Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารยาทและหน้าที่ของชาวพุทธ - Coggle Diagram
มารยาทและหน้าที่ของชาวพุทธ
มารยาทของชาวพุทธ
การบวช
การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
ในสมัยพุทธกาล การบวชมี 8 อย่างได้แก่
เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการบวชที่พระโคตมพุทธเจ้าประทานแก่พระสาวกบางองค์ด้วยพระองค์เอง ด้วยการตรัสว่า "เอหิ ภิกขุ แปลว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด" พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นคนแรกและพระสุภัททะเป็นคนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงบวชด้วยวิธีนี้
ติสรณคมนูปสัมปทา เป็นการบวชโดยให้ผู้ขอบวชเปล่งวาจาต่อหน้าพระสาวกว่าขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสามครั้ง ปัจจุบันวิธีนี้ใช้ในการบรรพชาสามเณร
ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา เป็นการบวชโดยให้คณะสงฆ์ประชุมกันในอุโบสถ โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งแจ้งว่ามีผู้ขอบวช เมื่อประกาศครบสี่ครั้งไม่มีพระรูปใดคัดค้าน ถือว่าผู้ขอบวชได้รับการยอมรับให้เป็นพระภิกษุ
ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยที่พระพุทธเจ้าประทานครุธรรม 8 ประการ แก่พระนางมหาปชาบดีและสตรีชาวสากยะ 500 คน เมื่อพวกนางยอมรับครุธรรมก็ได้รับสถานะเป็นภิกษุณี
อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา เป็นการบวชภิกษุณีโดยให้รับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนครั้งหนึ่ง และจึงรับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุสงฆ์อีกครั้ง เมื่อผ่านการอุปสมบททั้งสองครั้งแล้วจึงเป็นภิกษุณี
โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทแก่พระมหากัสสปะ เมื่อท่านรับโอวาทแล้วก็เป็นพระภิกษุ
ปัญหาพยากรณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาของสามเณรโสปาก
ทูเตนอุปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงส่งทูตของพระองค์ไปบวชหญิงโสเภณีชื่ออัฑฒกาสี
มารยาท
มารยาทการไหว้
การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น
การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ตามระดับของบุคคล
ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก
ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว
ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก