Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รายวิชาความเป็นครู บทที่ 6 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546,…
รายวิชาความเป็นครู บทที่ 6
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2546
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชบัญญัติฉบับบนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตร 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 1
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562”
มาตรา 2
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 3
ในพระราชบัญญัตินี้
(1) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ส.2515
(2) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
มาตรา 4
"เด็ก"
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
"เด็กเร่ร่อน"
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
"เด็กกำพร้า"
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
"เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก"
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
"เด็กพิการ"
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
"เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด"
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“สถานสงเคราะห์”
สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
“นักเรียน”
เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
“นักศึกษา”
เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
“บิดามารดา”
บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
“ผู้ปกครอง”
บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย
“ครอบครัวอุปถัมภ์”
บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
“การเลี้ยงดูโดยมิชอบ”
การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
“ทารุณกรรม”
การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
“สืบเสาะและพินิจ”
การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมาย และหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น
“สถานรับเลี้ยงเด็ก”
สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
“สถานแรกรับ”
สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย
“สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ”
สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพ เพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
“สถานพัฒนาและฟื้นฟู”
สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดขึ้นเพื่อให้การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการศึกษา แนะแนว และการฝึกอบรมอาชีพแก่เด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นกรณีพิเศษ
“สถานพินิจ”
สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
“กองทุน”
กองทุนคุ้มครองเด็ก
“คณะกรรมการ”
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
“พนักงานเจ้าหน้าที่”
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“ผู้ว่าราชการจังหวัด”
รวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด
“ปลัดกระทรวง”
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวง
“รัฐมนตรี”
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5
ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในจังหวัดใดยังมิได้เปิดทำการศาลเยาวชนและครอบครัวหรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัด ให้ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น
หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
มาตรา 10
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 9 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่
(4) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) เป็นบุคคลล้มละลาย
(7) ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
มาตรา 11
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันตามมาตรา 7 เป็นกรรมการแทน และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
มาตรา 12
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งครบวาระแล้ว แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน
มาตรา 13
การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา 14
คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย
(2) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี
(3) วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(4) วางระเบียบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 47
(5) วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
(6) ให้คำปรึกษา แนะนำ
(7) ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงาน
(8) ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
มาตรา 9
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา 15
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา 8
ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานธุรการทั่วไปของคณะกรรมการ
(2) ประสานงานและร่วมมือกับส่วนราชการ
(3) พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการ
(4) รวบรวมผลการวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการติดตามและประเมินผล
(5) ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ
มาตรา 16
ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร
มาตรา 7
ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
มาตรา 17
ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
มาตรา 18
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การแต่งตั้งกรรมการแทน และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา 19
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 13 และมาตรา 15 มาใช้บังคับกับการประชุมและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน
มาตรา 20
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับนโยบาย
(2) ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงาน
(3) กำหนดแนวทางการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
(4) จัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
(5) ตรวจสอบหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(6) เรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานใด ๆ หรือขอคำชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
(7) ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
(8) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา 21
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้กรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 2 การปฏิบัติต่อเด็ก
มาตรา 22
การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
มาตรา 23
ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
มาตรา 24
ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่
มาตรา 25
ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการ ทอดทิ้งเด็ก ละทิ้งเด็ก จงใจหรือละเลยม่ให้สิ่งที่จำเป็น ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโต การเลี้ยงดูโดยมิชอบ
มาตรา 26
ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้กระทำการดังต่อไปนี้
(1) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจ
(2) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาล
(3) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
(4) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใดเพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติ
(5) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน
(6) ใช้ จ้าง หรือวานให้เด็กทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตราย
(7) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า
(8) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน
(9) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือ กระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร
มาตรา 27
ห้ามโฆษณาหรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง หรือเกียรติคุณ หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
มาตรา 28
มาตรา 29
มาตรา 30
มาตรา 31
หมวด 3 การสงเคราะห์เด็ก
มาตรา 32
เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์
เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า
เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดู
เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสม
เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง
เด็กพิการ
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์
มาตรา 33
ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24 ได้รับแจ้งจากบุคคลตามมาตรา 29 หรือพบเห็นเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 32 ให้พิจารณาให้การสงเคราะห์ตามวิธีการที่เหมาะสม
มาตรา 34
ผู้ปกครองหรือญาติของเด็ก อาจนำเด็กไปขอรับการสงเคราะห์ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด หรือที่สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูของเอกชน เพื่อขอรับการสงเคราะห์ได้
มาตรา 35
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24 พบเห็นเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 32(1) และ (2) หรือได้รับแจ้งจากบุคคลตามมาตรา 29 ให้สอบถามเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ถ้าเด็กเจ็บป่วยหรือจำต้องตรวจสุขภาพหรือเป็นเด็กพิการต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที
มาตรา 36
ในระหว่างที่เด็กได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 33 (2) (4) หรือ (6) หากปรากฏว่าเป็นเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดและพึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งให้ใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กตามหมวด 4 ได้
มาตรา 37
เมื่อสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูได้รับตัวเด็กไว้ตามมาตรา 33 (5) (6) หรือ (7) ให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพรีบสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัว และเสนอความเห็นเกี่ยวกับวิธีการสงเคราะห์หรือคุ้มครอง
มาตรา 38
ในกรณีที่ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เด็กเข้ารับการสงเคราะห์โดยผู้ปกครองไม่ยินยอมตามมาตรา 33 วรรคสอง กรณีที่ผู้ปกครองของเด็กไม่เห็นด้วยกับกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 33 วรรคสาม หรือกรณีที่ผู้ปกครองยื่นคำร้องขอรับเด็กไปปกครองดูแลเอง
มาตรา 39
ในกรณีที่ผู้ปกครองซึ่งได้รับเด็กกลับมาอยู่ในความดูแล มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24 ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง
หมวด 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
มาตรา 40
เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
(๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม
(๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
(๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 41
ให้ผู้พบเห็นพฤติการณ์ที่มีการทารุณกรรมต่อเด็กให้รีบแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจโดยทันทีและให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวโดยเร็วที่สุด
มาตรา 42
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ต้องจัดให้มีการรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที ถ้าเจ้าพนักงานเห็นสมควร อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนก็ได้ในระหว่างการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสม
มาตรา 43
กรณีที่ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กเป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องนั้นจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก ก็ให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นมีอำนาจกำหนดมาตรการคุมความประพฤติผู้นั้น ห้ามเข้าเขตกำหนด หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กในระยะที่ศาลกำหนด
มาตรา 44
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24 พบเห็นหรือได้รับแจ้งจากผู้พบเห็นเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดให้สอบถามเด็กและดำเนินการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็ก รวมทั้งสภาพความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความเป็นอยู่ การเลี้ยงดู อุปนิสัย และความประพฤติของเด็กเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก
มาตรา 45
ห้ามมิให้เด็กซื้อหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หรือเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หากฝ่าฝืนให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามเด็กเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและมีหนังสือเรียกผู้ปกครองมาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือ ว่ากล่าวตักเตือน ให้ทำทัณฑ์บน
มาตรา 46
ในกรณีที่ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ส่งเด็กเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ออกข้อกำหนดให้เด็กทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ตามมาตรา 45 หากผู้ปกครองไม่เห็นด้วยให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 5 ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง
มาตรา 47
วิธีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก นอกจากที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด 5 ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
มาตรา 48
ในการดำเนินการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติแก่เด็กตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 49
ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) เยี่ยมเยียน ให้คำปรึกษา แนะนำ และตักเตือน
(2) เยี่ยมเยียน ให้คำปรึกษา และแนะนำแก่
ผู้ปกครอง
(4) จัดทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของเด็กและของผู้ปกครอง
มาตรา 50
ห้ามมิให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพหรือผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล ภาพหรือข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก ผู้ปกครอง ในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหาย
หมวด 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพและสถานพัฒนาและฟื้นฟู
มาตรา 53
ให้ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด กำกับดูแลและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน
มาตรา 54
ในสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟูจะต้องไม่ดำเนินกิจการในลักษณะแสวงหากำไรในทางธุรกิจ
มาตรา 55
ห้ปลัดกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์
มาตรา 56
ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) รับตัวเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพไว้เพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว
(7) มอบตัวเด็กแก่ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดู
(4) จัดที่พักอาศัย ที่หลับนอน เครื่องนุ่งห่ม ให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
(5) จัดการศึกษา การกีฬา และนันทนาการให้แก่เด็ก
(6) จัดส่งเด็กที่ได้ดำเนินการตาม (1) และ (2) ไปยังสถานสงเคราะห์ สถานพัฒนาและฟื้นฟู โรงเรียน หรือสถานที่อื่นใด
(3) จัดให้มีการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต
(8) ให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือแก่ผู้ปกครอง ในกรณีที่เด็กจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ
(2) สืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต
มาตรา 57
ผู้รับใบอนุญาตและผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานสงเคราะห์และสถานคุ้มครองสวัสดิภาพที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นต้องควบคุมดูแลให้มีการรับเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพทุกคนไว้อุปการะเลี้ยงดู
มาตรา 52
ภายใต้บังคับของมาตรา 51 ผู้ใดจะจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ต้องขอรับใบอนุญาตต่อปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี
มาตรา 51
ปลัดกระทรวงมีอำนาจจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ได้ทั่วราชอาณาจักร
มาตรา 58
ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานสงเคราะห์มีอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 56 (1) (2) (3) และ (4) และให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดการศึกษา อบรม สั่งสอน
(2) จัดบริการแนะแนว ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือแก่ผู้ปกครอง
(3) สอดส่องและติดตามให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือแก่เด็กที่ออกจากสถานสงเคราะห์ไปแล้ว
มาตรา 59
ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานคุ้มครองสวัสดิภาพมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ปกครองดูแลและอุปการะเลี้ยงดูเด็ก
(2) จัดการศึกษา อบรม และฝึกอาชีพแก่เด็ก
(3) แก้ไขความประพฤติ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกายจิตใจ
(4) สอดส่องและติดตามให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือ
มาตรา 60
ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานพัฒนาและฟื้นฟูมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) รับเด็กที่จำต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกายหรือจิตใจไว้ปกครองดูแล
(2) ทำการสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูเด็กแต่ละคน
(3) จัดการศึกษา ฝึกอบรม สั่งสอน บำบัดรักษา แนะแนว และฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้เหมาะสมแก่เด็ก
มาตรา 61
ห้ามมิให้เจ้าของ ผู้ปกครองสวัสดิภาพ และผู้ปฏิบัติงานในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ กักขัง ทอดทิ้ง หรือลงโทษเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลโดยวิธีการรุนแรงประการอื่น
มาตรา 62
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก
มาตรา 71
ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ
มาตรา 72
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 และมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุน
มาตรา 73
ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(2) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก
(3) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา 74
การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์และการจัดการกองทุน
มาตรา 70
เงินและดอกผลที่กองทุนได้รับตามมาตรา 69 ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา 75
ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนห้าคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์
มาตรา 69
กองทุน ประกอบด้วย
(1) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
(2) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(3) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้
(4) เงินอุดหนุนจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(5) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายหรือโดยนิติกรรมอื่น
(6) เงินที่ริบจากเงินประกันของผู้ปกครองที่ผิดทัณฑ์บนตามมาตรา 39
(๗) ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา 76
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลตามมาตรา 75 มีอำนาจหน้าที่
(1) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
(2) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ
(3) มีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคล
มาตรา 68
ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรียกว่า “กองทุนคุ้มครองเด็ก”
มาตรา 77
ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
หมวด 9 บทกำหนดโทษ
มาตรา 79
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 มาตรา 50 หรือมาตรา 61 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 80
ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา 30(1) หรือ (5) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา 30(4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 82
ผู้ใดจัดตั้งหรือดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา 52 โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอนหรือหมดอายุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 83
เจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 84
ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟูโดยมิได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 85
ผู้ใดกระทำการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 64 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 86
ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 67 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 81
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนด หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา 43 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 78
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา 87
ให้สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ และสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กของหน่วยราชการ หรือของเอกชนที่ได้รับอนุญาต ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ที่ดำเนินกิจการอยู่จนถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ และสถานคุ้มครองสวัสดิภาพตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 88
บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 ให้คงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีการออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
มาตรา 63
โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม
มาตรา 64
นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 65
นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 66
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ดังต่อไปนี้
(1) สอบถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา
(3) ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา
(4) เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน หรือทำทัณฑ์บน
(5) สอดส่องดูแลรวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล
(2) เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าวอบรมสั่งสอนต่อไป
(6) ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น
มาตรา 67
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนหรือนักศึกษา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการ เพื่อทำการตรวจสอบการฝ่าฝืนดังกล่าวได้
รายวิชาความเป็นครู บทที่ 6
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
นางธนิดา วงศ์สัมพันธ์ 6220160339 เลขที่ 1