Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สื่อดิทัลและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน - Coggle Diagram
สื่อดิทัลและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
บทที่ 4
พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสหวิทยาการที่รวมเอาศาสตร์ต่างๆ มาประกอบกัน
ได้แก่
วิทยาการจัดการ (Management Science)
พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences)
และวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science)
เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษานับตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล มีการกล่าวถึงนักเทคโนโลยีทางการศึกษาพวกแรก คือกลุ่มโซฟิสต์ (The Elder sophist) ที่ใช้วิธีการสอนการเขียน
สำหรับกิจการกระจายเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1921 การเริ่มขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงในยุคแรก ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา
และเริ่มมีการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนทางไกลช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่ต่อมาระบบธุรกิจเข้าครอบงำมากขึ้นจนวิทยุเพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในสภาวะที่ตกต่ำลง
ในทศวรรษที่ 1800 มีการใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำ
ต้นทศวรรษที่ 1900 ใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์(audio visual)
ในปี ค.ศ. 1913 มีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูด ต่อ Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ 1920 - 1930 เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพแบบข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์ เข้ามาเสริมการเรียนการสอนวิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยม
สภาพการเรียนการสอนในระบบ (Fonmal Education)หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจน ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ(Informal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่มหรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย การเรียนการสอนประเภทนี้
สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย (Nonformal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่ม ต่างๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพยายามจัดโอกาสให้กับบุคคลเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
"การสื่อสารทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual communications"
ในทวีปยุโรป วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 โดย British Broadcasting Corporation หรือ BBC ในปี ค.ศ. 1958 ประเทศอิตาลีก็ริเริ่มบ้างโดยมีการสอนตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ผ่าน Telescuola (Television School of the Air)
การเผยแพร่รายการมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์ (Television Universities)
ยุคของมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้เริ่มขึ้นในปี 1987 เมื่อบริษัท APPLE ได้เผยแพร่โปรแกรมมัลติมีเดียครั้งแรกออกมา คือโปรแกรม HyperCard
การศึกษาในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพื่อพัฒนาปฏิรูปการจัดการศึกษาให้เท่าเทียบกับสากลดังนั้นจึงได้มีการนำสารสนเทศเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายการศึกษาคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
เทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์ และวิธีการเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
รวมทั้งแนวคิดการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง Teacher Center Child Center หรือ Media Center รวมทั้งการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ การสอนผ่านเครือข่าย จะเห็นได้ว่าศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษา มีพัฒนาการมาเป็นลำดับขั้น และประยุกต์ใช้เพื่อทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการศึกษาจึงถือเป็นเครื่องมือการศึกษา ที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษาด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวมลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหา จะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
บทที่ 5
แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ “เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม” อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก
วัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้
เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ
เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ และศึกษาด้วยตนเอง เป็นต้น
ประเภทของแหล่งการเรียนรู้
ในโรงเรียน ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้น
นอกโรงเรียน ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งเรียนรู้ที่จัดทำ หรือสร้างขึ้น
แหล่งเรียนรู้ที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น ทะเล
แหล่งเรียนรู้ที่จัดทำ หรือสร้างขึ้น เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ข้อดีในการนำแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริงทำให้เกิดประสบการณ์ตรง
ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน
บทบาทของครูผู้สอนในการใช้แหล่งเรียนรู้
ผู้จัดการ
ผู้ร่วมทำกิจกรรม
ผู้ช่วยเหลือหรือแหล่งวิทยากร
ผู้สนับสนุนและเสริมแรง
ผู้ติดตามตรวจสอบ
เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่าง ๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
ความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถาบันการศึกษา
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก
เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
บทที่ 6
การประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน
พฤติกรรมและความต้องการการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ จากการสำรวจพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่างคนรุ่นใหม่ (Gen Y, Gen Z) พบว่า ความรู้ที่คนกลุ่มนี้ต้องการเพิ่มเติม ได้แก่ ทักษะความรู้ในการทำงาน และทักษะชีวิตและความรู้ในชีวิตประจำวัน
สถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ เช่น รูปแบบการเรียนรู้ และระบบการศึกษา ความต้องการของตลอดแรงงาน อาชีพใหม่เกิดขึ้น และอาชีพเก่าบางอาชีพจะลดความสำคัญ
แนวโน้มอนาคต - ปัญญาประดิษฐ์ (Al) จะทำให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบของช่องทางการเรียนรู้ เช่น ระบบคิดอ่านแทนมนุษย์ได้บางเรื่อง, โปรแกรมพูดคุยอัตโนมัติ (chatbot) - การบูรณาการระหว่าง platform ออนไลน์ จะทำให้เกิด platform การเรียนรู้ที่มีการผสมผสานมากขึ้น เช่น MOOCs หลักสูตรออนไลน์อาจมีการเปลี่ยนแปลง - แนวโน้มการเกิดอาชีพใหม่ จะเกิดขึ้นจากรูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป เช่น นักจัดรายการบนสื่อวีดิทัศน์และสื่อทางเสียง เป็นต้น
การนำมาใช้ในสังคมไทย การนำ Platform การเรียนรู้แต่ละชนิดมาปรับใช้ ควรคำนึงถึงการการเลือกสื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ
แนวโน้มด้าน AI
ความก้าวหน้าด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุก platform แนวโน้มหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการกำเนิดขึ้นของ AI ที่มีลักษณะเป็นตัวตนคิดอ่านแทนมนุษย์ได้บางเรื่อง เช่น ระบบพี่เลี้ยงอัตโนมัติที่สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้และให้คำแนะนำผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันให้สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแต่ละปักเจกชน หรือโปรแกรมพูดคุยอัตโนมัติ (chatbot) ที่ช่วยในการเรียนการสอน เป็นต้น
แนวโน้มอื่นๆ
ระบบการบันทึกข้อมูลการศึกษาจะเปลี่ยนไป เพื่อรองรับกลุ่มผู้เรียนแบบ MOOCs ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอย่างเช่นประกาศนียบัตรจิ๋ว (nanodegree) สื่อวีดีทัศน์และเกมจะมีลักษณะของการถ่ายทอดสดมากขึ้น สื่อสังคมต่างๆ มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นเรื่อยๆไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น การพูดคุยตอบโต้ด้วยเสียงระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
บทที่ 7 สารสนเทศ การรุ้สาระสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ
ความสำคัญของสารสนเทศ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าพัฒนาประเทศชาติ
สนับสนุนการวางแผนและนโยบายการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ
ช่วยในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ
ช่วยติดตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก
สารสนเทศ (Information)
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด ประสบการณ์ รวมถึงจินตนาการของมนุษย์ ที่มีการจัดการบันทึกลงในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการสื่อสารและการตัดสินใจ
การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
“การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง กระบวนการทางปัญญาเพื่อสร้างความเข้าใจในความต้องการสารสนเทศ การค้นหา การประเมิน การใช้สารสนเทศ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การรู้สารสนเทศ จำเป็นต้องใช้ทักษะ ต่างๆ เช่น ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และทักษะอื่นๆ เป็นต้น” (สมาน ลอยฟ้า, 2544)
ความหมายของการรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่อ คือ การอ่านสื่อให้ออก เพื่อพัฒนาทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ การตีความเนื้อหาของสื่อ การประเมินค่าและเข้าใจผลกระทบของสื่อและสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ได้
ความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อ
เราอยู่ในสังคมที่เรารับรู้โดยมีสื่อเป็นตัวกลาง สิ่งที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือแม้แต่ค่านิยมต่างๆที่เรายอมรับ มิได้มาจากประสบการณ์ตรงเท่าใดนัก แต่มักจะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
ลักษณะสำคัญของสื่อ
สื่อทั้งหมดมีผู้สร้าง
สื่อสร้างภาพจริง
สื่อคือธุรกิจ
สื่อส่งสารเชิงอุดมการณ์และค่านิยม
สื่อแสดงนัยทางสังคมการเมือง
แต่ละสื่อ มีรูปแบบ แบบแผนและสุนทรียภาพในตนเอง การรู้เท่าทันสื่อเป็นพลังอำนาจที่นำมาสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้น และเพิ่มพูนความสามารถในการสื่อสาร