Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการรัฐไทยก่อนสมัยปฏิรูปประเทศ - Coggle Diagram
พัฒนาการรัฐไทยก่อนสมัยปฏิรูปประเทศ
อาณาจักรอยุธยา
ปัญหาภายในราชอาณาจักร ขุนนางมีการแบ่งพรรคพวกและแย่งชิงอำนาจกันตลอดเกือบทุกรัชกาล ปัญหาใหญ่ คือ การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรกับผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมานั่นเอง การดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นเวลานานตั้งแต่ต้นรัชกาลนั้น ทำให้สามารถสะสมอำนาจได้อย่างดี จึงมีผู้คนเป็นจำนวนมากให้การสนับสนุนวังหน้าแย่งชิงอำนาจกับวังหลวง ถือเป็นความอ่อนแอของราชวงศ์
ปัญหาจากภายนอก พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่อยุธยาต้องทำสงครามกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งราชวงศ์ตองอู ที่มีกำลังทางทหารเข้มแข็งได้ขยายอำนาจ จนสามารถผนวกอาณาจักรล้านนาและมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า และการย้ายเมืองหลวงมายังหงสาวดี ทำให้อาณาเขตของพม่าอยู่ติดกับอาณาจักรอยุธยาและทำให้อยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112
อาณาจักรสุโขทัย
ข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ
อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง และไม่สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยตรงได้ ต้องอาศัยผ่านเมืองมอญ และไปทางใต้ทางเมืองเพชรบุรี และนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัย ยังถูกอาณาจักรอยุธยาปิดกั้น โดยสิ้นเชิงด้วยการให้เมืองเหล่านั้นประกาศเอกราชหรือถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ทำให้เศรษฐกิจสุโขทัยทรุดโทรม ขาดรายได้ทั้งการค้ากับต่างประเทศ และการค้าระหว่างเมืองต่างๆ เมื่อเศรษฐกิจทรุดโทรมย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมทางการปกครองด้วย
ความแตกแยกทางการเมือง
อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการขาดความสามัคคีภายในอาณาจักรมีการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างเจ้านายภายในราชวงศ์สุโขทัยด้วยกันเอง เช่นก่อนที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ขึ้นครองราชสมบัติความห่างเหินระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองมีมากขึ้น เนื่องจากการมีประชากรมากขึ้น ความใกล้ชิดของกษัตริย์ต่อราษฎรได้ลดลงไป ประกอบกับแนวความคิดการปกครองจากพ่อปกครองลูกได้แปรเปลี่ยนเป็นธรรมราชา เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองนอกจากนั้นวัฒนธรรมอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้เกิดความห่างเหินมีมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นแยกกันอยู่คนละส่วน อำนาจในการตัดสินเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เพียงผู้เดียว
การปกครองแบบกระจายอำนาจ
อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มาจากจุดอ่อนรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างค่อนข้างเป็นการกระจายอำนาจที่หละหลวม เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจในการบริหารและการควบคุมกำลังคนภายในเมืองของตนเกือบจะเต็มที่ ราชธานีไม่สามารถควบคุมหัวเมืองได้อย่างรัดกุม จึงเปิดโอกาสให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัวเป็นอิสระได้โดยง่าย
ปัญหาทางการเมืองภายนอก
บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มีการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาและทางตอนเหนือได้มีอาณาจักรล้านนาที่นับว่ามีแต่ความเก่าแก่ บีบอยู่ถึง 2 ด้านโดยเฉพาะอาณาจักรอยุธยาได้เข้ามารุกรานชายแดนสุโขทัยหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1914 เป็นต้นมา จนถึงสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ต้องออกมาอ่อนน้อมยินยอมเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา
กรุงธนบุรี
การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรธนบุรีเกิดจากเหตุการณ์จลาจลในกรุงธนบุรี หรือที่เรียกว่า กบฏพระยาสรรค์ ใน พ.ศ. 2325 โดยมีชาวกรุงเก่ากลุ่มหนึ่งคิดกบฏโดยทำการปล้นจวนผู้รักษากรุงเก่า ผู้รักษากรุงเก่าสู้ไม่ได้จึงหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงมีรับสั่งให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนหาตัวผู้ร้าย
แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฏและคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี จนสามารถปล้นพระราชวังได้ การจลาจลในธนบุรีทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องยกทัพ จากเขมรมาแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และทำการไต่สวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด บรรดาขุนนางข้าราชการต่างลงความเห็นว่าควรนำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปสำเร็จโทษ ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2325 พระชนมายุได้ 48 พรรษา
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
การเมืองการปกครอง
การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี) บริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ มี 4 ตำแหน่ง
กรมเวียง (นครบาล) ปกครองดูแลประชาชนในเขตเมืองที่ตนรับผิดชอบ ปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบในเขตพระนคร
กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) ดูแลความเรียบร้อยและกิจการเกี่ยวกับพระราชสำนัก พิจารณาคดีต่าง ๆ ที่มีฎีกาขึ้นสู่องค์พระมหากษัตริย์
กรมคลัง (โกษาธิบดี) ดูแลรายได้ส่วนพระราชาทรัพย์และรายได้แผ่นดิน เช่น เก็บส่วย ภาษี อากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
กรมนา (เกษตราธิการ) จัดทำนาหลวง ดูแลการทำไร่นาของราษฎร จัดเก็บภาษีเป็นข้าว เรียกว่า เก็บหางข้าวไว้ใช้ในยามศึกสงคราม
เศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่ ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้องผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัวเรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะว่าทรัพยากรมีจำกัด และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้ามามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง ถิ่นต่าง ๆ
ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะบ้านเมือง รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ยหวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้นนับว่ามีจำนวนสูง เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มาเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้ เพิ่มมากขึ้น รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้
ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ เป็นเงิน ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดินประสิว นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช
ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ ของรัฐบาล รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็น
อย่าง ๆ ไป เช่น ค่าธรรมเนียมโรงศาลค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ
เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 2 รูปแบบ คือ ส่งเป็นผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก เช่น อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น
ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ 4 ส่วนภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า
ผลผลิตทางการเกษตร
ข้าว
อ้อย
พริกไทย
ทรัพยากรธรรมชาติ
ไม้
แร่
ธาตุ
สินค้าประเภทเหล็ก