Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินมารดาหลังคลอดตามหลัก 13B case study เตียง 10 - Coggle Diagram
การประเมินมารดาหลังคลอดตามหลัก 13B
case study เตียง 10
Background :
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล
(24ตุลาคม2563) 5ชั่วโมงก่อนมารพ.
เจ็บครรภ์เวลา 15.00น. มีมูกเลือด
ไม่มีจุกแน่นลิ้นปี่ ไม่มีตาพร่ามัว
(24ตุลาคม2563) เวลา 02.00น.
PV - Fullterm
Effacement 25%, station -1 ML
ประวัติการคลอดปัจจุบัน
คลอด Normal Labor ท่า LOA ทารกเพศหญิง
น้ำหนัก 3,200 gm. เจ็บครรภ์จริง15.00น. คลอดเวลา 21.14น.
เวลาในการคลอด 6ชั่วโมง 14นาที
หลังคลอด ได้รับ Syntocinon20unit IM
Methergin 0.2 mg. IVstat หลังรกคลอด Blood loss 200ml
วันที่รับไว้ในการดูแล
24ตุลาตม2563 มาร.15/2
สัญญาณชีพ (23.15น.)
อุณหภูมิร่างกาย = 36.0 องศาเซลเซียส
ชีพจร = 88 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ = 18 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต = 121/78 mmHg
Pain score = 1 คะแนน (ปวดแผลฝีเย็บ)
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
G1P0-0-0-0 Pregnancy 40 was. 1 day
-ฝากครรภ์ครั้งแรก 24 wks. By date รพ.ตร.3ครั้ง คลินิก 3 ครั้ง
มาฝากครรภ์ทั้งหมด 6 ครั้ง
ประวัติการเจ็บป่วย
ประวัติการรักษา
-ปฏิเสธการเจ็บป่วย
-ไม่แพ้อาหาร
-ไม่แพ้ยา สารเคมี
-ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
-ไม่มีประวัติการผ่าตัด
-ปฏิเสธประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
มารดาหลังคลอด เตียง10 มาร.15/2 อายุ 27 ปี
ศาสนาพุทธ จบการศึกษา ไม่ได้เรียนหนังสือ อาชีพ รับจ้าง
รายได้ 9,000บาท/เดือน ไม่มีโรคประจำตัว ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
ประวัติการฝากครรภ์
น้ำหนักฝากครรภ์ครั้งสุดท้าย
77 kg
BMI 30.08 kg/m*2
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์
67 kg
ส่วนสูง 160 cm.
BMI 26.17 kg/m*2
ฝากครรภ์ครั้งแรก GA 24 wks.by date
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
WBC 16.20 10*3/uL สูง
Neutrophil = 84.4 % สูง
Lymphocyte 9.2% ต่ำ
Body condition : ภาวะทั่วไป
• มารดาไม่มีภาวะซีด
• สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
• สีหน้าสดชื่น
Body tem. Blood pressure
• 24 ชม.แรก Reactionary fever , 3-4วัน Milk fever
แต่ไม่เกิน 38 องศา
• RR 60-70 ครั้ง/นาที มากกว่า100 อาจติดเชื้อหรือตกเลือด
•ความดันโลหิตต่ำโดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากการเสียเลือด
•SBP เพิ่มมากว่า 30mmHg DBP เพิ่มมากกว่า 15 +ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
24ตุลาคม2563 (23.15น.)
อุณหภูมิร่างกาย 36.0 องศาเซลเซียส
ชีพจร 88 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 121/78 mmHg
ไม่มีปวดหัว ตาพร่ามัว
Breast & lactation
การเริ่มสร้างน้ำนมเกิดขึ้นหลังคลอดรก การหลั่งน้ำนมเกิดขึ้นเมื่อลูกดูดนมหรือมีการกระตุ้นหัวนม น้ำนมจะสร้างเต็มที่ใช้เวลาประมาณ
2 – 7 วันแตกต่างกันในแต่ละคน ในการตรวจหลังคลอดควรตรวจดูว่ามารดาเริ่มมีน้ำนมมาหรือยังโดยการบีบบริเวณลานหัวนมทั้งสองข้างจะเห็นน้ำนมที่ออกมาจากหัวนม นอกจากนี้ควรสังเกตลักษณะของน้ำนมด้วยว่าเปลี่ยนแปลงจากน้ำนมเหลือง (colostrums) ไปเป็นน้ำนมจริงแล้วหรือยัง โดยทั่วไปการตรวจเต้านมและหัวนมเพื่อค้นหาภาวะผิดปกติควรทำตั้งแต่ระยะฝากครรภ์และแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนคลอด อย่างไรก็ตามในระยะหลังคลอดทุกครั้งควรตรวจหาภาวะผิดปกติที่อาจเป็นปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เช่น หัวนมสั้น (short nipple) หัวนมบอด (flat nipple) หัวนมบุ๋ม (inverted nipple) หรือภาวะผิดปกติที่เกิดจากการดูดนมที่ไม่ถูกวิธี เช่น หัวนมเจ็บ (sore nipple) หัวนมแตก (cracked nipple) เต้านมคัด (breast engorgement)
ท่อน้ำนมอุดตัน (blocked duct) เต้านมอักเสบ (mastitis) เต้านมเป็นฝี (breast abscess)
25/10/63 day2 แม่น้ำนมไหลดี สีเหลืองทอง
หัวนมไม่บุ๋ม ไม่ยอด มีหัวนมแตกทางด้านซ้าย
Latch score 9/10
5.Belly&Fundus
• มดลูกจะลดลงสู่อุ้งเชิงกรานประมาณ
วันละ 0.5-1นิ้ว/วัน
• วันที่7 หลังคลอด ระดับยอดมดลูกจะอยู่กึ่งกลาง
ระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ
• วันที่10 หลังคลอด อยู่ที่ระดับหัวเหน่า
• 2สัปดาห์ คลำไม่พบที่หน้าท้องกลับสู่ปกติ
• 6สัปดาห์ มดลูกเข้าอู่
แม่คลอด 24ตุลาคม2563
25 ตุลาคม 2563 ระดับยอดมดลูก 3.5 นิ้ว
26 ตุลาคม 2563 ระดับยอดมดลูก 3 นิ้ว
27 ตุลาคม 2563 ระดับยอดมดลูก 2 นิ้ว
6.Bladder
ประเมินการปัสสาวะหลังคลอด
• ปัสสาวะภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังคลอด
แม่ปัสสาวะ 4ชั่วโมง หลังคลอด
สีเหลืองปนเลือด ไม่มีแสบขัด
7.Bleeding & lochia
• N/L ไม่เกิน 500cc
• ถ้าน้ำคาวปลาชุ่มผ้าอนามัย 1 แผ่น (50cc) ภายใน45นาี ระวังตกเลือด
•rebrand สีแดงเข้ม 1-3วันแรกหลังคลอด
• serosa สีชมพู จางๆ 4-9วันหลังคลอด
• Alba จางๆเหลืองๆ วันที่10หลังคลอด
• foul lochia เหม็นมีกลิ่น สีเขียว = ติดเชื้อ
• Bleeding รวม 250 cc ในห้องคลอด 200 รับมาที่บอร์ด~50
• 25 ตุลาคม2563 day2 น้ำคาวปลาสีแดงเข้ม คลึงมดลูก มีน้ำคาวปลาไหลออกมา
• 26 ตุลาคม2563 day3 น้ำคาวปลาสีแดง ไม่มีกลิ่นเหม็น
• 27 ตุลาคม2563 day4 น้ำคาวปลาสีแดงจางๆ
Bottom
ประเมินฝีเย็บ ตามหลักREEDA
• Redness แผลแดง
• Edema บวม
• Echymosis ช้ำ
• Discharge
• Approximation แผลแยก เย็บเสมอกัน
แผลฝีเย็บ ไม่แดง ไม่บวม ไม่ช้ำ
ไม่มีdischarge แผลไม่แยก เย็บเสมอกันดี
Bowel movement
ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น ประเมินจากการขับถ่ายภายใน24ชั่วโมงหลังคลอด
แม่คลอดวันที่24ตุลาคม2563
แม่ขับถ่ายวันที่25ตุลาคม2563 ปกติ
Blues
สภาพจิตใจ
การปรับตัวของมารดาหลังคลอดปกติ 1-2 วันแรก จะมี
พฤติกรรมพึ่งพาผู้อื่น สนใจแต่ความต้องการของตนเอง
จากนั้นถึง10วันจะสนใจทารกมากขึ้น ถ้าปรับตัวไม่ได้จะมี
ภาวะซึมเศร้า ร้องไห้ หงุดหงิด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
มารดาปรับตัวได้ ไม่มีอารมณ์ซึมเศร้าหลังคลอด
Baby
ทารกเพศหญิง หนัก3,200gm.
Apgar score 9,10,10
ผิวสีชมพู หน้าตามีตุ่มผุด ขอบนริมฝีปากแห้ง
ศีรษะและใบหน้าสมมาตรดี
สะดือเริ่มแห้ง หายใจปกติ
Bonding & attachment
• หลังคลอดมารดามีสัมพันธ์ที่ดีต่อลูก
ให้นมบุตร นำลูกมานอนด้วย
• ครอบครัวสามีมาเยี่ยม
Belief madel
ความเชื่อที่มีผลกับการปฏิบัติตัวหลังคลอด ได้แก่ การรับประทานอาหาร การอยู่ไฟ การเลี้ยงบุตร
แม่บอกว่าหลังกลับบ้านจะอยู่ไฟ อบตัว
อาจจะซื้อสมุนไพร ขับน้ำคาวปลามากิน
พยาธิสภาพ
ด้านร่างกาย
มดลูก
•มดลูกจะมีลักษณะกลมแข็งอยู่ที่ระดับสะดือหรือสูงกว่าเล็กน้อย
• น้ำหนักประมาณ1กิโลกรัมแล้วจะลดขนาดลงเรื่อยๆจนกระทั่งมีน้ำหนัก ประมาณ 60 กรัม
• ระดับลงวันละ1-2เซนติเมตรโดยเฉลี่ย10-14วัน
• กระบวนการเปลี่ยนแปลงของมดลูกเพื่อคืนสู่สภาพปกติ ดังกล่าวเรียกว่า Involution
• มดลูกจะลดลงสู่อุ้งเชิงกรานประมาณวันละ 0.5-1นิ้ว/วัน
• วันที่7 หลังคลอด ระดับยอดมดลูกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ
• วันที่10 หลังคลอด อยู่ที่ระดับหัวเหน่า
• 2สัปดาห์ คลำไม่พบที่หน้าท้องกลับสู่ปกติ
• 6สัปดาห์ มดลูกเข้าอู่
น้ำคาวปลา
Foul lochia เหม็นมีกลิ่น สีเขียว = ติดเชื้อ
Lochia rubra มีลักษณะสีแดง พบใน 1-3วันหลังคลอด
Lochia serosa มีลักษณะสีชมพู-สีน้ำตาล พบในระยะหลังคลอด 4-9วันหลังคลอด
Lochia alba มีลักษณะสีฟางข้าว-สีขาว 10-14วันหลังคลอด
ปากมดลูก
• ระยะแรกหลังคลอดปากมดลูกจะมีลักษณะนุ่มบาง external os
• parous cervix เป็นริ้วรอยที่คงอยู่ตลอดไปเป็นการบ่งชี้ว่าเคยคลอดบุตรมาแล้ว
•internalosจะปิดก่อนเช่นเดิมภายใน1-3วันหลังคลอด
ช่องคลอด
• ผลจาการตั้งครรภ์การคลอดละการลดลงของ estrogen ทำให้ช่องคลอดขยายกว้างขึ้น อ่อนนุ่มรอยย่น(rugae) จะลดลงเป็นผิวเรียบซึ่งจะกลับเป็นปกติใน3สัปดาห์หลังคลอด
• การบริหารด้วยวิธีขมิบก้นบ่อยๆ (Kegel’s exereise) จะช่วยให้กล้ามเนื้อช่องคลอดและกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานแข็งแรงเป็นปกติได้เร็วขึ้น
เต้านมและน้ำนม
Prolactinสร้างน้ำนม oxytocin หลั่งมากน้ำนมไหล ไปยับยั้งการทำงานProgesterone และ Estrogen กด Hypothalamus ไม่ให้หลั่ง FSH/LH ทำให้ประจำเดือนไม่มา ยิ่งดูดน้ำนมยิ่งไหล ยิ่งสร้าง
กลไกlet down reflex สร้างน้ำนม หลั่งProlactin
ต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนลดลงเพื่อปรับสมดุลร่างกาย
ด้านจิตใจ
• Taking-in phase เป็นระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอด ในช่วงนี้จึงสนใจต่อ ตนเอง มีความต้องการพึ่งพา (Dependency needs) มารดาอ่อนเพลียต้องการความช่วยเหลือ
• Taking-hold phase ระยะนี้จะอยู่ในช่วง 4-10 วันหลังคลอด ช่วยเหลือตัวเองได้ ให้นมบุตร
• Letting-go phase เป็นช่วงที่ต่อเนื่องจาก Taking-hold phase สามีและภรรยาพึ่งพากัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มารดาหลังคลอดเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาหลังคลอดมีแผลฝีเย็บแบบ
Right Mediolatteral episiotomy , tear 2
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
WBC 16.20 10*3/uL สูง
Neutrophil = 84.4 % สูง
Lymphocyte 9.2% ต่ำ
วัตถุประสงค์
เพื่อเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อุณหภูมิร่างกาย 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
ชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 16-24 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 90/60-120/80 mmHg
ค่าWBC 4.24-10.18 10*3/uL อยู่ในค่าปกติ
ค่าNeutrophils 48.1-71.2% อยู่ในค่าปกติ
ค่าLmmphocyte 21.1-42.7% อยู่ในค่าปกติ
แผลฝีเย็บไม่บวม ไม่แดง ไม่ช้ำเลือด
ไม่มีdischarge ซึม แผลชิดติดกันดี
น้ำคาวปลามีสีแดงจางลงไม่มีกลิ่นเหม็น
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพและบันทึกทุก4ชั่วโมงเพื่อติดตามอาการของภาวะติดเชื้อหลังคลอด
2.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด มีไข้
ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
ประเมินลักษณะน้ำคาวปลาที่ออกมาทางช่องคลอด สีของน้ำคาวปลา ปริมาณ กลิ่น
ดูแลทำความสะอาดแบบ Uiversal precaution โดยก่อนและหลัง
ทำการพยาบาลควรล้างมือทุกครั้ง
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน
ภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
ปัสสาวะหรืออุจจาระทุกครั้ง
คววรทำความสะอาดใช้สบู่หรือน้ำสะอาดล้างจากหน้าไปหลัง
ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก4ชั่วโมงหรือเมื่อผ้าอนามัยชุ่มควรเปลี่ยนทันที
• หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ
เลือดออกทางช่องคลอด น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นให้รีบมาพบแพทย์
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ประเมินการพยาบาล
1.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อุณหภูมิร่างกาย 36.0 องศาเซลเซียส
ชีพจร 88 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที
ไม่มีปวดหัว ตาพร่ามัว
บริเวณแผลฝีเย็บไม่บวมไม่แดงไม่ช้ำ
ไม่มีdischargeซึม แผลชิดติดกัน
มารดาพร่องความรู้ในการให้นมบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาบอกรู้สึกเจ็บเวลาลูกดูดนม
หัวนมแตกข้างซ้าย
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ
ในการให้นมบุตรอย่างถูกวิธี
เกณฑ์การประเมิน
มารดาสามารถตอบคำถามถึงวิธีการ
ให้นมบุตรอย่างถูกวิธี
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้มารดาและทารก
ได้อยู่ร่วมกัน24ชั่วโมง เพื่อให้มารดาเรียนรู้
พฤติกรรมของทารกและให้นมเมื่อทารกมีความพร้อมได้
ให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดให้สามารถให้บุตรดูดนมได้ถูกวิธี
โดยมารดาได้รับการประเมินในเรื่องการให้นมบุตร การให้ทารก
ดูดอมหัวนมที่ถูกวิธี และมารดาสามารถสาธิต
การให้นมบุตรได้อย่างถูกต้อง
ประเมินประสิทธิภาพการดูดนมของทารก สามารถดูด กลืน
และหายใจ ได้ถูก คางหรือจมูกต้องแนบกับเต้านม ริมฝีปากบานออกและแนบสนิทกับลานนม ทารกสามารถดูดนมได้เป็นจังหวะ ปากทารกอมลึกถึงลานนม เพื่อให้ลิ้นสามารถนวดหรือกด Arellano เพื่อให้น้ำนมพุ่งออกมาได้ขณะทารกดูดนมจะได้ยินเสียงดังฟังชีดเป็นจังหวะ แก้มป่องและเมื่อทารกดูดนมจนเต้านมนิ่มแล้วจะปล่อยหัวนมเอง
4.แนะนำให้มารดาเข้าใจการให้ทารกดูดนมอย่างถูกต้อง 4 ดูด
คือ 1) ดูดเร็ว สนับสนุนให้ทารกดูดทันที
2) ดูดบ่อย ให้ทารกดูดนมทุก2-3ชั่วโมงเพื่อลดอาการคัดตึงเต้านมที่ทำให้ทารกดูดนมลำบาก
3)ดูดถูกวิธี การให้ทารกอมหัวนมอย่างถูกต้องเพื่อกระตุ้นการสร้างและขับน้ำนมอย่างรวดเร็วต่อเนื่องและลดภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวนมแตกหรือถลอก
4) ดูดเกลี้ยงเต้า คือน้ำนมแม่ส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง นมแม่ส่วนหลังจะมีโปรตีนและไขมันสูงกว่านมส่วนหน้า ลักษณะข้นกว่า นมแม่ส่วนหลังมีไขมันดี อุดมไปด้วยomega AA ARA มีคอเรสเตอรอลที่จะสร้างใยสมอง
5.ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่มารดาเกี่ยวกับข้อสังเกตของการที่ ทารก
ต้องการดูดนม เช่น มีการเคลื่อนไหวของตาอย่างรวดเร็ว มีการดูดของปากและลิ้น ขยับมือไปที่ปาก ขยับตัวและส่งเสียง
แนะนำแนวปฏิบัติในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว 6เดือน ไม่ต้องเช็ดหรือล้างหัวนมและลานนม ล้างมือให้สะอาดก่อนให้นมบุตรทุกครั้งเลือกท่าในการให้นมบุตร โดยที่อยู่ในท่าผ่อนคลาย สุขสบาย โดยอาจจะนั่งหรือนอนก็ได้
การเอาหัวนมออกจากปากทารกโดยใช้นิ้วก้อยสอดเข้าระหว่างมุมปากกับแล้วกดขากรรไกรล่างลง หรือใช้นิ้วกดคางทารกเบาๆ เมื่อทารกอ้าปากแล้วออกจากปาก ไม่ดึงหัวนมตรงๆเพราะจะทำให้หัวนมแตก มีการจับทารกเรอหลังการดูดนมทุกครั้งและจับให้ทารกนอนตะแคงขวา เพื่อป้องกันการสำรอกและสำลักนม
ไม่ให้น้ำหรือนมผสม หรืออาหารเสริมก่อนนอนก่อนอายุ 6 เดือนและไม่ควรให้ทารกดูดหัวนมยางเพื่อป้องกันการสับสนหัวนม (Nipple confusion)
การประเมินการพยาบาล
มารดาหลังคลอดสามารถตอบคำถาม
เกี่ยวกับการให้นมบุตรได้อย่างถูกต้อง
และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำได้ถูกต้อง
3.มารดาหลังคลอดขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่ถูกต้องเมื่อกลับบ้าน
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาหลังคลอดครรภ์แรก
ซักถามมารดาหลังคลอดถึงวิธีการดูแลตนเองหลังคลอด
ยังตอบคำถามได้ไม่ครบถ้วน
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมทักษะในการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
มารดามีความเข้าใจมากขึ้นสามารถอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้องและมีการซักถามเพิ่มเติมในขณะให้ความรู้
กิจกรรมการพยาบาล
ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
อาการปวดมดลูกใน1-2วันแรกหลังคลอด หากมีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวดได้
มารดาที่คลอดเองอาจพบปมไหมบริเวณแผลฝีเย็บ ไม่ควรแกะหรือดึง เนื่องจากเป็นไหมละลายจะละลายได้เอง
4.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยสบู่และน้ำสะอาด ล้างจากด้านหน้าไปหลัง ไม่ควรแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆและทุกครั้งที่ขับถ่าย
สอนให้มารดาสังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลาขณะขับถ่าย
ป้องกันไมให้ท้องผูกโดยดิ่มน้ำและรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหาร เช่น มะละกอ ลูกพรุน สับปะรด ส้ม
งดอาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ควรพักผ่อนอย่างน้อยวันละ6-8 ชั่วโมง
งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย6สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากปากมดลูกยังไม่ปิด อาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
หลังคลอดไม่ควรยกของหนัก ไม่ควรขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
สามารถออกกำลังกายเบาๆ ด้วยท่าบริหารกายที่ง่ายปลอดภัย ถ้ามารดาที่ผ่าตัดคลอดออกกำลังกายด้วยการลุกขึ้นเดินบ่อยๆจะเป็นการกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
ประเมินการพยาบาล
มารดาหลังคลอดสามารถบอกถึง
การปฏิบัติตัวหลังคลอดเมื่อกลับบ้านได้
คำแนะนำมารดาหลังคลอด
การคุมกำเนิด
• การทำหมันหลังคลอด ทำภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด
จะนิยมทำในช่วง48ชั่วโมงหลังการคลอด
เนื่องจากสามารถทำได้โดยง่าย
• ยาฝัง คุมกำเนิดได้3ปี ไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมของมารดา
• ยาฉีด คุมกำเนิดได้ 3 เดือน ไม่มีปัญหาเรื่องการลืมกินยา
คุมกำเนิดได้นานกว่ายาคุมชนิดกิน
• ยาแบบกิน ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
สามารถรับประทานได้ในช่วงให้นมบุตร
โดยไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมและยังช่วยเพิ่มน้ำนม
มารดาหลังตลอดควรคุมกำเนิดหลัง6สัปดาห์
โดยมารดารายนี้การคุมที่เหมาะสมคือการคุมแบบฝังเข็ม
เนื่องจากสถานะทางการเงินของมารดาซึ่งมารดามีอาชีพรับจ้างและ
ถ้ามีบุตรคนถัดไปอาจจะส่งผลกระทบทาวการเงิน