Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วันเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์ - Coggle Diagram
วันเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์
การนับเวลาสุรยิ
คติกับจันทรคต
จันทรคติ
เวลาตามจันทรคติในปฏิทิน 1 ปี มี 12 เดือน เท่ากับ 354 วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล(ซึ่งใช้วันเวลาแบบสุริยคติ คือ วันเ วลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบเท่ากับ 365 1/4 วัน) จึงสั้นไป 11 วันเศษ ดังนั้นใน 3 ปี จึงเพิ่มเดือนพิเศษอีก 1 เดือน ที่หลังเดือน 8 เรียกว่า เดือน 8 หลังมี 30 วัน ทำให้ปีจันทรคติที่มี 13 เดือน หรือ 384 วัน เป็นปีอธิกมาส และในรอบ 19 ปีทางจันทรคติ จะเพิ่มวันพิเศษอีก 1 วัน ในเดือนเจ็ดทำให้มี 30 วัน (ปกติเดือนคี่มี 29 วัน) เรียกว่า ปีอธิกวาร ก็จะทำให้เวลาทางจันทรคติตามทันเวลาทางสุริยคติได้
สุรยิคติ
วันเวลาตามแบบสุริยคติซึ่งเป็นปีที่ตรงตามฤดูกาล ปีปกติมี 365 วัน หรือ12 เดือน ในหนึ่งเดือนมี 28 - 30- 31 วัน ในทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เพิ่มขึ้น 1 วัน (ทุกปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว) ปีนั้นมี 366 วัน เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน
ประโยชน์ของการศึกษา
วันเวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง เหตุการณ์ที่เกิดขิ้นหรือดำเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน textมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลาที่ผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
นักประวัติศาสตร์หรือผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งศึกษาเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลกระทบถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตนั้น เมื่อศึกษาแล้วก็จะบอกเล่าเรื่องราวที่ตนศึกษาออกมา การบอกเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาต่าง ๆ ต้องใช้คำที่เกี่ยวกับช่วงเวลา เช่น ศักราช วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที ยุค สมัย เพื่อให้รู้ว่าเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อนเกิดหลัง และเหตุการณ์ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับเวลาอย่างยิ่ง
การคำนวณศักราช
ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ. พ.ศ. – 1122 = ฮ.ศ.
ค.ศ. + 543 = พ.ศ. พ.ศ. – 543 = ค.ศ.
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. – 2324 = ร.ศ.
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. – 1181 = จ.ศ.
ม.ศ. + 621 = พ.ศ. พ.ศ. – 621 = ม.ศ.
จักรราศี
ราศีมังกร
ราศีกุมภ์
ราศีมีน
ราศีเมษ
ราศีพฤษภ
ราศีเมถุน
ราศีกรกฎ
ราศีสิงห์
ราศีกันย์
ราศีตุลย์
ราศีพิจิก
ราศีธันว์
ปีนักษัตร
เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทยและชาติอื่นในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น แบ่งเป็นรอบปี รอบละสิบสองปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกัน
ชวด
ฉลู
ขาล
เถาะ
มะโรง
มะเส็ง
มะเมีย
มะเเม
วอก
ระกา
จอ
กุน