Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรียนประวัติศาสตร์จากอะไร? - Coggle Diagram
เรียนประวัติศาสตร์จากอะไร?
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร
ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสาร
ทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐาน
จากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไลด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร
วิธีการทางประวัติศาสตร์
การกำหนดหัวเรื่องที่ต้องการจะศึกษา
การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ควรเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ทราบจุดประสงค์การศึกษาให้แน่ชัด ซึ่งเราจำเป็นจะต้องตั้งคำถามในสิ่งที่ต้องการศึกษา และใช้การอ่านและสังเกตในการตอบคำถาม นอกจากนี้ ก็ควรต้องมีความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ให้มากเพียงพอ เพื่อที่จะสามารถตอบได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
การรวบรวมหลักฐานที่ต้องการศึกษา มีทั้งที่เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจอแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกได้เป็น ‘หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ’ กับ ‘หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ’ ดังต่อไปนี้
1) หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources) เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆโดยตรง เช่น หลักฐานทางราชการ ประกาศ สุนทรพจน์ บันทึกความทรงจำของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้เห็นเหตุการณ์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรือภาพถ่าย เป็นต้น
2) หลักฐานชั้นรอง (Secondary Sources) เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นจากหลักฐานชั้นต้น บุคคลที่สร้างขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่ได้รับรู้โดยผ่านบุคคลหรือผลงานอื่น
การประเมินคุณค่าของหลักฐานที่ได้มา
1) การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากลักษณะภายนอก และเนื่องจากบางครั้งหลักฐานอาจมีการปลอมแปลงให้ผิดไปจากความเป็นจริง หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือการค้า ดังนั้น การประเมินข้อเท็จจริงของเอกสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการประเมินวิธีภายนอก จะพิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏภายนอกเป็นหลัก เช่น การพิจารณาเนื้อกระดาษ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามีที่มาจากชาติไหน เป็นต้น
2) การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานโดยอาศัยข้อมูลภายในหลักฐานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชื่อบุคคล’ ‘สถานที่’ หรือ ‘เหตุการณ์’ ยกตัวอย่างเช่น หากในหลักฐานเชื่อกันว่าเป็นหลักฐานสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาภายในมีการกล่าวถึงสหรัฐอเมริกา ก็ควรตั้งข้อสงสัยว่าหลักฐานนั้นอาจไม่ใช่หลักฐานสมัยสุโขทัยจริง เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เข้ามาในสมัยสุโขทัย
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล
หลังจากแน่ใจแล้วว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ และให้ข้อมูลที่เป็นจริงตามประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาก็ต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า ข้อมูลทางประวัติศาสตร์นั้นสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด หรือข้อมูลนั้นๆมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น จึงนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาแบ่งหมวดหมู่ตามความเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินงานขั้นต่อไป ขั้นตอนต่อไป คือ การพยายามหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ และตีความข้อมูลนั้นๆว่า มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ยังคงถูกซ่อนและไม่กล่าวถึงอีกบ้าง รวมไปถึงการพิจารณาด้วยว่า ข้อมูลที่ได้มานั้นกล่าวเกินจริงไปหรือไม่ ซึ่งผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ เป็นกลาง รอบรู้ หรือมีจินตนาการ เพื่อที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือจัดหมวดหมู่ได้อย่างเป็นระบ
การเรียบเรียงหรือการนำเสนอข้อมูล
หลังจากดำเนินขั้นตอนมาตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ก็จะมาจบลงที่การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่จะขมวดเอาข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน และนำเสนอให้ตรงกับประเด็นหัวเรื่องที่สงสัย รวมไปถึงการสืบหาความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ให้กลับมาใหม่อีกครั้ง
สำหรับขั้นตอนการนำเสนอ ผู้ศึกษาจะต้องอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีเหตุมีผล และมีข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ รวมถึงการปิดท้ายด้วยข้อเสนอแนะ เพื่อนำทางให้ผู้ที่สนใจคนอื่นๆได้ศึกษาต่อไป
การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
1) แบ่งตามยุคสมัย
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”
หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน
2) แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร
3) แบ่งตามลำดับความสำคัญ
หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุ กฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนสีผนังถ้ำ เครื่องมือเคื่องใช้ เครื่องประดับ เจดีย์
หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร