Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(พระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐), นางสาวนูรอารีนา อาวัม…
พระราชบัญญัติ
โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๒
โรงเรียนในระบบ
ส่วนที่ ๕ การสงเคราะห์
มาตรา ๕๔ ให้มีกองทุนสงเคราะห์เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อำนวยการครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมถึง
(๓) การส่งเสริมการออมทรัพย์ของผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
(๔) การจ่ายเงินสวัสดิการสงเคราะห์
(๑) การจ่ายเป็นเงินทุนเลี้ยงชีพให้แก่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
(๒) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๖๐ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนสงเคราะห์ ให้จ่ายจากดอกผลของกองทุนสงเคราะห์ตามมาตรา ๕๖ (๒) ซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสามของดอกผลของกองทุนสงเคราะห์ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนด
มาตรา ๕๖ ดอกผลของเงินและทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์ตามมาตรา ๕๕ ให้คำนวณแยกตามสัดส่วนของเงินกองทุนสงเคราะห์ ดังต่อไปนี้
(๑) ดอกผลของเงินกองทุนสงเคราะห์ตามมาตรา ๕๕ (๒)
(๒) ดอกผลของเงินกองทุนสงเคราะห์ตามมาตรา ๕๕ (๑) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗)
มาตรา ๗๒ ในกิจการของกองทุนสงเคราะห์ที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์เป็นผู้แทนของกองทุนสงเคราะห์
มาตรา ๗๘ เมื่อผู้อำนวยการ ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ตายหรือสาบสูญเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานให้แก่โรงเรียนในระบบ ให้กองทุนสงเคราะห์จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่คู่สมรสและทายาทโดยธรรมของผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาหรือบุคคลที่ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาระบุไว้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๕ กองทุนสงเคราะห์ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕
(๒) เงินที่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๗๓ (๑)
(๓) เงินที่โรงเรียนในระบบส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๗๓ (๒)
(๔) เงินสมทบที่กระทรวงศึกษาธิการส่งสมทบตามมาตรา ๗๓ (๓)
(๕) ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค
(๖) เงินเพิ่มตามมาตรา ๗๔ และรายได้อื่น ๆ
(๗) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์
มาตรา ๖๑ ให้มีคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ประกอบด้วย
(๑) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการ
(๓) ผู้แทนสมาคมเกี่ยวกับโรงเรียนเอกชน ผู้แทนฝ่ายผู้อำนวยการ ผู้แทนฝ่ายครูและบุคลากรทางการศึกษา ฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งได้รับคัดเลือกตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด เป็นกรรมการ
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามคน ซึ่งมีความรู้ด้านการเงิน การคลัง การบริหารกองทุนหรือกฎหมายที่คัดเลือกโดยที่ประชุมร่วมกันระหว่างประธานกรรมการและกรรมการตาม (๒) และ (๓)เป็นกรรมการ
มาตรา ๖๕ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่
มาตรา ๖๖ ให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบาย ออกระเบียบ และข้อบังคับในการบริหารกิจการของกองทุนสงเคราะห์ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๒) กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการลงทุนของกองทุนสงเคราะห์รวมตลอดทั้งการให้สถาบันการเงินนำเงินของกองทุนสงเคราะห์ไปลงทุนและหาประโยชน์โดยวิธีอื่นทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๓) กำกับดูแลการจัดการกองทุนสงเคราะห์
(๔) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสวัสดิการสงเคราะห์
(๕) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายของกองทุนสงเคราะห์
(๖) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุนสงเคราะห์
(๗) กำหนดระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานและลูกจ้างตลอดจนการกำหนดเงินเดือน และเงินอื่น รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์มอบหมาย
(๙) ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์
มาตรา ๗๖ ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงานดังต่อไปนี้
(๒) เงินทุนเลี้ยงชีพประเภท ๒ เท่ากับจำนวนที่โรงเรียนในระบบและกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเงินสมทบตามมาตรา ๗๓ (๒) และ (๓) โดยไม่รวมดอกผลตามมาตรา ๕๖ (๒)
(๑) เงินทุนเลี้ยงชีพประเภท ๑ เท่ากับจำนวนที่ผู้อำนวยการ ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาแล้วแต่กรณี ได้ส่งเงินสะสมตามมาตรา ๗๓ (๑) พร้อมทั้งดอกผลที่คำนวณได้ตามมาตรา ๕๖ (๑)
มาตรา ๕๗ ให้กองทุนสงเคราะห์มีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๓ ให้โรงเรียนในระบบ ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบ แล้วแต่กรณี เข้ากองทุนสงเคราะห์ตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาส่งเงินสะสมสำหรับตนเองในอัตราที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนดซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสามของเงินเดือนรายเดือนที่แต่ละคนได้รับ และต้องไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒) โรงเรียนในระบบส่งเงินสมทบเป็นจำนวนเท่ากับเงินสะสมที่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาส่งตาม (๑) เป็นรายคน
(๓) กระทรวงศึกษาธิการส่งเงินสมทบเป็นจำนวนสองเท่าของเงินสะสมที่ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่งตาม (๑) เป็นรายคน
มาตรา ๘๒ ให้กองทุนสงเคราะห์จัดทำงบการเงินส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๗ ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาซึ่งออกจากงานโดยไม่มีความผิดและมีเวลาทำงานไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่ถึงสิบปี อาจได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภท ๒ ได้ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๒) ในการคำนวณเงินทุนเลี้ยงชีพประเภท ๒ ให้คำนวณเฉพาะเงินที่โรงเรียนและ
กระทรวงศึกษาธิการส่งสมทบตามมาตรา ๗๓ (๒) และ (๓) จนถึงวันที่ผู้อำนวยการ ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาออกจากงาน
(๓) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนด
(๑) ยังไม่รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภท ๑ และส่งเงินสะสมตามมาตรา ๗๓ (๑) เท่าจำนวนที่ส่งในเดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานต่อไปจนครบสิบปี
มาตรา ๕๙ ให้กองทุนสงเคราะห์มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕๔
มาตรา ๗๙ เมื่อผู้อำนวยการ ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ประสบอันตรายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานให้แก่โรงเรียนในระบบ ให้จ่ายเงินสวัสดิการสงเคราะห์ให้ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ประสบอันตรายแก่กายหรือจิตใจจนถึงแก่ทุพพลภาพ ให้จ่ายให้เป็นเงินค่าทดแทน
(๒) ในกรณีที่ประสบอันตรายจนสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายหรือจิตใจให้จ่ายเป็นค่าฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังจากการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ได้สิ้นสุดลงแล้วเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพที่เหมาะสมได้
มาตรา ๖๙ ให้มีผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์คนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๗) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการที่ปรึกษา หรือ
เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘) ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์มอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนสงเคราะห์เป็นผู้ถือหุ้น
(๙) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับกองทุนสงเคราะห์ หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนสงเคราะห์โดยตรงหรือโดยอ้อม
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปี
(๓) สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนสงเคราะห์ได้เต็มเวลา
(๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
มาตรา ๖๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๖๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๖) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖๒
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
มาตรา ๖๘ ให้กรรมการกองทุนสงเคราะห์และอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๘๔ ให้ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆที่เกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์ เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการกองทุนสงเคราะห์ และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์ และเรียกให้ส่งสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์เป็นการเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๖๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐไล่ออก ให้ออกหรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่
(๒) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการ ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๘๐ สิทธิการรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี เว้นแต่เป็นการชำระหนี้ที่ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นหนี้กองทุนสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๔ ให้โรงเรียนในระบบหักและรวบรวมเงินสะสมของผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องส่งตามมาตรา ๗๓ (๑) ไว้ในทุกคราวที่มีการจ่ายเงินเดือนและให้นำส่งเงินสะสมดังกล่าว พร้อมทั้งเงินสมทบที่โรงเรียนในระบบต้องส่งตามมาตรา ๗๓ (๒) ตามวิธีการที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนดภายในวันที่สิบของเดือนถัดไปทุกเดือน
มาตรา ๕๘ กิจการของกองทุนสงเคราะห์ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
มาตรา ๖๗ การประชุมของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์และคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์
มาตรา ๘๓ ให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์แต่งตั้งบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนสงเคราะห์ทุกรอบปีบัญชี
มาตรา ๗๕ ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาซึ่งส่งเงินสะสมตามมาตรา ๗๓ (๑)ติดต่อกันครบสองเดือนแล้ว มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสงเคราะห์
มาตรา ๖๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๗๐ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงาน และการทำงานในหน้าที่ผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์ ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้ว คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์จะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
มาตรา ๗๑ ให้ผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนสงเคราะห์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนด
มาตรา ๘๕ ให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานการสอบบัญชีที่แสดงความเห็นต่องบการเงินเสนอคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เพื่อรับรองภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน และให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เสนอต่อรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ส่วนที่ ๙ การโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
มาตรา ๑๑๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดาและขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ ให้ผู้รับใบอนุญาตโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบให้ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ แล้วแต่กรณี ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว
มาตรา ๑๐๖ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบให้บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๐๗ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือเป็นคนสาบสูญ และทายาทมีความประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบต่อไป ให้ทายาทซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑หรือในกรณีที่มีทายาทหลายคน ให้ทายาทด้วยกันนั้นตกลงตั้งทายาทคนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ ยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือสาบสูญหรือภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตขยายเวลาตามความจำเป็นถ้ามิได้ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนด ให้ผู้อนุญาตมีคำสั่งควบคุมโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๙๖
มาตรา ๑๐๙ ในกรณีตามมาตรา ๑๐๗ ถ้าไม่มีทายาทคนใดมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ หรือในกรณีที่มีทายาทหลายคนแต่ไม่สามารถตกลงกันได้และทายาทยังประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบต่อไป ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกดำเนินการจัดตั้งนิติ
บุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ เพื่อยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งนิติบุคคล โดยให้นำความในมาตรา ๑๐๗ วรรคสาม มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ถ้ามิได้ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนด ให้ผู้อนุญาตมีคำสั่งควบคุมโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๙๖
มาตรา ๑๑๒ ในระหว่างที่ไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้รับใบอนุญาตตามหมวดนี้ ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาต
มาตรา ๑๐๘ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๐๗ วรรคหนึ่ง หรือกรณีผู้รับใบอนุญาตได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ตามมาตรา ๑๐๗ วรรคสอง เป็นเวลาถึงหนึ่งปี ถ้าทายาทไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบนั้นต่อไป ให้ทายาทยื่นคำขอเลิกกิจการโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๑๑๔
หรือโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบให้บุคคลอื่นตามมาตรา ๑๐๖ ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตาย สาบสูญ หรือวันที่ครบหนึ่งปีที่ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ถ้ามิได้ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนด ให้ผู้อนุญาตมีคำสั่งควบคุมโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๙๖
มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลและสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือล้มละลายให้ผู้อนุญาตมีคำสั่งควบคุมโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๙๖
ส่วนที่ ๑๐
การเลิกกิจการและการชำระบัญชี
มาตรา ๑๑๓ โรงเรียนในระบบเลิกกิจการ เมื่อ
(๑) ผู้รับใบอนุญาตหรือทายาท แล้วแต่กรณี ได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการโรงเรียนในระบบ หรือ
(๒) ผู้รับใบอนุญาตถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
มาตรา ๑๑๖ ก่อนได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการโรงเรียนในระบบ ให้ผู้รับใบอนุญาตผู้อำนวยการ และผู้จัดการมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารหลักฐานตามมาตรา ๓๙ (๔) และ (๕) และเอกสารอื่นที่คณะกรรมการกำหนดให้แก่ผู้อนุญาต
มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือทายาท แล้วแต่กรณี ไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบต่อไป ให้ยื่นคำขอเลิกกิจการโรงเรียนในระบบพร้อมด้วยเหตุผลต่อผู้อนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนสิ้นปีการศึกษา
มาตรา ๑๑๕ เมื่อโรงเรียนในระบบเลิกกิจการตามมาตรา ๑๑๓ ให้คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบ แล้วแต่กรณี แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อชำระบัญชีของโรงเรียนในระบบ และให้นำความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๗ การกำกับดูแล
มาตรา ๑๐๓ เมื่อผู้อนุญาตได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๒ แล้ว ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบดำเนินการควบคุมต่อไปตามเวลาที่กำหนดหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบก็ได้
มาตรา ๙๖ ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้โรงเรียนในระบบอยู่ในความควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีเขตอำนาจเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) โรงเรียนในระบบไม่มีทุนเพียงพอที่จะดำเนินกิจการต่อไป
(๒) โรงเรียนในระบบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบ
(๓) โรงเรียนในระบบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบ
(๖) เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑
(๗) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๔) โรงเรียนในระบบไม่ปฏิบัติตามตราสารจัดตั้ง และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบ
(๕) คณะกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ครู บุคลากรทางการศึกษา หรือนักเรียนของโรงเรียนในระบบกระทำการอันเป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ ความสงบเรียบร้อย วัฒนธรรมของชาติ หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๘๙ ห้ามโรงเรียนในระบบหยุดสอนติดต่อกันเกินเจ็ดวันอันมิใช่เป็นการหยุดตามปกติของโรงเรียน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในกรณีเช่นนั้นให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบพร้อมด้วยเหตุผลของการหยุดสอน
มาตรา ๙๓ เมื่อความปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมีผู้ร้องเรียนว่าโรงเรียนในระบบก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ประชาชน มีพฤติการณ์อันเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงโดยเร็ว แล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อผู้อนุญาตเพื่อพิจารณาสั่งการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
มาตรา ๙๒ ในกรณีที่อาคาร สถานที่ หรือบริเวณของโรงเรียนในระบบถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายหรือมีเหตุจำเป็นอื่นที่ทำให้ไม่สามารถใช้ดำเนินกิจการเป็นโรงเรียนได้ ให้ผู้อำนวยการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
มาตรา ๙๐ ในกรณีที่มีภยันตรายหรือเหตุการณ์อันกระทบต่อสวัสดิภาพของนักเรียนหรือการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน ผู้อนุญาตจะสั่งให้โรงเรียนในระบบที่เกี่ยวข้องหยุดสอนตามเวลาที่กำหนดก็ได้
มาตรา ๙๔ การโฆษณาของโรงเรียนในระบบต้องไม่เป็นเท็จ เกินความจริงหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในกรณีที่ผู้อนุญาตเห็นว่าการโฆษณาของโรงเรียนในระบบฝ่าฝืนวรรคหนึ่งผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้โรงเรียนในระบบปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(๑) หยุดการโฆษณา
(๒) แก้ไขการโฆษณาให้ถูกต้อง
(๓) โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นแล้วตาวิธีการที่ผู้อนุญาตกำหนด
มาตรา ๑๐๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๒๘
มาตรา ๙๗ เมื่อได้มีคำสั่งควบคุมโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๙๖ แล้ว ให้ผู้อนุญาตแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการศึกษาและด้านอื่นที่เกี่ยวข้องอีกไม่เกินหกคน เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารและดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่โรงเรียนในระบบอยู่ในความควบคุมเมื่อแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบแล้ว ให้ผู้อนุญาตรายงานให้คณะกรรมการทราบ
มาตรา ๘๗ ห้ามผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาใช้หรือยอมให้ผู้อื่นใช้อาคาร สถานที่ และบริเวณของโรงเรียนในระบบเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเป็นการอันไม่ควรแก่กิจการของโรงเรียนในระบบ
มาตรา ๘๘ ห้ามโรงเรียนในระบบทำหรือยินยอมให้บุคคลอื่นทำการใดอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศหรือวัฒนธรรมของชาติหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๑๐๑ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการระหว่างการควบคุมโรงเรียนในระบบรวมทั้งเงินค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบ ให้จ่ายจากเงินของโรงเรียนในระบบตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๙๘ เมื่อได้มีคำสั่งควบคุมโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๙๖ แล้ว ผู้รับใบอนุญาตผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานอื่นของโรงเรียนในระบบต้องปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนนั้นตามที่คณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบมอบหมายและต้องจัดการตามสมควรเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และดูแลรักษาทรัพย์สินของโรงเรียนในระบบ
มาตรา ๑๐๒ เมื่อคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบเห็นว่าโรงเรียนในระบบที่ถูกควบคุมไม่สมควรดำเนินกิจการต่อไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้รายงานผู้อนุญาตเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
มาตรา ๙๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าอาคาร สถานที่ หรือบริเวณของโรงเรียนในระบบมีสภาพขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัย ไม่มั่นคง หรือมีเหตุอื่นอันอาจเป็นภยันตรายแก่นักเรียนผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาอันสมควร
มาตรา ๙๙ ผู้อนุญาตอาจสั่งให้ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการไปปฏิบัติงานในโรงเรียนในระบบระหว่างเวลาที่อยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบได้ตามความจำเป็นโดยให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติ
มาตรา ๑๐๐ เมื่อคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบเห็นว่าเหตุแห่งการสั่งให้ควบคุมโรงเรียนในระบบได้ล่วงพ้นหรือได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงแล้ว ให้คณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบเสนอความเห็นต่อผู้อนุญาต
มาตรา ๙๕ โรงเรียนในระบบใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต หรือจัดการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ ๔ กองทุน
มาตรา ๔๙ ให้มีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้กู้ยืมเงินแก่โรงเรียนในระบบ
กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๓) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
(๔) เงินที่ได้รับจากการจัดสรรตามมาตรา ๔๕ (๑)
(๕) เงินค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และเงินค่าปรับเนื่องจากผิดนัดชำระหนี้กู้ยืม
(๖) เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาคให้กองทุน
(๗) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน
(๘) เงินและทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของกองทุน
(๑) เงินที่โอนมาจากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา
อิสลามภาคใต้ ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๓๒
(๒) เงินที่โอนมาจากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชนในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๓ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการบริหารกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๑ เงินกองทุนที่ได้รับตามมาตรา ๔๙ วรรคสอง (๔) ถ้าโรงเรียนในระบบที่ส่งเงินนั้นเลิกกิจการ เมื่อได้หักหนี้สินที่โรงเรียนในระบบดังกล่าวค้างชำระกองทุนแล้วให้คืนให้แก่โรงเรียนในระบบนั้น
มาตรา ๕๐ เงินของกองทุนที่รับโอนมาตามมาตรา ๔๙ วรรคสอง (๑) ให้แยกบัญชีไว้เป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๒ ในกรณีมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาโรงเรียนในระบบมีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งและเปิดดำเนินการ
มาตรา ๒๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบต้องมีหลักฐานแสดงได้ว่าเมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว โรงเรียนจะได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือสิทธิเหนือพื้นดินหรือสิทธิเก็บกินที่มีก าหนดเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีหรือสิทธิการเช่าที่มีสัญญาเช่าไม่น้อยกว่าสิบปี
มาตรา ๓๔ ในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นที่โรงเรียนในระบบกำหนดตามมาตรา ๓๒ เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร จะสั่งให้โรงเรียนในระบบลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา ๓๖ คณะกรรมการบริหารต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละภาคการศึกษาปกติ
การประชุมของคณะกรรมการบริหาร ให้นำความในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตได้ดำเนินการตามมาตรา ๒๕ แล้ว และพร้อมที่จะเปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบ ให้แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันเปิดดำเนินกิจการ
มาตรา ๒๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เว้นแต่นิติบุคคลที่ขอจัดตั้งนั้นเป็นองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
(๒) นิติบุคคลที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วน ต้องมีจำนวนหุ้นหรือทุนเป็นของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นหรือทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(๓) นิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารทั้งหมด
(๔) นิติบุคคลที่เป็นสมาคมหรือสหกรณ์ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และสมาชิกของสมาคมหรือสหกรณ์ต้องมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
(๕) ผู้จัดการของนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
มาตรา ๑๘ การจัดตั้งโรงเรียนในระบบต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๒๕ เมื่อโรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๒๔ แล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๓ โอนเงินและทรัพย์สินอื่นซึ่งเป็นทุนนอกจากที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด
๔ ดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๓๐ ให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด
๑ โอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือสิทธิการเช่าที่ปลอดจากภาระผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาตให้แก่โรงเรียนในระบบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับใบอนุญาต
๒ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๘ วรรคสองและที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเฉพาะในส่วนที่ต้องดำเนินการก่อนเปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด
มาตรา ๓๑ ให้คณะกรรมการบริหารของโรงเรียนในระบบมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๗) ให้ความเห็นชอบการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบ
(๘) ให้ความเห็นชอบรายงานประจำปี งบการเงินประจำปี และการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
(๙) พิจารณาคำร้องทุกข์ของครู ผู้ปกครองและนักเรียน
๑๐) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
(๑) ออกระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของโรงเรียนในระบบ
(๒) ให้ความเห็นชอบนโยบาย และแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในระบบ
(๓) ให้คำแนะนำการบริหารและการจัดการโรงเรียนในระบบด้านบุคลากร แผนงานงบประมาณ วิชาการ กิจกรรมนักเรียน อาคารสถานที่ และความสัมพันธ์กับชุมชน
(๔) กำกับดูแลให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนในระบบ
(๕) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ
(๖) ให้ความเห็นชอบการกู้ยืมเงินครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันเกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าของทรัพย์สินที่โรงเรียนในระบบมีอยู่ขณะนั้น
มาตรา ๒๘ ชื่อของโรงเรียนในระบบต้องใช้อักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควรติดไว้ที่บริเวณโรงเรียนในระบบ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคำว่า “โรงเรียน” ประกอบชื่อด้วย ในกรณีที่มีอักษรต่างประเทศก ากับ ต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรไทย และสำหรับโรงเรียนในระบบที่จัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอาจใช้คำว่า
“วิทยาลัยอาชีวศึกษา” หรือ “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ประกอบชื่อแทนคำว่า “โรงเรียน” ก็ได้
มาตรา ๓๗ ให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้งผู้อำนวยการคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียนในระบบ และแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบพร้อมกับส่งหลักฐานการแต่งตั้งผู้อำนวยการภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแต่งตั้ง
มาตรา ๔๒ ให้โรงเรียนในระบบจัดให้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนในระบบให้เพียงพอแก่การจัดการศึกษาและมีจำนวนที่เหมาะสมกับนักเรียน ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๐ ให้โรงเรียนในระบบมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาตผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลเดียวกับผู้จัดการหรือผู้อำนวยการหรือบุคคลเดียวกันทั้งสามต าแหน่ง ให้ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหรือสองคน ทั้งนี้ จำนวนและคุณสมบัติของกรรมการต้องสอดคล้องกับขนาดและประเภทของโรงเรียนในระบบ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๐ รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๑๘ วรรคสองอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) โครงการและแผนการดำเนินงาน
(๒) หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา
๓) อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
(๔) คุณสมบัติ อัตราเงินเดือน ค่าสอน ค่าชดเชย ค่าตอบแทน หลักเกณฑ์การจ้างและเลิกจ้างและสวัสดิการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๓๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๗ วรรคสาม ผู้รับใบอนุญาตจะแต่งตั้งรองผู้อำนวยการคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการมอบหมายก็ได้
มาตรา ๒๔ เมื่อได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว ให้โรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และให้ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคล
มาตรา ๒๗ การโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินตามมาตรา ๒๕ (๑) รวมทั้งทรัพย์สินใด ๆ ที่จะต้องใช้ในกิจการของโรงเรียนให้แก่โรงเรียนในระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา ให้ผู้โอนและผู้รับโอนได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และได้รับยกเว้นภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้
มาตรา ๑๗ ประเภทและระดับของโรงเรียนในระบบ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามมาตรา ๓๒ ของโรงเรียนในระบบมีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร และโรงเรียนในระบบดังกล่าวไม่สามารถแสดงได้ว่ามิได้เป็นการแสวงหากำไรเกินควร คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรได้
มาตรา ๓๕ โรงเรียนในระบบใดไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาหรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาต่ำกว่าอัตราที่พึงเรียกเก็บตามที่คำนวณได้ตามมาตรา ๓๒ เพราะเหตุเป็นโรงเรียนการกุศลหรือเพื่อให้ผู้ยากไร้ได้รับการศึกษา ให้กระทรวงศึกษาธิการอุดหนุนทางการเงินและให้ความช่วยเหลือด้านอื่นเพื่อให้โรงเรียนในระบบดังกล่าวสามารถดำเนินการต่อไปได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๙ ผู้อำนวยการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
(๔) จัดท าทะเบียนครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ นักเรียน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับ
การให้การศึกษาตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๕) จัดทำหลักฐานเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นอันเกี่ยวกับวิชาการตามระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ รวมทั้ง
ตราสารจัดตั้ง นโยบาย ระเบียบและข้อบังคับของโรงเรียน และหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
๑) ดูแลรับผิดชอบงานด้านวิชาการของโรงเรียนในระบบ
(๒) แต่งตั้งและถอดถอน ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนในระบบตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
(๓) ควบคุมปกครองครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนของโรงเรียนในระบบ
มาตรา ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี
(๘) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน เว้นแต่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว
มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
(๙) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
๑๐) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้พ้นโทษมาแล้วไม่ถึงห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๖) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) ไม่เคยถูกออกจากราชการโดยมีความผิด เว้นแต่ได้ถูกออกจากราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
(๔) มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
มาตรา ๔๓ เอกสารที่โรงเรียนในระบบต้องจัดทำตามพระราชบัญญัตินี้ให้จัดทำเป็นภาษาไทย
มาตรา ๔๐ ให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้งผู้จัดการคนหนึ่ง มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลรับผิดชอบงานด้านงบประมาณของโรงเรียนในระบบ
(๒) ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนในระบบ
(๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นอันเกี่ยวกับการบริหารงานตามตราสารจัดตั้ง นโยบาย ระเบียบ และข้อบังคับของโรงเรียนในระบบ และหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ ตราสารจัดตั้งตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุประสงค์
(๒) ชื่อ ประเภท ระดับ ของโรงเรียนในระบบ
(๓) รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน ที่ตั้ง และแผนผังแสดงบริเวณและอาคารของโรงเรียนในระบบ
(๔) เงินทุนและทรัพย์สินที่ใช้ในการจัดตั้ง
(๕) รายการอื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้และที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๒ การกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดการการศึกษา ค่าตอบแทนครูที่มีความรู้และความสามารถที่ดี และค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขยายกิจการและผลตอบแทน
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดาและไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่าในกรณีใดให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน หากมิได้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนไว้ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
มาตรา ๒๙ โรงเรียนในระบบอาจจัดตั้งสาขาได้ การจัดตั้ง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ส่วนที่ ๓ การอุดหนุนและส่งเสริม
มาตรา ๔๘ รัฐพึงให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบนอกเหนือจากเงินอุดหนุนตามมาตรา ๓๕ ได้ตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ โดยเฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) จัดบุคลากรทางการศึกษาพร้อมทั้งค่าตอบแทนบุคลากรดังกล่าวให้ในกรณีขาดแคลนหรือในกรณีมุ่งเน้นวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง
(๒) จัดครูพร้อมทั้งค่าตอบแทนครูให้ รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา สำหรับนักเรียนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ
(๓) ลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าประเภทครุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
(๔) ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินที่ได้รับจากการจัดสรรตามมาตรา ๔๕ (๓)ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร
(๕) ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกันทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนที่ ๒ ทรัพย์สินและบัญชี
มาตรา ๔๖ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดวางระบบและจัดทำบัญชีของโรงเรียนในระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
มาตรา ๔๕ ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบในแต่ละปี ให้คณะกรรมการบริหารจัดสรร ดังต่อไปนี้
(๑) ให้โรงเรียนในระบบที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐจัดสรรเงินจากผลกำไรเข้ากองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบตามที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสาม (๒) จัดสรรเข้ากองทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ
(๓) จัดสรรให้แก่ผู้รับใบอนุญาตไม่เกินร้อยละสี่สิบ
(๔) ในกรณีที่มีกองทุนอื่น ให้จัดสรรกำไรส่วนที่เหลือเข้ากองทุนอื่นนั้น ในกรณีที่ไม่มีกองทุนอื่นให้จัดสรรกำไรส่วนที่เหลือเข้ากองทุนสำรอง
มาตรา ๔๔ ให้โรงเรียนในระบบจัดให้มีกองทุนสำรอง และจะจัดให้มีกองทุนอื่นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนดด้วยก็ได้
มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบเพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของโรงเรียนในระบบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ส่วนที่ ๑๑ การอุทธรณ์
มาตรา ๑๑๙ การยื่นอุทธรณ์ การรับอุทธรณ์ วิธีพิจารณาอุทธรณ์ และกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑๗ ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร เป็นเลขานุการคนหนึ่งและผู้ช่วยเลขานุการคนหนึ่ง
มาตรา ๑๑๘ ผู้ซึ่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือได้รับผลกระทบจากคำสั่งของผู้อนุญาตผู้ใดไม่พอใจในคำสั่งดังกล่าว ให้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งจากผู้อนุญาตหรือวันที่ทราบคำสั่ง แล้วแต่กรณีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
ส่วนที่ ๘ จรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่
มาตรา ๑๐๕ ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีจรรยา มรรยาท วินัย และหน้าที่ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ส่วนที่ ๖ การคุ้มครองการทำงาน
มาตรา ๘๖ กิจการของโรงเรียนในระบบไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
หมวด ๓
โรงเรียนนอกระบบ
มาตรา ๑๒๑ การขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องแนบรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนนอกระบบมาพร้อมกับคำขอและอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อ ประเภท และลักษณะของโรงเรียนนอกระบบ
(๒) ที่ตั้ง และแผนผังแสดงบริเวณและอาคารของโรงเรียนนอกระบบ
(๓) หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา
(๔) หลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการเพิ่มค่าธรรมเนียมดังกล่าว
(๕) รายการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๒๕ การเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นในโรงเรียนนอกระบบต้องไม่มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร เมื่อคำนึงถึงคุณภาพ มาตรฐานการศึกษา และสิทธิประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ
มาตรา ๑๒๐ การจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
ประเภทและลักษณะของโรงเรียนนอกระบบ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒๖ ในกรณีที่โรงเรียนนอกระบบประสงค์จะเลิกกิจการ ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่ประสงค์จะเลิกกิจการและให้ใบอนุญาตนั้นสิ้นผลเมื่อถึงกำหนดเลิกกิจการ
เมื่อผู้อนุญาตตรวจพบว่าโรงเรียนนอกระบบแห่งใดหยุดดำเนินกิจการเกินเก้าสิบวันโดยไม่แจ้งเลิกกิจการตามวรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนนอกระบบดังกล่าวได้
มาตรา ๑๒๗ ให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับแก่โรงเรียนนอกระบบโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๔ คณะกรรมการจะกำหนดให้โรงเรียนนอกระบบบางประเภทหรือบางขนาดที่ผู้บริหารต้องจัดทำรายงานแสดงกิจการและงบการเงินของโรงเรียนนอกระบบเสนอต่อผู้อนุญาตทุกปีตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดก็ได้
มาตรา ๑๒๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีผู้บริหารคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานของโรงเรียนนอกระบบให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและรายละเอียดตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง โดยผู้รับใบอนุญาตซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคสองจะเป็นผู้บริหารเองก็ได้ และให้ส่งหลักฐานการแต่งตั้งหรือการเข้าเป็นผู้บริหารแล้วแต่กรณี ให้ผู้อนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันแต่งตั้งหรือวันเข้าบริหาร
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหาร ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๒๓ ให้โรงเรียนนอกระบบจัดให้มีครูหรือผู้สอนซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกับหลักสูตรและมีจำนวนที่เหมาะสมกับนักเรียน ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือกรรมการควบคุมโรงเรียนซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๑๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๕๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้ผู้อนุญาตมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้อนุญาตได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
มาตรา ๑๓๘ โรงเรียนในระบบใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง หรือไม่จัดทำเอกสารเป็นภาษาไทยตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๔๓ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๖ ผู้อำนวยการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๖ ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๘วรรคสอง มาตรา ๑๑๖ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกวันละห้าพันบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา ๑๔๓ โรงเรียนในระบบใดฝ่าฝืนมาตรา ๘๙ หรือผู้อำนวยการผู้ใดไม่แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบตามมาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๓ โรงเรียนในระบบใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๐ โรงเรียนในระบบใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๑ ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๐ ผู้ใดจัดตั้งโรงเรียนในระบบโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ วรรคสาม มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๘ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการหรือผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
มาตรา ๑๔๕ ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นของโรงเรียนในระบบผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๒ โรงเรียนในระบบใดฝ่าฝืนมาตรา ๘๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๓๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่แต่งตั้งผู้อำนวยการหรือไม่แจ้งตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๕๑ ผู้บริหารผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๒ โรงเรียนในระบบใดจัดการเรียนการสอนผิดไปจากรายละเอียดที่ระบุไว้ตามมาตรา ๒๐ (๒) หรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมผิดไปจากอัตราที่ระบุไว้ตามมาตรา ๒๐ (๓) หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๙ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่แต่งตั้งผู้บริหารตามมาตรา ๑๒๒ วรรคหนึ่ง หรือแต่งตั้งผู้ไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒๒ วรรคสอง หรือยินยอมให้ผู้ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหาร แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๕๐ โรงเรียนนอกระบบใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๙ ผู้จัดการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๘ โรงเรียนนอกระบบใดจัดการเรียนการสอนผิดไปจากรายละเอียดที่ระบุไว้ตามมาตรา ๑๒๑ (๓) หรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมผิดไปจากหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ตามมาตรา ๑๒๑ (๔)หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๕ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนในระบบผู้ใดแต่งตั้งผู้ไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๗วรรคสอง เป็นผู้อำนวยการ หรือแต่งตั้งผู้ไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๘ วรรคสอง เป็นรองผู้อำนวยการหรือยินยอมให้ผู้ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๗ ผู้ใดปลอมเอกสารหลักฐานตามมาตรา ๓๙ (๔) หรือ (๕) ขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารหลักฐานดังกล่าว หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารหลักฐานนั้น หรือทำหรือให้คำรับรองเอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นเท็จ ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารหลักฐานที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๕๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ ภาระผูกพันทั้งปวง เงินและรายได้ของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๓๒ และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชนในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๕ไปเป็นของกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๖๒ ให้ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการ ครูใหญ่ และครูตามพระราชบัญญัติ
โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู ผู้สอน หรือบุคลากรทางการศึกษา แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการ และครู ดำเนินการเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๕๗ ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการการศึกษาเอกชนและคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๕๙ ให้โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนนอกระบบแล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการจัดทำตราสารจัดตั้งของโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๓๐ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๖๖ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๕๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ ภาระผูกพันทั้งปวง เงินและรายได้ของกองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ไปเป็นของกองทุนสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๖๑ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ตามมาตรา ๖๑ ให้คณะกรรมการการศึกษาเอกชนตามมาตรา ๑๕๗ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกองทุสงเคราะห์จนกว่าจะมีคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๖๕ บรรดาคำร้องใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ จนกว่าจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๖๔ ผู้ซึ่งขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๖๐ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๓๐ ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการอำนวยการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการบริหารไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๖๓ ให้ครูใหญ่และครูซึ่งมีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภท ๒ เมื่อออกจากงานตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ยังคงมีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภท ๒ และได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดิมต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๕๘ ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการควบคุมโรงเรียนตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้อนุญาตจะมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตหรือให้เลิกการควบคุม
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“นักเรียน” หมายความว่า ผู้รับการศึกษาในโรงเรียน
“ผู้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน“ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการของโรงเรียนในระบบ
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการของโรงเรียนในระบบ“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารของโรงเรียนนอกระบบ
“ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในโรงเรียน
“ผู้สอน” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในโรงเรียนนอกระบบ
“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ
หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในโรงเรียน
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนหรือผู้อำนวยการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
“ตราสารจัดตั้ง” หมายความว่า ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลของโรงเรียนในระบบ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
“โรงเรียนในระบบ” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
“โรงเรียนนอกระบบ” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา
“โรงเรียน” หมายความว่า สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนนอกระบบ ที่มิใช่เป็นสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หมวด ๑
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
มาตรา ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนเป็นส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตใดเขตหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่อยู่ในจังหวัดนั้น
มาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการตามมาตรา ๘ (๓)(๔) และ (๕) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย
(๔) ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการในประเภทนั้น
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย
(๓) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมเกี่ยวกับโรงเรียนเอกชนสองคน
(๔) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือกจากผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ฝ่ายละหนึ่งคน
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง
และอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(๕) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสี่คน ในจำนวนนั้นจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้านการศึกษาพิเศษสำหรับคนพิการหนึ่งคน
มาตรา ๑๖ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใดมีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนตามมาตรา ๑๕ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษานั้นมีกรรมการเพิ่มขึ้นอีกสองคน โดยเป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาตหนึ่งคนและผู้แทนครูหนึ่งคนหนึ่งคนและผู้แทนครูหนึ่งคน
มาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๘) ออกระเบียบเกี่ยวกับการยื่นอุทธรณ์ การรับอุทธรณ์ วิธีพิจารณาอุทธรณ์และกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์
(๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐) ปฏิบัติงานอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
(๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานของโรงเรียน
(๖) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการวินิจฉัยการร้องทุกข์และการคุ้มครองการทำงาน
(๑) เสนอนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน การพัฒนาและสนับสนุนโรงเรียน ครู ผู้สอน
และบุคลากรทางการศึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(๒) กำกับดูแลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) กำหนดมาตรฐานและแผนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน
(๔) กำหนดมาตรการช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน ครู ผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตาม (๑)
มาตรา ๑๒ ให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๙ ให้กรรมการตามมาตรา ๘ (๓) (๔) และ (๕) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๑๔ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๘ (๓) (๔) หรือ (๕) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่โดยเร็ว เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งแทนก็ได้ และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่อยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๓) สถานศึกษาอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวงตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
(๑) สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกินเจ็ดคน
(๒) สถานศึกษาที่คณะสงฆ์จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๗ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในโรงเรียนในระหว่างเวลาทำการ และมีหนังสือเรียกผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งเอกสาร หรือวัตถุที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
การเข้าไปในโรงเรียนตามวรรคหนึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องและให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕
มาตรา ๖ ในกรณีมีเหตุจำเป็นรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการจะประกาศให้โรงเรียนใดได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องใดก็ได้
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐”
นางสาวนูรอารีนา อาวัม 6220160357 เลขที่ 12