Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วันเวลากับการในการศึกษาประวัติศาสตร์ - Coggle Diagram
วันเวลากับการในการศึกษาประวัติศาสตร์
เวลาในเอกสารไทย
จันทรคติ
จันทรคติในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยใช้เวลาตามที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เริ่มต้นนับเดือนจันทรคติตั้งแต่ขึ้นค่ำหนึ่ง สองค่ำ สามค่ำ ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำ เรียกว่า วันเพ็ญ ต่อด้วยแรมค่ำหนึ่ง สองค่ำ สามค่ำ ไปจนถึงแรม 15 ค่ำ ซึ่งเรียกว่าวันเดือนดับ รวมเป็นเดือนหนึ่ง เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบโลกหนึ่งรอบเป็นเวลา 29 วันครึ่ง หรือสองรอบจะได้ประมาณ 59 วัน จึงกำหนดเดือนทางจันทรคติให้มี 29 วันในเดือนคี่ (เรียกเดือนขาด) และ 30 วัน ในเดือนคู่ (เรียกเดือนถ้วน) สองเดือน รวมเป็น 59 วันพอดี ตรงกับข้างขึ้น และข้างแรมตามจันทรคติ
สุริยคติ
สุริยคติซึ่งเป็นปีที่ตรงตามฤดูกาล ปีปกติมี 365 วัน หรือ12 เดือน ในหนึ่งเดือนมี 28 - 30- 31 วัน ในทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เพิ่มขึ้น 1 วัน (ทุกปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว) ปีนั้นมี 366 วัน เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน เช่น เมื่อ ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ. 2543
การนับศักราชไทย
มหาศักราช(ม.ศ.)
มหาศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยผ่านทางพวกพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาพร้อมกับตำราโหราศาสตร์ ในประเทศไทยใช้มหาศักราชก่อนศักราชอื่นๆ ตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางพบหลักฐานที่ใช้มากในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
พุทธศักราช(พ.ศ.)
พุทธศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและแพร่หลายในประเทศที่ตนนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก การนับพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแต่มีวิธีการนับแตกต่างกันในไทยยึดหลักการนับ พ.ศ.๑ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี ไทยใช้พุทธศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาบางรัชกาลใช้พุทธศักราชร่วมกับศักราชอื่นและใช้แพร่หลายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓.จุลศักราช(จ.ศ.)
จุลศักราช(จ.ศ.)
จุลศักราชเกิดขึ้นในประเทศพม่าภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย และเริ่มใช้จุลศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและต่อมาใช้อย่างแพร่หลายในสมัยอยุธยาตอนปลายและต่อเนื่องมาจนถึง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบหลักฐานที่ใช้จุลศักราช เช่น พงศาวดารกรุงศรี อยุธยา กฎหมายตราสามดวง เป็นต้น ปัจจุบันยังใช้จุลศักราชในเอกสารบางประเภท เช่น ตำราโหราศาสตร์
รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.)
รัตนโกสินทร์ศกเป็นการนับศักราชที่ใช้เฉพาะประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ โดยเริ่มนับร.ศ.๑เมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๕ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มใช้การนับแบบร.ศ. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนไปใช้การนับพุทธศักราชจนถึงปัจจุบัน หลักฐานที่ใช้รัตนโกสินทร์ศก เช่น พระราชหัตเลขารัชกาลที่ ๕ และจดหมายพระราชกรณียกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การนับศักราชสากล
คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
เริ่มนับศักราชที่ ๑ โดยนับเมื่อพระเยชูศาสนาของศาสนาคริสต์ประสูติหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปีเป็นศักราชที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอันเนื่องมาจากประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ และฝรั่งเศสใช้คริสต์ศักราชเมื่อเข้าไปจับจองอาณานิคมจึงนำคริสต์ศักราชเข้า ไปดินแดนนั้นด้วยหลักฐานที่ปรากฏ เช่น หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษ แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๒๖ และหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอเมริกา แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๓๓ เป็นต้น
๒.ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)
หลักเกณฑ์การเทียบศักราช
การเทียบมหาศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน ม.ศ. + ๖๒๑ หรือ พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ.
การเทียบจุลศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน จ.ศ. + ๑๑๘๑ หรือ พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ.
การเทียบจุลศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน จ.ศ. + ๑๑๘๑ หรือ พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ.
การเทียบคริสต์ศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน ค.ศ. + ๕๔๓ หรือ พ.ศ. – ๕๔๓ = ค.ศ.
การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน ฮ.ศ. + ๑๑๒๒ หรือ พ.ศ. – ๑๑๒๒ = ฮ.ศ.
ปีนักษัตร
“นักษัตร” ตรงกับคำอธิบายของสมบัติ พลายน้อย ซึ่งนิยามว่าหมายถึง “ชื่อรอบเวลากำหนด 12 ปี เป็ฯ 1 รอบ เรียกว่า 12 นักษัตร” โดยกำหนดให้สัตว์ 12 ชนิดเป็นเครื่องหมายแต่ละปี
ชวด
ฉลู
ขาล
เถาะ
มะโรง
มะเส็ง
มะเมีย
มะแม
วอก
ระกา
จอ
กุน
จักรราศี
เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี
ราศีเมษ
ราศีพฤษภ
ราศีเมถุน
ราศีกรกฎ
ราศีสิงห์
ราศีกันย์
ราศีตุล
ราศีพิจิก
ราศีธนู
ราศีมกร
ราศีกุมภ์
ราศีมีน
ประโยชน์
การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับเวลา เพราะประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของมนุษย์ในอดีตและปัจจุบัน กล่าวได้ว่า การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับเวลา ดังนั้น จึงมีการกำหนดระบบการบอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น วัน เดือน ปี ฤดู เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เวลามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เช่น ใช้ในการนัดหมาย การดำเนินชีวิต การเริ่มเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว ถ้าการนับเวลาผิดพลาด อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น การนัดผิดเวลา อาจส่งผลให้การค้าเสียหาย การเริ่มเพาะปลูก การทำนาช้าไป เร็วไป ก็ทำให้พืชผลเสียหาย หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้น การนับเวลาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญมาก