส่ท่อหลอดลมคอ หรือ
หน้ากากครอบกล่องเสียงแล้ว
ตำแหน่งที่ยืน ขณะทำการกดหน้าอก
•หลังใส่ท่อหลอดลมคอ ผู้ทำการช่วยหายใจ
ย้ายไปอยู่ด้านข้างทารก
•ผู้ทำการกดหน้าอก ย้ายไปด้านหัวเตียง
• ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดหน้าอก และมือโอบรอบทรวงอก
ตำแหน่งของมือ เมื่อทำการกดหน้าอก
• วางนิ้วหัวแม่มือลงบนกระดูกหน้าอก (sternum) เหนือต่อกระดูก xiphoid และใต้ราวนม
• ห้ามวางนิ้วมือลงบนกระดูกซี่โครงหรือกระดูก xiphoid
ความลึกในการกดหน้าอก
• กดลงบนกระดูกหน้าอก ลึกหนึ่งในสามส่วน
ของทรวงอกในแนวหน้าหลัง
• นิ้วหัวแม่มือ วางอยู่บนทรวงอกตลอดเวลา
การกดหน้าอกสัมพันธ์เป็นจังหวะกับการช่วยหายใจ
• แต่ละรอบ 2 วินาที ของการกดหน้าอก ประกอบด้วย
การกดหน้าอก 3 ครั้ง และการช่วยหายใจ 1 ครั้ง
• อัตราการช่วยหายใจ 30 ครั้ง/นาที และอัตราการกดหน้าอก
90 ครั้ง/นาที เท่ากับ120 รอบ/นาที
• ผู้ที่กดหน้าอกต้องนับเสียงดังเป็นจังหวะ
เพื่อช่วยให้สัมพันธ์กับการช่วยหายใจ “ หนึ่ง-และ-สอง-และ-สาม-และ-บีบ-และ-หนึ่ง-และ-สอง-และ-สาม-และ-บีบ-และ-
การหยุดกดหน้าอก
• หลังช่วยหายใจและกดหน้าอกครบ 60 วินาที
ให้หยุดเพื่อตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ
• หยุดการกดหน้าอกเมื่ออัตราการเต้นของหัวใจ
60 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า
• กลับไปช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก
ในอัตราที่เร็วขึ้น (40-60 ครั้งต่อนาที)
การให้ยาและสารน้ำ
ข้อบ่งชี้ของการให้ยา Epinephrine คือ เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจยังคง < 60 ครั้ง/นาที แม้ว่า
• ได้ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก ที่มีการขยับของทรวงอกเป็นเวลา 30 วินาที และ
• การกดหน้าอกสัมพันธ์เป็นจังหวะกับการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก โดยใช้ออกซิเจนเข้มข้น 100% แล้ว เป็นเวลา 60 วินาที
การบริหารยา ความเข้มข้นของยา : 1:10,000
• ให้ยาทางหลอดเลือดดำ ขนาดยา : 0.1- 0.3 มล./กก.
• ให้ยาทางท่อหลอดลมคอขนาดยา 0.5 – 1 มล./กก.
การตอบสนองต่อยา Epinephrine
PPV ด้วยออกซิเจนเข้มข้น 100% ต่อไป ร่วมกับกดหน้าอกนาน 1 นาทีหลังจากให้ยา Epinephrine
• ประเมินHR ถ้าHR ยังคง< 60 ครั้งต่อนาที ให้ยา epinephrine ซ้ำ ทุก 3-5 นาที
• ถ้าให้ยาขนาดต่ำ พิจารณาเพิ่มขนาดยาจนสูงสุดในครั้งต่อไป
• หากทารกตอบสนองต่อยาไม่ดี พิจารณาหาสาเหตุอื่น เช่น ภาวะสารน้ำในร่างกายต่ำ หรือภาวะลมรั่วในโพรงเยื่อหุ้มปอด