Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
600-320 : สื่อดิจิทัล :checkered_flag:, บทที่ 4 เรื่อง พัฒนาการและความเป็น…
600-320 : สื่อดิจิทัล
:checkered_flag:
บทที่ 5 เรื่อง แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ และศึกษาด้วยตนเอง
ประเภทของแหล่งการเรียนรู้
ในโรงเรียน
ตามธรรมชาติ
บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต ฯลฯ
มนุษย์สร้างขึ้น
ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องมัลติมีเดีย เว็บไซต์ ฯลฯ
นอกโรงเรียน
ตามธรรมชาติ
สภาพแวดล้อม ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ ทะเล สัตว์ ฯลฯ
มนุษย์สร้างขึ้น
ชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม สถาบัน โบราณสถาน สถานที่สำคัญ แหล่งประกอบการ
ความหมาย แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ข้อดีในการนำแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อชุมชนและกระบวนการเรียนรู้
ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน
ผู้เรียนเกิดความรักท้องถิ่นและเกิดความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าในท้องถิ่น
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริงทำให้เกิดประสบการณ์ตรง
การเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ “เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม” อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
สอดคล้องทฤษฎีการเรียนรู้
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการทางปัญญาที่มนุษย์มีการเชื่อมโยงระหว่างความรู้/ประสบการณ์เดิมเข้ากับความรู้/ประสบการณ์ใหม่แล้วจัดระบบในสมองเป็นความจำถาวร
สอดคล้องทฤษฎี
การเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
การเรียนรู้ ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing)
สอดคล้องทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์นิยม
เครือข่ายการเรียนรู้
หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่าง ๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความต้องการของบุคคลและชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2535)
ความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
ปัจจุบันมีการสร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้กันมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถาบันการศึกษา เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียน หรือภายในสถาบันอุดมศึกษา และเชื่อมโยงกันระหว่าง วิทยาเขตจัดเป็นแคมปัสเน็ตเวิร์ค ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อร่วมมือกันทำงานได้มากขึ้น เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลก รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ อินทราเน็ตในการส่งข่าวสารได้
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่น ได้ง่ายรวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือการเรียนแบบ ร่วมมือกัน ดังนั้นระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมี รูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจ ของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
บทที่ 7 สารสนเทศ การรู้สารสนเทศ และการรู้เท่านั้นสื่อ
สารสนเทศ
หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด ประสบการณ์ รวมถึงจินตนาการของมนุษย์ ที่มีการจัดการบันทึกลงในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการสื่อสารและการตัดสินใจ
ความสำคัญ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าพัฒนาประเทศชาติ
สนับสนุนการวางแผนและนโยบายการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ
ช่วยในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ
ช่วยติดตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก
ช่วยพัฒนาศักยภาพของคนในสังคม
เป็นสิ่งจำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ
สำคัญและจำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรม พัฒนาการแข่งขันในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
ความสมบูรณ์
ตรงกับความต้องการ
ความทันสมัยและทันต่อการใช้งาน
ตรวจสอบแหล่งที่มาได้
ความถูกต้อง
ประโยชน์
ก่อให้เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านต่าง ๆ
การรู้สารสนเทศ
หมายถึง เครื่องมือ / เว็บไซต์ ที่ใช้ในการสื่อสาร รวบรวม และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
SOCIAL MEDIA ที่ได้รับความนิยม
Facebook
Line
Twitter
Youtube
MySpace
LinkedIn
Friendster
การรู้เท่าทันสื่อ
หมายถึงการอ่านสื่อให้ออก เพื่อพัฒนาทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ การตีความเนื้อหาของสื่อ การประเมินค่าและเข้าใจผลกระทบของสื่อและสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ได้
ความสำคัญ
สื่อทั้งหมดมีผู้สร้าง
สื่อสร้างภาพความจริง
สื่อคือธุรกิจ
สื่อส่งสารเชิงอุดมการณ์และค่านิยม
สื่อแสดงนัยทางสังคมและการเมือง
แนวทาง
สื่อคือสิ่งที่สร้างขึ้น - Media are Constructions
สื่อสร้างค่านิยมและอุดมคติ - Media messages contain Values and Ideologies
สื่อทำให้มีผลที่ตามมาทางการเมืองและสังคม - Media Messages have Social and Political Consequences
สื่อมีเป้าหมายทางธุรกิจ/โฆษณา - Media Constructions have Commercial purposes
สื่อแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์และข้อจำกัด - Each Medium has a unique Aesthetic Form
บทที่ 6การประยุกต์ใช้สื่อ
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน
เทรนด์การเรียนรู้
แนวโน้มอนาคต
ปัญหาการประดิษฐ์ AI
ความก้าวหน้าด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุก platform แนวโน้มหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการกำเนิดขึ้นของ AI ที่มีลักษณะเป็นตัวตนคิดอ่านแทนมนุษย์ได้บางเรื่อง เช่น ระบบพี่เลี้ยงอัตโนมัติที่สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้และให้คำแนะนำผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันให้สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแต่ละปักเจกชน หรือโปรแกรมพูดคุยอัตโนมัติ (chatbot) ที่ช่วยในการเรียนการสอน เป็นต้น
การบูรณาการระหว่างแฟลตฟอร์มกับกับการเรียนรู้ที่มีการผสมผสาน เช่น Mooc
ปัจจุบันแรงจูงใจของผู้ผลิตสื่อในแต่ละ Platform เริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เป้าหมายเดียวกันมากขึ้น นั่นคือเข้าถึงเข้าถึงผู้คนให้ได้จำนวนมากที่สุด และสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ราบรื่นมากที่สุด จึงมีแนวโน้มที่ platform หลากหลายอันจะหลอมรวมกัน เช่น MOOCs หลักสูตรออนไลน์ที่มีสื่อในรูปแบบที่หลากหลายจึงมีการใช้วิธีเผยแพร่บน YouTube ใช้เกมเพื่อดึงดูดความสนใจสู่เนื้อหา ใช้สื่อสังคม
การนำมาใช้ในสังคมไทย
การส่งเสริม Mooc
ระบบการบันทึกข้อมูลการศึกษาจะเปลี่ยนไป เพื่อรองรับกลุ่มผู้เรียนแบบ MOOCs ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอย่างเช่นประกาศนียบัตรจิ๋ว (nanodegree) สื่อวีดีทัศน์และเกมจะมีลักษณะของการถ่ายทอดสดมากขึ้น สื่อสังคมต่างๆ มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นเรื่อยๆไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น การพูดคุยตอบโต้ด้วยเสียงระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
พฤติกรรมและความต้องการ การเรียนรู้ของคนรุ่นไหม
ทักษะความรู้ในการทำงาน
ทักษะชีวิตและความรู้ในชีวิตประจำวัน
สถานการณ์และแนวโน้มปัจจุบันเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่
รูปแบบการเรียนรู้และระบบการศึกษา
ความต้องการของตลาดแรงงาน
อาชีพใหม่เกิดขึ้น
รูปแบบที่หลากหลายในการเรียนรู้จะทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น ครูชื่อดังที่มีชื่อเสียงในช่องทางของ MOOCs นักจัดรายการเพื่อการเรียนรู้ทั้งบนสื่อวีดิทัศน์ (Youtube) และสื่อทางเสียง (Podcast) นักวิจารณ์รายการอื่น (Commentator หรือ recommender) นักอ่านหนังสือเสียง อาชีพที่เกี่ยวข้องกับกีฬา e-sport นักการตลาดบนสื่อสังคม เป็นต้น
บทที่ 4 เรื่อง พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยีการศึกษา
ในทศวรรษที่ 1800 มีการใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำ
ในปี ค.ศ. 1913 มีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูด ต่อ Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้น
ต้นทศวรรษที่ 1900 ใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์(audio visual)
ในช่วงทศวรรษที่ 1920 - 1930 เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพแบบข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์ เข้ามาเสริมการเรียนการสอนวิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยม
ค.ศ.1921 การเริ่มขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงในยุคแรก ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา
และเริ่มมีการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนทางไกลช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่ต่อมาระบบธุรกิจเข้าครอบงำมากขึ้นจนวิทยุเพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในสภาวะที่ตกต่ำลง
ปี ค.ศ. 1962 ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ริเริ่มทำการสอนในวิชาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้
ปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยนั้นบริษัท ACNielsen ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดระดับนานาชาติ ได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 และพบว่าครอบครัวในเมืองใหญ่ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเองมีเพียงร้อยละ 24 เท่านั้น ส่วนจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 10 ล้านคน
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์เครื่อง APPLE II ขึ้น โดยการใช้ในระยะแรกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริหารจัดการ
การกำหนดรูปแบบของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สภาพการเรียนการสอนในระบบ (Fonmal Education)หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจน ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ(Informal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่มหรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย การเรียนการสอนประเภทนี้
สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย (Nonformal Education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่ม ต่างๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพยายามจัดโอกาสให้กับบุคคลเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความหมาย
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสหวิทยาการที่รวมเอาศาสตร์ต่าง ๆ มาประกอบกัน ได้แก่ พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences) วิทยาการจัดการ (Management Science) และวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) จากศาสตร์ดังกล่าวจึงเกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษานับตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล มีการกล่าวถึงนักเทคโนโลยีทางการศึกษาพวกแรก คือกลุ่มโซฟิสต์ (The Elder sophist) ที่ใช้วิธีการสอนการเขียน