Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 เจตคติ ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรม - Coggle Diagram
บทที่ 7 เจตคติ ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรม
เจตคติ
หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อบุคคลอื่นอื่นสิ่งของ หรือเหตุการณ์สถานการณ์ในทางที่ชอบหรือไม่ชอบเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอใจหรือไม่พอใจ
องค์ประกอบของเจตคติ
เจตคติเกิดจากการรวบรวมความรู้สึกที่สะสมมานาน
เจตคติเกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคล
เจตคติเกิดจากการเลียนแบบผู้อื่น
เจตคติเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของเจตคติ
ทำให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าของเจตคตินั้นๆ คือ บุคคลที่มีเจตคติจะได้รับประโยชน์จากการมีเจตคตินั้น ตลอดจนการได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลอื่นในสังคมด้วย
เป็นเครื่องชี้แนวทางพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางที่สอดคล้องกับเจตคติ
ช่วยให้บุคคลมีหนทางผ่อนคลายความตึงเครียด โดยการแสดงพฤติกรรมมาตามเจตคติ หรือความรู้สึกนึกคิดของบุคคล
ช่วยลดความขัดแย้งภายในจิตใจของบุคคลเป็นกลไกทางจิตวิทยาในการป้องกันตนเองอย่างหนึ่ง ทำให้บุคคลมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
การเสริมสร้างพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเจตคติ
ขั้นที่ 1 เป็นการตั้งใจรับทราบ
ขั้นที่ 2 เป็นการเข้าใจ
ขั้นที่ 3 การยอมรับหรือการเปลี่ยนตาม
ขั้นที่ 4 ขั้นการเก็บจำ
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำ
ค่านิยม
หมายถึง แบบแผนของการกระทำที่เชื่อ หรือยึดมั่นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและยอมรับมาปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของตนเองหรือสังคม มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความคิดของบุคคลในสังคมหรือตามยุคตามสมัย
ประเภทของค่านิยม
จำนวนของค่านิยมที่แต่ละคนมีอยู่ในข่ายที่จะนับถือและศึกษาได้
ความแตกต่างของค่านิยมจัดแสดงออกเป็นระดับ
ค่านิยมต่างๆ นำมาจัดรวมกันเข้าเป็นระบบค่านิยมได้
ค่านิยมของมนุษย์สามารถสืบไปถึงวัฒนธรรมสังคมและสถาบันต่างๆ
ผลที่ตามมาจะแสดงออกมาทางทัศนคติ และพฤติกรรมของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบ
ค่านิยมตามทฤษฎีของโรคีช
ค่านิยมวิถีปฏิบัติ
เป็นค่านิยมที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน ค่านิยมที่เป็นส่วนจริยธรรมเป็นค่านิยมที่จุดรวมอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และค่านิยมส่วนที่เป็นความสามารถที่มีจุดรวมอยู่ในตัวเอง และดูไม่มีส่วนเกี่ยวพันกับความมีหรือความไม่มีจริยธรรม
ค่านิยมจุดหมายปลายทาง
เป็นค่านิยมที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ค่านิยมที่มีส่วนร่วมอยู่ที่ตัวบุคคล และค่านิยมที่มีส่วนร่วมที่สังคม
ค่านิยมตามหลักสาโรช บัวศรี
ค่านิยมพื้นฐาน
ศีลธรรม
คุณธรรม
ขนบธรรมเนียม ประเพณี
วัฒนธรรม
กฎหมาย
ค่านิยมวิชาชีพ
อุดมคติหรืออุดมการณ์ในวิชาชีพของตน
จรรยาบรรณต่างๆ และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับวิชาชีพ
ค่านิยมตามหลักประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
ค่านิยมเชิงทฤษฎี หรือค่านิยมทางด้านความจริง
ค่านิยมเชิงเศรษฐกิจหรือค่านิยมเชิงวัตถุ
ค่านิยมเชิงสุนทรี
ค่านิยมเชิงสังคม
ค่านิยมเชิงการเมืองค่านิยมเชิงศาสนา
คุณธรรมและจริยธรรมคุณธรรม
ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรมคุณธรรม
คุณธรรม หมายถึง ลักษณะนิสัยที่ดีงามหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ได้รับการปลูกฝังให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ เพื่อใช้เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมที่แสดงออก ในลักษณะที่เกื้อกูลและเป็นประโยชน์ ก่อให้เกิดสันติภาพและสันติสุข
จริยธรรม หมายถึงแนวทางการปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่ดีงามทั้งๆ กาย วาจาและใจ ซึ่งสังคมยอมรับว่าเป็นความถูกต้องและยุติธรรม ก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อตนเองและส่วนรวม
องค์ประกอบของจริยธรรม
ความรู้เชิงจริยธรรม
เป็นการมีความรู้ในสังคมตนเองการกระทำใดดีที่ควรทำหรือสิ่งที่ไม่ควรทำ
ทัศนคติเชิงจริยธรรม
ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆ ความชอบหรือไม่ชอบ
เหตุผลเชิงจริยธรรม
บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะทำ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่บุคคลในสังคมนั้นนิยมชื่นชอบ
ทฤษฎีที่เกี่ยวกับจริยธรรม
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของเพียเจต์
พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็น 3 ขั้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมของตนเอง บุคคลเลือกตัดสินในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดกับคนอื่น เชื่อฟังคำสั่ง หลบหลีกการถูกลงโทษ การแสวงหารางวัล
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ บุคคลเรียนรู้ที่จะกระทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่มย่อย ตามกฎหมายหรือทางศาสนารู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา หลักการทำตามที่ผู้อื่น เห็นชอบหรือการยอมรับของกลุ่มจากการทำตามหน้าที่ของสังคม
ระดับที่ 3 ระดับเหนือกฎเกณฑ์ ในการทำสิ่งใดเป็นไปตามความคิดและเหตุผลของตนเอง ตัดสินใจทำตามที่ตนคิดว่าเหมาะสม เห็นความสำคัญของส่วนรวม เคารพในสิทธิ์ของผู้อื่นและสามารถบังคับจิตใจของตนเองได้ จากการทำตามคำมั่นสัญญาหรือสัญญาสังคม หลักการยึดอุดมคติสากล
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาเชิงสังคมของแบนดูรา
เชื่อว่า มนุษย์สามารถที่จะควบคุมความคิดความรู้สึกและการกระทำของตนเอง เพื่อนำตนเองไปสู่จุดหมายหรือผลที่ต้องการได้เป็นการกำกับตนเอง ซึ่งจะต้องมีการฝึก และพัฒนาและปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมี 3 กระบวนการ
ต้นไม้จริยธรรม
แสดงถึง สาเหตุของการเกิดพฤติกรรมที่คนดีคนเก่งไว้ สรุปผลการวิจัยในเยาวชนและประชาชนไทย ตั้งแต่อายุ 6-60 ปี แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
หลักพุทธธรรมในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
โครงสร้างของจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา คือ หลักมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งเป็นทางสายกลาง หรืออริยมรรคมีองค์ 8