Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการรัฐไทยก่อนสมัยปฏิรูปประเทศ - Coggle Diagram
พัฒนาการรัฐไทยก่อนสมัยปฏิรูปประเทศ
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
นโยบายของไทยที่มีต่อการล่าอาณานิคม
การดำเนินวิเทโศบายของรัชกาลที่ 4 และ 5 ในยุคล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกพระองค์ทรง
ตะหนักถึงความเป็นมหาอำนาจของชาติตะวันตกการต่อต้านโดยใช้กำลังจึงเป็นไป ไม่ได้ จึงต้อง
ใช้วิธีการอื่นแทน ซึ่งพอสรุปได้ 3 ประการ ได้แก่
การผ่อนหนักเป็นเบา
1.ยอมทำสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญาเบาริง ทำกับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 4 แม้จะทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้เสียเปรียบให้น้อยที่สุด
2.การยอมเสียดินแดน รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงทราบดีถึงวิธีการเข้าครอบครองดินแดนไว้เป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก เช่น ขั้นแรกจะเน้นเข้ามาค้าขายหรือเผยแพร่ศาสนาก่อนแล้วภายหลังก็จะอ้างถึงข้อขัดแย้ง หรือขอสิทธิพิเศษ (เช่น ขอเช่าเมือง,แทรกแซงกิจการ ภายในประเทศ) ขั้นต่อไปก็จะส่งกำลังทหารเข้ายึด อ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนให้ปลอดภัยหรือเพื่อเป็นหลักประกันให้ปฏิบัติตามสัญญา ขั้นสุดท้ายก็ใช้กำลังเข้ายึดเพื่อเอาเป็นดินแดนอาณานิคม โดยอ้างข้อพิพาทต่างๆ
นโยบายผ่อนหนักเป็นเบา
สนธิสัญญาเบาริง
1.ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
2.ทำให้อังกฤษเป็นชาติอภิสิทธิ์
การยอมเสียดินแดน
การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย
3.การผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป
การพัฒนาการเมืองการปกครอง
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4
สาเหตุการปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4
1.ทรงได้รับแนวคิดจากชาวตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้สัมผัสและทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่
2.เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และเป็นพื้นฐานที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไปเพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติให้พื้นจากการครอบครองของประเทศตะวันตกที่กำลังขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้น
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 5
สาเหตุสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
1.ปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อป้องกันการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก
2.การปกครองแบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้าปฏิรูปการปกครองใหม่ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 6
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
การจัดตั้ง ดุสิตธานี เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดฯให้สร้างนครจำลองขึ้นพระราชทานนามว่า ดุสิตธานี เดิมตั้งอยู่ที่พระราชวังดุสิต ต่อมาย้ายไปอยู่ที่พระราชวังพญาไท ภายในดุสิตธานีมีสิ่งสมมุติ หรือ แบบจำลองต่างๆ เช่น ที่ทำการรัฐบาล วัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน ถนน สาธารณูปโภค สถานที่ราชการ ฯลฯให้มีการบริหารงานในดุสิตธานี โดยวิธีการเลือกตั้งตามแบบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งในระบบพรรคการเมือง พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก
การสิ้นสุดของสมัย อยุธยา
พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็วการเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ
การสิ้นสุดของสมัย ธนบุรี
การสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี กิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน
1.การจลาจลวุ่นวายในเขมร 2323
2.ความวุ่นวายภายในกรุงธนบุรี 2324
3.กบฏพระยาสรรค์ 2324
4.สงครามกลางเมืองระหว่างพระยาสรรค์และพระยาสุริยอภัย 2324
5.การพิจารณาปัญหาเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน
การสิ้นสุดของสมัยสุโขทัย
นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยเริ่มอ่อนแอ พระมหาธรรมราชา ที่ 1 (พญาลิไท) ทรงใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างเพื่อให้อาณาจักรสุโขทัยมีความมั่นคงขึ้นบ้าง ระยะต่อมาสถานการณ์ทรุดหนักลง เป็นเหตุทำให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมสิ้นสุดลงโดยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา ด้วยสาเหตุสำคัญดังนี้
ปัญหาทางการเมืองภายนอก
บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มีการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาและทางตอนเหนือได้มีอาณาจักรล้านนาที่นับว่ามีแต่ความเก่าแก่ บีบอยู่ถึง 2 ด้านโดยเฉพาะอาณาจักรอยุธยาได้เข้ามารุกรานชายแดนสุโขทัยหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1914 เป็นต้นมา จนถึงสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ต้องออกมาอ่อนน้อมยินยอมเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา
ในปี พ.ศ.1921 เมื่ออาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว จนถึงปีพ.ศ.1962 พระมหาธรรมราชาที่ 3 เสด็จสวรรคตที่เมืองสองแคว ได้เกิดจราจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่าง พญาบานเมืองกับพญารามคำแหง โดยสมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอาณาจักรอยุธยา
ข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ
อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง และไม่สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยตรงได้ ต้องอาศัยผ่านเมืองมอญ และไปทางใต้ทางเมืองเพชรบุรี และนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัย ยังถูกอาณาจักรอยุธยาปิดกั้น โดยสิ้นเชิงด้วยการให้เมืองเหล่านั้นประกาศเอกราชหรือถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ทำให้เศรษฐกิจสุโขทัยทรุดโทรม ขาดรายได้ทั้งการค้ากับต่างประเทศ และการค้าระหว่างเมืองต่างๆ เมื่อเศรษฐกิจทรุดโทรมย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมทางการปกครองด้วย
ความแตกแยกทางการเมือง
อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการขาดความสามัคคีภายในอาณาจักรมีการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างเจ้านายภายในราชวงศ์สุโขทัยด้วยกันเอง เช่นก่อนที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ขึ้นครองราชสมบัติความห่างเหินระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองมีมากขึ้น เนื่องจากการมีประชากรมากขึ้น ความใกล้ชิดของกษัตริย์ต่อราษฎรได้ลดลงไป ประกอบกับแนวความคิดการปกครองจากพ่อปกครองลูกได้แปรเปลี่ยนเป็นธรรมราชา เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองนอกจากนั้นวัฒนธรรมอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้เกิดความห่างเหินมีมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นแยกกันอยู่คนละส่วน อำนาจในการตัดสินเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เพียงผู้เดียว
การปกครองแบบกระจายอำนาจ
อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มาจากจุดอ่อนรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างค่อนข้างเป็นการกระจายอำนาจที่หละหลวม เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจในการบริหารและการควบคุมกำลังคนภายในเมืองของตนเกือบจะเต็มที่ ราชธานีไม่สามารถควบคุมหัวเมืองได้อย่างรัดกุม จึงเปิดโอกาสให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัวเป็นอิสระได้โดยง่าย