Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 รูปแบบของระเบียบวินัยและการนำไปประยุกต์ใช้
รูปแบบของระเบียบวินัยในชั้นเรียน
การปรับปรุงพฤติกรรมโดย Skinner
ระเบียบวินัยในความหมายของสกินเนอร์คือการควบคุมพฤติกรรม
การปรับปรุงพฤติกรรม ครูสามารถส่งเสริมผู้เรียนที่มีพฤติกรรมดีโดยการให้รางวัลหรือชมเชย ครูควรส่งเสริมผู้เรียนที่มีพฤติกรรมดีมากกว่าการลงโทษผู้เรียนที่มีพฤติกรรมแย่ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือ เมื่อผู้เรียนไม่ได้รางวัลหรือชมเชยผู้เรียนก็จะ ไม่ปฏิบัติ นั่นคือผลลัพธ์จะอยู่ได้ไม่นาน
ระเบียบวินัยในตนเองโดย Canter
ระเบียบวินัยในตนเองมีส่วนคล้ายคลึงกับการปรับปรุงพฤติกรรม แตกต่างกันตรงที่มีการตั้งกฎเกณฑ์และการปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด
ระเบียบวินัยในตนเองมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
2 กำหนดกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติ ในบทที่ 2
3 สำรวจความประพฤติของผู้เรียนในชั้นพร้อมจดบันทึกไว้
4 ส่งเสริมความประพฤติที่ดีของผู้เรียน
5 ใช้วิธีการที่เหมาะสม
1 สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างครูกับนักเรียน ในบทที่ 3
6 ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองของผู้เรียน
ผลลัพธ์ทางตรรกศาสตร์โดย Dreikurs
เชื่อว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นเกิดจาก
1 การเรียกร้องความสนใจ คือ เวลาที่ผู้เรียนพยายามจะก่อกวนเพื่อให้ครูหันมาสนใจพวกเขา โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น วิ่งวนไปรอบห้อง เคาะดินสอกับโต๊ะ ชวนเพื่อนคุย ทำตัวขี้เกียจ ก่อกวน ซึ่งเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ครูควรวิเคราะห์ถึงที่มาของปัญหาเสียก่อน และไม่ใช้ความรุนแรง
2 การวางอำนาจ เมื่อผู้เรียนไม่ได้รับความสนใจอย่างที่พวกเขาเรียกร้อง พวกเขาก็จะพยายามวางอำนาจใส่ครู ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างครูกับผู้เรียนได้ ฉะนั้นครูควร ควบคุมบรรยากาศในชั้นเรียน โดยการ พูดเชิงบวก และ หรือ หลีกเลี่ยงในการเผชิญหน้าโดยตรงกับผู้เรียนเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับครูมากเกินกว่านี้
4 ความไม่พอใจ เมื่อผู้เรียนไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างได้ พวกเขาก็จะอยากอยู่คนเดียวและพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือนำเสนองานหน้าชั้นเรียน พวกเขาคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นและไม่อยากโดนดูถูก หรือ bully
กลยุทธ์ 5 ขั้นที่จะรับมือกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้
1 สืบให้รู้แน่ชัดถึงแรงกระตุ้นของนักเรียน
2 ช่วยเหลือผู้เรียนให้เข้าใจแรงกระตุ้นของตนเอง
3 ช่วยเหลือผู้เรียนในการเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในทางที่ผิด ให้กลายเป็นทางที่ถูก
4 ให้กำลังใจพวกเขาในการทำให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายใหม่ที่ดีงาม
5 ช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติที่ผิดพลาดของพวกเขา
3 ความแค้น เมื่อ ผู้เรียนคิดว่า ตนเอง ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม พวกเขาก็จะเกิดความต้องการที่จะแก้แค้นครู โดยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาเช่น ก่อความรุนแรง ทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน ลักขโมย ผู้เรียนเช่นนี้ จะประสบปัญหาในการเข้ากลุ่มและเข้าร่วมกิจกรรม ดังนั้นครูต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าพวกเขารู้สึกเจ็บปวด เพื่อช่วยเหลือพวกเขา
การบำบัดตามความเป็นจริงโดย Glasser
William glasser ได้คิดค้นทฤษฎีควบคุม control theory และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ทฤษฎีทางเลือก Choice theory ซึ่งได้อธิบายว่าคนเราจะเลือกตามความต้องการและจากความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ซึ่ง อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลโดยตรงจากความต้องการทางจิตวิทยาพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้
1 ความรัก
หมายถึงความรับผิดชอบทางสังคมและความเป็นเจ้าของ ครูอาจส่งเสริมความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของได้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งกฎเกณฑ์ของชั้นเรียนหรือ แสดงผลงานของผู้เรียนบนป้ายนิเทศ
2 อำนาจและการควบคุม
หมายถึง ความรู้สึกมีค่า คือการที่คนเรารู้สึกว่าตัวเองมีความหมายต่อโลก ผู้เรียนไม่ได้ต้องการเพียงแค่การมีอำนาจและการควบคุมเท่านั้นแต่พวกเขาต้องการใช้อำนาจเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขาด้วย
3 อิสระ
ผู้เรียนต้องการอิสระครูและผู้ปกครองจะต้องเปิดโอกาสให้พวกเขามีอิสระแต่ต้องเป็นไปในขอบเขตที่เหมาะสม
4 ความสนุกสนาน
เนื่องจากผู้เรียนทุกคนต้องการความสนุกสนาน การเรียนการสอน ที่น่าสนใจและไม่ซ้ำซากจำเจ brazzer จึงคิดค้นทฤษฎีการบำบัดตามความเป็นจริง Reality therapy ทฤษฎีบทนี้มาจากแนวคิดที่ว่าเราสามารถเลือกปฏิบัติในสิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราในอนาคตได้ ในส่วนของการจัดการชั้นเรียนนั้นทฤษฎีบทนี้มีความหมายว่าการช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทางเลือกที่พวกเขาเลือก
การวางแผนเกี่ยวกับกระบวนการในห้องเรียน
13 การลุกออกจากโต๊ะ
14 เมื่อการทำงานของผู้เรียนที่โต๊ะเสร็จ
12 การขอรับความช่วยเหลือ
15 การเคลื่อนย้ายเข้า ออก ห้องเรียน
11 การคุยกันระหว่างผู้เรียน
16 การเริ่มต้นในแต่ละวัน
10 การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
17 การออกจากห้องเรียน
9 ความสนใจความตั้งใจของผู้เรียนขณะครูสอน
18 การกลับเข้าห้องเรียน
8 กระบวนการ แนวปฏิบัติคณะผู้เรียนนั่งทำงานที่โต๊ะเรียนและคณะครูสอน
19 การสิ้นสุดของแต่ละวัน
7 บริเวณศูนย์กลาง สถานี และเครื่องมือต่างๆ
20 กระบวนการในระหว่างการอ่านในกลุ่มย่อยและกิจกรรมกลุ่มย่อยอื่นๆ
6 ห้องน้ำ
21 การเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะทำกิจกรรม
5 ที่ดื่มน้ำ อ่างล้างมือ ที่เหลาดินสอ
22 การเข้า ออกจากกลุ่มของผู้เรียน
4 ที่เก็บของส่วนรวม
23 พฤติกรรมที่ถูกคาดหวังของผู้เรียนขณะที่อยู่ในกลุ่มย่อย
3 โต๊ะผู้เรียนและบริเวณที่เก็บของผู้เรียน
24 พฤติกรรมที่ถูกคาดหวังของผู้เรียน ที่อยู่นอกกลุ่มย่อย
2 โต๊ะครูและบริเวณที่เก็บของ
25 กลุ่มการเรียนรู้
1 กระบวนการใช้ห้อง
26 กระบวนการทั่วไป
โรงอาหาร
ห้องสมุด ห้องอุปกรณ์และห้องครูใหญ่
สนามเด็กเล่น
ห้องน้ำ
การฝึกซ้อมการหนีไฟและอันตรายอื่นๆ
การรบกวนหรือความล่าช้า
ผู้ช่วยครูปฏิบัติงานตามห้องเรียนต่างๆ
การแจกอุปกรณ์หรือ เอกสารการเรียน
รูปแบบของระเบียบวินัยและการนำไปประยุกต์ใช้ ครูหลายคนได้พยายามนำทฤษฎีและรูปแบบเหล่านี้ไปใช้พร้อมทั้งสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนอง นิติกรรมและความร่วมมือของผู้เรียน โปรต่างก็มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่ารูปแบบและทฤษฎีเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ แต่การนำไปใช้จะแตกต่างกันไปตามสภาพชั้นเดือนที่แตกต่างกันดังนั้นครูจึงไม่ควรยึดติด กับทฤษฎีและรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง มากจนเกินไป ควรมียืดหยุ่นบ้างตามสมควร
ความหมายของ ระเบียบวินัย หมายถึงการควบคุมซึ่งเกิดจากการเชื่อฟังหรือคำสั่ง