Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
600-320 วิชาสื่อดิจิทัล - Coggle Diagram
600-320 วิชาสื่อดิจิทัล
บทที่ 4
พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยีการศึกษา
พัฒนาการของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์ และวิธีการเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในทศวรรษที่ 1800 มีการใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำ
ต้นทศวรรษที่ 1900 ใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์
ในปี ค.ศ. 1913 มีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูด
ปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยนั้นบริษัท ACNielsen ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดระดับนานาชาติ ได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
ในช่วงทศวรรษที่ 1920 - 1930 เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพแบบข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์ เข้ามาเสริมการเรียนการสอนวิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยม
ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัดนั้น
ปี ค.ศ. 1962 ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ริเริ่มทำการสอนในวิชาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
การศึกษาในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพื่อพัฒนาปฏิรูปการจัดการศึกษาให้เท่าเทียบกับสากลดังนั้นจึงได้มีการนำสารสนเทศเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายการศึกษาคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
บทที่่ 5 แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้
เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ
เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ
และศึกษาด้วยตนเอง
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
ประเภทของแหล่งการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องมัลติมีเดีย เว็บไซต์ ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อม ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ ทะเล สัตว์ ฯลฯ
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม สถาบัน โบราณสถาน สถานที่สำคัญ แหล่งประกอบการ
ข้อดีในการนำแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริงทำให้เกิดประสบการณ์ตรง
ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน
ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อชุมชนและกระบวนการเรียนรู้
ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้เรียนเกิดความรักท้องถิ่นและเกิดความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าในท้องถิ่น
เครือข่ายการเรียนรู้
หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่าง ๆ
ความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
ปัจจุบันมีการสร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้กันมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถาบันการศึกษา เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียน หรือภายในสถาบันอุดมศึกษา
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่น ได้ง่ายรวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือการเรียนแบบ ร่วมมือกัน ดังนั้นระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมี รูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจ ของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์