Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 11 ช่วยทำพินัยกรรม, อ้างอิง : ฝ่ายระบบอินเทอร์เน็ต…
กรณีศึกษาที่ 11
ช่วยทำพินัยกรรม
เหตุใดพินัยกรรมจึงถือว่าเป็นโมฆะ
พินัยกรรมถือเป็นคำสั่งสุดท้ายที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนาว่า ถ้าตายไปทรัพย์สินจะตกแก่ผู้ใด รวมทั้งอาจกำหนดในเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น กำหนดว่าใครเป็นผู้จัดการมรดก หรือจัดการงานศพ เป็นต้น
เนื่องจากพินัยกรรมแบบธรรมดา ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ จึงทำให้พินัยกรรมฉบับนี้ถือเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
ผู้ป่วยสามารถทำพินัยกรรมในรูปแบบอื่นได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง
พินัยกรรมแบบธรรมดา : ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ : ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับจะพิมพ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้เขียนหนังสือไม่ได้ ไม่สามารถจะทำพินัยกรรม แบบนี้ได้ พินัยกรรมแบบนี้จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ ห้ามไว้ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง : ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอให้กรมการอำเภอ อำเภอใดก็ได้ ดำเนินการให้ตามความประสงค์ (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ : ให้ผู้นั้นแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงาน ยื่นต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดนั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
พินัยกรรมทำด้วยวาจา : เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนด ไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะหาได้ก็ถึงตายเสียก่อน ผู้ทำ พินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
สภาการพยาบาลมีบทลงโทษอย่างไร
ตามมาตรา ๓๒ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลการผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามที่ได้กาหนดไว้ในข้อบงัคบัสภาการพยาบาล
สภาการพยาบาลจะตั้งอนุกรรมการสอบสวน
คณะกรรมการสภาวินิจฉัย
ผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติตามคำสั่ง
ยกข้อกล่าวหา
ตักเตือน
ภาคทัณฑ์
พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
พ้น 2 ปี ยื่นขอใบอนุญาตใหม่
คณะกรรมการวินิจฉัย
อนุญาต : ขึ้นทะเบียนใหม่
ปฏิเสธ : พ้น 1 ปียื่นขอใบอนุญาตใหม่
อนุญาต : ขึ้นทะเบียนใหม่
ปฏิเสธ : หมดสิทธิ์
บุคคลใดไม่มีสิทธิในการรับรองว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติครบถ้วน
มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้
ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง
อ้างอิง : ฝ่ายระบบอินเทอร์เน็ต กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศการทะเบียน ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน. (ม.ป.ป.)
พินัยกรรม
. สืบค้น 29 ตุลาคม 2563, จาก
https://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/40-general-testament