Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case study normal labor เตียง 15 - Coggle Diagram
Case study
normal labor
เตียง 15
1.background
ข้อมูลส่วนตัว
มารดาหลังคลอดเตียง 15 มภร.15/2 อายุ 27 ปี ศาสนา พุทธ จบการศึกษา ป.6
อาชีพ ไม่ได้ทำงาน รายได้ ไม่มีรายได้ โรคประจำตัว ไวรัสตับอักเสบบี ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
รับไว้ในรพ /10/63
Dx. G2P1 GA 37+6 wk by U/S ไม่ทำหมัน เวลาเจ็บครรภ์ 17.00 น. MA 4.30น. Blood loss 50 ml 2 degree tair
Normal labor 25 ต.ค. 63 เวลา 4.46 น. เพศหญิง 2940 กรัม apgar 9 คะแนน
Present history
G1 (2559) N/L เพศหญิง 2800 g. รพ.ตร ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทปัจจุบัน อายุ 4 ปี สุขภาพแข็งแรงดี
Present illness 5 hr PTA เจ็บครรภ์คลอด ไม่มีมูกเลือด ไม่มีน้ำเดิน ลูกดิ้นดี จึงมารพ.
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน G2P1000
ฝากครรภ์ รพ.ปลวกแดง ANC 4 ครั้ง (ครั้งที่ 1 GA 10+6 wk by LMP /25 wk by u/s ) BMI ก่อนการตั้งครรภ์ 17.67 มารดามีเชื้อ HBsAg :positive
ก่อนการตั้งครรภ์คุมกำเนิดแบบยาคุมกำเนิดชนิดกิน ไม่มีผลข้างเคียง และหลังตั้งครรภ์จะคุมกำเนิดแบบกิน
2.Bellef)
มารดาสมารถรับประทานอาหารและยาได้เอง ไม่มีอาการแพ้
กลางคืนาอนหลับพักผ่อนได้มีตื่นมากลางดึกเพื่อให้นมแต่สามารถนอนกลางวันได้
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองและสามารถให้นมบุตรได้
หลังคลอดจะเลี้ยงบุตรเอง อยู่ไฟหลังคลอด
Body condition
Day 1 : รับย้ายจาก LR ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่ซีด ไม่เวียนหัว มีสีหน้าอ่อนเพลีย ps 1 สามารถรับประทานอาหารและยาได้ ได้รับยาพาราเซตามอน void ได้ ทารกสามารถดูดนมได้
Day 2 : ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นมากขึ้น ปวดแผลน้อยลง ทารกอมไม่ถึงลานนมจึงเริ่มมีหัวนมแตก
Day 3 : ผู้ป่วยสีหน้าสดชื่น กลางคืนนอนหลับได้ ไม่มีอาการปวด เต้านมคัดตึงเนื่องจากทารกอมหม่ถึงลานนมและดูดไม่เกลี้ยงเต้า และเตรียมกลับบ้าน
4.body temperature and blood pressure
4.body temperature and blood pressure
26/10/63: temp 36.2 pulse 74 RR 18 bp 101/57 pain 0 oxygen sat 98% ปกติ
5.breast and lactation
Day1 น้ำนมออกดีเริ่มมีหัวนมแตกจึงแนะนำให้แม่ให้ทารกอมลึกๆไปให้ถึงบริเวณลานนมหรือถ้าหัวนมแตกให้ใช้น้ำนมแต้ม และดูดนมอีกข้าง เนื่องจากมารดามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหากหัวนมแตกควรงดให้นม Day2 เต้านมคัดตึงทั้ง 2ข้าง ทารกอมไม่ลึกจึงประคบและนวดเต้านม แต่ช่วง2-3 วันแรกหลังคลอดอาจคัดตึงได้เนื่องจากการคั่งของเลือดหรือน้ำเหลือง
ลักษณะเต้านมสมมาตร ทั้ง2ข้าง ไม่บอดไม่บุ๋ม
6.belly &fundus มดลูกหดรัดตัวดี คลำพบก้อนกลมแข็งชัดเจนระดับยอดมดลูก 4 นิ้ว ปวดมดลูกเมื่อลูกดูดนม
Bladder
ปัสสาวะเองได้วันละ 3 ครั้ง ไม่อุจจาระ ไม่มีปัญหาท้องผูก
8.bleeding and lochia
Day 1 น้ำคาวปลาสีแดง ไม่มีกลิ่น เปลี่ยน pad วันละ 3 ชิ้น
Day 2 น้ำคาวปลาสีจางลง เปลี่ยน pad วันละ 3ครั้ง
9.bottom
ฝีเย็บปกติดี ไม่แดง ไม่บวม ไม่ช้ำ ไม่มีเลือดซึมหรือหนองไหล แผลชิดสนิทกันดี ไม่มีอาการปวดฝีเย็บ
10bowel movement
ลำไส้เคลื่อนไหวกันดีไม่มีปัญหาท้องผูก
11.blues
มารดาสามารถปรับตัวเข้าหาทารกได้ สามารถปฎิบัติตามคำแนะนำได้ สนใจทารกดี ไม่มีความเครียดและความกังวล
12.bonding & attachment
มารดามีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับทารก สามีมาเยี่ยมทุกครั้งและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับทารก บุตรคนแรกมีปฏิสัมพันธ์ดี ให้นมบุตรทุก 2-3 ชม
13.baby
ทารกเพศหญิง 2940 กรัม ส่วนสูง 52 ซม apgar = 9 10 10 ปกติดี ไม่มี caput succedaneum ไม่มี facial nerve plasy มีแขนขา ไม่มีspina bifida
คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
การปฏิบัติตัวหลังคลอด
-ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
-หากมีอาการปวดมดลูกมากรับประทานยาแก้ปวดได้
-สำหรับมารดาคลอดเองถ้าพบปมไหมบริเวณฝีเย็บไม่ควรแกะหรือดึงเนื่องจากเป็นไหมละลาย
-ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2-3 ชม ไม่ว่าจะมีเลือดออกหรือไม่ หรือเปลี่ยนทุกครั้งที่ขับถ่าย
-ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำและดูแลเรื่องความสะอาดของแผล
-ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์จากด้านหน้าไปหลัง ไม่ควรแช่ตัวในอ่างหรือน้ำคลอง
-ควรพักผ่อนอย่างน้อย 6-8ชั่วโมง
-งดมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 6สัปดาห์ เนืองจากมดลูกยังไม่ปิด อาจติดเชื้อได้
-ไม่ควรยกของหนักหรือ ข้ึนลงบันไดบ่อยๆ
-สามารถออกกําลังกายเบาๆ ด้วยท่ากายบริหารที่ง่ายๆปลอดภัย
การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง และผลิตน้ำนมได้เพียงพอ เช่น อาหารพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่ว ไข่ นมสด ผัก และผลไม้ทุกชนิด ดื่มน้ำอย่างน้อย
วันละ 6-8 แก้วเพิ่ม ca Fe อาหารที่ควรงดได้แก่ อาหารรสจัดของหมักดอง น้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์เนื่องจากสามารถผ่านทางน้ำนมได้
การพักผ่อน ควรพักผ่อนมากๆใน 2 สัปดาห์แรกโดยในตอนกลางวันควรพักผ่อนประมาณ 1-2 ช่วโมงหรือพักผ่อนในช่วงที่ทารกหลับ
ส่วนในตอนกลางคืนควรพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
การทำงาน ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอดสามารถทำงานบ้านเบาๆ ได้ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ต้องออกแรงมาก
เพราะกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆยังไม่แข็งแรงซึ่งอาจทำให้มดลูกหย่อนภายหลังได้ หลังคลอด 2 สัปดาห์
ไปแล้วค่อยๆทำงานเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนครบ 6 สัปดาห์จึงทำงานได้ตามปกติ
การรักษาความสะอาดของร่างกาย ควรอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรแช่ในอ่างน้ำ
หรือแม่น้ำลำคลองเพราะเชื้อโรคอาจผ่านเข้าไปในดพรงมดลูกทำให้เกิดการติดเชื้อได้
ควรสระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตัดเล็บให้สั้นเสื้อผ้าต้องสะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายสะอาดสามารถดูแลบุตรในวัยทารกแรกเกิดได้ ไม่ติดเชื้อหรืออันตรายต่างๆจากผู้ที่ให้การเลี้ยงดู
การดูแลรักษาเต้านมและหัวนม ควรล้างให้สะอาดขณะอาบน้ำ และเช็ดทุกครั้งหลังให้นมเพราะอาจมีคราบน้ำนมแห้งติดทำให้หัวนมแตกเป็นแผลได้
ควรสวมเสื้อยกทรงพยุงเต้านมไว้ เนื่องจากเต้านมจะมีขนาดโตขึ้นอาจทำให้เต้านมหย่อนได้ภายหลัง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกควรทำควาสะอาดด้วยสบู่และล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำและหลังการถ่ายปัสสาวะ
หรืออุจาระและซับให้แห้งจากด้านหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคจากรูทวารหนักมาเข้าสู่ช่องคลอดได้จากนั้นใส่ผ้าอนามัยที่สะอาดเพื่อรองรับน้ำคาวปลาที่ออกมา
ป้องกันติดเชื้อควรเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่มหรือทุก 3-4 ชั่วโมง
การมีเพศสัมพันธุ์ ควรงดจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดเมื่อครบ 4-6 สัปดาห์แล้วว่าไม่มีภาวะผิดปกติทั้งนี้ เนื่องจากช่วงหลังคลอดใหม่ๆ ยังมีแผลในโพรงมดลูกน้ำคาวปลา และมีแผฝีเย็บยังไม่ติดดีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
2.ประเมินน้ำคาวปลา
Lochia rubra 1-3วันแรกพบสีแดงเข้ม
Lochia serosa 4-9วัน พบสีแดงจาง ชมพู
Lochia alba 10วันจะพบลักษณะเป็นมูก สีเหลือง
หากพบว่าน้ำคาวปลามีสีผิดปกติ หรอื มีกลิ่นเหม็นควรรีบมาพบแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อได้ เรียกว่า Foul lochia
3.การให้นมบุตร
ประโยชน์ที่ลูกได้รับ
นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนทำให้ลูกเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัย
นมแม่มีภูมิต้านทานโรค ทำให้ลูกแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บป่วย
นมแม่ ทำให้มีพัฒนาการทางสมองที่ดี
ลดโอกาสลูกท้องเสียและท้องอืดท้องเฟ้อ
กลิ่นขับถ่ายของลูกไม่เหม็นรุนแรง
ลดโอกาสเป็นผื่นแพ้ ผิวหนังอักเสบ
ประโยชน์ที่แม่ได้รับจากการให้ลูกกินนมแม่
มีกระดูกที่แข็งแรงกว่าในระยะยาว
ลดโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข
ลดน้ำหนักได้เร็ว ทำให้มีรูปร่างสมส่วน
ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
สะดวกต่อแม่ ให้ลูกกินนมเวลาใดก็ได้
หลักการ 4 ด
ด.ดูดไว ไม่ใช้ให้ลูกดูดนมแม่ไวจนไม่หายใจนะคะคุณแม่ แต่ดูดไวในที่นี้คือหลักจากที่คุณแม่คลอดน้องออกมา
ภายใน 1 ชั่วโมงให้ลูกเข้าเต้าเพื่อดูดนมแม่ในทันทียิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้นไม่ต้องรอ
ให้น้ำนมแม่ไหลออกมาก่อนค่อยให้ลูกดูด การกระตุ้นจากลูกจะเป็นการเรียกน้ำนมแม่ออกมาเอง
ด.ดูดบ่อย เมื่อลูกหิวให้ลูกดูดไปเลยไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะจุกจะอิ่มเพราะน้ำนมแม่ย่อยง่ายที่สุดการดูดบ่อยๆจะช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่เป็นวิธีเพิ่มนมแม่อีกแรงคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องเวลาหิวเมื่อไหร่ให้ลูกดูดนมแม่ได้ตลอดเลย เมื่อลูกน้อยหลับอยู่คุณแม่ควรปลุกขึ้นมาดื่มนมแม่ได้เลยทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านั้น คุณแม่จะสังเกตได้จากกิริยาของน้องว่า จะส่ายหัวเพื่อหาหน้านม คุณแม่ลองเอามือสัมผัสที่บริเวณปากเบาดูว่าน้องหิวหรือไม่
ด. ดูดถูกวิธี ด.นี้ต้องให้ความสัญนิดนึ่งเพราะหากลูกดูดไม่ถูกวิธีอาจทำให้คุณแม่หัวนมแตก
ลูกน้อยงอแงไม่สบายตัวก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการอุ้ม
ปากลูกน้อยต้องอ้ากว้างเพื่องับไปถึงลานหัวนมแม่ให้ลูกน้อยอมเต็มปากคางแนบเนินเต้านมแม่
จมูกชิดหรือติดกับเต้านมแม่ ปากบน-ล่างเผยอออกมา
ลูกดูดโดยใช้ลิ้นรีดนมแม่ออกมาเป็นจังหวะ
เมื่อสังเกตเห็นลูกดูดช้าหรือไม่ดูดแล้วให้ใช่นิ้วกระตุกที่คางเบาๆถ้าลูกไม่ดูดต่อหรืออ้าปากค้างไว้แสดงว่าลูกหิวควรจับลูกมาเรอ
ด.ดูดเกลี้ยงเต้า ด.นี้ให้ลูกน้อยดูดนมแม่ให้นานให้เกลี้ยงเพราะน้ำนมแม่ส่วนหลังมีไขมันนมแม่ที่ข้นกว่าน้
ำส่วนหน้าที่มีส่วนช่วยเรื่องพัฒนาการสมองและสายตาของลูกน้อยจะสังเกตได้ง่ายๆ
จากอาการคัดนมหรือนมแม่ตึงลดน้อยลง
และเมื่อลูกน้อยดูดนมแม่จนเกลี้ยงเต้าแล้วร่างกายจะสร้างน้ำนมแม่ใหม่ขึ้นมาอีกวิธีนี้เป็นวิธีที่คุณแม่สามารถเพิ่มนมแม่ได้ น้ำนมแม่ไม่อุดตัน ป้องกันน้ำนมแม่ลดลงอีกด้วย
อาการผิดปกติที่ควรรีบมารับการตรวจรักษาก่อนถึงวันนัด
ไข้
ปวดศรีษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว
มีเลือดสดๆ ออกทางช่องคลอดมาก
น้ำคาวปลามีสีแดงไม่จางลง ออกจำนวนมากหรือมีกลิ่น เหม็นเน่า
เต้านมอักเสบ บวม แดง แข็งเป้นก้อน กดเจ็บ
น่องบวมแดง กดเจ็บ
ถ่ายปัสสาวะบ่อย แสบขัดเวลาปัสสาวะ
หลังคลอด 2 สัปดาห์แล้วยังคลำได้ก้อนทางหน้าท้อง
4.ท่าอุ้มให้นมลูก
ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle hold)
ท่าให้นมลักษณะนีเหมาะสำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ เนื่องจากคุณแม่ผ่าคลอดอาจไปกดแผลบริเวณหน้าท้อง
ท่านอนขวางบนตักประยุกต์ (cross-cradle hold)
ให้ลูกกินนมนี้เหมาะที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด เล็กตัวเล็กและทารกที่มีปัญหาในการดูดนม ลูกไม่เข้าเต้า
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold)
ใช้ได้ดีสำหรับคุณแม่ผ่าคลอดเพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับแผลผ่าคลอด ลูกตัวเล็กหรือมีปัญหาในการเข้าเต้านม คุณแม่หน้าอกใหญ่หรือหัวนมแบน คุณแม่ลูกแฝดที่ต้องดูดนมพร้อมกัน
ท่าเอนตัว (laid-back hold)
ท่าที่ป้องกันการสำลักนมได้ดี รู้สึกสบายทั้งคุณแม่และลูกน้อย
ท่านอน (Side lying position)
เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต้องการพักผ่อน หรือการนั่งลำบากนั่งไม่สบาย หรือสำหรับให้นมลูกเวลากลางคืน
ท่าตั้งตรง (Upright or standing baby)
ท่าอุ้มให้นมนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาปากแหว่ง หรือมีแนวโน้มที่จะหายใจไม่ออก หรือมีกรดไหลย้อนค่ะ จะช่วยให้ลูกน้อยดูดนมได้ง่ายขึ้น
พยาธิภาพมารดาหลังคลอด
ด้านร่างกาย
เต้านม
มารดาจะมีการสร้างน้ำนม โดยฮอร์โมน Prolactin ตั้งแต่ตอนตตั้งครรภ์ แต่ถูกกดไว้ด้วยฮอร์โมน Progesterone และ Estrogen เมื่อทารกคลอด ฮอร์โมนดังกล่าวมีปริมาณลดลง ทําให้ Prolactin
สามารถผลิตน้ำานม และมีฮอร์โมน Oxytocin ช่วยในการหลั่งของน้ำานมทําให้มารดาหลังคลอดมีน้ำนมไหลออกมา
-Day1 น้ำนมมารดาไหลดี ทารกสามารถดูดได้แต่ทารกอมไม่ลึกจึงเริ่มมีแผลที่บริเวณหัวนม
-ชนิดของน้ำนม
1.Colostrums 1-5 วันหลังคลอด มีสีเหลืองมีโปรตีนมาก มีภูมิคุ้มกัน IgA
2.Transitional 7-10 จนถึง 2 สัปดาห์ เป็นน้ำนมระยะปรับเปลี่ยน
มีภูมิคุ้มกัน น้ำตาล ไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำเพิ่มขึ้น
3.Mature milk น้ำนมแท้ สีขาว พบ 2 สัปดาหห์ หลังคลอด มีปริ มาณน้ำมากที่สุด 87% มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและเกลือแร่
Day2 เต้านมคัดตึงจึงประคบอุ่นและนวดเต้านมให้มารดาและสอนวิธีการประคบ
มดลูก
-หลังคลอด พบมดลูกกลมแข็ง ลอยตัวเหนือระดับสะดือทางด้านขวา
7วันมดลูกอยู่ระดับสะดือ
10วันมดลูกอยู่ระดับหัวหน่าว
2สัปดาห์ จะคลํามดลูกไม่พบ โดยระดับมดลูกจะลดลงวันละ 0.5-1 นิ้ว/วัน
-day 1 วัดระดับยอดมดลูก 4 นิ้ว
-day2 วัดระดับยอดมดลูกได้ 3.5 นิ้ว
น้ำคาวปลา
Lochia rubra 1-3วันแรกพบสีแดงเข้ม
Lochia serosa 4-9วัน พบสีแดงจาง ชมพู
Lochia alba 10วันจะพบลักษณะเป็นมูก สีเหลือง
หากพบว่าน้ำคาวปลามีสีผิดปกติ หรอื มีกลิ่นเหม็นควรรีบมาพบแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อได้ เรียกว่า Foul lochia
-day 1 น้ำคาวปลาสีแดงเข้ม
-day2 น้ำคาวปลาสีแดงจางๆ
ปากมดลูก
-หลังคลอด ปากมดลูกจะน่มุ ไม่เป็นรูปทรง
•ช่องคลอด
-เยื่อบุอ่อนนุ่มมาก ขนาดกว้างกว่าก่อนคลอด
แนะนําให้มารดาทํา Kegel’s exercise เพื่อบริหารช่องคลอด
•เต้านม
-ตรวจความผิดปกติของเต้านม เชน่ ลานนมแข็ง หัวนมแตก บอด บุ๋ม
-มีการหลั่ง Prolactin ทําให้มีการสร้างน้ำนม และมีการหลั่ง Oxytocin เพื่อหลั่งน้ำานม
หลัก 4ด ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ดูดเกลี้ยงเต้า
ต่อมไร้ท่อ
-Hmต่างๆ จะกลับมาเป็นปกติใน 12 wks.
-FHS และ LH จาก Pituitary gland จะหลั่งเมื่อ 6-7 สัปดาหห์ หลังคลอดจะทําให้มีประจําเดือน
ด้านจิตใจ
ระยะที่ 1 Takinginphase1-2วันหลังคลอด
-มารดาอ่อนเพลีย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หลับมาก
-สนับสนนุ ให้พักผ่อน ช่วยเหลือกิจกรรมบนเตียง
•ระยะที่ 2 Takingholdphase3-10วันหลังคลอด
มารดาหายอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตัวเองได้ สนใจทารกมากข้ึน
-แนะนําเกี่ยวกับการดูแลตัวเองและบุตร
ระยะที่ 3 Letting go phase 10วันหลังคลอด
-รับผิดชอบต่อบทบาทอย่างเต็มที่ปรับความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับสามีและสมาชิกในครอบครัว
-ภรรยาและสามีต้องพึ่งพา ช่วยเหลือกัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไวรัสตับอักเสบบีไปสู่ ทารก ครอบครัวเนื่องจากมารดาหลังคลอดยังขาดความรู้ในการปฏิบัติตนเมื่อตนเองเป็นโรค
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาหลังคลอดรับประทานข้าวพร้อมญาติในห้องพัก
สีหน้ามารดามีความวิตกกังวล
มารดาเริ่มมีหัวนมแตก
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มารดาหลังคลอด และญาติมีความรู้ในการดูแลตนเอง และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน)
กิจกรรมการพยาบาล
ใช้หลักการ Universal precaution ในการให้การพยาบาลกับมารดา เน้นการแพร่กระจายเชื้อ จาก สารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกายมารดา ได้แนะนำความจำเป็นในการแยกของใช้ของมารดาหลังคลอดกับญาติ
ถ้ามารดา ไอหรือจาม แนะนำให้ปิดปาก ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
ให้ความรู้เรื่อง การป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อจากมารดาสู่ บุคคลอื่นๆ บอกถึงความจำเป็น
ที่ต้องแยกมารดาไม่ให้รวมอยู่กับคนไข้อื่น เพื่อให้มารดาเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการแพร่ เชื้อไวรัสตับอักแสบ ชนิดบี สู่ชุมชน และบุคคลรอบข้าง
ได้แนะนำการงดดื่มสุรา และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมัน เพื่อลดการทำงานของตับ
ได้แนะนำให้พาบุคคลใกล้ชิดภายในครอบครัวมาตรวจเลือด และรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัส
ตับอักเสบ ชนิดบี
แนะนำมารดาให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เพราะ antigen ที่อยู่ในน้ำนมนั้น
น้อย มาก ไม่สามารถติดต่อไปยังทารกได้แต่ควรระวังไม่ให้หัวนมแตกเนื่องจากสามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ถ้าหัวนมแตกควรงดให้นมและใช้น้ำนมแต้มบริเวณหัวนมที่แตก
การประเมินผล
สีหน้ามารดาสดชื่นขึ้น
เข้าใจเรื่องแผนการรักษาของพยาบาล ขณะอยู่โรงพยาบาลมีการระวัง ป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น และลูกก็ได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเมื่อแรกคลอด
ข้อวินิจฉัยที่ 2ไม่สุขสบายเนื่องจากการคัดตึงเต้านม
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาหลังคลอดบ่น “ปวดเต้านมและเจ็บหัวนม”
เต้านมคัดตึงเต้านม หัวนมแดง ลูกดูดนมไม่ถูกแม่ให้ลูกดูดนมน้อยลงเพราะรู้สึกเจ็บ
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล
เพื่อบรรเทาอาการปวดเต้านม
เพื่อลดความเจ็บปวดเต้านมและหัวนมแดงน้อยลง
เกณฑ์การประเมินผล
เต้านมนุ่ม ไม่คัดตึง
อาการเจ็บหัวนม และหัวนมแดงน้อยลง
กิจกรรมการพยาบาล)
สร้างสัมพันธภาพกับมารดาหลังคลอด เพื่อให้เกิดความไว้วางใจโดยการทักทายด้วย ท่าทางอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส
ประคบเต้านมทั้ง 2 ข้างด้วยน้ำอุ่นจัด นวดเต้านมเบาๆ ใช้ขวดน้ำอุ่นคลึงเต้านม สอนสาธิตวิธีบีบนมออก และแนะนำให้มารดารู้จักวิธีประคบเต้านม หรือบีบน้ำนมออกเพื่อลดการคัดตึงเต้านม
ให้ความรู้ และช่วยเหลือมารดาให้สามารถให้นมบุตรที่ถูกต้องและสอนวิธีทำให้มาก และไหลดี
4.ช่วยเหลือให้กำลังใจด้วยท่าทีสุภาพ เป็นกันเองเพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความมั่นใจในการดูแลตนเองและการเลี้ยงดูบุตร
ให้ความรู้และให้คำแนะนำ เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการดูแลเต้านมคัดตึง ที่ถูกหลักการดังนี้
ให้มารดารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้น้ำนมมีมาก
สอน สาธิตการให้ทารกดูดนมให้ถูกวิธี
สอน สาธิตการให้นมที่ถูกวิธีทั้งท่านั่งและท่านอน
สอน สาธิตการอุ้มลูกเรอไล่ลม เพื่อป้องกันท้องอืดและอาการแหวะนม
ขณะให้นม มารดาหลังคลอดควรจ้องมองหน้าทารกและลูบศีรษะเบา ๆ
ให้มารดามารดาหลังคลอดสวมเสื้อยกทรงพยุงเต้านมไว้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
ให้ยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
กระตุ้นให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำอุ่นๆ อย่างน้อยวันละ 2500 – 3000 ซีซี โดยให้ดื่ม
บ่อย ๆ หรือก่อนนอนและหลังให้นมทารกทุกครั้ง