Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 รอยต่อโดยการเชื่อม, จัดทำโดย - Coggle Diagram
บทที่ 7 รอยต่อโดยการเชื่อม
วิธีการเชื่อม
วิธีการเชื่อมชิ้นส่วนองค์อาคารโครงสร้างเหล็กให้ยึดติดกันมีอยู่ 2 วิธี
การเชื่อมด้วยแก๊ส (Gas Welding)
เป็นวิธีการเชื่อมที่ใช้แก๊สเป็นตัวทำให้เกิดเปลวไฟที่มีความร้อนสูงถึง 6300 ° F มีผลทำให้ลวดเชื่อมและชิ้นส่วนโลหะเกิดการละลายหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน
วิธีนี้เหมาะที่จะใช้เชื่อมโลหะแผ่นบางในงานทั่วไปอุปกรณ์ที่ใช้ราคาไม่แพงการบำรุงรักษาน้อยเคลื่อนย้ายได้สะดวกในบางครั้งอาจใช้เปลวไฟตัดโลหะก็ได้
การเชื่อมด้วยไฟฟ้า (Arc Welding)
เป็นวิธีการเชื่อมที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวให้ความร้อนกับลวดเชื่อมซึ่งให้ความร้อนระหว่าง 6000-10000 ° F ทำให้เกิดการหลอมละลายสูงกว่าการใช้แก๊ส
เหมาะสำหรับใช้ในงานเชื่อมเหล็กโครงสร้างรอยต่อสามารถรับกำลังได้สูงกว่า
เชื่อมด้วยไฟฟ้ายังแบ่งออกได้หลายแบบ
แบบ Shielded Metal Arc Welding (SMAW)
Submerged Arc Welding (SAW)
รอยเชื่อมรับแรงเฉือนเยื้องศูนย์ (Eccentric Shear Welded Connection)
แรงหรือน้ำหนักที่กระทำเยื้องศูนย์ในระนาบของรอยเชื่อมจะทำให้เกิดทั้งแรงเฉือน P และโมเมนต์บิด M = Pe
กระทำที่จุดศูนย์ถ่วงของรอยเชื่อมระนาบการวิบัติของรอยเชื่อมเกิดขึ้นในแนวที่รอยเชื่อมมีความหนาประสิทธิผลน้อยที่สุดเรียกว่าระยะ Throat และรอยเชื่อมทั้งหมดจะรับแรงเค้นเฉือนเนื่องจากแรง P เท่า ๆ กัน
ส่วนแรงเค้นเฉือนเนื่องจากโมเมนต์บิด M ก็สามารถคำนวณได้จากสูตรแรงบิด
รอยเชื่อมแบบบากร่อง (Groove or But weld)
เป็นการนำเอาปลายกับปลายของชิ้นส่วนมาชนกันแล้วเชื่อมรอยเชื่อมจะอยู่ในร่องนากระหว่างชิ้นส่วน
ขนาดของรอยเชื่อมแบบบากร่องจะเท่ากับความของชิ้นส่วนที่นำมาต่อกันในกรณีที่ชิ้นส่วนมีความหนาไม่เท่ากันขนาดของรอยเชื่อมจะเท่ากับความหนาของชิ้นส่วนที่บางกว่า
เนื่องจากการเชื่อมต้องใช้ลวดเชื่อมเป็นตัวประสานในการต่อชิ้นส่วนเข้าด้วยกันชนิดของลวดเชื่อมที่ใช้จึงมีผลต่อกำลังของรอยเชื่อม
จะต้องศึกษาและเลือกใช้ชนิดของลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับกำลังต้านทานของชิ้นส่วนโครงสร้างด้วย
ลวดเชื่อม E60 (Fexx = 414 MPa) ใช้กับเหล็กที่มีกำลังจุดครากไม่เกิน 288 MPa
ลวดเชื่อม E70 (Fexx = 480 MPa) ใช้กับเหล็กที่มีกำลังจุดครากไม่เกิน 377 MPa
รอยเชื่อมแบบทาบ (Fillet Weld)
เป็นการนำเอาปลายกับปลายของชิ้นส่วนมาซ้อนกับแล้วเชื่อมอาจเชื่อมด้านเดียวหรือสอบค้านหรือโดยรอบก็ได้
ระนาบการวิบัติของรอยเชื่อมแบบทาบจะเกิดขึ้นในแนวระยะ Throat ซึ่งเป็นระนาบที่มีพื้นที่หน้าตัดรับแรงเฉือนน้อยที่สุด
Throat คือความหนาประสิทธิผลของรอยเชื่อม
มีค่าเท่ากับ 0.707 w
รอยเชื่อมจะทำหน้าที่รับแรงเค้นเฉือนเท่านั้นไม่ว่าแรงหรือน้ำหนักบรรทุกจะกระทำในทิศทางใดก็ตาม
รอยเชื่อมแบบทาบจะมีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากความหนาของรอยเชื่อมเท่ากับ w
สัญลักษณ์ของรอยเชื่อม (Welding Symbols)
จัดทำโดย
นายณัฐกร งามขำ รหัสนิสิต 60361224
นายพชรพล สมัครเขตรการ รหัสนิสิต 60363150
นางสาวพิมพ์ผกา หล้านามวงค์ รหัสนิสิต 60363402
นายพีรพัฒน์ กาญจนเพชร รหัสนิสิต 60363471
นายสิปปกร พิริยะอนันตกุล รหัสนิสิต 6036508