Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pneumonia - Coggle Diagram
Pneumonia
พยาธิสรีระ
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระเกิดขึ้นจากกระบวนการอักเสบ คือ ปัญหาการระบายอากาศหายใจ พยาธิ สรีรวิทยาของปอดอักเสบแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
1.ระยะบวมคั่ง (Stage of Congestion or Edema)เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ปอดจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง มีโลหิตมาคั่งในบริเวณที่มีการอักเสบ หลอดโลหิตขยายตัวมีแบคทีเรีย เม็ดโลหิตแดง ไฟบริน และเม็ดโลหิตขาว(เป็นพวกนิวโตรฟิลและโฟลิมอร์ฟ)ออกมากินแบคทีเรียระยะนี้กินเวลา 24-46ชั่วโมง หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ปอด
3.ระยะปอดฟื้นตัว (Stage of Resolution) เมื่อร่างกายสามารถต้านทานโรคไว้ได้ เม็ดโลหิตขาวสามารถทำลาย แบคทีเรียที่อยู่ในถุงลมปอดได้หมด จะมีเอนไซม์ออกมาละลายไฟบริน เม็ดโลหิตขาวและหนองจะถูกขับออกมาเป็นเสมหะมีลักษณะเป็นสีสนิมเหล็ก เพราะมีโลหิตค้างอยู่ เนื้อปอดมัก กลับคืนสู่สภาพปกติได้ การอักเสบที่เยื้อหุ้มปอดจะหายไปหรือมีพังผืดขึ้นแทน ระยะฟื้นตัวในเด็กและคนหนุ่มสาวเร็วมากแต่ในคนสูงอายุ จะช้า ระยะฟื้นตัวในเด็กประมาณ 5 วัน ผู้ใหญ่ 2 สัปดาห์แต่ไม่ควรเกิน 6 สัปดาห์ ถ้าเกิน 6 สัปดาห์ต้องนึกถึง การมีโรคอื่นเป็นพื้นฐานอยู่เดิม เช่น มะเร็งปอดหรือหลอดลม เป็นต้น
ถ้าเชื้อออกจากปอดทางท่อน้ำเหลืองไปถึงต่อมน้ำเหลือง ถ้าต่อมน้ำเหลืองเก็บเชื้อโรคได้หมดโรค จะเป็นเฉพาะที่ปอด แต่ถ้าต่อมน้ำเหลืองไม่สามารถเก็บเชื้อโรคได้หมดเชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสโลหิตไปทั่วร่างกาย เช่น สมอง ข้อ ถ้าเชื้อมีความรุนแรงจะช็อคจากการติดเชื้อได้ (คณาจารย์สถาบันพระบรมราช ชนก.2541)
2.ระยะเนื้อปอดแข็ง(Stage 0f Consolidation) ระยะแรกจะพบว่ามีเม็ดโลหิตแดงและไฟบรินอยู่ในถุงลมเป็น 5 ส่วนใหญ่ หลอดโลหิตฝอยท่อผนังถุงลมปอดขยายตัวมากขึ้นทำให้เนื้อปอดสีแดงจัดคล้ายตับสด(Red heptization) ในรายที่มีการอักเสบรุนแรงจะมีการอักเสบลุกลามไปถึงเนื้อปอดด้วย ในเวลาต่อมาจะมีจำนวนเม็ดโลหิตขาวเข้ามาแทนที่เม็ดโลหิตแดงในถุงลมมากขึ้นเพื่อกินเชื้อโรค ระยะนี้ถ้าตัดเนื้อปอดมาดูจะเป็นสีเทา ปนดำ(grey heptatization) เนื่องจากมีหนอง(Exudate) เซลล์โพลีมอร์โฟและไฟบริน หลอดโลหิตฝอยที่ผนัง ถุงลมปอดก็จะหดตัวเล็กลงระยะนี้กินเวลา 3-5 วัน จากการที่ผนังถุงลมบวม มีหนองในถุงลมทำให้การระบาย อากาศภายในปอดไม่เพียงพอและหลอดลมหดรัดตัวทำให้อุดกั้นทางเดินอากาศด้วย ทำให้ความดันออกซิเจนในถุงลมลดลง โลหิตดำที่เข้าสู่ปอดในส่วนที่อักเสบและมีการระบายอากาศน้อยกลับเข้าสู่หัวใจซีกซ้ายโดยไม่มีออกซิเจน ทำให้โลหิตไปเลี้ยงร่างกายขาดออกซิเจน เช่นเดียวกับ การมีโลหิตจากหัวใจซีกขวารั่วเข้าสู่หัวใจซีกซ้าย
การตรวจวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอักเสบได้โดยการซักประวัติ สอบถามอาการโดยเฉพาะอาการไอแบบมีเสมหะ มีไข้ และหายใจหอบในกรณีที่สงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ ร่วมกับการตรวจร่างกาย เช่น ฟังเสียงปอด และเอกซเรย์ปอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด(CBC)
- การตรวจ Arterial Blood gas
-
ความหมาย
เป็นกระบวนการอักเสบของถุงลมปอดทำให้เนื้อ ปอดแข็งและมีหนองในถุงลมปอด มักพบในคนที่ไม่แข็งแรง (มีภูมิต้านทานโรคต่ำ) เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่เป็นโรคทางปอดเรื้อรัง (เช่น หืด หลอดลมอักเสบ ถุงลมพอง) หรือผู้ที่กินสเตียรอยด์เป็นประจำ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น อาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด ไข้หวัด ใหญ่ ทอนซิลอักเสบ หัด อีสุกอีไส ไอกรน ฯลฯ บางครั้งพบในเด็กที่กินน้ำมันก๊าดหรือผู้ที่สำลัก เศษอาหารเข้าไปในปอด
-
อาการ : อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง(อาจจับไข้ตลอดเวลา) หนาวสั่น(โดยเฉพาะในระยะที่เริ่มเป็น) และหายใจหอบ ในระยะแรกอาจมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะต่อมาจะไอมีเสลดขุ่นข้น ออกเป็นสีเหลือง สีเขียว สีสนิมเหล็กหรือมีเลือดปน ในเด็กโตและผู้ใหญ่อาจมีอาการเจ็บแปลบในหน้าอก เวลาหายใจเข้า หรือไอแรงๆบางครั้งอาจปวดร้าวไปที่หัวไหล่สีข้างหรือท้อง ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือท้องเดิน
จัดทำโดย
นางสาวอาภาพิชญ์ คำแก้ว
รหัสนักศึกษา 611410090-0
นางสาวศิญาพร เถาวัลย์ราช
รหัสนักศึกษา 6114100090-8
นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3
วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย