Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สื่อดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ - Coggle Diagram
สื่อดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 4 พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยีการศึกษา
พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสหวิทยาการที่รวมเอาศาสตร์ต่าง ๆ มาประกอบกัน ได้แก่ พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences) วิทยาการจัดการ (Management Science) และวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) จากศาสตร์ดังกล่าวจึงเกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์ และวิธีการเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีการนำทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีทางจิตวิทยาเข้ามามีส่วนทำให้เกิดการสอนแบบต่าง ๆ มีการออกแบบระบบการเรียนการสอน และความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนเป็นกลุ่ม การสอนมวลชน การสอนทางไกล และการศึกษาตลอดชีวิต
เทคโนโลยีการศึกษาจึงถือเป็นเครื่องมือการศึกษา ที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษาด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวมลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหา จะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยยึดถือหลักว่าให้แต่ละส่วนประกอบย่อยทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้น เทคโนโลยีการศึกษา มองภาพระบบทางการศึกษาเป็นระบบใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยระบบย่อย อีกหลายระบบด้วยกัน
ในทศวรรษที่ 1800 มีการใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำ
ในปี ค.ศ. 1913 มีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูด ต่อ Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้น
มีการเขียนไว้เป็นหลักฐานว่า "ต่อไปนี้ หนังสือจะกลายเป็นสิ่งที่หมดสมัยในโรงเรียน เพราะเราสามารถใช้ภาพยนตร์ในการสอนความรู้ทุกสาขาได้ ระบบโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงภายในสิบปีข้างหน้า"
ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัดนั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเอาทฤษฎีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฎีระบบเข้ามาใช้ในวงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า "การสื่อสารทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual communications" แทนคำว่า "การสอนทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual instruction" ซึ่งย่อมเป็นเครื่องชี้ชัดประการหนึ่งว่า เทคโนโลยีการสื่อสารนั้น คือเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดการเรียนการสอนนั่นเอง
ในทวีปยุโรป วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 โดย British Broadcasting Corporation หรือ BBC ในปี ค.ศ. 1958 ประเทศอิตาลีก็ริเริ่มบ้างโดยมีการสอนตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ผ่าน Telescuola (Television School of the Air) ส่วนประเทศในเครือคอมมิวนิสต์ได้มีโอกาสรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี 1960 นำโดยประเทศยูโกสลาเวีย ตามติดด้วยประเทศโปแลนด์ สำหรับประเทศโซเวียตนั้น ได้เริ่มออกอากาศรายการทั่วไปและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเมื่อปี 1962 ในปี 1965 ประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันออกก็ได้ทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย
ปี ค.ศ. 1962 ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ริเริ่มทำการสอนในวิชาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ นอกจากนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์อื่น ๆ เช่น ในปักกิ่ง เทียนสิน และกวางตุ้ง ต่างก็เผยแพร่รายการมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์ (Television Universities) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในระดับชาติเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน อย่างไรก็ตามประเทศญี่ปุ่นได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแรกในโลกทีมีการบูรณาการการใช้วิทยุโทรทัศน์เข้ากับโครงสร้างของการศึกษานับตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และยังรวมถึงการให้การศึกษาผู้ใหญ่ในสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวางด้วย ก่อนสิ้นปี 1965 ประเทศญี่ปุ่นมีสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาออกอากาศทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 64 สถานี
เทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร ได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อโลกได้หันเข้ามาสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ ในด้านการศึกษานั้น ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์เครื่อง APPLE II ขึ้น โดยการใช้ในระยะแรกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริหารจัดการ
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
การศึกษาในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพื่อพัฒนาปฏิรูปการจัดการศึกษาให้เท่าเทียบกับสากลดังนั้นจึงได้มีการนำสารสนเทศเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายการศึกษาคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายว่าด้วยการศึกษาของชาติฉบับแรกของประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา
การกำหนดรูปแบบของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สภาพการเรียนการสอนในระบบ (Fonmal Education)หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจน ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ(Informal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่มหรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย การเรียนการสอนประเภทนี้
สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย (Nonformal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่ม ต่างๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพยายามจัดโอกาสให้กับบุคคลเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บทที่ 5 แหล่งเรียนรู้และเครื่อข่ายการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะด้านการค้นคว้า การอภิปราย การสนทนา การนำเอาความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้
เพื่อเป็นแรงดลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิต
พื่อพัฒนาความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระ ความรับผิดชอบการตัดสินใจ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์
เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ
เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ และศึกษาด้วยตนเอง
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ " เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม" อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการทางปัญญาที่มนุษย์มีการเชื่อมโยงระหว่างความรู้/ประสบการณ์เดิมเข้ากับความรู้/ประสบการณ์ใหม่แล้วจัดระบบในสมองเป็นความจำถาวร
สอดคล้องทฤษฎี
การเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว
แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing)
แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้อง โสตทัศนศึกษา ห้องมัลติมีเดีย เว็บไซต์ ฯลฯ
ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ั
แหล่งเรียนรู้ที่จัดทำ หรือสร้างขึ้น
แหล่งเรียนรู้ที่เกิดเองตามธรรมชาติ
แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อม ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ ทะเล สัตว์ ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม สถาบัน โบราณสถาน สถานที่สำคัญ แหล่งประกอบการ
บทบาทของครูผู้สอนในการใช้แหล่งเรียนรู้
ผู้ช่วยเหลือหรือแหล่งวิทยากร
ผู้สนับสนุนและเสริมแรง
ผู้ติดตามตรวจสอบ
เครือข่ายการเรียนรู้
หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่าง ๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความต้องการของบุคคลและชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2535)
การศึกษาในเครือข่ายการเรียนรู้ นับเป็นการศึกษาแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนที่ ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และบุคคล ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใด สถานที่ใด กับบุคคลใดก็ได้โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษา และเชื่อมต่อไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนมีความพร้อม และสะดวกในการเรียนแต่ละครั้งผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากบทเรียน ออนไลน์ มีการใช้เว็บบอร์ด ใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อเชื่อมการเรียน การสอนถึงกันตลอดเวลา ทำให้เกิดการเรียนการสอนทางไกล และการเรียนการสอนออนดีมานด์
ความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
ปัจจุบันมีการสร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้กันมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถาบันการศึกษา เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียน หรือภายในสถาบันอุดมศึกษา และเชื่อมโยงกันระหว่าง วิทยาเขตจัดเป็นแคมปัสเน็ตเวิร์ค ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อร่วมมือกันทำงานได้มากขึ้น เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลก รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ อินทราเน็ตในการส่งข่าวสารได้
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่น ได้ง่ายรวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือการเรียนแบบ ร่วมมือกัน ดังนั้นระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมี รูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจ ของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
ขั้นการก่อรูปเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network forming) เป็นการก่อตัวขึ้นโดยมีแนวทางสำคัญที่ควรดำเนินการ 4 ประการ ได้แก่ การสร้างความตระหนักในปัญหาและการสร้างสำนึกในการรวมตัว การสร้างจุดรวมของผลประโยชน์ในเครือข่ายการแสวงหาแกนนำที่ดีของเครือข่าย และการสร้างแนวร่วมของสมาชิกเครือข่าย ถ้าเครือข่ายแห่งใดปฏิบัติได้ตามแนวทางดังกล่าวก็เชื่อได้ว่าจะสามารถก่อตั้งเครือข่ายในชุมชนได้อย่างแน่นอน
ขั้นการจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network organizing) การจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ มีองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณา 5 ประการ คือ การจัดผังกลุ่มเครือข่าย การจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย การจัดระบบการติดต่อสื่อสาร การจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกัน และการจัดระบบสารสนเทศ ดังนั้นถ้าสามารถจัดระบบบริหารเครือข่ายได้ครบถ้วนดังกล่าว ผลที่ตามมาก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น
ขั้นการใช้เครือข่ายการเรียนรู้(learning network utilizing ) การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการเรียนรู้จากการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีกลางประสานงานร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในและภายนอกเครือข่าย การใช้เครือข่ายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนสารสนเทศและความรู้ของสมาชิกเครือข่าย และผู้สนใจการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดมทรัพยากรร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ให้แก่สมาชิกทั้งภายในและภายนอกเครือข่ายและการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีสร้างกระแสผลักดันประเด็นใหม่ๆ ที่เป็นปัญหาของชุมชนและสังคม
ขั้นการธำรงรักษาเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network maintaining) การธำรงรักษาเครือข่ายเพื่อให้ดำเนินการไปสู่ความสำเร็จนั้น มีแนวทางปฏิบัติ 6 ประการดังนี้ การจัดดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย การกำหนดกลไกและการสร้างระบบแรงจูงใจให้แก่สมาชิกของเครือข่าย การให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และการสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องเป็นต้น
กระบวนการและวิธีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเป็นขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานหรือฝ่ายจัดการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งพิจารณาถึงองค์กรต่างๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อรวมเข้าเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน
การติดต่อกับองค์กรที่จะร่วมเป็นเครือข่ายหลังจากตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรที่เห็นว่าเหมาะสมในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแล้ว ก็จะเป็นขั้นการติดต่อสัมพันธ์เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการเรียนรู้ โดยต้องสร้างความคุ้นเคย การยอมรับและความไว้ว่างใจระหว่างกันมีการให้ข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูล กระตุ้นให้คิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องเดียวกันของเครือข่าย ถือว่าเป็นการเตรียมกลุ่มเครือข่าย
การสร้างพันธกรณีร่วมกัน เป็นข้นตอนการสร้างความผูกพันร่วมกัน มีการตกลงใจในความสัมพันธ์ต่อกันและตกลงที่จะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายซึ่งการทำกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาร่วมกันจะต้องมีความรู้เพียงพอที่จะทำกิจกรรมได้โดยการเชิญวิทยากรมาถ่ายถอดเพิ่มพูนความรู้ การไปศึกษาดูงาน เป็นต้น ทำให้เกิดเป็นกลุ่มศึกษาเรียนรู้ขึ้นในองค์กรเครือข่าย
การพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่สร้างเครือข่ายให้เกิดผลงานเป็นรูปธรรมโดยเริ่มทำกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการตกลงในเรื่องของการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่าย ซึ่งเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกิจกรรม กำหนดบทบาทของสมาชิก รวมทั้งสิทธิหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องชัดเจนขึ้น เกิดเป็นกลุ่มกิจกรรมขึ้นในองค์กรเครือข่าย
การทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากมีการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันแล้ และนำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันจนมีผลงานเป็นที่ปากฎชัด เกิดประโยชน์ร่วมกันในองค์กรเครือข่าย จนเกิดการขยายกลุ่มเครือข่ายมากยิ่งขึ้น
การรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรใหม่ร่วมกัน เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกใหม่ที่มากขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เครือข่ายการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
บทบาทของผู้สอน จากระบบเดิมที่เน้นให้ครูเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ครู เป็นเพียงผู้ชี้แนะหรือเป็นที่ปรึกษาในสาขาวิชาที่สอนโดยผ่านทางเครือข่าย ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการสอนใหม่ๆ ข้อมูล และ อุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการสอนอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านระบบ เครือข่าย
บทบาทของผู้เรียน เปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมที่นักเรียนเป็นเพียงผู้รับฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของครู รับฟังความรู้ความคิดเห็นจากครูเป็นหลัก ไปสู่ระบบที่นักเรียนต้องเป็นผู้แสวงหาด้วยตนเอง ต้องกระตือรือร้น และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการ และสนองต่อความต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น โดยมีครูเป็นเพียงที่ปรึกษา แนะแนวทางในการศึกษาค้นคว้า
รูปแบบการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเป็นหลักในการแสวงหา ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้นจาก แหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั่วโลก และจากสื่อหลากหลายประเภทนอกเหนือจากหนังสือ รวมทั้งสามารถเลือกเวลาและ สถานที่ในการศึกษาได้เอง และสามารถเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญที่สนใจในการปรึกษาขอคำแนะนำได้ โดยผ่านระบบเทคโนโลยี ซึ่งต่างจากระบบเดิมที่เน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิงโครนัส คือ มีการจัดตารางสอน วิชาเรียน และกำหนดสถานที่เรียนไว้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในโรงเรียนอย่างเต็มที่
บทบาทของการเรียนการสอน มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ โดยเฉพาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเปิดช่องทางไปสู่แหล่งความรู้ต่างๆ ได้ทั่วโลก
ห้องเรียน สำหรับผู้สอน ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ แสดงภาพ วิดีโอโปรเจคเตอร์ เชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่าย และระบบอินเทอร์เน็ต
ศูนย์เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน เป็นสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการ ค้นคว้า เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งสามารถใช้ผ่านโมเด็มจากบ้านของผู้เรียนเข้าสู่ เครือข่ายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ฐานบริการข้อมูลการเรียน เป็นที่เก็บข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษร รูปภาพ และเสียง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา
Student Homepage เป็นที่เก็บข้อมูล ข่าวสารของนักเรียน และส่งการบ้านให้ครูตรวจได้โดยแจ้ง pointer บอกตำแหน่งให้ครูทราบ
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน
แนวโน้มด้าน AI
ความก้าวหน้าด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุก platform แนวโน้มหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการกำเนิดขึ้นของ AI ที่มีลักษณะเป็นตัวตนคิดอ่านแทนมนุษย์ได้บางเรื่อง เช่น ระบบพี่เลี้ยงอัตโนมัติที่สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้และให้คำแนะนำผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันให้สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแต่ละปักเจกชน หรือโปรแกรมพูดคุยอัตโนมัติ (chatbot) ที่ช่วยในการเรียนการสอน เป็นต้น
แนวโน้มด้าน Crowd sourcing
แนวโน้มการรวบรวมพลังและทรัพยากรจากฝูงชน (Crowd sourcing) ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการรวบรวมข้อมูลและสติปัญญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึง แรงงาน เงินทุน ผู้คน ด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ ซึ่งกันและกัน ช่วยให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่วางไว้ เช่น เว็บไซต์ที่มีการรวบรวมคำแปลภาษาต่างๆ ระบบแบ่งปันเวลาระหว่างกลุ่มผู้สอนและผู้เรียนที่ว่างตรงกัน
แนวโน้มบูรณาการระหว่าง Platform การเรียนรู้ออนไลน์
ปัจจุบันแรงจูงใจของผู้ผลิตสื่อในแต่ละ Platform เริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เป้าหมายเดียวกันมากขึ้น นั่นคือเข้าถึงเข้าถึงผู้คนให้ได้จำนวนมากที่สุด และสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ราบรื่นมากที่สุด จึงมีแนวโน้มที่ platform หลากหลายอันจะหลอมรวมกัน เช่น MOOCs หลักสูตรออนไลน์ที่มีสื่อในรูปแบบที่หลากหลายจึงมีการใช้วิธีเผยแพร่บน YouTube ใช้เกมเพื่อดึงดูดความสนใจสู่เนื้อหา ใช้สื่อสังคมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเผยแพร่ข้อมูลบางส่วนผ่าน Podcast เป็นต้น
แนวโน้มการเกิดอาชีพใหม่
รูปแบบที่หลากหลายในการเรียนรู้จะทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น ครูชื่อดังที่มีชื่อเสียงในช่องทางของ MOOCs นักจัดรายการเพื่อการเรียนรู้ทั้งบนสื่อวีดิทัศน์ (Youtube) และสื่อทางเสียง (Podcast) นักวิจารณ์รายการอื่น (Commentator หรือ recommender) นักอ่านหนังสือเสียง อาชีพที่เกี่ยวข้องกับกีฬา e-sport นักการตลาดบนสื่อสังคม เป็นต้น
แนวโน้มอื่นๆ
ระบบการบันทึกข้อมูลการศึกษาจะเปลี่ยนไป เพื่อรองรับกลุ่มผู้เรียนแบบ MOOCs ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอย่างเช่นประกาศนียบัตรจิ๋ว (nanodegree) สื่อวีดีทัศน์และเกมจะมีลักษณะของการถ่ายทอดสดมากขึ้น สื่อสังคมต่างๆ มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นเรื่อยๆไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น การพูดคุยตอบโต้ด้วยเสียงระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
บทที่ 7 สารสนเทศ การเรียนรู้สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ
สารสนเทศ เป็นหัวใจสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการเป็นสังคมสารสนเทศ(information society) และเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society)
สารสนเทศ (Information)
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด ประสบการณ์ รวมถึงจินตนาการของมนุษย์ ที่มีการจัดการบันทึกลงในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการสื่อสารและการตัดสินใจ
ความสำคัญของสารสนเทศ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าพัฒนาประเทศชาติ
สนับสนุนการวางแผนและนโยบายการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ
ช่วยในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ
ช่วยติดตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก
เป็นสิ่งจำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
ความถูกต้อง
ความทันสมัยและทันต่อการใช้งาน
ความสมบูรณ์
ตรงกับความต้องการ
ตรวจสอบแหล่งที่มาได้
ประโยชน์ของสารสนเทศ
สารสนเทศก่อให้เกิดการพัฒนา
สารสนเทศก่อให้เกิดการศึกษา
สารสนเทศก่อให้เกิดการสืบทอดทางวัฒนธรรม
สารสนเทศก่อให้เกิดความเป็นเหตุเป็นผล
สารสนเทศก่อให้เกิดภูมิปัญญา
การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
การรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ (ข้อมูลข่าวสาร) ทักษะในการรู้ความต้องการสารสนเทศและระบุสารสนเทศที่ต้องการ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ต้องการ ได้แก่ การสืบค้น/การค้นคืนสารสนเทศ โดยสามารถกำหนดคำค้น ใช้กลยุทธ์ในการสืบค้น และปรับปรุงการสืบค้นได้ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การตีความและทำความเข้าใจสารสนเทศ การประเมินความน่าเชื่อถือและความเกี่ยวข้องของสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการแก้ปัญหา และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ การสังเคราะห์สร้างความรู้ใหม่ การใช้สารสนเทศได้อย่างถูกต้องตามจริยธรรมและกฎหมาย และการพัฒนาเจตคตินำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
ความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อ
เราอยู่ในสังคมที่เรารับรู้โดยมีสื่อเป็นตัวกลาง สิ่งที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือแม้แต่ค่านิยมต่างๆที่เรายอมรับ มิได้มาจากประสบการณ์ตรงเท่าใดนัก แต่มักจะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
ทุกวันนี้สื่อสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาหลากหลายรูปแบบและได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนทุกรุ่นทุกเพศทุกวัยเราจึงควรเรียนรู้ที่จะเข้าใจสื่อว่ามีลักษณะที่สำคัญอย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างสร้างสรรค์