Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยีการศึกษา, บทที่ 5 …
บทที่ 4
พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยีการศึกษา
พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสหวิทยาการที่รวมเอาศาสตร์ต่าง ๆ มาประกอบกัน
วิทยาการจัดการ (Management Science)
วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science)
พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences)
เทคโนโลยีการศึกษา
เริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์ และวิธีการเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย เช่น
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การสอนเป็นกลุ่ม
การสอนมวลชน
การสอนทางไกล
การศึกษาตลอดชีวิต
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
การศึกษาในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพื่อพัฒนาปฏิรูปการจัดการศึกษาให้เท่าเทียบกับสากลดังนั้นจึงได้มีการนำสารสนเทศเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายการศึกษาคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายว่าด้วยการศึกษาของชาติฉบับแรกของประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542
การจัดการศึกษา สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ระบบการศึกษาและจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การกำหนดรูปแบบของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สภาพการเรียนการสอนในระบบ (Fonmal Education)หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจน ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ(Informal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่มหรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย การเรียนการสอนประเภทนี้
สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย (Nonformal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่ม ต่างๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพยายามจัดโอกาสให้กับบุคคลเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การกำหนดรูปแบบของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
การจัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ให้มีแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการและเหมาะสมกับผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง
การปรับกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้าคิด ตัดสินใจด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรมและจะต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนาการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อนำความรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้
บทที่ 5
แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
การเรียนรู้
ป็นกระบวนการทางปัญญาที่มนุษย์มีการเชื่อมโยงระหว่างความรู้/ประสบการณ์เดิม
เป็นกระบวนการ “เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม” อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก
ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว
แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี
แหล่งเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์
เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระ ความรับผิดชอบการตัดสินใจ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
เพื่อพัฒนาทักษะด้านการค้นคว้า การอภิปราย การสนทนา การนำเอาความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้
เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ และศึกษาด้วยตนเอง
เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ
เพื่อเป็นแรงดลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิต
เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องมัลติมีเดีย เว็บไซต์ ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อม ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ ทะเล สัตว์ ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม สถาบัน โบราณสถาน สถานที่สำคัญ แหล่งประกอบการ
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่น ได้ง่ายรวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือการเรียนแบบ ร่วมมือกัน ดังนั้นระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมี รูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจ ของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
ขั้นการก่อรูปเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network forming) เป็นการก่อตัวขึ้นโดยมีแนวทางสำคัญที่ควรดำเนินการ 4 ประการ ได้แก่
การสร้างสำนึกในการรวมตัว
การสร้างแนวร่วมของสมาชิกเครือข่าย
การสร้างความตระหนักในปัญหา
การสร้างจุดรวมของผลประโยชน์ในเครือข่ายการแสวงหาแกนนำที่ดีของเครือข่าย
ขั้นการจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network organizing) การจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ มีองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณา 5 ประการ คือ
การจัดระบบการติดต่อสื่อสาร
การจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย
การจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดผังกลุ่มเครือข่าย
ขั้นการใช้เครือข่ายการเรียนรู้(learning network utilizing ) การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการเรียนรู้จากการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่
การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีกลางประสานงานร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในและภายนอกเครือข่าย
การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ใหม่ๆ
เครือข่ายและการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีสร้างกระแสผลักดันประเด็นใหม่ๆ
ผู้สนใจการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดมทรัพยากรร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย
การใช้เครือข่ายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนสารสนเทศและความรู้ของสมาชิกเครือข่าย
กระบวนการและวิธีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเป็นขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานหรือฝ่ายจัดการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งพิจารณาถึงองค์กรต่างๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อรวมเข้าเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน
การติดต่อกับองค์กรที่จะร่วมเป็นเครือข่ายหลังจากตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรที่เห็นว่าเหมาะสมในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแล้ว ก็จะเป็นขั้นการติดต่อสัมพันธ์เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการเรียนรู้ โดยต้องสร้างความคุ้นเคย การยอมรับและความไว้ว่างใจระหว่างกันมีการให้ข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูล กระตุ้นให้คิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องเดียวกันของเครือข่าย ถือว่าเป็นการเตรียมกลุ่มเครือข่าย
การสร้างพันธกรณีร่วมกัน เป็นข้นตอนการสร้างความผูกพันร่วมกัน มีการตกลงใจในความสัมพันธ์ต่อกันและตกลงที่จะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายซึ่งการทำกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาร่วมกันจะต้องมีความรู้เพียงพอที่จะทำกิจกรรมได้โดยการเชิญวิทยากรมาถ่ายถอดเพิ่มพูนความรู้ การไปศึกษาดูงาน เป็นต้น ทำให้เกิดเป็นกลุ่มศึกษาเรียนรู้ขึ้นในองค์กรเครือข่าย
การพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่สร้างเครือข่ายให้เกิดผลงานเป็นรูปธรรมโดยเริ่มทำกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการตกลงในเรื่องของการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่าย ซึ่งเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกิจกรรม กำหนดบทบาทของสมาชิก รวมทั้งสิทธิหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องชัดเจนขึ้น เกิดเป็นกลุ่มกิจกรรมขึ้นในองค์กรเครือข่าย
การทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากมีการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันแล้ และนำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันจนมีผลงานเป็นที่ปากฎชัด เกิดประโยชน์ร่วมกันในองค์กรเครือข่าย จนเกิดการขยายกลุ่มเครือข่ายมากยิ่งขึ้น
การรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรใหม่ร่วมกัน เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกใหม่ที่มากขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
บทที่ 6
การประยุกต์ใช้สื่อ
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน
แนว โน้ม ด้าน AI
ความก้าวหน้าด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุก platform แนวโน้มหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการกำเนิดขึ้นของ AI ที่มีลักษณะเป็นตัวตนคิดอ่านแทนมนุษย์ได้บางเรื่อง เช่น ระบบพี่เลี้ยงอัตโนมัติที่สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้และให้คำแนะนำผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันให้สามารถประสบความสำเร็จได้
แนวน้มด้าน