Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและการดูแลระยะสุดท้าย - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและการดูแลระยะสุดท้าย
เป้าหมายของการดูแลแบบประคับประคอง
คือ การส่งเสริมให้บุคคลได้รับการดูแลตลอดกระบวนการของการตายที่เรียกว่า ตายดี(good death)
การปฏิบัติสอดคล้องกับวัฒนธรรม จริยธรรม
บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนและอาการปวด
มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับและเข้าใจ พร้อมปรับตัวเข้ากับความเจ็บป่วยได้
การประเมินผู้ป่วยในการดูลแบบประคับประคอง
การประเมินPPS(Palliative Performance Scale)
การประเมินอาการรบกวน
การประเมินอาการปวด
การประเมิน 2Q
ระยะเผชิญความตายจะดูแลผู้ป่วยให้ ตายดี ได้อย่างไร
ลดหรือหยุดยาและวิธีการตรวจ/การรักษาที่ไม่จำเป็น
รักษาอาการปวดและอาการรบกวนที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน
สื่อสารบอกผู้ป่วยและครอบครัวด้วยวิธีที่เหมาะสม
ประเมินและตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาน
วางแผนการดูแลขณะเผชิญความตายของผู้ป่วยร่วมกับครอบครัว
การตายดีที่พึงประสงค์
รู้ตัวและมีสติรับรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้น
ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน
ได้รับการดูแลด้านจิตใจ จิตวิญญาณ
มีความเป็นส่วนตัว เลือกได้ว่าจะตายที่ใด
มีคนรักอยู่ใกล้ มีเวลากล่าวคำอำลา
พร้อมไปเมื่อเวลามาถึง ไม่ยื้อชีวิต
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด
กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ(serious illness)โรคเรื้อรังระยะสุดท้าย
COPD stage 4 Home oxygen therapy
CKD stage 5 มีระดับPPS<40
Stroke รักษา 6 เดือนแล้วPPS<40
Heart failure(functional class 4)with home oxygen
กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย(end of life)
สิ่งที่ได้จากการดูละคร
การติดตามเยี่ยมที่บ้านมีทีมสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ประชุมการพยาบาล ได้แก่ การสวนปัสสาวะอย่างไรให้เจ็บน้อยหรือการสวนปัสสาวะอย่างไรให้ปลอดเชื้อ เป็นต้น
การประคับประคองในระยะสุดท้ายมีญาติเป็นกำลังใจสำคัญที่สุดเป็นมือที่ยื่นมาเกื้อกูลเยี่ยวยาจิตใจ
เข้าใจหลักคิดชีวิตแบบองค์รวมคือ การเกิดและการตายเป็นธรรมดาของทุกชีวิต(การถือธรรมะส่งผลต่อจิตใจ สติ ความดี ศรัทธากับการเยี่ยวยารักษาโรคมะเร็งและใช้กายบำบัด เช่น เล่นโยคะ รวมทั้งดูแลเรื่องอาหาร)
การแจ้งข่าวร้าย(Breaking a bad news)
ความหมาย
ข่าวที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิตและอนาคตจะส่งผลรุนแรงเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับการแปลผลข้อมูลของผู้ป่วยและญาติ ความคาดหวัง และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นรวมไปถึงความเชื่อและวัฒนธรรม
การแจ้งข่าวร้าย
แพทย์ เป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์ในการแจ้งข่าวร้ายข้อพิจารณาที่แพทย์สามารถแจ้งแก่ญาติโดยไม่ต้องแจ้งแก่ผู้ป่วยโดยตรง คือ ผู้ป่วยเป็นโรคทางจิต เด็ก และมีแนวโน้มจะทำร้ายตนเองหากได้รับข่าวร้าย
พยาบาล พยาบาลจะคอยรับช่วงต่อ ภายหลังจากการที่แพทย์แจ้งข่าวร้ายแล้วจะคอยอธิบายหรือรับฟังผู้ป่วยและญาติต่อจากแพทย์
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
Palliative care
ไม่ใช่การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตาย ไม่ใช่การุณฆาตแต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้นและยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย palliative care
1.มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อย
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
3.มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษา
บทบาทพยาบาล
สร้าสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยตวามตั้งใจด้วยความเห็นอกเห็นใจ
ให้ความช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยและญาติผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้่วยและญาติด้วยความเข้าใจโดยไม่ตัดสินในระยะที่ผู้ป่วยโกรธ
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลใการดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้ข้อมูลที่เป็นความจริงที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อความสุขทางใจของผู้ป่วยและญาติ
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการรักษา