Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case Study เตียง 9 มภร 15/2 - Coggle Diagram
Case Study เตียง 9 มภร 15/2
คำแนะนำมารดาหลังคลอด
อาการผิดปกติที่ต้องไปพบแพทย์
-มีเลือดสดออกจากช่องคลอด
-แผลฝีเย็บ แผลผ่าตัดอักเสบ บวม แดง
-น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ไข้สูง หรือมีสีแดงเข้มอีกหลังจากมีสีจางไปแล้ว ซึ่งต้องแยกออกจากประจำเดือน
-ปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว
-เจ็บ บวม แดง ร้อนบริเวณเต้านม เต้านมอักเสบบวมแดง มีก้อนที่เต้านม
-รู้สึกแสบขัดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะขุ่น
-ปวดท้องรุนแรง
-หลังคลอด 2 สัปดาห์ไปแล้วยังคลำพบมดลูกหรือก้อนทางหน้าท้อง
การปฏิบัติตัวหลังคลอด
การรับประทานอาหาร
-รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารประเภทโปรตีน เนื้อ นม ไข่ แคลเซียม ผักใบเขียว รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย เช่น มะละกอ ลูกพรุน ป้องกันไม่ให้ท้องผูก งดอาหารหมักดอง แอลกอฮอล์
การนอนหลับพักผ่อน
-ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชม.
การทำงาน
-งดยกของหนักหรือทำงานที่ต้องออกแรงมาก
ไม่ควรขึ้นลงบรรไดบ่อยๆเพราะจะทำให้มดลูกหย่อนได้
สามารถทำงานบ้านได้ตามปกติ
การรักษาความสะอาด
-อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ควรแช่ตัวในอ่างอาบน้ำเพราะจะทำให้
ติดเชื้อได้ เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆและทุกครั้งที่ขับถ่าย หากพบปมไหม
ห้ามดึงเพราะไหมจะละลายเอง
การมีเพศสัมพันธ์ุ
-ควรงดเพศสัมพันธ์ุอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากปากมดลูกยังไม่ปิด อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
การคุมกำเนิด
มารดาหลังคลอดควรคุมกำเนิด 6 สัปดาห์หลังคลอด
โดยมารดารายนี้อายุ 21 ปีและยังอยากมีบุตรคนถัดไป
การคุมกำเนิดที่เหมาะสม คือ ยาคุมกำเนิดแบบกินและแบบฝัง
การประเมินภาวะสุขภาพมารดา
และทารกหลังคลอด
13B
1.Background
-ข้อมูลผู้ป่วย
มารดาหลังคลอด เตียง 9 มภร 15/2 อายุ 21 ปี
ศาสนา พุทธ สัญชาติ ไทย
อาชีพ รับจ้าง รายได้ 11,000 บาท/เดือน
ที่พักอาศัย บ้านพักชั้น 3 ไม่มีลิฟท์
ประวัติการเจ็บป่วย
ประวัติการรักษา
-ปี2561 Admitเนื่องจากตัวต่อต่อย
-ปฏิเสธการแพ้
-ปฏิเสธการผ่าตัด
-ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
-ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
G1P0-0-0-0 GA : 40 Wks 4 Day by date
ฝากครรภ์ รพ.ตำรวจ 6 ครั้ง ประวัติการฝากครรภ์ ปกติ
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล
(25 ตุลาคม 2563) เจ็บครรภ์ก่อนมาโรงพยาบาล 5 ชั่วโมง เจ็บครรภ์สม่ำเสมอทุก 4 นาที ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีมูกเลือด ลูกดิ้นสม่ำเสมอทุก 4 นาที FHS ปกติ
ประวัติการคลอดปัจจุบัน
คลอด Normal Labor ทารกเพศหญิง คลอดเวลา 15.50 น.
วันที่ 25 ตุลาคม 2563 น้ำหนัก 2770 gm. Apgar score 9,10,10
วันที่รับไว้ในการดูแล
25 ตุลาคม 2563
อุณหภูมิร่างกาย 37.1 องศาเซลเซียส
ชีพจร 78 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 124/82 mmHg
2.Body condition
มาดาไม่มีภาวะซีด
สามารถช่วยเหลือตนเองได้
สีหน้าสดชื่น
3.Body temperature & Blood pressure
สัญญาณชีพ 26/10/63
อุณหภูมิร่างกาย 36.8 องศาเซลเซียส
ชีพจร 88 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 119/75 mmHg
pain score 1
4.Breast & Lactation
ประเมินเต้านม หัวนมปกติดี ไม่บอด บุ๋ม หัวนมไม่แตก
วันแรกน้ำนมเริ่มไหลเล็กน้อย และไหลดีในวันถัดไป
มีคัดตึงเต้านมข้างซ้ายเล็กน้อย
5.Belly & Fundus
มดลูกหดรัดตัวดี คลำพบก้อนกลมแข็ง
วัดระดับยอดมดลูกได้ 4.5 นิ้ว
6.Bladder
ปัสสาวะเองได้ตั้งแต่วันแรกหลังคลอด ปัสสาวะ 3-4 ครั้ง/วัน
7.Bleeding & lochia
น้ำคาวปลามีสีแดง ไม่มีกลิ่นเหม็น
เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3 ชั่วโมง
8.Bottom
แผลฝีเย็บปกติดี ไม่มีบวม ไม่แดง ไม่ช้ำเลือด แผลแห้งชิดสนิทกันดี มีปวดแผลบ้างเมื่อนั่งเป็นเวลานาน
9.Bowel movement
สามารถรับประทานอาหารอ่อนได้
ยังไม่ถ่ายตั้งแต่หลังคลอด
10.Blues
มารดามีความสนใจลูกตลอดเวลา
ไม่มีความเครียดหรือความวิตกกังวล
11.Baby
ทารกเพศหญิง คลอดเวลา 15.50 น. วันที่ 25 ตุลาคม 2563
น้ำหนัก 2770 gm. Apgar score 9,10,10
12.Bonding & Attachment
มารดามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อบุตร อุ้มบุตรขณะร้อง
ให้นมบุตรทุกๆ2-3 ชั่วโมง
13.Belief model
แม่เลี้ยงบุตรด้วยตนเองและจะให้นมจนถึง 6 เดือน
ญาติและสามีมาเยี่ยมเป็นประจำทุกวัน
พยาธิสภาพ
ร่างกาย
มดลูก
หลังคลอด : ก้อนกลมแข็งระดับสายสะดือหรือต่ำกว่า
24hr : มดลูกลอยตัวอยู่เหนือสะดือเล็กน้อย เอียงไปทางด้านขวา 2Wks : คลำไม่พบก้อนที่หน้าท้อง จะลดลงวันละ 0.5-1 นิ้ว
Lochia
น้ำคาวปลา
Rubar 1-3 วันแรก สีแดงเข้ม
Serosa 4-9 วัน มีสีแดง ชมพูจางๆ
Alba 10 วันเป็นต้นไป สีเหลืองออกครีมๆ
เต้านม
มีการสร้างน้ำนมโดย Prolactin
จิตใจ
ระยะที่ 1 Taking in phase 1-2วันหลังคลอด
มารดาอ่อนเพลีย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หลับมาก
สนับสนุนให้พักผ่อน ช่วยเหลือกิจกรรมบนเตียง
ระยะที่ 2 Taking hold phase 3-10 วันลังคลอด
มารดาอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตนเองได้ สนใจทารกมากขึ้น
แนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเองและบุตร
ระยะที่ 3 Letting go phase 10 วันหลังคลอด
รับผิดชอบต่อบทบาทอย่างเต็มที่ ปรับความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับสามีและสมาชิกในครอบครัว
ภรรยาและสามีต้องพึ่งพา ช่วยเหลือกัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มารดาหลังคลอดเสี่ยงต่อการเกิดตกเลือดหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาเสียเลือดระหว่างคลอดและหลังคลอด
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
1.มดลูกหดรัดตัวดี คลำได้เป็นก้อนกลมแข็ง
2.มีเลือดออกทางช่องคลอดชุ่มผ้าอนามัยไม่เกิน 1 ผืน/ชม.(50 cc/1 ชม.)
3.แผลฝีเย็บไม่มีเลือดออก ไม่มี Hematoma
4.Blood loss< 500 ml.
5.ไม่มีอาการกระสับกระส่าย ใจสั่น ตัวเย็นหน้ามือและเหงื่อออกง่าย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินลักษณะแผลฝีเย็บ เพื่อดูความผิดปกติ
2.สังเกตและบันทึก ลักษณะ Bleeding per vagina เพื่อประเมินภาวะตกเลือด
3.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
4.ประเมินและสังเกตอาการของภาวะตกเลือด เช่น ซึม อ่อนเพลีย เหงื่อออก
ตัวเย็น เป็นต้น
การประเมินผล
1.แผลฝีเย็บแห้ง สนิทกันดี ไม่มีบวม แดง ช้ำเลือด
2.มี Bleeding/ vaginal 30 ml
3.สัญญาณชีพปกติ BT = 37.6 P= 80ครั้ง/นาที RR = 18 ครั้ง/นาที BP = 113/71
4.ไม่มีอาการซึม อ่อนเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น
2.มารดามีภาวะคัดตึงเต้านม
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาบอกว่ามีคัดตึงเต้านมช้างซ้าย
วัตถุประสงค์
-เพื่อลดการคัดตึงเต้านม
กิจกรรมการพยาบาล
-อธิบายถึงสาเหตุการเกิดเต้านมคัดตึง เช่นให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี เด็กดูดนมไม่เก่ง
-แนะนำให้มารดาใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบเต้านม 3-5 นาที พร้อมกับนวดเต้านม
-กระตุ้นให้ทารกดูดนมบ่อยๆอย่างน้อยทุกๆ 2-3 ชม.สลับให้กินทั้ง 2 ข้าง
-แนะนำมารดาให้บีบนมก่อนไม่ให้นมค้างเต้า
การประเมินผล
-มารดามีอาการคัดตึงเต้านมลดลง
-เต้านมไม่บวม
-น้ำนมไหลดี
เกณฑ์การประเมิน
-เต้านมไม่บวม แดง ร้อน -น้ำนมไหลดี
-เต้านมคัดตึงน้อยลง
3.มารดาพร่องความรู้การปฏิบัติตัวหลังกลับบ้าน
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาตอบคำถามที่ถามได้เล็กน้อย
วัตถุประสงค์
มารดาหลังคลอดสามารถปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้านได้อย่างถูกวิธี
เกณฑ์การประเมิน
มารดามีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำมารดารับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน เนื้อ นม ไข่ ผักผลไม้ที่มีกากใย
2.งดอาการรสจัด ของหมักของดอง
3.ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้วหรือปริมาณ 3000 ลิตร
4.แนะนำมารดานอนหลับพักผ่อนวันละ 6-8 ชั่วโมงหรือนอนในช่วงที่บุตรหลับ
5.ควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอดเพราะปากมดลูกยังไม่ปิด อาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
6.แนะนำออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ เช่น กายบริหารทั่วไป ออกกำลังกายบริเวณอุ้งเชิงกราน ฝึกขมิบวันละ 200-300 ครั้ง
7.สอนให้มารดาสังเกตุการหดรัดตัวของมดลูก มดลูกจะเข้าอู่ใน 2 สัปดาห์หลังคลอด หากยังคลึงพบมดลูกให้มาพบแพทย์
8.สังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น แผลฝีเย็บบวมแดง มีหนองไหล