Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารยาทชาวพุทธ** - Coggle Diagram
มารยาทชาวพุทธ**
มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา ที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย แม้จะไม่สำคัญเท่าหลักธรรมคำสอนโดยตรง แต่ก็มีส่วนในการสร้างความรัก ความสามัคคี อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทย ที่คนไทยทุกคนควรประพฤติปฏิบัติและสืบทอดต่อไป
มารยาทในสังคมไทย
เป็นสิ่งที่ดีงามในสมัยก่อนนั้น มารยาทชาวพุทธ จะถูกปลูกฝังมาจากครอบครัวและคำสอนทางพระพุทธศาสนา จนนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนาที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
การแต่งกายไปวัด
วัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวพุทธจึงควรปฏิบัติตนต่อวัดด้วยความสุภาพและความเคารพ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง โดยปฏิบัติดังนี้คือ - ควรแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อยสีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาด ไม่รัดรูปเพื่อสะดวกในการกราบไหว้ และทำสมาธิ - วัดมิใช่ที่ที่คนจะแต่งตัวไปอวดความร่ำรวยกัน วัดควรเป็นที่เราไปเพื่อขัดเกลากิเลสมากกว่า จึงไม่ควรแต่งกายให้หรูหราล้ำสมัยใส่เครื่องประดับรุงรัง ไม่ควรใส่น้ำหอมที่มีกลิ่นรุนแรงจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน - บุรุษควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่ปล่อยชายเสื้อ ทรงผมตัดสั้นหรือหวีเรียบร้อย ไม่ใส่น้ำมันกลิ่นรุนแรงรบกวนผู้อื่น - สตรีไม่ควรแต่งกายแบบวับ ๆ แวม ๆ หรือใส่เสื้อบางจนเห็นเสื้อชั้นใน กระโปรงไม่ควรสั้นจนน่าเกลียด หรือผ่าหน้าผ่าหลังเพื่อเปิดเผยร่างกาย
การแต่งกายไปงานมงคล
คือ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ เช่น ทำบุญวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส การแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น ควรแต่งกายดังนี้ - ควรแต่งกายเรียบร้อย สีสวยงามตามสมัยนิยม เหมาะสมกับงาน - ใส่เครื่องประดับพอประมาณ แต่ไม่ควรหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี - ขนาดพอดี ลุก นั่งได้สะดวก ไม่น่าเกลียด
การแต่งกายไปงานอวมงคล
งานอวมงคล คือ การทำบุญเลี้ยงพระที่เกี่ยวกับเรื่องการตาย นิยมทำกันอยู่ 2 อย่างคือทำบุญ หน้าศพ เรียกว่าทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ 100 วัน และทำบุญอัฐิในวันคล้ายวันตายของผู้ล่วงลับ - ถ้าเป็นงานศพควรเป็นสีขาวหรือสีดำ - ถ้าเป็นวันทำบุญอัฐ ควรแต่งกายเรียบร้อย สีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือฉูดฉาด จนเกินควร เหมาะสมกับงาน ไม่ใส่เครื่องประดับหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี
-
มารยาททางวาจา
มารยาททางวาจาก็คือบุคลิกภาพที่ปรากฏในสังคมที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำสำเนียงต่อบุคคลทั่วไป เช่นการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่พูดเหยียดหยามผู้อื่น การใช้ว่าคำว่ากรุณาเมื่อต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น การกล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิดพลาด การกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ ไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญ ไม่พูดจาโอ้อวดตนเอง ใช้สำเนียงการพูดที่นุ่มนวลเป็นกันเอง ฝึกใช้คำราชาศัพท์และใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม
มารยาทการเเนะนำ
การแนะนำตัวและการแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักกันถือเป็นมารยาททางสังคมแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงควรทราบวิธีการแนะนำที่เหมาะสม เช่น เมื่อต้องการแนะนำบุรุษแก่สตรีที่มีวัยอาวุโสใกล้เคียงกัน ควรใช้ว่า คุณคัทลิยาคะ อนุญาตให้ดิฉันแนะนำ ร้อยตำรวจโทพิชิต ปราบไพรพาล สารวัตรประจำสถานีตำรวจบางเขน แก่คุณคะ และแนะนำให้ฝ่ายบุรุษรู้จักฝ่ายสตรี คุณคัทลิยา ราชาวดี ประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การแนะนำสตรีต่อสตรี
การแนะนำบุคคลเพศเดียวกันให้รู้จักกัน ต้องยึดถือความอาวุโสเป็นสำคัญ เช่นแนะนำเพื่อนให้รู้จักมารดา จะต้องแนะนำว่า เจี๊ยบจ๋า นี่คุณแม่ของเรา จากนั้นจึงแนะนำให้คุณแม่รู้จัก เจี๊ยบว่าเป็นเพื่อนที่มหาวิทยาลัย คือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน
การแนะนำบุรุษแก่บุรุษ
ก็ใช้หลักการเดียวกันคือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน หรือถ้าอายุใกล้เคียงกันก็แนะนำกลางๆเช่น ขออนุญาตแนะนำให้คุณสองคนรู้จักกัน คุณสมบูรณ์ พูนสุข ประธานบริษัทอุดมสมบูรณ์ คุณสดใส สว่างจ้า ผู้จัดการบริษัทแสงสว่างเรืองรองจำกัด ก็ใช้หลักการเดียวกันคือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน หรือถ้าอายุใกล้เคียงกันก็แนะนำกลางๆเช่น ขออนุญาตแนะนำให้คุณสองคนรู้จักกัน คุณสมบูรณ์ พูนสุข ประธานบริษัทอุดมสมบูรณ์ คุณสดใส สว่างจ้า ผู้จัดการบริษัทแสงสว่างเรืองรองจำกัด