Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รัฐโบราณในดินแดนไทย - Coggle Diagram
รัฐโบราณในดินแดนไทย
อาณาจักรตามพรลิงค์
เป็นแคว้นเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน เชื่อว่าเจริญขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7-8 เพราะปรากฏนามในคัมภีร์โบราณของอินเดีย ในเอกสารจีนเรียกว่า ต่านหม่าลิ่ง และในศิลาจารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ซึ่งจารึกด้วยภาษาสันสกฤต อักษรแบบชวา ศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในระยะแรกนับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และเคยตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่ 14
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 16 ได้ถูกกองทัพเรือของพระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ 1 แห่งอาณาจักรโจฬะ (ภาคใต้ของอินเดีย) โจมตีอาณาจักรศรีวิชัยและเมืองขึ้น รวมทั้งอาณาจักรตามพรลิงค์ด้วย ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยสิ้นสุดลง ในพุทธศตวรรษที่ 17 อาณาจักรตามพรลิงค์เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ และได้กลายเป็นศูนย์กลางแผ่ขยายพระพุทธศาสนาไปทั่วดินแดนไทย และคาบสมุทรมลายู เมืองสำคัญของอาณาจักรนี้ ได้แก่ เมืองไชยา เมืองสทิงพระ (สงขลา และพัทลุง) เมืองสิบสองนักษัตร
อาณาจักรลพบุรีหรือละโว้
หลังจากพุทธศตวรรษที่๑๖ เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังบริเวณนี้ ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลงอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลางจึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่พระปรางค์สามยอด และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรีแม้จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมรูปพระปรางค์ตามขอมแต่เป็นการสร้างเลียนแบบขอมเท่านั้นเอง ทางด้านประติมากรรมศิลปะลพบุรีมักมีส่วนผสมกับศิลปะทวารวดี ทั้งนี้เพราะถิ่นที่ตั้งของอาณาจักรละโว้ก็เป็นพื้นที่ของอาณาจักรทวารวดี ที่อยู่ร่วมสมัยกัน
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่๑๗ การค้าขายระหว่างอาณาจักรละโว้กับจีนเจริญรุ่งเรืองขึ้นแต่เนื่องจากอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมกว่าศูนย์กลางการค้าขายจึงเปลี่ยนจากลพบุรีไปอยู่ที่อยุธยาและในที่สุดเมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรละโว้ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา จึงเป็นอันสิ้นสุดความเป็นอาณาจักรละโว้ ตั้งแต่นั้นมา
เป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม มีเส้นทางติดต่อกับเมืองสำคัญที่อยู่รอบ หลักฐานจารึกบนเสาหินแปดเหลี่ยมแสดงให้เห็นว่า ผู้นำในเมืองนี้เป็นมอญ นอกจากนี้ในตำนานจามเทวีวงศ์ยังระบุว่าพระนางจามเทวีเป็นสะใภ้ของเมืองละโว้ และศิลาจารึกที่พบในเมืองลำพูนก็จารึกด้วยภาษามอญ บทบาทของเมืองละโว้มีอยู่ 2 นัย
กลุ่มเมืองในบริเวณตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่อาจเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14
-
ศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เมืองสำคัญ เช่น เมืองพิมาย จังหวัดนครศรีธรรมราช เมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี และเมืองพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เจริญรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีวัฒนธรรมคล้ายกับอาณาจักรเขมรโบราณในประเทศกัมพูชา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ ต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานปรากฏร่องรอยในศาสนสถานจำนวนมาก เช่น ปราสาทภูมิโปน อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
อาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัย นี้เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ คือบริเวณที่เป็นแหลมมลายู เดินนั้น ศาสดาจารย์ยอรซ์ เซเดส์ ได้อ่านศิลาจารึกวัดเสมา เมืองนครศรีธรรมราช พบคำว่าศรีวิชัย จึงมีความเห็นว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยนั้นอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินเดีย เจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13 - 14
-
อาณาจักรทวารวดี
คำว่า “ทวารวดี” ปรากฏในบันทึกการเดินทางของหลวงจีนว่า “โตโลโปตี” และเหรียญเงินโบราณที่พบที่จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี และลพบุรี เป็นภาษาสันสกฤตว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ” แปลว่า บุญของพระผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี ศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีอยู่บริเวณภาคกลางของไทย สันนิษฐานว่าอาจอยู่ที่เมืองนครปฐมโบราณ หรือเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี หรือเมืองลพบุรี เชื่อว่าเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และเสื่อมลงราวพุทธศตวรรษที่ 16 อาจเกิดจากแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางเดินทำให้ต้องมีการอพยพไปอยู่ที่อื่น และเมื่อเขมรแผ่อิทธิพลเข้ามาสู่ในดินแดนภาคกลางของไทย ชาวทวารวดีรับอิทธิพลอินเดียทั้งด้านศาสนา ภาษา และศิลปกรรม แล้วแผ่ขยายวัฒนธรรมไปทั่วดินแดนต่างๆ ของไทย ชาวทวารวดีส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและเชื่อกันว่าอาจเป็นชนชาติมอญ เพราะพบศิลาจารึกภาษามอญโบราณหลายหลักที่จังหวัดลพบุรี นครปฐม ลำพูน ซึ่งมีวัฒนธรรมแบบทวารวดีอยู่ด้วย
อาณาจักรหริภุญชัย
ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ”
ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์