Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case study
PP
จัดทำโดย
9F9C338A-742C-4ABE-AD60-FD44B607E8CC
นศพต…
Case study
PP
จัดทำโดย
นศพต.รวิสรา ราเหม
ข้อมูลส่วนตัว
หญิงไทยหลังคลอด อายุ 29 ปี G3P2
คลอด Normal Labor 40+3 Wks by date
ทารกเพศชาย หนัก 3,480 กรัม
รับใหม่ PP วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563
รับไว้ในความดูแล วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563
อาชีพ : แม่บ้าน
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน : N/A
ไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมที่บ้าน : เป็นบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น
ANC ที่รพ.ตร. 10 ครั้ง
มีน้ำเดิน 06.00 น. ของวันที่ 03/11/2563
จึงมาโรงพยาบาลที่ ANC เวลา 08.00 น.
ตรวจสอบพบมีน้ำเดินจริง ปากมดลูกเปิด 2 cm
จึงส่ง admit LR
Term Pregnancy
Active Phase ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
Fully Dilate 15.40 น.
คลอด 15.51 น.
Blood loss ที่ LR 200 cc
คำแนะนำหลังกลับบ้าน
:star: แผลฝีเย็บ :star:
ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังปัสสาวะหรืออุจจาระ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด ซับแผลให้แห้ง โดยซับจากข้างหน้าไปข้างหลังทางเดียว ห้ามย้อนกลับ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2-3 ชั่วโมง ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
:star: มดลูก :star:
ควรคลึงมดลูกให้กลมแข็งและมดลูกควรลดขนาดลงวันละ 0.5 - 1 นิ้ว เมื่อครบ 2 สัปดาห์ จะไม่สามารถคลำพบก้อนที่หน้าท้องได้ แต่ถ้ายังคลำพบก้อนที่หน้าท้องอยู่ แสดงว่ามดลูกยังไม่เข้าอู่ ให้รีบมาพบแพทย์
:star: การรับประทานอาหาร :star:
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้มีสารอาหารเพียงพอที่จะสร้างน้ำนมให้ลูก นอกจากนี้การรับประทานผักผลไม้ ยังป้องกันท้องผูกได้อีกด้วย ในมารดาที่ให้นมบุตรควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน และดื่มน้ำหรือนมเพิ่มมากขึ้น
:check: อาหารที่เสริมสร้างน้ำนมให้แก่ทารก :check:
ได้แก่ หัวปลี แกงเลียง น้ำขิง มะละกอ เป็นต้น
:forbidden: อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง :forbidden:
ได้แก่ อาหารประเภทหมักดอง อาหารรสจัด ชา กาแฟ ยาดองเหล้า และอาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เนื่องจากสารเหล่านี้ถูกขับออกทางน้ำนมได้
ซึ่งลำไส้ของทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ อาจทำให้ทารกเกิดภาวะลำไส้อักเสบได้
:star: การพักผ่อน :star:
ในระยะหลังคลอด มารดาจะอ่อนเพลียจากการสูญเสียพลังงานในระยะคลอด ดังนั้นควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ วันละ
8 - 10 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์แรก
:star: การทำความสะอาดร่างกาย :star:
อาบน้ำได้ตามปกติ แต่ไม่ควรแช่อ่างอาบน้ำ หรือว่ายน้ำ เนื่องจากปากมดลูกยังปิดไม่สนิท อาจทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในน้ำเข้าทางช่องคลอดแล้วลุกลามสู่โพรงมดลูกทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้
:star: กิจวัตรประจำวัน :star:
ในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด สามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมาก เช่น ทำอาหาร กวาดบ้าน ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ต้องใช้กำลังของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
:star: น้ำคาวปลา :star:
1-3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะเป็นสีแดงสดจำนวนค่อนข้างมาก วันที่ 4-9 หลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีจางลง ชมพูจางๆ และมีปริมาณน้อยลง และในวันที่10เป็นต้นไป น้ำคาวปลาจะมีสีเหลืองๆครีมๆ
:warning: น้ำคาวปลาที่ผิดปกติ :warning:
จะมีสีเขียว กลิ่นเหม็นมาก
หรือสีแดงสด มีกลิ่น และปริมาณมาก ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
:star: ประจำเดือน :star:
ในรายที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไม่มีประจำเดือน แต่ถ้ามีประจำเดือนระหว่างให้นมบุตรก็ถือว่าไม่ผิดปกติ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ถือว่าเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ หากเกิน 3 เดือนไปแล้ว จะตกไข่เมื่อใดก็ได้ ถ้าไม่มีการคุมกำเนิดก็อาจตั้งครรภ์ได้
:star: การดูแลเต้านม :star:
ในระยะ 2-3 วันแรก จะมีน้ำนมสีเหลืองๆที่เรียกว่า Colustrum หลั่งออกมา ซึ่งในน้ำนมตัวนี้ประกอบไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงภูมิคุ้มกันที่เสริมสร้างร่างกายให้แก่ลูกน้อย คุณแม่ควรให้บุตรได้รับน้ำนมช่วงนี้ หลังคลอดวันที่ 3 คุณแม่จะรู้สึกคัดตึงเต้านม และอาจมีไข้ได้ หากรู้สึกคัดมากคุณแม่สามารถประคบร้อนได้โดยการนำผ้าชุบน้ำร้อน มาประคบบริเวณเต้านมที่คัดตึง และนวดคลึงบริเวณนั้นจนเต้านมนิ่มอ่อนลง
:warning: อาการผิดปกติของเต้านมที่คุณแม่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด :warning:
เต้านมปวด บวม แดง ร้อน มีหนองไหลซึมออกมา
ให้คุณแม่รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
:star: น้ำนม :star:
ควรกระตุ้นให้ทารกกินนมทุก 2 - 3 ชั่วโมง หรือเมื่อทารกหิว ควรให้ทารกดูดจนเกลี้ยงเต้า และมารดาควรให้ทารกได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึง 6 เดือน เมื่อครบ 6 เดือนแล้ว สามารถให้อาหารเสริมแก่ทารกได้
:star: การมีเพศสัมพันธ์ :star:
ควรงดมีเพศสัมพันธ์ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากในระยะหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาและปากมดลูกยังปิดไม่สนิท รวมถึงอวัยวะอื่นๆภายในยังไม่กลับสู่สภาวะปกติดีนัก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
:star: การบริหารร่างกายหลังคลอด :star:
แนะนำให้มารดาทำ Kegel exercise หรือการขมิบช่องคลอด เนื่องจากการขมิบจะให้กล้ามเนื้อช่องคลอดกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น และสามารถออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงเยอะ เช่น การทำงานบ้านทั่วไป
:!!: เน้นย้ำ :!!:
ห้าม ยกของหนัก ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
เพราะอาจทำให้มดลูกเข้าอู่ช้าได้
การคุมกำเนิด
มารดาหลังคลอดที่มีการให้นมบุตร ควรคุมกำเนิดโดยใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบไม่มีฮอร์โมนหรือคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเดี่ยว เนื่องจากการคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนรวม มีฮอร์โมน estrogen ซึ่งเป็นตัวส่งผลทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง
การคุมกำเนิดที่ไม่มีฮอร์โมน
- ถุงยางอนามัย เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สามารถหาซื้อได้ง่าย และสามารถป้องกันโรติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
- การทำหมันหญิง เป็นการคุมกำเนิดถาวร จึงเหมาะสมกับสตรีที่มีบุตรเพียงพอแล้ว
การคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน
- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมน progesterone เพียงอย่างเดียว สามารถหาซื้อได้ง่าย การกินยาชนิดนี้ควรกินให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าลืมกินยามีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่าย
- ยาฉีดคุมกำเนิดชนิด 3 เดือน สามารถฉีดยาได้ที่สถานพยาบาลทั่วไป
- ยาฝังคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพคุมกำเนิดสูง จะมีทั้งชนิดที่คุมกำเนิดได้ 3 ปี และ 5 ปี
ส่วนการคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมน estrogen และ progesterone เช่น ยาเม็ดคุกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนคุมกำเนิด ควรเริ่มใช้หลังคลอดบุตร 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากหลังคลอดบุตรไปแล้ว 6 เดือน สามารถให้อาหารเสริมกับบุตรได้
-
-
13B
1.Background
- G3P2 GA 40+3 Wks. ทารกเพศชาย หนัก 3480 กรัม
- บุตรคนแรกอายุ 12 ปี เพศหญิง คลอด N/L บุตรคนที่ 2 อายุ 10 ปี เพศชาย คลอด N/L
- ปฏิเสธประวัติการเจ็บป่วย
- ไม่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ อยู่บ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น
2.Body Condition
- day 0 : ไม่มีภาวะซีด พยาบาลช่วยเหลือกิจกรรมบนเตียงบางส่วน
- day 1 : สีหน้าแจ่มใสมากขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น สามารถให้ BF ได้
3.Body temp & BP
( 4/11/2563)
BP : 103/65 mmHg
T : 36.5 องศาเซลเซียส
PR : 90 ครั้งต่อนาที
RR : 18 ครั้งต่อนาที
PS = 2 (ปวดมดลูก)
4.Braest&lactation
หัวนมไม่บอด หัวนมข้าซ้ายสั้นเล็กน้อย ลานนมนุ่ม เต้านมคัดตึงเล็กน้อย น้ำนมทั้งสองข้างไหล 2+ เป็นน้ำนมชนิด Colostrum สามารถนำลูกเข้าเต้าได้เป็นเวลาประมาณ 30 นาที
5.Belly&Fundus
หน้าท้องมี striae gravidarum สีเงิน HF อยู่ที่ 3.5 นิ้วเหนือกระดูกหัวหน่าว มดลูกหดรัดตัวดี
คลึงแล้วกลมแข็ง
-
7.Bledding&Lochia
- Day 0 : Bleeding per vagina 100 cc in 12 hrs. น้ำคาวปลาสีแดงเข้ม ไม่มีกลิ่นเหม็น
- Day 1 : Bleeding per vagina 20 ml น้ำคาวปลาสีแดงจางลงจากเมื่อวาน ประมาณ 20 ml
8.Bottom
- แผลฝีเย็บแบบ RML 2 degree tear
- REEDA : :red_cross:ไม่แดง :red_cross: ไม่บวม :red_cross:ไม่ช้ำ ไม่มีจ้ำเลือด :red_cross: ไม่มี Dischargeซึม
:check: แผลชิดกันดี
- แผลไม่ tear ถึงทวารหนัก
9.Bowel movement
- day 0 : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ ท้องอืดเล็กน้อย
- day 1 : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ ท้องอืดเล็กน้อย
10.Blue
- day 0 : อ่อนเพลีย นอนมาก ไม่สนใจคนรอบข้าง
- day 1 : สนใจลูกมากขึ้น สนใจการให้ BF เป็นห่วงลูก
11.Baby ทารกผิวแดงดี ไม่ซีด ร้องดี สะดือสด ไม่มีDischarge หายใจปกติไม่มี retraction อัณฑะลงถุงทั้งสองข้าง ปลายเปิดรูปัสสาวะปกติ ทวารหนักปกติ
-
-
-
-