Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วันเวลากับการในการศึกษาประวัติศาสตร์, แหล่งที่มา - Coggle Diagram
วันเวลากับการในการศึกษาประวัติศาสตร์
วันในระบบจันทรคติ
เวลาตามจันทรคติในปฏิทิน 1 ปี มี 12 เดือน เท่ากับ 354 วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล(ซึ่งใช้วันเวลาแบบสุริยคติ คือ วันเ วลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบเท่ากับ 365 1/4 วัน) จึงสั้นไป 11 วันเศษ ดังนั้นใน 3 ปี จึงเพิ่มเดือนพิเศษอีก 1 เดือน ที่หลังเดือน 8 เรียกว่า เดือน 8 หลังมี 30 วัน ทำให้ปีจันทรคติที่มี 13 เดือน หรือ 384 วัน เป็นปีอธิกมาส และในรอบ 19 ปีทางจันทรคติ จะเพิ่มวันพิเศษอีก 1 วัน ในเดือนเจ็ดทำให้มี 30 วัน (ปกติเดือนคี่มี 29 วัน) เรียกว่า ปีอธิกวาร ก็จะทำให้เวลาทางจันทรคติตามทันเวลาทางสุริยคติได้
การคำนวณศักราช
พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543
พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621
พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181
พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324
วันในระบบสุริยคติ
วันเวลาตามแบบสุริยคติซึ่งเป็นปีที่ตรงตามฤดูกาล ปีปกติมี 365 วัน หรือ12 เดือน ในหนึ่งเดือนมี 28 - 30- 31 วัน ในทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เพิ่มขึ้น 1 วัน (ทุกปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว) ปีนั้นมี 366 วัน เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน เช่น เมื่อ ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ. 2543
ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องวันเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับเวลา เพราะประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของมนุษย์ในอดีตและปัจจุบัน กล่าวได้ว่า การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับเวลา ดังนั้น จึงมีการกำหนดระบบการบอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น วัน เดือน ปี ฤดู เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เวลามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เช่น ใช้ในการนัดหมาย การดำเนินชีวิต การเริ่มเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว ถ้าการนับเวลาผิดพลาด อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น การนัดผิดเวลา อาจส่งผลให้การค้าเสียหาย การเริ่มเพาะปลูก การทำนาช้าไป เร็วไป ก็ทำให้พืชผลเสียหาย หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้น การนับเวลาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญมาก
จักรราศี
เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี
ปีนักษัตร
ปีนักษัตร หรือ นักขัต เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทยและชาติอื่นในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น (เพิ่งรู้จักหมูเลี้ยงในศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นญี่ปุ่นรู้จักแต่หมูป่า) แบ่งเป็นรอบปี รอบละสิบสองปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกันไปดังนี้ โดยความเชื่อเรื่องปีนักษัตรนั้นมีที่มาจากจีน ตำนานเรื่องเล่าในสมัยปีใหม่แรกของจีน (วันชิวอิก หรือวันที่ 1 เดือนอ้ายของจีน) สัตว์ทั้งหลายต่างมาชุมนุมหน้าวังหลวงของฮ่องเต้สวรรค์ ฮ่องเต้ประกาศให้สัตว์ 12 ชนิด ที่มาถึงก่อนวัน (วันชิวยี่ หรือวันที่ 2 เดือนอ้าย) ดังนั้นสัตว์ 12 ชนิด ได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์ ใน 1 วัน สัตว์ 1 ชนิดอยู่ยาม 2 ชั่วโมง สัตว์ 12 ชนิดอยู่ยาม 24 ชั่วโมง รวมเป็น 12 ยามเฝ้าวังหลวง โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าตั้งแต่ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ) ก็มีปรากฏรูปปีนักษัตรแล้ว โดยใช้สัตว์ประเภทต่าง ๆ เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ อันได้แก่ ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง(มังกรฟ้าราชวงศ์ โจว-ฉิน มังกรมีขายาว 5 เล็บ ลำตัวคล้ายกวางมีปีก) มะเส็ง(พญางูขาว-งูใหญ่-พญานาค) มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ และ กุน
แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/uunntelarning/
4.
https://th.wikipedia.org/wiki/
5.
https://wanna500.wordpress.com/2013/05/07/
https://sites.google.com/site/sangkhmm2/
3.
https://th.wikipedia.org/wiki/