Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ Ulcerative Colitis, สมาชิก ห้อง 2B - Coggle Diagram
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ Ulcerative Colitis
สาเหตุ
ยีน หรือ พันธุกรรม : คุณอาจจะได้รับความเสี่ยงมาจากพ่อและแม่ของคุณ
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ : ภูมิคุ้มกันที่บกพร่องทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้มากขึ้น
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ : แบคทีเรีย ไวรัสและแอนติเจนต่างๆ อาจจะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของบคุณทำงานมากกว่าปกติ
อาจเกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร
การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนวัตถุกันเสีย
อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ มีการสร้างเม็ดเลือดขาวในเยื่อบุทางเดินอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบได้
อาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนวัตถุกันเสีย
อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
ท้องร่วง ผู้ป่วยมักถ่ายมีมูกเลือดปนมาด้วย บางรายอาจเกิดอาการท้องร่วงกะทันหันและอาจถ่ายวันละ 10-20 ครั้ง จนบางครั้งทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นกลางดึกขึ้นมาเพื่อถ่าย
ท้องผูก การอักเสบของลำไส้บางส่วนอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งพบได้น้อยกว่าอาการท้องร่วง
มีอาการปวดบีบที่ท้อง
เจ็บที่ลำไส้ตรง ลำไส้ตรงมีเลือดออก
น้ำหนักลด
อ่อนเพลีย
เป็นไข้
แคระแกร็น เกิดกับเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร
อาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดบริเวณข้อต่อ แผลในปาก ความผิดปกติที่ตาหรือตับ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมักเกิดอาการเป็น ๆ หาย ๆ เกิดอาการอักเสบเรื้อรังเป็นปี (Remission) จากนั้นก็กลับมาเป็นซ้ำอีก (Flare-Up)
การวินิจฉัยลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
การตรวจเลือด
วิธีนี้จะตรวจประเมินภาวะโลหิตจางและการอักเสบ โดยผลตรวจเลือดจะแสดงว่าผู้ป่วยมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ แต่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR) ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าผู้ป่วยเกิดอาการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกาย
การตรวจตัวอย่างอุจจาระ
โดยแยกการติดเชื้อและปรสิตออกจากกัน เนื่องจากทั้ง 2 อย่างนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่มีอาการคล้ายโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง แพทย์จะวินิจฉัยลำไส้อักเสบโดยดูเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในอุจจาระ
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
วิธีนี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบได้แม่นยำและเห็นลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยได้ชัดเจน การส่องกล้องจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง หลังจากตรวจเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้
ผู้ป่วยที่เกิดอาการอักเสบภายในลำไส้ส่วนปลาย จะได้รับการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องซิกมอยด์สโคป (Sigmoidoscopy) แทนการส่องกล้องตรวจแบบแรก ใช้เวลาการตรวจประมาณ 15-30 นาที ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
การเอกซเรย์
กรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคอย่างรุนแรง แพทย์อาจเอกซ์เรย์บริเวณท้องของผู้ป่วย เพื่อดูว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือไม่
การสวนแป้งแบเรียม (Barium Enema)
วิธีนี้นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ โดยการสวนแป้งแบเรียมนี้จะนำสารทึบรังสีเข้าไปทางลำไส้ตรง ฉีดที่ลำไส้ และสะท้อนภาพภายในลำไส้ออกมาผ่านภาพเอกซเรย์ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ยังมีความแม่นยำน้อยกว่าการตรวจด้วยการส่องกล้องในลำไส้ใหญ่
การทำซีทีสแกน
แพทย์จะทำซีทีสแกนผู้ป่วยหากสันนิษฐานว่าผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังหรืออาการอักเสบที่ลำไส้เล็ก โดยแพทย์จะสแกนบริเวณท้องหรือเชิงกรานของผู้ป่วย ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวจะแสดงว่าผู้ป่วยเกิดอาการอักเสบที่ลำไส้มากน้อยแค่ไหน
การตัดชิ้นเนื้อตรวจ
แพทย์จะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อของลำไส้ที่ได้มาจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้ง 2 แบบออกมาตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
การป้องกัน
รักษาสุขอนามัยเบื้องต้น กินร้อนช้อนกลาง ล้างมือ
ลดผลิตภัณฑ์เนยนม ช่วยให้อาการท้องร่วง ปวดท้อง และแก๊สในลำไส้ดีขึ้น
ดื่มน้ำให้เพียงพอเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผสมคาเฟอีน เพราะจะกระตุ้นลำไส้ให้ทำงานหนักและส่งผลให้อาการท้องร่วงแย่ลง
ลดปริมาณอาหารที่มีกากใย ผู้ป่วยลำไส้อักเสบควรลดผักผลไม้ที่มีกากใยสูง เนื่องจากเส้นใยในผักผลไม้นั้นอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง
การดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการขับถ่าย
ประเมินความรุนแรงของความปวดทุก 2-4 ชั่วโมงด้วยการสังเกตและใช้แบบประเมินความปวด
จัดให้นอนท่าศีรษะสูง 35-40 องศา เพื่อลดแรงดันในช่องท้อง
ดูแลให้มีการระบายของสารเหลวออกจากกระเพาะอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา ร่วมกับจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological management) และทำการประเมินซ้ำหลังจากนั้น
การดูแลผู้ป่วยที่ถ่ายเป็นเลือด
ถ้าตรวจพบตำแหน่งที่เลือดออกจากการทำangiography แต่ไม่สามารถทำให้เลือดหยุดได้ให้เตรียมผ่าตัดฉุกเฉิน
ถ้าตรวจไม่พบตำแหน่งที่เลือดออกจากการทำ angiography หรือไม่สามารถทำ angiography และเลือดหยุดแล้ว ให้ทำการตรวจเพิ่มเติม หรือตรวจซ้ำเท่าที่จำเป็น
ถ้าตรวจพบตำแหน่งที่เลือดออกจากการทำ angiography ควรฉีด vasopressin เข้าทาง angiography catheter เพื่อให้เลือดหยุด
ให้น้ำเกลือ (IV) และให้เลือดทดแทน
การดูแลผู้ป่วยที่ท้องร่วงหรือท้องเสีย
การรักษาความสะอาดส่วนบุคคลอวัยวะที่เกี่ยวกับการขับถ่ายอาจมีการระคายเคืองหรืออักเสบ บวม ผิวหนังเปื่อย อับชื้นจากการทำความสะอาดไม่เช็ดแห้ง
การงดน้ำงดอาหารเพื่อหยุดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ในกรณีที่ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
ระดับความปวดท้องมาก อาจบรรเทาด้วยการประคบร้อนบริเวณท้องน้อย
ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย6-8 แก้ว
การฟื้นฟู
เลือก
กินทีละนิด แต่กินบ่อย ๆ
เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ไข่ ปลา หมูหรือไก่ไม่ติดมัน กุ้ง หอย และเลือกกินปลาทะเลหรือปลาที่มีชั้นผิวหนังหนา ๆ บ้าง เช่น ปลาสวาย ปลาดุก เพราะไขมันจากปลามีโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบในลำไส้ได้
ข้าวแป้ง ขนมปังที่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว หรืออาจกินมันต้ม เผือกต้ม ฟักทองต้ม แครอทต้ม แทนข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
ผักนิ่ม ๆ เช่น ผักกวางตุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง โดยนำไปนึ่งแทนการต้มสุก เพื่อสงวนวิตามินและเกลือแร่เอาไว้ให้ได้มากที่สุด
อาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด ปรุงสุก เนื้อสัมผัสนิ่ม ๆ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
ดื่มน้ำเปล่า เครื่องดื่มเกลือแร่ที่ไม่หวานมาก หรือน้ำผลไม้เจือจาง เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
เลี่ยง
หลีกเลี่ยงผักที่เคี้ยวแล้วเป็นกากใยชัดเจน เช่น ก้านผักต่างๆ
อาหารไขมันสูง เพราะจะทำให้ถ่ายเหลวเพิ่มขึ้นได้
อาหารที่แพ้ทุกชนิดไม่ว่าจะแพ้มากหรือแพ้น้อย
การดื่มแบบรวดเดียวหมดหรือการใช้หลอดดูด เพราะการใช้หลอดดูดจะเพิ่มแก็สในทางเดินอาหารอาจทำให้ปวดท้องได้
น้ำเชื่อม น้ำผลไม้เข้มข้น รวมถึงน้ำตาลแอลกอฮอล์ เพราะหากได้รับเข้าไปจะยิ่งกระตุ้นให้ถ่ายเหลวเพิ่มขึ้นได้
การสร้างเสริมสุขภาพ
ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร
ควรจดบันทึกรายการอาหารที่รับประทานในแต่ละวันและสังเกตว่าอาหารชนิดใดที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ รับประทานอาหารในปริมาณน้อยแต่แบ่งเป็นหลายมื้อต่อวัน ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ลดการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมและไฟเบอร์ หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารเผ็ด รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายรับประทานอาหารเสริมบางชนิด เช่น แคลเซียม และธาตุเหล็ก เป็นต้น
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายไม่เพียงช่วยเสริมสร้างสุขภาพ แต่ยังช่วยลดความเครียด อีกทั้งช่วยบรรเทาภาวะซึมเศร้า ที่อาจเกิดจากการต้องเผชิญโรคนี้
การฝึกโยคะและยืดกล้ามเนื้อ
เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยลดแรงตึงของกล้ามเนื้อและฝึกหายใจไปในตัว ทำให้ลดความเสี่ยงที่อาการจะกำเริบจากความเครียดลงไปได้
นอนหลับอย่างเพียงพอ
การนอนหลับพักผ่อนวันละ 8 ชั่วโมง เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบไม่ควรละเลย เพราะจะช่วยบรรเทาอาการและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมให้ดีตามไปด้วย
การรักษา
ระดับอ่อนถึงระดับค่อนข้างรุนแรง
ยาอะมิโนซาลิไซเลต (Aminosalicylates)
ที่อยู่ในกลุ่มยา Disease-Modifying Antirheumatic Drug (DMARD) โดยผู้ป่วยอาจได้รับยาผ่านการรับประทานหรือสวนทวารหนัก
ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น ยาเมซาลามีน (Mesalamine)
ยาโอลซาลาซีน (Olsalazine) หรือยาบอลซาลาไซด์ (Balsalazide)
ระดับรุนแรง
ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids
) ยานี้จะช่วยลดอาการอักเสบ ยามีรูปแบบสำหรับรับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือสวนทวารหนัก ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์มักก่อให้เกิดผลข้างเคียงหากใช้ติดต่อเป็นเวลานาน เช่น หน้าบวมฉุ ขนดก เหงื่อออกตอนกลางคืน นอนไม่หลับ และผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
ยากดระบบภูมิต้านทาน (Immunomodulators)
ยานี้เป็นยาที่ช่วยระงับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยลดเซลล์ที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันร่างกาย หรือยับยั้งการทำงานของสารโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ ผลข้างเคียงทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้มากเนื่องจากทำให้ระบบภุมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ ยาที่จัดอยู่ในยากดระบบภูมิต้านทาน ได้แก่ ยาเมอร์แคปโตพิวรีน (6-Mercaptopurine: 6-MP) ยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine) ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate)
และยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine)
คำถาม
3.การดูเเลตัวเองจากโรคลำไส้ใหญ่อักเสบต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ข.รับประทานอาหารไขมันสูง เพื่อให้ถ่ายเหลวเพิ่มขึ้น
ค.ลดปริมาณอาหารที่มีกากใย ผู้ป่วยลำไส้อักเสบควรลดผักผลไม้ที่มีกากใยสูง
ก.การสร้างเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ง.รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด ปรุงสุก เนื้อสัมผัสนิ่ม ๆ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
4.ข้อใดไม่ใช่ภาวะแทรกซ้อนของลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
ข.โรคกระเพาะอาหาร
ค.ลำไส้โป่งพอง (Toxic Megacolon)
ก.โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ง.ท่อน้ำดีอักเสบแข็งขั้นแรก (Primary Sclerosing Cholangitis: PSC)
2.อาการเเสดงของคนที่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมีอาการอย่างไร
ข.ท้องผูก การอักเสบของลำไส้บางส่วนอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งพบได้น้อยกว่าอาการท้องร่วง
ค.ถ่ายอุจจาระไม่ออกหรือผายลมไม่ออก
ก.ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
ง.แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่
5.การรักษาด้วยยาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังต่อไปนี้ยกเว้นยาชนิดใด
ข.ยาอะมิโนซาลิไซเลต (Aminosalicylates)
ค.ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) .
ก.แลนโซพราโซล (Lansoprazole )
ง.ยากดระบบภูมิต้านทาน (Immunomodulators)
1.โรคลำไส้ใหญ่อักเสบมีสาเหตุดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ข.ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
ค.การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ก.ยีน หรือ พันธุกรรม
ง.การติดเชื้อแบคทีเรีย จำพวกอีโคไล (E.coli) และ Staphylococcus spp
สมาชิก
ห้อง 2B
นางสาวกชามาศ กิ่งนาคม เลขที่ 2
นางสาวกนกพร รับงาน เลขที่3
นางสาวกุลธิดารัตน์ ไวยลาภ เลขที่ 4
นางสาวกุลรัตน์ สุขสวย เลขที่5
นางสาวนภัสวรรณ นุ่มกัน เลขที่27
น.ส.พวงเพชร ภูสีเขียว เลขที่44
น.ส.พัชรา นามบุญศรี เลขที่45
น.ส.พัชราพร ศรีประทุมวงค์ เลขที่46
นายทศพล บุญเสริฐ เลขที่ 19