Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เจ็บหน้าอก (Chest pain/Chest discomfort) - Coggle Diagram
เจ็บหน้าอก (Chest pain/Chest discomfort)
ความหมาย
เจ็บหน้าอก (Chest Pain) คือ อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณไหล่ลงมาถึงช่วงล่างของซี่โครง สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกมีหลายอย่าง การวินิจฉัยสาเหตุระบุได้ยากหากไม่ได้รับการตรวจอย่างละเอียด ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากการป่วยด้วยโรคที่ร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น โดยผู้ที่เพิ่งเกิดอาการเจ็บหน้าอก เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หรือเกิดอาการนี้มาเรื่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรักษาต่อไป อาการเจ็บหน้าอกมีสาเหตุได้ทั้งจากโรคหัวใจ โรคปอด โรคของระบบทางเดินอาหาร โรคของ กล้ามเนื้อ และเอ็น แพทย์ควรประเมินสาเหตุให้ดีเนื่องจากในบางรายอาการเจ็บหน้าอกอาจไม่ตรงแบบกับที่ควรจะเป็น (atypical chest pain) สาเหตุมักจะวินิจฉัยได้โดยอาศัยการซักประวัติที่ดี
อาการ มีอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณไหล่ลงมาถึงช่วงล่างของซี่โครง
อาการแสดง อึดอัด บีบแน่น แสบร้อน หรือเจ็บตรงกลางหน้าอก ปวด, ชา, หยิก, แทง หรือรู้สึกอึดอัด ร้าวไปแขนซ้าย หรือทั้งสองข้าง ร้าวไปขากรรไกร หรือท้องเหนือสะดือ หายใจถี่ หอบเหนื่อย ใจสั่น คลื่นไส้หรืออาเจียน จุกแน่นท้อง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าผิดปกติ
สิ่งที่ค้นพบ (Investigation)
-CXR สามารถวินิจฉัยโรค pneumothorax (visible visceral pleura), pneumonia (patchy- alveolar infiltration at affected lobe), pleural effusion (blunt costophrenic angle at affected side #f- shifting of trachea to the opposite side), left sided heart failure (perihilar infiltration with cardiomegaly), acute aortic dissection (large aortic knob)
-EKG สามารถวินิจฉัยโรค acute myocardial infarction
ผู้ป่วยที่เป็น stable angina หรือ unstable angina อาจไม่พบความผิดปกติ (ต้องอาศัย ประวัติในการวินิจฉัย) ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด CAD ก็ควรได้รับการตรวจ EKG ถึงแม้อาการจะไม่ได้เป็น typical chest pain
-Troponin T พบว่าสูงขึ้นภายหลังจากเกิด acute myocardial infarction 6 ชั่วโมงถึง 2 สัปดาห์
-CK-MB (myocardial band of creatinine kinase) พบว่าสูงขึ้นภายหลังจากเกิด acute MI 6-24 ชั่วโมง การส่ง cardiac enzyme จะส่งใน 2 กรณีคือ 1. เมื่อ EKG เข้าได้กับ acuteMI เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยแต่ไม่จําเป็นต้องรอผล cardiac enzyme สามารถให้การรักษาแบบ acute MI ได้เลยหาก EKG และอาการเข้าได้ 2. อาการเข้าได้กับ unstableangina เพื่อช่วยแยกว่าเป็น highriskunstableangina หรือไม่
สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก
สาเหตุที่เกี่ยวกับหัวใจ
สาเหตุจากระบบย่อยอาหาร
ปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดีและตับ
สาเหตุจากกล้ามเนื้อและกระดูก
สาเหตุเกี่ยวกับปอด
อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นทันทีโดยเฉพาะเกิดขณะออกแรง (on exertion)
Stable angina อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นไม่นานคือ ประมาณ 2-3 นาที มักเป็นขณะออก อาการดี ขึ้นภายหลังจากอมยาใต้ลิ้น (nitrate) แล้ว 1-2 นาที
Unstable angina อาการเจ็บหน้าอกเป็นนานขึ้นประมาณ 10-30 นาที อาจเกิดขณะไม่ได้ออกมา และอมยาใต้ลิ้นแล้วไม่ดีขึ้น
Acute myocardial infarction (acute MI) อาการเจ็บหน้าอกคล้าย unstable angina แยกกันโดย EKG และ cardiac enzyme เวลาที่พบได้บ่อยของ acute MI คือช่วงเช้าหลังตื่นนอน
การรักษาเบื้องต้น
การรักษาด้วยยา
ไนโตรกลีเซอรีน แพทย์จะใช้ยาไนโตรกลีเซอรีนแบบเม็ด โดยให้ผู้ป่วยอมไว้ใต้ลิ้น ไนโตรกลีเซอรีนจะช่วยให้หลอดเลือดหัวใจขยาย ส่งผลให้เลือดไหลผ่านได้ง่ายขึ้น
ยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจจะได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพื่อเข้าสลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ยาลดการหลั่งกรด ผู้ป่วยที่เจ็บหน้าอกเพราะกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร จะได้รับยาที่ช่วยลดการหลั่งกรด
ยารักษาอาการซึมเศร้า ผู้ป่วยที่มีประวัติหวาดกลัวหรือกังวลจนส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก อาจได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าเพื่อช่วยจัดการกับภาวะที่ประสบอยู่ ทั้งนี้ อาจต้องรักษาด้วยวิธีบำบัดทางจิตร่วมด้วย
การผ่าตัดและการรักษาด้วยกระบวนการอื่น
การทำบอลลูน (Balloons and Stent Placement)
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass Surgery)
ศัลยกรรมรักษาผนังหลอดเลือดแดงใหญ่
ศัลยกรรมรักษาปอด
การวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าอก
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) จะทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ได้จากการรับสัญญาณผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดกับผิวหนัง ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บตรงกล้ามเนื้อหัวใจจะมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
การตรวจเลือด เพื่อตรวจดูว่าระดับเอนไซม์ที่พบในกล้ามเนื้อหัวใจนั้นเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยโรคหัวใจจะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย ส่งผลให้เอนไซม์ในกล้ามเนื้อหัวใจ ออกมาอยู่ภายในเลือด
การเอกซเรย์ ภาพเอกซ์เรย์จะช่วยตรวจสภาพปอด ขนาดและรูปร่างของหัวใจ รวมทั้งหลอดเลือดสำคัญอื่น ๆ นอกจากนี้ การวินิจฉัยด้วยวิธีเอกซเรย์ยังช่วยให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับปอดอย่างโรคปอดบวมหรือเยื่อหุ้มปอดรั่วหรือไม่
การทำซีทีสแกน (CT Scan)การทำซีทีสแกนในขั้นนี้จะทำเพื่อตรวจหาว่าแคลเซี่ยมสะสมเป็นคราบตะกรัน ปิดกั้นการไหลเวียนเลือดตามผนังหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) วิธีนี้จะใช้คลื่นเสียงในการแสดงลักษณะทางกายภาพ การเคลื่อนไหวและการบีบตัวของหัวใจออกมาเป็นวิดีโอ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องสอดอุปกรณ์เล็ก ๆ เข้าไปในคอเพื่อส่องดูส่วนต่าง ๆ ของหัวใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
คำแนะนำหรือสุขศึกษาที่ให้
การป้องกันอาการเจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหลายสาเหตุ การป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวจึงควรเริ่มตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคหรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก ในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงวิธีป้องกันหรือปฏิบัติตัวให้เหมาะสมเฉพาะโรคที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกและส่งผลร้ายแรงต่อชีวิต
อาการเจ็บหน้าอกที่ผนังทรวงอกผู้ป่วยที่เกิดอาการเจ็บหน้าอกตรงผนังทรวงอก ซึ่งเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือซี่โครงหักนั้น สามารถบรรเทาอาการดังกล่าวไม่ให้กำเริบได้
1.พักผ่อนและป้องกันไม่ให้บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือน
2.ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการเจ็บและบวม โดยประคบเย็นทันที ทิ้งไว้ 10-20 นาที
3.ไม่พันผ้าเพื่อประคองซี่โครง เพราะอาจทำให้หายใจได้น้อยลง
4.รับประทานยาหรือทายาเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อ
5.นวดหรือยืดเส้นเบา ๆ อาจช่วยให้อาการดีขึ้นและหายได้เร็ว